xs
xsm
sm
md
lg

พิษโควิด-ปิดสนามบินยาว กระทบผลงานราคาหุ้น “AOT”

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



รัฐสั่งปิดสนามบินเพิ่มระยะเวลายาวไปถึงสิ้นเมษายนนี้ เพื่อป้องกันการระบาดไวรัสโควิด-19 ผู้บริหาร “ท่าอากาศยานไทย” ยอมรับ ไวรัส ส่งผล กระทบผลการดำเนินงานเต็มเปา แถมดึงราคาหุ้น ขณะ โบรกเกอร์ส่วนใหญ่ เชียร์ให้เก็บ“AOT ” เข้าพอร์ต เชื่อฐานะการเงินแกร่งและผลการดำเนินงานจะฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งเมื่อควบคุการระบาดของ ไวรัสได้ เชื่อปิดสนามบิน กระทบผลงานระยะสั้น


จากการเกิดโรคระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งนับวันจะพบว่าจำนวนของผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ แทบทุกประเทศทั่วโลกต่างออกมาตรการเพื่อป้องกันและรักษาชีวิตพลเมืองของตนควบคู่ไปกับการค้นหาวิธีการรักษาเพื่อยับยั้งและเยียวยา ขณะเดียวกันบางประเทศออกมาตรการ"ปิดเมือง" ห้ามการเดินทางเข้าออกในประเทศนั้น ๆ แน่นอนว่าย่อมกระทบกับการเดินทางและ ที่จะกระทบโดยตรงคงไม่พ้นบรรดาสายการบินต่าง ๆ เพราะสายการบินทั่วโลกเริ่มลดเที่ยวบิน และต้นทุน

สมาคมการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ หรือ IATA องค์กรในอุตสาหกรรมการบินโลก ออกมาเตือนว่าผบกระทบของไวรัสโควิด-19 ที่มีต่ออุตสาหกรรมสายการบินอาจอยู่ระหว่าง 63,000-113,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีนี้ ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าการระบาดนี้จะพัฒนาไปได้มากแค่ไหน

ขณะที่ประเทศไทยนั้น รัฐบาลพยายามออกมาตรการต่างๆ มาเพื่อป้องกันและหวังจะให้ตัวเลขผู้ป่วยและติดเชื้่อลดลง พร้อมกับจำนวนตัวเลขผู้เสียชีวิตต้องไม่เพิ่ม ทว่าในความเป็นจริงแล้วนั้น มิอาจยับยั้ง แม้จะมีข้อห้ามมิให้ไปชุมนุมกันในสถานที่ต่างๆ ก็ยังไม่สามารถต้านการระบาดติดเชื้อได้ จนท้ายที่สุด รัฐต้องออก พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินหรืเคอร์ฟิว มีผลระหว่าง 26 มี.ค.-30 เม.ย. โดยข้อสำคัญคือปิดช่องทางเข้ามาในประเทศทุกเส้นทางคมนาคมสำหรับชาวต่างชาติ พร้อมให้ประชาชนงดหรือชะลอการเดินทางข้ามเขตพื้นที่จังหวัดในระยะนี้โดยไม่จำเป็น เหล่านี้ให้วิถีการดำเนินชีวิตเปลี่ยนไปอย่างมาก

การสัญจรของผู้คนบางตา กอปรกับหลายบริษัทมีมาตรกรให้พนักงานทำงานจากบ้านหรือ work from home ด้วยเพราะเพื่อป้องกันการติดเชื้อ ส่งผลให้มีผู้ใช้บริการรถสาธารณะต่าง ๆ ทั้งรถประจำทาง รถทัวร์ และรถตู้มีน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด ไม่เว้นแม้กระทั่งสายการบิน และยิ่งพบจำนวนของผู้ที่ติดเชื้อจากสนามบินพิ่มขึ้นแทบทุกวัน ยิ่งทำให้ผู้คนขยาดหวาดกลัวต่อการเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ จึงส่งผลต่อผู้ประกอบการสายการบินทุกสายที่งดให้บริการหรือหยุดบิน การยกเลิกเที่ยวบินบางสายที่มาจากประเทศกลุ่มเสี่ยง ตามด้วยการยกเลิกเที่ยวบินของบางจังหวัดที่พบจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 พร้อมเปิดให้คืนและรับค่าตั๋วเต็มจำนวน กระทั่งเมื่อพบตัวเลขผู้ติดเชื่อ เพิ่มขึ้นต่อเนื่องและพุ่งสูง รัฐจึงสั่งปิดสนามบิน

