ศูนย์วิจัยกสิกรไทยรายงานสินเชื่อสุทธิในเดือน พ.ย.2562 เพิ่มขึ้นเล็กน้อย แม้ว่าจะเป็นฤดูกาลเบิกใช้สินเชื่อ เนื่องจากปัจจัยลบด้านการชำระคืนสินเชื่อภาคธุรกิจ ประกอบกับสินเชื่อเอสเอ็มอีที่ยังไม่ฟื้นตัว และสินเชื่อรายย่อยที่เติบโตดีเฉพาะในกลุ่มสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกัน ขณะที่สินเชื่อรายย่อยหลักทั้งสินเชื่อบ้านและสินเชื่อรถ ขยายตัวเพียงเล็กน้อยจากผลของมาตรการ LTV สินเชื่อบ้านและยอดขายรถยนต์ใหม่ที่ชะลอลง
ทั้งนี้ ยอดคงค้างสินเชื่อสุทธิ ณ พ.ย.2562 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 2.22 หมื่นล้านบาท หรือ 0.19% เป็น 11.72 ล้านล้านบาท ทำให้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน สินเชื่อเพิ่มขึ้นในอัตราชะลอลงมาที่ 1.82%YoY และเพิ่มขึ้นจากสิ้นปีก่อนเพียง 0.78% YTD ซึ่งเป็นภาพที่อ่อนแอเมื่อเทียบกับช่วง 11 เดือนแรกของปี 2561 ที่เห็นภาพการขยับขึ้นของสินเชื่อ 4.1% YTD
ด้านเงินฝากเดือน พ.ย.2562 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนเล็กน้อย ส่วนใหญ่ลดลงในบัญชีเงินฝากประจำของธนาคารขนาดใหญ่และกลาง และบางส่วนในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของภาครัฐ โดยมียอดคงค้างเงินฝาก ณ พ.ย.2562 ลดลงจากเดือนก่อน 1.74 หมื่นล้านบาท หรือ 0.13% เป็น 12.99 ล้านล้านบาท แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนและสิ้นปีก่อนแล้ว พบว่า เงินฝากของ ธ.พ. ในภาพรวมยังเติบโตดีที่ 4.40% YoY และ 3.27% YTD ซึ่งสูงกว่าการเติบโตของสินเชื่อ ส่งผลทำให้สภาพคล่องในระบบธนาคาร ณ สิ้นเดือนพ.ย.2562 ผ่อนคลายลงมาที่ 95.4% จากระดับ 97.7% ณ สิ้นปี 2561
โดยจากการรวบรวมข้อมูลแคมเปญเงินฝากออกใหม่เดือน พ.ย.2562 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า การออกแคมเปญผลิตภัณฑ์เงินฝากใหม่ยังคงมีทิศทางชะลอลง ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดแทนผลิตภัณฑ์เงินฝากรุ่นที่ครบกำหนด และแคมเปญพิเศษบางรุ่นให้อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลง ซึ่งก็เป็นสถานการณ์ที่สอดคล้องต่อยอดคงค้างเงินฝากที่ปรับลดลงในระหว่างเดือน
จากสภาวการณ์ดังกล่าว ทำให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินสินเชื่อระบบ ธ.พ.ไทย อาจจะปิดสิ้นปี 2562 ที่ระดับต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ 3.5% โดยส่วนใหญ่เป็นผลจากการชะลอตัวของสินเชื่อภาคธุรกิจมากกว่าที่คาดไว้ จากปัจจัยแวดล้อมของเศรษฐกิจและการเมืองทั้งในและต่างประเทศ ขณะที่แม้ในเบื้องต้นจะประเมินว่าทิศทางเศรษฐกิจปี 2563 น่าจะปรับตัวดีขึ้น และคงมีส่วนช่วยกระตุ้นการเบิกใช้วงเงินสินเชื่อของภาคธุรกิจให้ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีนี้ แต่ยังมีปัจจัยที่ต้องติดตามในปีหน้าจากโอกาสและความเสี่ยงในส่วนของสินเชื่อรายย่อยและสินเชื่อเอสเอ็มอีที่อาจจะมีผลต่อภาพรวมการเติบโตของสินเชื่อของระบบ ธ.พ.ไทย และกรอบประมาณการสินเชื่อปี 2563 ที่ 3.0-3.8% ในระยะข้างหน้า
