xs
xsm
sm
md
lg

กรุงไทย-กสิกรไทย กำไรลด-ตั้งสำรองเพิ่ม-เกียรตินาคิน กำไรโต 1.9%

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


ปิดท้ายผลประกอบการแบงก์ กรุงไทย-กสิกรไทย กำไรไตรมาส 3 ลดลง 31% และ 12% ตามลำดับ ปัจจัยหลักมาจากการตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญเพิ่ม ขณะที่เกียรตินาคิน กำไรเพิ่ม 1.9%

นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ในช่วงไตรมาส 3 ปี 2560 ธนาคารมีกำไรสุทธิ 5,872 ล้านบาท ลดลง 31.96% สาเหตุหลักจากการกันสำรองหนี้สูญ หนี้สงสัยจะสูญ เพิ่มขึ้น 29.88% โดยธนาคารได้ตั้งสำรองหนี้เพิ่มเติมบางส่วน เพื่อเสริมสร้างเงินสำรองตามหลักเกณฑ์ความระมัดระวังของธนาคาร ส่งผลให้อัตราส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ(Coverage Ratio) อยู่ที่ 115.37% เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 2 ปี 2560 ที่ 112.50% ตามนโยบายของธนาคารที่ต้องการให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม คือ ไม่ต่ำกว่า 110% อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า เพิ่มขึ้น 82.25% เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2560 ปรับตัวดีขึ้นจากการตั้งสำรองหนี้สูญ หนี้สงสัยจะสูญ ลดลง 28.53% จากไตรมาส 2 ปี 2560 โดยธนาคารปรับกลยุทธ์เน้นการเติบโตสินเชื่ออย่างมีคุณภาพ ปรับเพิ่มความสมดุลของพอร์ตสินเชื่อ ดูแลแก้ไขสินเชื่อด้อยคุณภาพอย่างใกล้ชิด ขณะที่เงินกองทุนมีความแข็งแกร่ง อยู่ที่ระดับ 16.98% สูงกว่าเกณฑ์ ธปท.

ทั้งนี้ ธนาคารและบริษัทย่อยมีเงินให้สินเชื่อ ณ ไตรมาส 3 ปี 2560 อยู่ที่ 1,875,807 ล้านบาท ลดลง 1.49% จากสิ้นปี 2559 โดยธนาคารได้มุ่งเน้นการเติบโตสินเชื่ออย่างยั่งยืน ทั้งนี้ สินเชื่อภาครัฐของธนาคารขยายตัวได้ดีมาก สอดคล้องกับการขยายตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งทดแทนการชะลอตัวในสินเชื่อภาคเอกชนบางส่วน ขณะที่เงินฝากอยู่ที่ 1,950,085 ล้านบาท ลดลง 1.13% เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2559 ซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายการบริหารต้นทุนทางการเงินของธนาคารที่มุ่งให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

“ผลประกอบการจากการบริหารจัดการในธุรกิจหลักของธนาคารปรับตัวดีขึ้น โดยค่าธรรมเนียมและบริการ และค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานมีแนวโน้มที่ดีขึ้น ทดแทนบางส่วนของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่ลดลงเล็กน้อย ซึ่งได้รับผลกระทบจากการผันผวนทางตลาดด้วย”

อย่างไรก็ตาม นโยบายการบริหารต้นทุนทางการเงินที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนสุทธิต่อสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้ (NIM) ในไตรมาส 3 ปี 2560 อยู่ที่ 3.29% เพิ่มขึ้นจาก 3.24% ในไตรมาส 3 ปี 2559 และธนาคารยังสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้ดี ทำให้อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ อยู่ที่ 41.40% ลดลงจากไตรมาส 3 ปี 2559 ที่ 41.65% อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPLs gross) อยู่ที่ 4.51% เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2560 อยู่ที่ 4.33% โดยเป็นการเพิ่มขึ้นจากสินเชื่อกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในบางอุตสาหกรรม

นายผยง กล่าวอีกว่า ธนาคารคาดว่า สินเชื่อในไตรมาส 4 จะปรับตัวดีขึ้น ขณะที่ธนาคาร มีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS Ratio) ณ ไตรมาส 3 ปี 2560 อยู่ที่ 16.98% โดยเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 อยู่ที่ 13.33% สูงขึ้นเมื่อเทียบสิ้นปี 2559 ที่ 16.85%

กสิกรฯกำไรลด12.7%

นายปรีดี ดาวฉาย กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานสำหรับงวด 9 เดือน ปี 2560 เมื่อเปรียบเทียบกับงวดเดียวกันของปี 2559 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิ จำนวน 28,631 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อน จำนวน 1,299 ล้านบาท หรือ 4.34% ส่วนใหญ่เกิดจากธนาคารมีการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรจากการดำเนินงานก่อนหักหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญ และภาษีเงินได้ จำนวน 70,647 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อน จำนวน 1,650 ล้านบาท หรือ 2.39% ส่วนใหญ่เกิดจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้น จำนวน 3,467 ล้านบาท หรือ 5.20% และมี NIM อยู่ที่ระดับ 3.44% โดยรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยลดลง จำนวน 652 ล้านบาท หรือ 1.34% ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากรายได้สุทธิจากการรับประกันภัยลดลง ขณะที่รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิเพิ่มขึ้น จำนวน 1,887 ล้านบาท หรือ 6.49% นอกจากนี้ ค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ เพิ่มขึ้นจำนวน 1,165 ล้านบาท หรือ 2.52% ส่งผลให้อัตราส่วนค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ ต่อรายได้จากการดำเนินงานสุทธิ (Cost to income ratio) อยู่ที่ระดับ 40.16%