เพิ่มระยะเวลาปิดสนามบินยาวถึงสิ้นเมษา ฯ


บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน ) ( AOT ) หรือ ทอท. แจ้งว่าจากที่สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) ได้มีคำสั่งและประกาศเพื่อป้องกันมิให้สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด–19) รุนแรงมากยิ่งขึ้น และเพื่อสนับสนุนการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินให้ยุติลงโดยเร็ว ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการบริหารงานท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่งที่อยู่ในความรับผิดชอบของ ทอท. ดังนี้

1. คำสั่ง กพท. ที่ 85/2563 เรื่อง การระงับการดำเนินงานของสนามบินภูเก็ต ลงวันที่ 3 เมษายน 2563 มีสาระสำคัญ คือ ให้ระงับการดำเนินงานของท่าอากาศยานภูเก็ต (ทภก.) ตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน 2563 เวลา 00.01 น. ถึงวันที่ 30 เมษายน 2563 เวลา 23.59 น. หรือจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง

2. ประกาศ กพท. เรื่อง ห้ามอากาศยานทำการบินเข้าสู่ประเทศไทยเป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 6 เมษายน 2563 มีสาระสำคัญ คือ ห้ามอากาศยานขนส่งคนโดยสารทำการบินเข้ามายังท่าอากาศยานในประเทศไทยเป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 7 เมษายน 2563 เวลา 00.01 น. ถึงวันที่ 18 เมษายน 2563 เวลา 23.59 น.

3. คำสั่งและประกาศตามข้อ1 และ 2 ไม่รวมถึงการให้บริการอากาศยาน ดังต่อไปนี้
(1) อากาศยานราชการหรือที่ใช้ในราชการทหาร (State or Military Aircraft)
(2) อากาศยานที่ขอลงฉุกเฉิน (Emergency Landing)
(3) อากาศยานที่ขอลงทางเทคนิค (Technical Landing) โดยไม่มีผู้โดยสารออกจากเครื่อง
(4) อากาศยานที่ทำการบินเพื่อให้ความช!วยเหลือทางมนุษยธรรม ทำการบินทางการแพทย์ หรือการขนส่งสิ่งของเพื่อสงเคราะห์แก้ผู้ได้รับผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID–19) (Humanitarian Aid, Medical and Relief Flights)
(5) อากาศยานที่ได้รับอนุญาตให้การบินรับส่งบุคคลกลับภูมิลำเนา (Repatriation)
(6) อากาศยานขนส่งสินค้า (Cargo Aircraft) จากมาตรการของรัฐที่ออกมา หลายฝ่ายมองว่าเป็นผลลบต่อภาวะการลงทุนในตลาดทุนไทย

ล่าสุดเมื่อ 15 เมษายนที่ผ่านมา สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) ออกประกาศสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เรื่อง ห้ามอากาศยานทำการบินเข้าสู่ประเทศไทยเป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 3) ว่าด้วยเหตุผลและความจำเป็นในการคงความต่อเนื่องของมาตรการดังกล่าวต่อไปอีกเพื่อประสิทธิผลในการป้องกันและควบคุมโรค อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 27 และมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยจึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้

1. ห้ามอากาศยานขนส่งคนโดยสารทำการบินเข้ามายังท่าอากาศยานในประเทศไทยเป็นการชั่วคราว ตั้งแต่ วันทื่ 19 เมษายน 2563 เวลา 00.01 น. จนถึงวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2563 เวลา 23.59 น.

2. ยกเลิกการอนุญาตการบินสำหรับอากาศยานขนส่งคนโดยสาร ที่ได้รับอนุญาตในช่วงเวลาตามข้อ 1.

3. ข้อห้ามตาม 1. ไม่รวมถึงอากาศยานดังต่อไปนี้
(1) อากาศยานราชการหรือที่ใช้ในราชการทหาร (State or Military aircraft)
(2) อากาศยานที่ขอลงฉุกเฉิน (Emergency landing)
(3) อากาศยานที่ขอลงทางเทคนิค (Technical landing) โดยไม่มีผู้โดยสารออกจากเครื่อง
(4) อากาศยานที่ทำการบินเพื่อให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมทำการบินทางการแพทย์ หรือการขนส่งสิ่งของเพื่อสงเคราะห์แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19) (Humanitarian aid, medical and relief flights)
(5) อากาศยานที่ได้รับอนุญาตให้ทำการบินรับส่งบุคคลกลับประเทศไทยหรือกลับภูมิลำเนา (Repatriation)
(6) อากาศยานขนส่งสินค้า (Cargo aircraft)

