xs
xsm
sm
md
lg

เมย์แบงก์ กิมเอ็งมองมติ ECB คงดอกเบี้ยนโยบายต่ำ กระทบหุ้นไทยในวงจำกัด

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


นายธีรเศรษฐ์ พรหมพงษ์ นักกลยุทธ์เศรษฐศาสตร์มหภาค บมจ.หลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) หรือ MBKET
บมจ.หลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) ประเมินผลกระทบจำกัดต่อตลาดหุ้นไทย เมื่อ ECB มีมติคงดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ แนะจับตาดูผลกระทบต่อสภาพคล่องในตลาดการเงินทั่วโลก ซึ่งมีทั้งในระยะสั้นและระยะยาวที่แตกต่างกัน

นายธีรเศรษฐ์ พรหมพงษ์ นักกลยุทธ์เศรษฐศาสตร์มหภาค บมจ.หลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) หรือ MBKET ให้ความเห็นว่า เมื่อ European Central Bank (ECB) (Sep 2021) Implication ส่งสัญญาณลดขนาดกระตุ้นเศรษฐกิจ จึงประเมิน “ผลกระทบจำกัดต่อตลาดหุ้นไทย” ดังนี้

จากมติการประชุม ECB ให้คงดอกเบี้ย เมื่อคืนที่ผ่านมา ECB มีมติคงดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 0% และคงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ฝากไว้กับ ECB ที่ -0.50% ขณะเดียวกัน คงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ระดับ 0.25% และปรับประมาณการเศรษฐกิจขึ้น อย่างไรก็ดี ECB มีมุมองเชิงบวกต่อภาพเศรษฐกิจ และมีโอกาสฟื้นตัวได้เร็วกว่าคาด โดย 1) ปรับประมาณการ GDP ปี 2021 ขึ้นจาก +4.6% สู่ระดับ +5% และ 2) คาดเงินเฟ้อยูโรโซนปีนี้จะเร่งขึ้นชั่วคราวสู่ 2.2% และค่อยๆ ลดลงสู่ 1.5% ในปี 2566 พร้อมส่งสัญญาณปรับลดวงเงินและนำไปสู่การยกเลิกโครงการ Pandemic Emergency Purchase Programme (PEPP) ในช่วงถัดไป แม้ว่าจะยังไม่มี Timeline ที่ชัดเจนในการปรับลดวงเงินการซื้อคืนพันธบัตร แต่จากแนวโน้มเศรษฐกิจที่ฟื้นกลับมาได้เร็วกว่าคาด ทำให้ ECB เริ่มส่งสัญญาณสะท้อนโอกาสการยกเลิกโครงการในช่วงถัดไป นำโดย 1) ทยอยลดขนาดการซื้อในช่วง 4Q64 จะซื้อน้อยลงกว่า 2 ไตรมาสที่ผ่านมา และ 2) คงโครงการไว้จนถึง มี.ค.2565 หรือจนกว่าจะมีความเห็นว่า COVID-19 จบลง

Implication to Thailand : ใกล้เคียงกับที่ตลาดคาด ผลกระทบจำกัด โดยในระยะสั้น Neutral รายละเอียดต่างๆ ใกล้เคียงกับที่ตลาดคาดการณ์ (คงดอกเบี้ย และเริ่มมีการส่งสัญญาณลดขนาด PEPP แต่ยังไม่มี Timeline ที่แน่นอน) อย่างไรก็ดี ถือเป็นการส่งสัญญาณที่เกิดขึ้นตอกย้ำมุมมอง Monetary Policy Normalization ที่น่าจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอนในปีนี้ นั่นคือการปรับลดขนาดการทำ QE ของ Fed และการปรับลดขนาดโครงการ PEPP ของ ECB ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องในตลาดการเงินทั่วโลก

ระยะกลาง-ยาว ตลาดหุ้นไทยอาจโดนผลกระทบเชิงลบ แต่ไม่มากนัก ผลกระทบจากสภาพคล่องในระบบที่ลดลงน่าจะส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อตลาดหุ้น U.S. และ Eurozone โดยตรง เนื่องจากเป็นตลาดที่ Outperform (ปรับตัวขึ้น +73.5% และ +70.5% ตามลำดับ ในช่วง 16 มี.ค.-ปัจจุบัน) ได้ประโยชน์จากสภาพคล่องโดยตรง ในทางกลับกันสำหรับตลาดหุ้นเอเชีย รวมถึงตลาดหุ้นไทยอาจโดนผลเชิงลบจำกัดเนื่องจากเป็นหนึ่งในตลาดที่แทบไม่ได้อานิสงส์บวกจากสภาพคล่องดังกล่าว (นักลงทุนต่างชาติ Net ขาย) และเป็นช่วงที่ตลาดหุ้นไทยมีปัจจัยบวกเฉพาะตัว เศรษฐกิจเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัว จากสถานการณ์ COVID-19 ที่ดีขึ้น และความคาดหวังการเปิดประเทศ


กำลังโหลดความคิดเห็น