ส่วนผลการดำเนินงานสำหรับไตรมาส 3 ปี 2560 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิ จำนวน 9,473 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 12.7% แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน จำนวน 487 ล้านบาท หรือ 5.42% ส่วนใหญ่เกิดจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้น จำนวน 367 ล้านบาท หรือ 1.57% และมี NIM อยู่ที่ระดับ 3.47% รวมถึงรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น จำนวน 468 ล้านบาท หรือ 2.93% ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากรายได้จากผลิตภัณฑ์ตลาดทุน และรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิเพิ่มขึ้น ขณะที่รายได้สุทธิจากการรับประกันภัยลดลง นอกจากนี้ ค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ เพิ่มขึ้นจำนวน 487 ล้านบาท หรือ 3.07% ส่งผลให้อัตราส่วนค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ ต่อรายได้จากการดำเนินงานสุทธิ (Cost to income ratio) อยู่ที่ระดับ 40.70%

ณ วันที่ 30 กันยายน 2560 ธนาคารและบริษัทย่อยมีสินทรัพย์รวมจำนวน 2,863,314 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2559 จำนวน 20,036 ล้านบาท หรือ 0.70% ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของรายการระหว่างธนาคารและตลาดเงินสุทธิ และเงินให้สินเชื่อ สำหรับสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อเงินให้สินเชื่อ (%NPL gross) ณ วันที่ 30 กันยายน 2560 อยู่ที่ระดับ 3.30% ขณะที่สิ้นปี 2559 อยู่ที่ระดับ 3.32% อัตราส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพ (Coverage ratio) ณ วันที่ 30 กันยายน 2560 อยู่ที่ระดับ 140.66% ขณะที่สิ้นปี 2559 อยู่ที่ระดับ 130.92% สำหรับอัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้นต่อสินทรัพย์เสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงินธนาคารกสิกรไทยตามหลักเกณฑ์ Basel III ณ วันที่ 30 กันยายน 2560 อยู่ที่ 18.23% โดยมีอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 อยู่ที่ 15.91%

KKP กำไรเพิ่ม 1.9%

กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร แจ้งผลประกอบการไตรมาส 3/2560 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิ 1,723 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.4 เมื่อเทียบไตรมาส 2/2560 หากเปรียบเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2559 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 ส่วนผลการดำเนินงานงวด 9 เดือนปี 2560 เปรียบเทียบกับงวด 9 เดือนปี 2559 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิเท่ากับ 4,432 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 จากงวดเดียวกันของปี 2559

ณ สิ้นไตรมาส 3/2560 มียอดสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญและค่าเผื่อการปรับมูลค่าจากการปรับโครงสร้างหนี้มีจำนวน 10,892 ล้านบาท โดยมียอดสำรองทั่วไปทั้งสิ้น 4,500 ล้านบาท อัตราส่วนสำรองทั้งสิ้นต่อสำรองตามเกณฑ์เท่ากับร้อยละ 185.4 เปรียบเทียบกับร้อยละ 181.6 169.8 ณ สิ้นไตรมาส 3/2559 และมีอัตราส่วนสำรองต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพเท่ากับร้อยละ 105.6 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 105.4 ณ สิ้นไตรมาส 3/2559

ส่วนภาพรวมการดำเนินธุรกิจของธนาคารเกียรตินาคินในไตรมาส 3 ปี 2560 สินเชื่อของธนาคารขยายตัวที่ร้อยละ 0.2 จากสิ้นไตรมาส 2/2560 ส่งผลให้สินเชื่อรวมของธนาคารขยายตัวที่ร้อยละ 4.4 เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2559 ในด้านคุณภาพของสินเชื่อ ปริมาณสินเชื่อด้อยคุณภาพรวมมีการปรับตัวลดลงจากสิ้นไตรมาส 2/2560 ส่งผลให้อัราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อสินเชื่อรวม ณ สิ้นไตรมาสที่ 3/2560 อยู่ที่ร้อยละ 5.6 ลดลงจาก 5.8 ณ สิ้นไตรมาส 2/2560
สินบนข้ามชาติกับ การปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ ไม่ง่ายอย่างที่ คสช.คิด
สินบนข้ามชาติกับ การปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ ไม่ง่ายอย่างที่ คสช.คิด
บัดนี้เวลาผ่านไปแล้ว เกือบ 6 เดือนนับตั้งแต่ ร่าง พรบ. ผ่าน ครม. ไม่รู้ว่า จะถึงคิวที่ สนช. หยิกยกขึ้นมาพิจารณาเมื่อไร และจะมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลง ในสาระสำคัญ ให้ต่างไปจากเจตนารมณ์ดั้งเดิมของกฎหมาย เหมือนร่างกฎหมายเศรษฐกิจบางฉบับ หรือไม่ หรือ อาจจะไม่ได้ประกาศใช้เป็นกฎหมายเลย สินบน โรลส์รอน และสินบนเจเนรัล เคเบิ้ล เป็นเพียงยอดภูเขาน้ำแข็งที่โผล่พ้นน้ำขึ้นมา รัฐวิสาหกิจ มีมูลค่า การจัดซื้อ จัดจ้าง แต่ละปี 4- 5 แสนล้านบาท เงินสินบน ใต้โต๊ะรวมๆกันแล้ว จะมีมูลค่าสักเท่าไร จู่ๆ ผลประโยชน์แบบกินตามน้ำที่นักการเมือง ข้าราชการชั้นผุ้ใหญ่แต่ละกระทรวง แบ่งๆกันกิน จะถูกดึงออกไป ภายใต้ร่าง พรบ. นี้ คงไม่มีใครยอมง่ายๆ
กำลังโหลดความคิดเห็น