บอร์ดนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐเห็นชอบร่างระเบียบที่เกี่ยวกับการพาณิชย์ของรัฐวิสาหกิจเพิ่มอีก 11 แห่ง ขณะที่อีก 8 แห่งรอพิจารณาต่อ พร้อมมีมติเห็นชอบประกาศเรื่องการทำข้อตกลงเป็นหนังสือในกรณีอื่นหากหน่วยงานของรัฐจำเป็นต้องจัดซื้อโดยตรงจากต่างประเทศ หรือดำเนินการโดยผ่านองค์การระหว่างประเทศ เผยขณะนี้อยู่ระหว่างประกาศในราชกิจจานุเบกษา อีกทั้งได้มีการพิจารณาร่างประกาศเกี่ยวกับกรณีการจ้างที่ปรึกษาต่างประเทศ
นางสาวสุทธิรัตน์ รัตนโชติ อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า คณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ได้พิจารณาร่างกฎหรือระเบียบของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง ตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 จำนวน 12 แห่ง เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2561 ที่ผ่านมา โดยได้พิจารณาว่าเป็นไปตามหลักการมาตรา 8 ของพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ พ.ศ. 2560 ในเรื่องของความคุ้มค่า โปร่งใส มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และตรวจสอบได้
รวมทั้งยังมีความสอดคล้องกับระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ซึ่งหากมีความแตกต่างในประเด็นใดจะต้องมีเหตุผลประกอบการพิจารณา เช่น จำเป็นต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และลักษณะของการดำเนินธุรกิจ รวมทั้งมีกลไกในการกำกับดูแลและกำหนดขั้นตอนการปฏิบัติที่ชัดเจน
นางสาวสุทธิรัตน์ กล่าวต่อว่า ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบร่างกฎหรือระเบียบของรัฐวิสาหกิจที่เป็นไปตามกรอบข้างต้น จำนวน 11 แห่ง ประกอบด้วย 1. การไฟฟ้านครหลวง 2. บริษัท พีอีเอ เอ็นคอม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด 3. บริษัท ไทยสมายล์แอร์เวย์ จำกัด 4. บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด 5. องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย 6. องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ 7. บริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)
8. ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครือ (บริษัท รักษาความปลอดภัย กรุงไทยธุรกิจบริการ จำกัด และบริษัท กรุงไทยธุรกิจลิสซิ่ง จำกัด) 9. ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย 10. ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย และ 11. บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
กรมบัญชีกลางจะแจ้งผลการพิจารณาดังกล่าวให้รัฐวิสาหกิจข้างต้น ดำเนินการให้ผู้มีอำนาจพิจารณาออกกฎหรือระเบียบตามที่คณะกรรมการนโยบายฯ เห็นชอบเพื่อประกาศใช้บังคับต่อไป ทั้งนี้ ร่างกฎหรือระเบียบของรัฐวิสาหกิจฯ อีก 8 แห่งที่ยังเหลือจะพิจารณาในครั้งถัดไป
อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากนี้ คณะกรรมการนโยบายฯ ได้มีมติเห็นชอบประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ เรื่อง การทำข้อตกลงเป็นหนังสือในกรณีอื่น ซึ่งหากหน่วยงานของรัฐจำเป็นต้องจัดซื้อโดยตรงจากต่างประเทศ หรือดำเนินการโดยผ่านองค์การระหว่างประเทศ ซึ่งอาจมีกฎหมาย ธรรมเนียมปฏิบัติ หรือจารีตประเพณีของต่างประเทศเป็นการเฉพาะ หรือต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของผู้ให้เช่าเป็นสำคัญ ขณะนี้อยู่ระหว่างการประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป อีกทั้งได้มีการพิจารณาร่างประกาศเกี่ยวกับกรณีการจ้างที่ปรึกษาต่างประเทศ ซึ่งอยู่ระหว่างปรับปรุงแก้ไขเนื้อหาให้เหมาะสม ก่อนเสนอคณะกรรมการนโยบายฯ พิจารณาอีกครั้ง
นางสาวสุทธิรัตน์ รัตนโชติ อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า คณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ได้พิจารณาร่างกฎหรือระเบียบของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง ตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 จำนวน 12 แห่ง เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2561 ที่ผ่านมา โดยได้พิจารณาว่าเป็นไปตามหลักการมาตรา 8 ของพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ พ.ศ. 2560 ในเรื่องของความคุ้มค่า โปร่งใส มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และตรวจสอบได้
รวมทั้งยังมีความสอดคล้องกับระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ซึ่งหากมีความแตกต่างในประเด็นใดจะต้องมีเหตุผลประกอบการพิจารณา เช่น จำเป็นต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และลักษณะของการดำเนินธุรกิจ รวมทั้งมีกลไกในการกำกับดูแลและกำหนดขั้นตอนการปฏิบัติที่ชัดเจน
นางสาวสุทธิรัตน์ กล่าวต่อว่า ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบร่างกฎหรือระเบียบของรัฐวิสาหกิจที่เป็นไปตามกรอบข้างต้น จำนวน 11 แห่ง ประกอบด้วย 1. การไฟฟ้านครหลวง 2. บริษัท พีอีเอ เอ็นคอม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด 3. บริษัท ไทยสมายล์แอร์เวย์ จำกัด 4. บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด 5. องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย 6. องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ 7. บริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)
8. ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครือ (บริษัท รักษาความปลอดภัย กรุงไทยธุรกิจบริการ จำกัด และบริษัท กรุงไทยธุรกิจลิสซิ่ง จำกัด) 9. ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย 10. ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย และ 11. บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
กรมบัญชีกลางจะแจ้งผลการพิจารณาดังกล่าวให้รัฐวิสาหกิจข้างต้น ดำเนินการให้ผู้มีอำนาจพิจารณาออกกฎหรือระเบียบตามที่คณะกรรมการนโยบายฯ เห็นชอบเพื่อประกาศใช้บังคับต่อไป ทั้งนี้ ร่างกฎหรือระเบียบของรัฐวิสาหกิจฯ อีก 8 แห่งที่ยังเหลือจะพิจารณาในครั้งถัดไป
อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากนี้ คณะกรรมการนโยบายฯ ได้มีมติเห็นชอบประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ เรื่อง การทำข้อตกลงเป็นหนังสือในกรณีอื่น ซึ่งหากหน่วยงานของรัฐจำเป็นต้องจัดซื้อโดยตรงจากต่างประเทศ หรือดำเนินการโดยผ่านองค์การระหว่างประเทศ ซึ่งอาจมีกฎหมาย ธรรมเนียมปฏิบัติ หรือจารีตประเพณีของต่างประเทศเป็นการเฉพาะ หรือต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของผู้ให้เช่าเป็นสำคัญ ขณะนี้อยู่ระหว่างการประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป อีกทั้งได้มีการพิจารณาร่างประกาศเกี่ยวกับกรณีการจ้างที่ปรึกษาต่างประเทศ ซึ่งอยู่ระหว่างปรับปรุงแก้ไขเนื้อหาให้เหมาะสม ก่อนเสนอคณะกรรมการนโยบายฯ พิจารณาอีกครั้ง