xs
xsm
sm
md
lg

โคโรนาพ่นพิษ หุ้นยานยนต์-ยางรถยนต์ แต่หุ้น CPF-TU รับอานิสงส์

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



โบรกเกอร์ ประเมิน โคโรนากระทบผลิตรถยนต์ที่มีรโรงงานในพื้นที่ระบาด ระบุหากโรงงานผลิตชิ้นส่วนในจีนหยุดผลิตนานเกิน 1 เดือน มองเป็นกลางกลุ่ม Automotive (AH, SAT, STANLY)หุ้น แต่ระบุหากโรงงานผลิตชิ้นส่วนในจีนหยุดผลิตนานเกิน 1 เดือน อาจส่งผลกระทบต่อ supply chain ในการผลิตรถยนต์บางรุ่นในไทยได้ ขณะที่อาจทำให้ความต้องการล้อยางรถยนต์ลดลง กระทบ STA-NER ด้าน ASP ชี้โคโรน่าช่วงนี้ทำบาทอ่อนค่าแล้ว 3.6% ชี้บาทอ่อนทุก 1% ทำเงินนอกไหลออก 8.5 พันล้านบาท แต่แนะนำเก็บ CPF - TU ได้อานิสงส์

บทวิเคราะห์หลักทรัพย์จาก บล. เคทีบี (ประเทศไทย) มีมุมมองว่าจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาในประเทศจีน ทำให้โรงงานผู้ผลิตรถยนต์ในพื้นที่ที่มีปัญหาการแพร่ระบาดอพยพคนงานกลับประเทศ ซึ่งหากสถานการณ์ยืดเยื้อจะส่งผลให้โรงงานรถยนต์รายใหญ่ในจีนหยุดผลิตนานขึ้น โดยมองเป็นกลางต่อกลุ่ม Automotive (AH, SAT, STANLY) แต่ก็ยังมองเป็นปัจจัยที่ต้องเฝ้าระวังมากกว่า ทั้งนี้ในแง่ของการหยุดผลิตรถยนต์ของผู้ผลิตรถยนต์ในจีน คาดว่า SAT, STANLY จะไม่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากไม่ได้ส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ไปจีน

อย่างไรก็ตาม หากโรงงานผลิตชิ้นส่วนในจีนหยุดผลิตนานเกิน 1 เดือน อาจส่งผลกระทบต่อ supply chain ในการผลิตรถยนต์บางรุ่นในไทยได้ แต่หากค่ายรถยนต์สามารถปรับแผนหันไปใช้โรงงานผลิตจากแหล่งอื่นได้ จะไม่มีผลกระทบต่อผู้ผลิตรถยนต์ในไทยทั้ง SAT, STANLY และ AH

นอกจากนี้หากผู้ประกอบการรถยนต์ในจีนประสบปัญหา อาจจะทำให้ความต้องการล้อยางรถยนต์ลดลง ส่งผลต่อความต้องการยาง ซึ่งกระทบต่อ STA และ NER เนื่องจากมีฐานรายได้จากตลาดจีน ปัจจุบัน STA มีสัดส่วนรายได้จากลูกค้าจีน 30% ส่วน NER มีสัดส่วนรายได้จากลูกค้าจีน 30%-40%ยังคงแนะนำ Underweight โดยให้น้ำหนักต่อยอดขายรถยนต์ในประเทศและเศรษฐกิจโลกที่จะมีผลกระทต่อการส่งออกรถยนต์มากกว่า ซึ่งจะส่งผลให้ยอดผลิตรถยนต์ปี 2020E มีแนวโน้มชะลอตัว

ขณะที่ SAT แนะนำ "ถือ" ราคาเป้าหมาย 14.00 บาท ส่วนกลุ่มยาง STA แนะนำ "ถือ" ราคาเป้าหมาย 11.25 บาท คาดว่า STA ระยะสั้นจะยังได้ Sentiment เชิงบวกบางส่วนจากการระบาดของไวรัสโคโรนา จะมีส่วนช่วยในการเพิ่มยอดขายถุงมือยางเพื่อป้องกันเชื้อโรคเพิ่มขึ้น

