xs
xsm
sm
md
lg

กนง. และ กนส. ห่วงภาคอสังหาฯ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


แบงก์ชาติ เผยผลประชุมร่วม “คณะกรรมการนโยบายการเงิน” และ “คณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน” เห็นพ้องระบบการเงินไทยโดยรวมมีเสถียรภาพเศรษฐกิจไทยแนวโน้มขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง ส่งผลให้ฐานะทางการเงินของภาคธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจขนาดใหญ่ปรับดีขึ้น ขณะภาคอสังหาริมทรัพย์สินเชื่อ เพื่อที่อยู่อาศัยที่มีความเปราะบางมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น และภาระหนี้ของผู้กู้สูงขึ้น

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยผลการประชุมร่วมกันระหว่าง คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) และคณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน (กนส.) ว่า ที่ประชุมมีความเห็นว่า ระบบการเงินไทยโดยรวมมีเสถียรภาพ เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง ส่งผลให้ฐานะทางการเงินของภาคธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจขนาดใหญ่ปรับดีขึ้น ธนาคารพาณิชย์ (ธพ.) และธุรกิจประกันภัยมีเงินกองทุนอยู่ในระดับสูง

ขณะที่เสถียรภาพด้านต่างประเทศมีความเข้มแข็งสะท้อนจากภาระหนี้ต่างประเทศที่อยู่ในระดับต่ำ ดุลบัญชีเดินสะพัดที่เกินดุลต่อเนื่อง และเงินสำรองระหว่างประเทศที่อยู่ในระดับสูง ซึ่งมีส่วนช่วยรองรับผลกระทบจากปัจจัยเสี่ยงด้านต่างประเทศ และภาวะการเงินโลกที่ผันผวนขึ้น จากการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจการเงินของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมหลัก และความกังวลเกี่ยวกับนโยบายกีดกันทางการค้าที่เพิ่มสูงขึ้น

อย่างไรก็ตาม ระบบการเงินไทยยังมีความเปราะบางในบางจุดที่อาจมีนัยต่อเสถียรภาพในระยะข้างหน้า โดยที่ประชุมได้ให้ความสำคัญกับ 2 ประเด็นหลัก ได้แก่ (1) ภาคอสังหาริมทรัพย์ พบว่าสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่มีความเปราะบาง มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น และภาระหนี้ของผู้กู้สูงขึ้นเมื่อเทียบกับรายได้ ขณะที่ยังต้อง ติดตามภาวะอุปทานคงค้างต่อไป และ (2) พฤติกรรมการแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้น (search for yield) ซึ่งอาจนาไปสู่การประเมินความเสี่ยงต่ำกว่าที่ควร (underpricing of risks) โดยเฉพาะพฤติกรรมการแสวงหา ผลตอบแทนผ่านสหกรณ์ออมทรัพย์ ซึ่งยังคงมีอยู่ต่อเนื่อง

ภาคอสังหาริมทรัพย์มีการสะสมความเปราะบางมากขึ้นในตลาดสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย สะท้อนจาก สัดส่วนจานวนบัญชีสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยปล่อยใหม่ของ ธพ. ที่มีอัตราส่วนสินเชื่อต่อมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ (loan- to-value : LTV) เกินร้อยละ 90 เพิ่มขึ้น และอัตราส่วนสินเชื่อต่อรายได้ผู้กู้ (loan-to-income : LTI ) โน้มสูงขึ้นเช่นกัน ประกอบกับคุณภาพสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยด้อยลง สะท้อนจากสัดส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL ratio) ที่ยังปรับเพิ่มขึ้น ท้ังนี้ แม้ฐานะการเงินโดยรวมของ ธพ. จะมีความเข้มแข็ง แต่ ธพ. ควรระมัดระวัง การปล่อยสินเชื่อในลักษณะดังกล่าว ซึ่งทำให้ภาคครัวเรือนมีภาระหนี้สูง และอาจกระทบกับความสามารถในการรองรับความเสี่ยงของภาคครัวเรือนในระยะต่อไป