ทั้งนี้ ยอดคงค้างสินเชื่อสุทธิ ณ พ.ย.2562 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 2.22 หมื่นล้านบาท หรือ 0.19% เป็น 11.72 ล้านล้านบาท ทำให้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน สินเชื่อเพิ่มขึ้นในอัตราชะลอลงมาที่ 1.82%YoY และเพิ่มขึ้นจากสิ้นปีก่อนเพียง 0.78% YTD ซึ่งเป็นภาพที่อ่อนแอเมื่อเทียบกับช่วง 11 เดือนแรกของปี 2561 ที่เห็นภาพการขยับขึ้นของสินเชื่อ 4.1% YTD
ด้านเงินฝากเดือน พ.ย.2562 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนเล็กน้อย ส่วนใหญ่ลดลงในบัญชีเงินฝากประจำของธนาคารขนาดใหญ่และกลาง และบางส่วนในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของภาครัฐ โดยมียอดคงค้างเงินฝาก ณ พ.ย.2562 ลดลงจากเดือนก่อน 1.74 หมื่นล้านบาท หรือ 0.13% เป็น 12.99 ล้านล้านบาท แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนและสิ้นปีก่อนแล้ว พบว่า เงินฝากของ ธ.พ. ในภาพรวมยังเติบโตดีที่ 4.40% YoY และ 3.27% YTD ซึ่งสูงกว่าการเติบโตของสินเชื่อ ส่งผลทำให้สภาพคล่องในระบบธนาคาร ณ สิ้นเดือนพ.ย.2562 ผ่อนคลายลงมาที่ 95.4% จากระดับ 97.7% ณ สิ้นปี 2561
โดยจากการรวบรวมข้อมูลแคมเปญเงินฝากออกใหม่เดือน พ.ย.2562 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า การออกแคมเปญผลิตภัณฑ์เงินฝากใหม่ยังคงมีทิศทางชะลอลง ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดแทนผลิตภัณฑ์เงินฝากรุ่นที่ครบกำหนด และแคมเปญพิเศษบางรุ่นให้อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลง ซึ่งก็เป็นสถานการณ์ที่สอดคล้องต่อยอดคงค้างเงินฝากที่ปรับลดลงในระหว่างเดือน
จากสภาวการณ์ดังกล่าว ทำให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินสินเชื่อระบบ ธ.พ.ไทย อาจจะปิดสิ้นปี 2562 ที่ระดับต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ 3.5% โดยส่วนใหญ่เป็นผลจากการชะลอตัวของสินเชื่อภาคธุรกิจมากกว่าที่คาดไว้ จากปัจจัยแวดล้อมของเศรษฐกิจและการเมืองทั้งในและต่างประเทศ ขณะที่แม้ในเบื้องต้นจะประเมินว่าทิศทางเศรษฐกิจปี 2563 น่าจะปรับตัวดีขึ้น และคงมีส่วนช่วยกระตุ้นการเบิกใช้วงเงินสินเชื่อของภาคธุรกิจให้ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีนี้ แต่ยังมีปัจจัยที่ต้องติดตามในปีหน้าจากโอกาสและความเสี่ยงในส่วนของสินเชื่อรายย่อยและสินเชื่อเอสเอ็มอีที่อาจจะมีผลต่อภาพรวมการเติบโตของสินเชื่อของระบบ ธ.พ.ไทย และกรอบประมาณการสินเชื่อปี 2563 ที่ 3.0-3.8% ในระยะข้างหน้า