“ราคาทองคำปิดไตรมาส 2/2018 ด้วยการปรับตัวลง 5.5% ซึ่งเป็นสถิติรายไตรมาสที่เกิดการร่วงลงรุนแรงสุดนับตั้งแต่ไตรมาส 4 ของปี 2016 รับแรงกดดันจากการแข็งค่าขึ้น 5.2% ของดัชนีดอลลาร์ ขณะที่ยูโรอ่อนค่าลงราว 5.2% ในไตรมาสสองที่ผ่านมา”
ทาง YLG ขอนำเสนอความเคลื่อนไหวของสินทรัพย์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับราคาทองคำในไตรมาส 2/2018 ดังนี้
ทองคำ (Gold Spot)
ราคาทองคำปิดเดือน มิ.ย.ด้วยการปรับตัวลดลง -3.6% ซึ่งเป็นการปรับตัวลงรายเดือนที่มากที่สุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย.ปี 2016 นอกจากนี้ ยังปิดไตรมาส 2/2018 ด้วยการร่วงลง -5.5% ซึ่งเป็นสถิติรายไตรมาสที่เกิดการร่วงลงรุนแรงสุดนับตั้งแต่ไตรมาส 4 ของปี 2016 ทำให้นับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา (YTD) ราคาทองคำปรับตัวลดลงแล้วราว 50 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หรือคิดเป็นการปรับตัวลงราว -3.9%
ในไตรมาส 2/2018 ราคาทองคำพุ่งขึ้นไปแตะระดับต่ำสุดวันที่ 11 เม.ย. บริเวณ 1,365.70 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หลังจากความไม่แน่นอนด้านภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical) ในตะวันออกกลาง รวมไปถึงความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ และรัสเซีย และความไม่แน่นอนทางด้านการค้าระหว่างสหรัฐ และจีน
ก่อนที่ราคาทองคำจะอ่อนตัวต่อเนื่องจากความกังวลว่าเฟดอาจส่งสัญญาณเร่งขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้ ซึ่งในที่สุดธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 12-13 มิ.ย.พร้อมกับส่งสัญญาณว่าจะเร่งปรับขึ้นอีก 2 ครั้งในช่วงครึ่งปีหลังของปีนี้ ประกอบกับสถานการณ์ความตึงเครียดในคาบสมุทรเกาหลีที่คลี่คลายลงอย่างเป็นรูปธรรมกดดันทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มเติม
ในวันที่ 15 มิ.ย. ราคาทองคำปรับตัวลดลงแรงกว่า -1.8% จากวันก่อนหน้า และหลังจากนั้น ราคาทองคำปรับตัวลงต่อเนื่อง ถึงแม้จะมีความวิตกเกี่ยวกับสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และประเทศคู่ค้าจะกดดันให้สินทรัพย์เสี่ยงร่วงลงแรง แต่ทองคำกลับไม่ได้อานิสงส์ในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย เนื่องจากได้รับแรงกดดันจากดัชนีดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลให้ราคาทองคำร่วงลงจนกระทั่งแตะระดับต่ำสุดในรอบกว่า 6 เดือนบริเวณ 1,245.65 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ในวันที่ 29 มิ.ย. ซึ่งเป็นวันทำการสุดท้ายของไตรมาส 2 ที่ผ่านมา
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐ (Dollar Index)
ดัชนีดอลลาร์ปรับตัวขึ้นราว 5.2% ในไตรมาส 2/2018 ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นครั้งแรกนับตั้งแต่ไตรมาส 4/2016 การปรับตัวขึ้นของดอลลาร์เป็นผลมาจากการส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 4 ครั้งในปีนี้ของเฟด
ขณะเดียวกัน ดอลลาร์ได้รับความสนใจในฐานะ safe haven currency จากความวิตกเกี่ยวกับนโยบายกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และประเทศคู่ค้าต่างๆ ที่อาจส่งผลให้ต้นทุนการนำเข้าเพิ่มสูงขึ้นจนหนุนอัตราเงินเฟ้อ หรือที่เรียกว่า cost push inflation ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนการเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดอีกทางหนึ่ง สถานการณ์ดังกล่าวกระตุ้นให้กระแสเงินทุนไหลออกจากสินทรัพย์เสี่ยง และเคลื่อนย้ายเข้าสู่เงินสดในรูปของดอลลาร์ หนุนดัชนีดอลลาร์พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบเกือบ 1 ปี และเป็นปัจจัยหลักที่กดดันราคาทองคำ
สกุลเงินยูโร (EUR/USD)