ขณะเดียวกัน ยังต้องติดตามความเสี่ยงจากภาวะอุปทาน คงค้างในตลาดอสังหาริมทรัพย์ โดยอาคารชุดบางทำเล และบางระดับราคายังระบายออกได้ช้า ขณะที่ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ระดมทุนผ่านสินเชื่อ ธพ. และตราสารหนี้ เพื่อขยายธุรกิจเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจส่งผลให้อุปทานเร่งตัวขึ้นในอนาคต ที่ประชุมจึงเห็นควรให้ติดตาม และประเมินภาวะการแข่งขันในตลาด สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และภาวะอุปทานคงค้างของอาคารชุดในบางทำเล รวมถึงอุปทานของพื้นที่อาคารสานักงาน และพื้นที่ค้าปลีกที่อาจจะเร่งตัวขึ้นจากโครงการอสังหาริมทรัพย์แบบผสม (mixed-use) ในอนาคต พฤติกรรมการแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้น (search for yield) ยังคงมีอยู่ต่อเนื่อง โดยเฉพาะพฤติกรรมการแสวงหาผลตอบแทนผ่านสหกรณ์ออมทรัพย์ สะท้อนจากเงินรับฝากและเงินลงทุนในหลักทรัพย์ของสหกรณ์ออมทรัพย์ที่ยังขยายตัวในอัตราสูง ขณะที่สหกรณ์ออมทรัพย์ขนาดใหญ่บางแห่งมีการพึ่งพาเงินกู้ยืมระยะสั้นมากขึ้น เมื่อภาวะการเงินตึงตัว และอัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินปรับสูงขึ้น จะส่งผลกระทบต่อการระดมทุนต้นทุนทางการเงิน มูลค่าเงินลงทุนในหลักทรัพย์ และสภาพคล่องโดยรวมในระบบสหกรณ์ออมทรัพย์ได้ ควรเร่งยกระดับการกำกับดูแล และการปรับปรุงกฎหมายเพื่อกำกับดูแลสหกรณ์ออมทรัพย์โดยเฉพาะรายที่มีขนาดใหญ่ มีความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อให้สหกรณ์ออมทรัพย์มีความเข้มแข็ง สามารถดำเนินงานได้สอดคล้องกับปรัชญาของสหกรณ์โดยไม่ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพการเงินโดยรวม และพร้อมรองรับภาวะการเงินที่อาจตึงตัวขึ้นในระยะข้างหน้าสำหรับพฤติกรรม search for yield

ในระยะต่อไป ระบบการเงินไทยยังต้องเผชิญความไม่แน่นอนจากการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจการเงิน ของประเทศอุตสาหกรรมหลัก ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับนโยบายกีดกันทางการค้า ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ รวมถึงการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยที่ยังไม่กระจายตัวเต็มที่ ที่ประชุมจึงเห็นว่าต้องติดตามความเสี่ยงในบางจุดที่อาจสร้างความเปราะบางให้กับระบบการเงินไทย ได้แก่ ผลกระทบหากภาวะการเงินตึงตัวรุนแรงต่อการต่ออายุ เงินกู้ยืม (roll-over) และต้นทุนการกู้ยืมของภาคธุรกิจโดยเฉพาะกลุ่มที่พึ่งพาการออกตราสารหนี้สูง ความสามารถในการชำระหนี้ของ SMEs และภาคครัวเรือน ภาวะอุปทานคงค้างในอาคารชุด และอุปทานของพื้นที่ อาคารสำนักงานและพื้นที่ค้าปลีกที่อาจเร่งขึ้นจากโครงการอสังหาริมทรัพย์แบบผสม (mixed-use) รวมถึงพฤติกรรม search for yield ซึ่งอาจนำไปสู่การ underpricing of risks โดยเฉพาะพฤติกรรมการแสวงหาผลตอบแทนผ่านสหกรณ์ออมทรัพย์


กำลังโหลดความคิดเห็น