ส่วน NER เรายังแนะนำ "ซื้อ" ราคาเป้าหมาย 3.40 บาท จากการเพิ่มกำลังการผลิตยางผสมที่มีมาร์จิ้นสูง จะส่งผลดีในระยะยาว แต่ในระยะสั้นอาจจะได้รับแรงกดดันจากผู้ประกอบการรถยนต์ในจีนลดกำลังการผลิตลง


หยวนต้า แนะนำ Underweight

ด้านบริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) ยังคงมีมุมมอง Underweight หุ้นกลุ่มยานยนต์ เพราะยังไม่เห็นสัญญาณการฟื้นตัวที่ชัดเจน และยังถูกกดดันจากการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง จากเครื่องยนต์สันดาปไปเป็น EV Car แต่ Valuation ของหุ้นหลายตัวอยู่ในโซนที่ถูกมาก จึงยังสามารถ Trading หุ้นที่มี Upside สูงและปันผลดีในระยะสั้นนี้ได้ เลือก SAT เป็น Top Pick ราคาเหมาะสม 21.20 บาท


สำหรับในปีนี้ บริษัทคาดว่าคาดยอดผลิตรถยนต์ปี 2563 จะทรงตัวที่ 2 ล้านคัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน นอกจากนี้ยอดขายรถยนต์ในประเทศยังถูกกดดันจากหนี้ครัวเรือนที่สูง แต่จะถูกชดเชยจาก Eco Car เฟส 2 ที่เร่งตัวขึ้น

ทั้งนี้ แนวโน้มอุตสาหกรรมระยะสั้นถูกดดันจากปัญหาภัยแล้งและหนี้ครัวเรือนสูง รวมถึงเหตุไฟป่าที่ออสเตรเลีย ซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักของไทย อย่างไรก็ตาม คาดเห็นการฟื้นตัวใน ครึ่งปีหลังของปี 2563 จากการเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐฯ

ASP ชี้ โคโรน่า กดเงินบาทอ่อนค่า แนะนำลงทุน CPF-TU

ด้าน บล.เอเซียพลัส (ASPS) ระบุว่า เดือน ม.ค. 2563 ตลาดหุ้นไทยเผชิญกับหลากหลายปัจจัยทั้งจากภายนอกและภายในประเทศกดดัน ส่งผลให้ Fund Flow ไหลออกจากตลาดหุ้นไทยสูงสุดในภูมิภาคกว่า 1.2 หมื่นล้านบาท (ytd) บวกกับประเด็นโรคไวรัสโคโรนาที่ระบาด หากยืดเยื้อจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจท่องเที่ยวถือเป็นหนึ่งในรายได้สำคัญของประเทศ

นอกจากนี้ ยังกดดันให้ค่าเงินบาทยังมีแนวโน้มที่จะอ่อนค่าอย่างต่อเนื่อง ซึ่งล่าสุดขยับขึ้นไปแตะระดับ 31 บาท/ดอลลาร์ และยังสอดคล้องกับสถิติในอดีต เวลาเกิดโรคไวรัสระบาดค่าเงินบาทมักจะอ่อนค่าเสมอ เช่น ช่วงที่เกิดโรคซาร์ ค่าเงินบาทอ่อนค่า 1% (ระยะเวลา 6 เดือน), ช่วงที่เกิดโรคเมอร์ส ค่าเงินบาทอ่อนค่า 3.9% (ระยะเวลา 2 ปี 6 เดือน) และล่าสุดโรคจากไวรัสโคโรนา บาทอ่อนค่ามาแล้วกว่า 3.6% (ระยะเวลาเกือบ 1 เดือน)