4. บุคคลหรือผู้โดยสารบนอากาศยานตาม 3. จะอยู่ภายใต้บังคับของมาตรการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ ตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ เช่น การกักตัวเป็นเวลา 14 วัน และบรรดาข้อกำหนดที่ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548

นั่นหมายความว่าน่านฟ้าไทยและสนามบินต่างๆ ในประเทศจะไม่มีการขึ้นลงของเครื่องบินพาณิชย์ยาวไปจนถึงสิ้นเดือน ซึ่งออกมาตรการสะกัดการติดเชื้อไวรัส พบว่ามีการยกเลิกเที่ยวบินจากสายการบินต่างๆ มาตั้งแต่ต้นปี 63 ตัวเลข ณ 28 มีนาคม 2563 พบว่ามียอดรวม 32,991 เที่ยวบิน เป็นเที่ยวบินระหว่างประเทศ 26,648 เที่ยวบิน และเที่ยวบินภายในประเทศ 6,343 เที่ยวบิน คาดว่าจะส่งผลให้ AOT ได้รับผลกระทบในส่วนของรายได้ที่เกี่ยวกับกิจการการบิน (Aeronautical Revenues) เป็นค่าธรรมเนียมในการขึ้น-ลงอากาศยาน (Landing Charges) คิดเป็น 20.69 %และค่าธรรมเนียมการใช้สนามบิน (Passenger Service Charges : PSC) คิดเป็น 32.94% หรือรายได้ลดลงในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม 2563 คิดเป็น 30 % เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ซึ่งยังไม่รวมผลกระทบของรายได้ที่ลดลงในส่วนที่ไม่เกี่ยวกับกิจการการบิน(Non-Aeronautical Revenues) และมาตรการที่ AOT ให้ความช่วยเหลือสายการบินและผู้ประกอบการ

AOT กระอัก!! ผลประกอบการ-ราคาหุ้นทรุด


นายนิตินัย ศิริสมรรถการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ AOT เปิดเผยว่า แม้บริษัทฯ จะได้รับผลกระทบจากระบาดของโควิด-19 ซึ่งปัจจุบันท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่ง มีผู้โดยสาร รวมเหลือวันละ 6-7 พันคน หรือลดลงกว่า 90% จากปกติอยู่ที่วันละ 4 แสนคน แต่บริษัทยังคงเดินหน้าลงทุนพัฒนาขยายท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่งของบริษัท วงเงินเกือบ 4 แสนล้านบาท ขณะบริษัทมีเงินสดในมือ 6 หมื่นล้านบาท และยังมีศักยภาพเพียงพอรองรับแผนการลงทุนได้

ทั้งนี้ ผลกระทบจากการที่ กพท. สั่งห้ามบินเข้าประเทศไทยชั่วคราวตั้งแต่ 7-18 เม.ย. นี้ ทำให้เที่ยวบินระหว่างประเทศลดลงชัดเจน คาดการณ์ว่างวดปี 62/63 (ต.ค. 62-ก.ย.63) จำนวนผู้โดยสารจะติดลบ 30-40% หรือลดลงกว่า 50 ล้านคน จากการประเมินตัวเลขทั้งปีที่ 140 ล้านคน/ปีจากทั้ง 6 สนามบินที่ AOT บริหาร (สุวรรณภูมิ ดอนเมือง เชียงใหม่ เชียงราย ภูเก็ต หาดใหญ่) หรือกว่า 4 แสนคน/วัน ทั้งนี้ จำนวนผู้โดยสารเส้นทางระหว่างประเทศคิดเป็น 60% ของปริมาณผู้โดยสารทั้งหมด ที่เหลือ 40% เป็นผู้โดยสารจากเส้นทางในประเทศ

"สถานการณ์ดังกล่าวจึงกระทบกับรายได้ของ AOT ปีนี้ คาดว่าจะลดลงมากกว่าอัตราการลดลงของจำนวนผู้โดยสาร หรือมากกว่า 30-40% เพราะรายได้จากการเก็บค่าธรรมเนียมสนามบิน (PSC) ของเส้นทางระหว่างประเทศ 700 บาท/คน ส่วนเส้นทางในประเทศเก็บที่อัตรา 100 บาท/คน เพราะ ตั้งแต่ 26 มี.ค.ผู้โดยสารก็ลดลงมาเหลือระดับหมื่นคน/วัน พอ กพท.ประกาศปิด ผู้โดยสาร inter ก็ลดลงเหลือ 300-400 คน/วัน กระทบกับรายได้แน่นอน "


