KTBST ประเมินเงินบาทมีโอกาสอ่อนค่าแตะ 35.82 บาทต่อดอลล์ แนะซื้อเก็งกำไรหุ้นได้ประโยชน์ 3 กลุ่มหลัก อิเล็กทรอนิกส์ อาหารและกลุ่มเกษตร รวมทั้งกลุ่มอุตฯ ที่มีรายได้ส่วนใหญ่มาจากการส่งออก เชียร์ ASIAN-SUN-SMPC-MEGA-EPG ขณะที่กลุ่มสายการบิน พลังงาน และโรงไฟฟ้ารับผลลบ
บทวิเคราะห์หลักทรัพย์ จาก บล.เคทีบีเอสที จำกัด (มหาชน) ระบุว่า ปัจจุบัน (25/04/22) ค่าเงินบาทแตะระดับที่ 34.00 THB/USD และกลับมาอ่อนค่าราว -6% จากที่มีการแข็งค่ามากสุดในช่วงกลางเดือน ก.พ.22 ที่ราว 32.15 THB/USD ถือเป็นการอ่อนค่าที่สุดในรอบ 5 ปี ตั้งแต่ช่วง เม.ย.2017 จากแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มเร็วและรุนแรงกว่าคาด จากภาวะเงินเฟ้อในระดับสูงของสหรัฐฯ และมาตรการ Quantitative Tightening (QT) รวมถึงในช่วงระยะสั้นที่ผ่านมามีการไหลออกของ Fund Flow จากเข้าสู่ช่วงการจ่ายปันผลของบริษัทในตลาดหุ้นไทย
มองเงินบาทมีโอกาสแตะ 35.82 บาท แนะเก็งกำไรหุ้นได้ประโยชน์
ทั้งนี้ มุมองของ KTBST มองว่าแนวโน้มระยะสั้นค่าเงินบาทมีโอกาสอ่อนค่าต่อเนื่องไปแตะระดับ 34.46 THB/USD ก่อนการประชุม FOMC ในวันที่ 4 พ.ค.22 และมองว่าถ้าหลังจากการประชุม FOMC แล้ว US 10Y Bond Yield ทำจุดสูงสุดแล้วเริ่มปรับตัวลง เงินบาทจะเริ่มกลับมาแข็งค่าอีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม หาก US 10Y Bond Yield ยังปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และระดับดอกเบี้ยสหรัฐฯ ณ สิ้นปีอยู่ที่ 3% คาดว่า US 10Y Bond Yield จะไปแตะระดับ 3.57%-4.00% ซึ่งทำให้ให้ค่าเงินมีโอกาสไปแตะระดับต่อ 35.82 THB/USD เราจึงแนะนำเข้าซื้อเก็งกำไรจากหุ้นที่ได้ประโยชน์จากปัจจัยดังกล่าว
เชียร์ซื้อ ASIAN-SUN-SMPC รับประโยชน์บาทอ่อน
KTBST ได้แนะนำหุ้นที่น่าสนใจจากค่าเงินบาทที่อ่อนค่า โดยชอบหุ้นที่มีแนมโน้มผลการดำเนินงานเติบโตดีจากปัจจัยเฉพาะตัว และมี upside จากค่าเงินบาทอ่อนค่า รวมถึงราคาหุ้นยังมี upside เรียงตามระดับความสัมพันธ์กับค่าเงินบาทอ่อนค่า (correlation > 0) โดยหุ้นที่แนะนำ คือ
1.ASIAN (ซื้อ/เป้า 21.00 บาท) โดยมีรายได้จากการส่งออก 80% และแนวโน้มกำไรสุทธิในช่วงไตรมาส 1/65 ยังเติบโตดี YoY
2.SUN (ซื้อ/เป้า 10.70 บาท) โดยมีรายได้จากการส่งออกที่ 82% ของรายได้รวม