ดังนั้นยิ่งไวรัสโคโรนาระบาดและขยายวงกว้างนานเท่าไหร่ ยิ่งส่งผลให้ต่างชาติลังเลในการลงทุนในตลาดหุ้นไทยเพิ่มขึ้น เพราะถ้าค่าเงินบาทอ่อนค่านักลงทุนต่างชาติมีโอกาสขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน และยังสอดคล้องกับสถิติในอดีตย้อนหลัง 5 ปี คือ ทุกๆ ค่าเงินบาทอ่อนค่าเร็วเกิน 1% จะส่งผลให้เงินทุนต่างชาติไหลออกจากตลาดหุ้นเฉลี่ยราว 8.5 พันล้านบาท กดดันให้ SET Index ขึ้นได้อย่างจำกัด

ดังนั้นกลยุทธ์การลงทุนแนะนำหุ้นปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง ที่ได้ประโยชน์จากค่าเงินบาทอ่อนค่า CPF และ TU เป็น Top picks โดยมีรายละเอียดปัจจัยพื้นฐานดังนี้


CPF (ราคาเป้าหมาย 40.00 บ.) ราคาหุ้นปรับตัวลงแรงในช่วงที่ผ่านมา จากความกังวลไวรัสโคโรนาที่แพร่ระบาดในจีน ซึ่งสัดส่วนรายได้ของ CPF ในจีนราว 24%ของรายได้รวมทั้งหมด อย่างไรก็ตามสัดส่วนรายได้ในจีนส่วนใหญ่มาจากอาหารสัตว์เป็นหลักกว่า 20% อีก 4% ที่เหลือเป็นฟาร์มไก่ อีกทั้งโรงงานของ CPF ในปัจจุบัน มีการกระจายอยู่ทั่วประเทศจีน และล่าสุดยังไม่มีโรงงานไหนหยุดผลิต


ขณะที่แนวโน้มกำไรปกติงวด Q1/63 จะเติบโตโดดเด่นจากงวด Q4/62 สาเหตุหลักมาจากราคาหมูในไทยฟื้นตัวโดดเด่น เช่นเดียวกับราคาหมูในเวียดนามที่ทรงตัวสูงมาก ซึ่งจะส่งผลบวกต่อ CPF เต็มที่ในงวด Q1/63 ราคาหุ้นปัจจุบันมีค่า PER ปี 2563 เพียง 12 เท่า และสามารถคาดหวัง Dividend yield เฉลี่ย 3% ต่อปี

TU (ราคาเป้าหมาย 20.00 บาท) เป็นหุ้นส่งออกอาหารขนาดใหญ่ ที่มีสัดส่วนรายได้ในจีนน้อยมากไม่ถึง 1% ของรายได้รวม และยังเป็นช่วงเริ่มต้นของการทำการตลาดในจีน คาดกระทบจำกัดในแง่ของไวรัสโคโรนา โดยตัวธุรกิจทูน่าและกุ้งฟื้นตัวต่อเนื่องในปี 2563 จากราคาวัตถุดิบที่ทยอยปรับตัวขึ้น อาทิ ราคาวัตถุดิบทูน่าเฉลี่ยเดือน ธ.ค. 62 อยู่ที่ 1.1 พันดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน เพิ่มขึ้น 16.7% mom ถือเป็นการปรับเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือน


ภาพรวมคาดกำไรสุทธิปี 2563 จะฟื้นตัวถึง 38.6% yoy อีกทั้งยังได้ปัจจัยหนุนจากค่าเงินบาทเริ่มกลับมาอ่อนค่ากว่า 3.6%ytd โดย ณ ปัจจุบันอยู่ที่ 31 บาท/เหรียญฯ ขณะที่ราคาหุ้นปัจจุบันมีค่า PER ปี 2563 เพียง 13 เท่า ซึ่งค่าเฉลี่ยกลุ่มอยู่ที่ 16 เท่า และสามารถคาดหวัง Dividend yield เฉลี่ยสูงถึง 4% ต่อปี


กำลังโหลดความคิดเห็น