สกุลเงินยูโรอ่อนค่าลงราว 5.2% ในไตรมาส 2/2018 เมื่อเทียบกับดอลลาร์ โดยสกุลเงินยูโรได้รับแรงกดดันจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจในเขตยูโรโซน รวมไปถึงสถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมืองในภูมิภาค
การประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) ที่มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายพร้อมประกาศว่า ECB จะยุติแผนการซื้อพันธบัตรภายในสิ้นปีจะช่วยหนุนยูโรได้บ้าง แต่ในขณะเดียวกัน ECB ก็ส่งสัญญาณตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับต่ำจนอย่างน้อยตลอดช่วงซัมเมอร์ของปี 2019 ทั้งนี้ ความแตกต่างด้านนโยบายการเงินระหว่างเฟดและ ECB ทำให้สกุลเงินยูโรกลับมาอ่อนค่าลงอีกครั้ง
อีกปัจจัยที่กดดันยูโร ได้แก่ ความตึงเครียดทางการค้าของอียูกับสหรัฐฯ หลังสหรัฐฯ บังคับใช้ภาษีนำเข้าเหล็กและอะลูมิเนียม นอกจากนี้ ความไร้สเถียรภาพทางการเมืองในเยอรมนี หลัง นางอังเกลา แมร์เคิล นายกเยอรมนีเผชิญต่อแรงกดดันในการรับมือกับข้อขัดแย้งเรื่องการอพยพที่สร้างความแตกแยกในยุโรป และสร้างความเสี่ยงต่อรัฐบาลของเธอราคาทองคำในประเทศถึงแม้ราคาทองคำในตลาดโลกจะปรับตัวลงแรง แต่ราคาทองคำในประเทศปิดไตรมาส 2/2018 ที่ระดับ 19,650 บาทต่อบาททองคำ ซึ่งถือว่าปิดทรงตัวในรายไตรมาส และแกว่งตัวในกรอบ 19,500-20,000 บาทต่อบาททองคำ ตลอดทั้งไตรมาส 2 ปีนี้
ขณะที่นับตั้งแต่ต้นปีจนถึงสิ้นไตรมาส 2 (ครึ่งปีแรกของปี 2018) ราคาทองคำในประเทศปรับตัวลดลง 600 บาทต่อบาททองคำ หรือคิดเป็นการปรับตัวลงราว 3% ซึ่งถือว่าปรับตัวลดลงน้อยกว่าราคาทองคำในตลาดโลก เนื่องจากเงินบาทที่อ่อนค่าเป็นปัจจัยพยุงราคาทองคำในประเทศ ทั้งนี้ ค่าเงินบาทปี 2018 เปิดที่ระดับ 32.51 บาทต่อดอลลาร์ ปิดตลาดในสิ้นไตรมาส 2/2018 ที่ระดับ 33.03 บาทต่อดอลลาร์ หรืออ่อนค่าราว 1.6% จากกระแสเงินทุนต่างชาติไหลออกจากทั้งตลาดตราสารหนี้ไทย และตลาดหุ้นไทย รวมถึงการแข็งค่าของดอลลาร์ยังกดดันให้สกุลเงินบาทอ่อนค่ามากขึ้นอีกด้วย
วายแอลจี บูลเลี่ยน อินเตอร์เนชั่นแนล
ทาง YLG ขอนำเสนอความเคลื่อนไหวของสินทรัพย์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับราคาทองคำในไตรมาส 2/2018 ดังนี้
ทองคำ (Gold Spot)
ราคาทองคำปิดเดือน มิ.ย.ด้วยการปรับตัวลดลง -3.6% ซึ่งเป็นการปรับตัวลงรายเดือนที่มากที่สุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย.ปี 2016 นอกจากนี้ ยังปิดไตรมาส 2/2018 ด้วยการร่วงลง -5.5% ซึ่งเป็นสถิติรายไตรมาสที่เกิดการร่วงลงรุนแรงสุดนับตั้งแต่ไตรมาส 4 ของปี 2016 ทำให้นับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา (YTD) ราคาทองคำปรับตัวลดลงแล้วราว 50 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หรือคิดเป็นการปรับตัวลงราว -3.9%
ในไตรมาส 2/2018 ราคาทองคำพุ่งขึ้นไปแตะระดับต่ำสุดวันที่ 11 เม.ย. บริเวณ 1,365.70 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หลังจากความไม่แน่นอนด้านภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical) ในตะวันออกกลาง รวมไปถึงความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ และรัสเซีย และความไม่แน่นอนทางด้านการค้าระหว่างสหรัฐ และจีน
ก่อนที่ราคาทองคำจะอ่อนตัวต่อเนื่องจากความกังวลว่าเฟดอาจส่งสัญญาณเร่งขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้ ซึ่งในที่สุดธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 12-13 มิ.ย.พร้อมกับส่งสัญญาณว่าจะเร่งปรับขึ้นอีก 2 ครั้งในช่วงครึ่งปีหลังของปีนี้ ประกอบกับสถานการณ์ความตึงเครียดในคาบสมุทรเกาหลีที่คลี่คลายลงอย่างเป็นรูปธรรมกดดันทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มเติม
