xs
xsm
sm
md
lg

กนง. หวั่นสงครามการค้ากระทบ ศก.-ส่งออก

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


บอร์ด กนง. ห่วงปัญหากีดกันทางการค้ามีความเสี่ยงกระทบการเติบโตด้านเศรษฐกิจ และส่งออก ปี 62 อาจโตต่ำกว่า 5% ตามที่ประเมินไว้ สินเชื่อที่อยู่อาศัยโดยเฉพาะอาคารชุดระดับราคาต่ากว่า 3 ล้านบาท ยังอืด มีแนวโน้มคงค้างในระดับสูง

นายจาตุรงค์ จันทรังษ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เปิดเผยรายงานนโยบายการเงิน เดือนมิถุนายน 2561 ว่า นโยบายกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ และการตอบโต้จากประเทศเศรษฐกิจสำคัญ ถือเป็นความเสี่ยงมากที่สุดต่อประมาณการเศรษฐกิจที่จะโน้มไปด้านต่ำมากกว่าที่เคยประเมินไว้
 
แม้ว่า กนง. จะปรับเพิ่มประมาณการเศรษฐกิจไทยปีนี้เป็นขยายตัว 4.4% จากเดิม 4.1% โดยมองว่าแม้ปัญหากีดกันทางการค้าในปัจจุบันยังมีผลกระทบน้อย แต่ผลกระทบจะมากขึ้นในช่วงปลายปีนี้เป็นต้นไป ซึ่งหากปัญหาดังกล่าวรุนแรงขึ้นจนมีผลกระทบต่อปริมาณการค้าโลกชะลอตัวจะมีผลต่อการส่งออกของไทยในปี 2562 อาจจะโตต่ำกว่าที่ประเมินไว้ 5% จากปีนี้ที่คาดว่าโต 9%

“สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ หากการส่งออกของจีนถูกกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้า ในฐานะประเทศไทยที่อยู่ในซัปพลายเชน อาจถูกกระทบไปด้วย และหากประเทศที่ถูกกีดกันทางการค้า เข้ามาแย่งตลาดเรา หรือทุ่มตลาด ผู้ส่งออกไทยอาจถูกกระทบได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ประเมินได้ยากมาก” นายจาตุรงค์ กล่าว

นอกจากนี้ ความกังวลที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับนโยบายกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ และความเสี่ยงของประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ กระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยน และเงินทุนเคลื่อนย้าย โดยนักลงทุนลดการถือสินทรัพย์เสี่ยงในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ รวมถึงไทย ทำให้เงินทุนเคลื่อนย้ายไหลออกมากขึ้น โดยสิ้นไตรมาส 2/61 มีเงินทุนไหลออกจากตลาดหุ้นไทย 5,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และออกจากตลาดพันธบัตรไทย 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ กดดันให้เงินบาทอ่อนค่าลง

อย่างไรก็ตาม กนง. เห็นว่า หากเศรษฐกิจยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง และอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มอยู่ในกรอบเป้าหมายได้ชัดเจนขึ้น ความจำเป็นที่จะต้องใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากในระดับปัจจุบันจะเริ่มลดลง และการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเพื่อสร้างขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงินในอนาคตจะมีความสำคัญมากขึ้นเสถียรภาพระบบการเงินอยู่ในเกณฑ์ดี แต่มีความเปราะบางในบางจุดที่ต้องติดตาม คือ พฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้น (search for yield) มีต่อเนื่องจากภาวะอัตราดอกเบี้ยต่เป็น เวลานาน ซึ่งอาจทาให้ภาคเอกชนประเมินความเสี่ยงต่ำกว่าที่ควรจะเป็น (underpricing of risks) เพิ่มขึ้น เช่น กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศยังกระจุกตัวในบางประเทศ และสหกรณ์ออมทรัพย์ที่ยังมีสินทรัพย์ และเงินรับฝากขยายตัวสูง แม้ชะลอลงบ้างหลังจากมีการปรับปรุงหลักเกณฑ์เพื่อยกระดับการกากับดูแลให้เหมาะสมมากขึ้น

ความผันผวนของเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ และตลาดการเงินโลก อาจส่งผลกระทบต่อต้นทุน การกู้ยืมผ่านตลาดพันธบัตร (yield snapback) และการต่ออายุเงินกู้ยืม (roll-over) ของภาคธุรกิจที่ระดมทุน ผ่านการออกตราสารหนี้ระยะสั้นคุณภาพสินเชื่อที่โดยรวมทรงตัว แต่ด้อยลงในบางกลุ่มครัวเรือน และภาคธุรกิจ โดยเฉพาะครัวเรือนที่มีภาระหนี้สูง และ SMEs ที่มีขนาดเล็ก และมีฐานะทางการเงินอ่อนแอ และภาวะอุปทานอสังหาริมทรัพย์คงค้างในบางระดับราคา และบางพื้นที่ โดยเฉพาะอาคารชุดระดับราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท ที่ยังมีอุปทานคงค้างในระดับสูง และใช้ระยะเวลาในการขายหมดค่อนข้างนาน


กำลังโหลดความคิดเห็น