3.SMPC (ซื้อ/เป้า 12.00 บาท) โดยกำไรสุทธิไตรมาส 1/65 จะเติบโต YoY ได้ดี ตามทิศทางยอดส่งออกถังแก๊สของไทยเดือน ม.ค.-ก.พ.65 ที่เติบโต 50% YoY
ประเมิน 3 กลุ่มหลัก อิเล็กทรอนิกส์ อาหาร เกษตรรับประโยชน์
สำหรับหุ้น/อุตสาหกรรมที่คาดว่าจะได้ประโยชน์จาก “ค่าเงินบาทอ่อนค่า” ประกอบด้วย
1) กลุ่มอิเลกทรอนิกส์ เนื่องจากรายได้ส่วนใหญ่มาจากการส่งออกต่างประเทศ โดยเรียงลำดับทุกการอ่อนค่า 1 บาทจะส่งผลต่อกำไรเพิ่มขึ้น จะมีผลทำให้กำไรเพิ่มขึ้น KCE +6% และ HANA +5%
2) กลุ่มอาหาร เนื่องจากมีรายได้ส่วนใหญ่จากต่างประเทศ โดยเรียงลำดับทุกการอ่อนค่า 1 บาทจะส่งผลต่อกำไรเพิ่มขึ้น SUN +8% TU +3% CPF +5% ASIAN +5% GFPT +2%
3) กลุ่มเกษตร เนื่องจากมีรายได้ส่วนใหญ่จากต่างประเทศ โดยเรียงลำดับทุกการอ่อนค่า 1 บาท จะส่งผลต่อกำไรเพิ่มขึ้น STA +6% NER +3% GFPT +2%
4) อุตสาหกรรมอื่นที่ได้ผลกระทบเชิงบวกจากค่าเงินบาทอ่อน เนื่องจากมีรายได้ส่วนใหญ่มาจากการส่งออก ได้แก่
- SMPC ประเมินทุกๆ 1 บาทที่อ่อนค่าทำให้กำไรเพิ่มขึ้น +8-10%
- MEGA ประเมินทุกๆ 1 บาทที่อ่อนค่าทำให้กำไรเพิ่มขึ้น +8%
- EPG ประเมินทุกๆ 1 บาทที่อ่อนค่าทำให้กำไรเพิ่มขึ้น +3%-4%
ประเมินกลุ่มการบิน-พลังงาน-โรงไฟฟ้ารับผลลบ
อย่างไรก็ดี หุ้น/อุตสาหกรรมที่คาดว่าจะได้รับผลลบจาก “ค่าเงินบาทอ่อนค่า” คือ
1) กลุ่มสายการบิน THAI, AAV, BA มีโครงสร้างต้นทุนเป็นเงินสกุลดอลลาร์ราว 60% ค่าเงินบาทอ่อนค่าจะทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น
2) กลุ่มพลังงาน เนื่องจากมี Negative Net Exposure ต่อการเคลื่อนไหวของสกุลเงินดอลลาร์ต่อสกุลเงินบาท ส่งผลให้อาจจะมีการบันทึก Unrealized FX Loss สำหรับ PTTGC TOP IVL ขณะที่ผลกระทบต่อ PTTEP และ SPRC น่าจะมีจำกัดเพราะมีการใช้ USD เป็น Functional Currency
3) กลุ่มโรงไฟฟ้า เนื่องจากมีเงินกู้สกุลเงินดอลลาร์ส่งผลให้มีการบันทึก Unrealized Fx Loss เข้ามา อย่างไรก็ตาม รายการดังกล่าวเป็นเพียงรายการทางบัญชี และไม่ได้มีผลกระทบต่อกระแสเงินสด ทั้งนี้ หุ้นที่มี Impact จากประเด็นดังกล่าวประกอบด้วย GULF, BGRIM, GPSC, RATCH, GUNKUL และ
4) อื่นๆ TVO จะทำให้ต้นทุนนำเข้าวัตถุดิบเพิ่มสูงขึ้น (บริษัทนำเข้าถั่วเหลืองจากต่างประเทศราว 75-80%) ทุกๆ 1 บาทที่อ่อนค่า จะทำให้กำไรลดลงประมาณ -3%