ในวันที่ 15 มิ.ย. ราคาทองคำปรับตัวลดลงแรงกว่า -1.8% จากวันก่อนหน้า และหลังจากนั้น ราคาทองคำปรับตัวลงต่อเนื่อง ถึงแม้จะมีความวิตกเกี่ยวกับสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และประเทศคู่ค้าจะกดดันให้สินทรัพย์เสี่ยงร่วงลงแรง แต่ทองคำกลับไม่ได้อานิสงส์ในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย เนื่องจากได้รับแรงกดดันจากดัชนีดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลให้ราคาทองคำร่วงลงจนกระทั่งแตะระดับต่ำสุดในรอบกว่า 6 เดือนบริเวณ 1,245.65 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ในวันที่ 29 มิ.ย. ซึ่งเป็นวันทำการสุดท้ายของไตรมาส 2 ที่ผ่านมา
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐ (Dollar Index)
ดัชนีดอลลาร์ปรับตัวขึ้นราว 5.2% ในไตรมาส 2/2018 ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นครั้งแรกนับตั้งแต่ไตรมาส 4/2016 การปรับตัวขึ้นของดอลลาร์เป็นผลมาจากการส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 4 ครั้งในปีนี้ของเฟด
ขณะเดียวกัน ดอลลาร์ได้รับความสนใจในฐานะ safe haven currency จากความวิตกเกี่ยวกับนโยบายกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และประเทศคู่ค้าต่างๆ ที่อาจส่งผลให้ต้นทุนการนำเข้าเพิ่มสูงขึ้นจนหนุนอัตราเงินเฟ้อ หรือที่เรียกว่า cost push inflation ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนการเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดอีกทางหนึ่ง สถานการณ์ดังกล่าวกระตุ้นให้กระแสเงินทุนไหลออกจากสินทรัพย์เสี่ยง และเคลื่อนย้ายเข้าสู่เงินสดในรูปของดอลลาร์ หนุนดัชนีดอลลาร์พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบเกือบ 1 ปี และเป็นปัจจัยหลักที่กดดันราคาทองคำ
สกุลเงินยูโร (EUR/USD)
สกุลเงินยูโรอ่อนค่าลงราว 5.2% ในไตรมาส 2/2018 เมื่อเทียบกับดอลลาร์ โดยสกุลเงินยูโรได้รับแรงกดดันจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจในเขตยูโรโซน รวมไปถึงสถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมืองในภูมิภาค
การประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) ที่มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายพร้อมประกาศว่า ECB จะยุติแผนการซื้อพันธบัตรภายในสิ้นปีจะช่วยหนุนยูโรได้บ้าง แต่ในขณะเดียวกัน ECB ก็ส่งสัญญาณตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับต่ำจนอย่างน้อยตลอดช่วงซัมเมอร์ของปี 2019 ทั้งนี้ ความแตกต่างด้านนโยบายการเงินระหว่างเฟดและ ECB ทำให้สกุลเงินยูโรกลับมาอ่อนค่าลงอีกครั้ง
อีกปัจจัยที่กดดันยูโร ได้แก่ ความตึงเครียดทางการค้าของอียูกับสหรัฐฯ หลังสหรัฐฯ บังคับใช้ภาษีนำเข้าเหล็กและอะลูมิเนียม นอกจากนี้ ความไร้สเถียรภาพทางการเมืองในเยอรมนี หลัง นางอังเกลา แมร์เคิล นายกเยอรมนีเผชิญต่อแรงกดดันในการรับมือกับข้อขัดแย้งเรื่องการอพยพที่สร้างความแตกแยกในยุโรป และสร้างความเสี่ยงต่อรัฐบาลของเธอราคาทองคำในประเทศถึงแม้ราคาทองคำในตลาดโลกจะปรับตัวลงแรง แต่ราคาทองคำในประเทศปิดไตรมาส 2/2018 ที่ระดับ 19,650 บาทต่อบาททองคำ ซึ่งถือว่าปิดทรงตัวในรายไตรมาส และแกว่งตัวในกรอบ 19,500-20,000 บาทต่อบาททองคำ ตลอดทั้งไตรมาส 2 ปีนี้
ขณะที่นับตั้งแต่ต้นปีจนถึงสิ้นไตรมาส 2 (ครึ่งปีแรกของปี 2018) ราคาทองคำในประเทศปรับตัวลดลง 600 บาทต่อบาททองคำ หรือคิดเป็นการปรับตัวลงราว 3% ซึ่งถือว่าปรับตัวลดลงน้อยกว่าราคาทองคำในตลาดโลก เนื่องจากเงินบาทที่อ่อนค่าเป็นปัจจัยพยุงราคาทองคำในประเทศ ทั้งนี้ ค่าเงินบาทปี 2018 เปิดที่ระดับ 32.51 บาทต่อดอลลาร์ ปิดตลาดในสิ้นไตรมาส 2/2018 ที่ระดับ 33.03 บาทต่อดอลลาร์ หรืออ่อนค่าราว 1.6% จากกระแสเงินทุนต่างชาติไหลออกจากทั้งตลาดตราสารหนี้ไทย และตลาดหุ้นไทย รวมถึงการแข็งค่าของดอลลาร์ยังกดดันให้สกุลเงินบาทอ่อนค่ามากขึ้นอีกด้วย
วายแอลจี บูลเลี่ยน อินเตอร์เนชั่นแนล