ทั้งนี้ AOT ได้ปรับแผนงานที่จะเพิ่มสัดส่วนรายได้ที่ไม่เกี่ยวกับธุรกิจการบิน (NON-AERO) คาดว่าจะเริ่มรับรู้รายได้ในไตรมาสแรกงวดปี 63/64 หรือช่วง ต.ค.-ธ.ค.63 ที่ได้จากธุรกิจขนส่งสินค้าทางอากาศ (Cargo) โดยจะเสนอจัดตั้งบริษัทย่อยต่อคณะกรรมการบริษัทในวันที่ 22 เม.ย.นี้

สำหรับการลงทุนนั้น AOT ยังเดินหน้าโครงการก่อสร้างส่วนต่อขยายด้านทิศเหนือ (North Expansion) ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มูลค่าเงินลงทุน 4.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งเรื่องอยู่ระหว่างการพิจารณาของสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แล้วจึงเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.)เพื่ออนุมัติโครงการ โดยโครงการนี้จะรองรับผู้โดยสารได้ 30-40 ล้านคน/ปี คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 67-68

อีกทั้งยังมีโครงการขยายท่าอากาศยานดอนเมือง เฟส 3 มูลค่า 3.7 หมื่นล้านบาท ซึ่งรองรับผู้โดยสารเพิ่มเป็น 40 ล้านคน/ปี จากปัจจุบันรองรับได้ 30 ล้านคน/ปี อยู่ขั้นตอนการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) คาดแล้วเสร็จในปี 67-68 รวมทั้งการขยายสนามบิน ภูเก็ต 2 ที่เรื่องอยู่ระหว่างการจัดทำ EIA เช่นกัน ทั้งนี้การขยายสนามบินเป็นไปตามแผนที่เข้าสู่ S-Curves ลูกที่ 3 ในปี 67-68 ที่จะทำให้ AOT เติบโตต่อเนื่องในระยะยาว ขณะที่ปัจจุบัน AOT มีกระแสเงินสด 6 หมื่นล้านบาท

ขณะที่ราคาหุ้น AOT ปรับลดลงมาเทรดต่ำกว่าราคา 60 บาท หลังจากมีข่าวการยกเลิกบางเที่ยวบินของหลายสายการบิน และเมื่อมีข่าวบางสายการบินหยุดบิน ยิ่งส่งผลต่อราคาหุ้นเทรดในราคาต่ำลงกว่าก่อนหน้า อีกทั้งเมื่อมีคำสั่งจาสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) ให้ปิดสนามบินเพื่อป้องกันมิให้สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด–19 ก็พบว่าราคาหุ้นปรับลดลงต่อเนื่อง โดยเมื่อ 13 มีนาคมหุ้นปิดที่ 48 บาท และราคาไม่หนีไปจากช่วง 48-51บาท แต่เมื่อต้นเดือนเมษายนราคาหุ้นเริ่มขยับเหนือ 50 บาทให้เห็นแล้ว

บริษัทหลักทรัพย์ เคทีบี จำกัด (มหาชน) หรือ KTBST เปิดเผยว่าหลังจากรัฐบาลประกาศข้อกำหนดฉบับที่ 1 ภายใต้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน เป็นลบต่อตลาดหุ้นไทย และการเดินทางข้ามจังหวัดที่เข้มงวดขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อหลาย ๆ ธุรกิจใช้เวลาฟื้นตัวนานขึ้น โดยเฉพาะ AOT และ BDMS อย่างไรก็ตาม มีบางธุรกิจที่ยังได้รับผลบวกจากมาตรการนี้เช่นกัน


สำหรับธุรกิจและบริษัทที่ได้รับผลกระทบเชิงลบ คือ สนามบิน, ธุรกิจการบิน (AOT, AAV, BA, NOK, THAI) โรงพยาบาล (BDMS, BH, BCH, THG) โรงแรม (ERW, CENTEL, MINT, AWC) ปั๊มน้ำมัน (PTG, PTT, ESSO, BCP, SUSCO) ขนส่งน้ำมัน/ก๊าซ (SCN, WP, PRM, VL, KIAT) และ เรือเฟอร์รี่ (RP)


ส่วนธุรกิจและบริษัทที่ได้รับผลกระทบเชิงบวก คือ ซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านสะดวกซื้อ (BJC, MAKRO, CPALL) ผู้ผลิตอาหาร (CPF, TU, ASIAN, TFMAMA) ICT (ADVANC, TRUE, JAS, DTAC) และประกัน (TQM)


กำลังโหลดความคิดเห็น