เรื่อง สินบนข้ามชาติ ทั้งจากชาติอังกฤษคือ โรลส์รอย ที่พาดพิงไปถึงบริษัทท การบินไทย กับ ปตท. และ สินบนจากบริษัท เจเนรัล เคเบิล ของสหรัฐอเมริกา ที่การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และ บริษัททีโอที จำกัด ( มหาชน) ทำให้นึกถึง แผนการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ 556 แห่ง ของคณะรักษาความสงบแหง่ชาติ ว่า ไปถึงไหนแล้ว
ทั้ง 5 หน่วยงานที่ถูกแฉว่า รับสินบน ล้วนเป็นรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ มูลค่าของเงินสินบน รวมกันแล้ว เกือบ 2 พันล้านบาท เฉพาะการซื้อขายที่โรลส์รอย และเจเนรัล เคเบิล เปิดเผยออกมา
การจัดซื้อ จัดจ้าง ในรัฐวิสาหกิจอื่นๆอีก 50 แห่ง ที่ไม่ถูกขุดคุ้ย จะมีการจ่ายเงินใต้โต๊ะรวมกันแล้วเป็นเงินมากแค่ไหน ไม่เป็นหมื่นๆล้านหรอกหรือ
คิดเรื่องนี้แล้ วก็อดสงสับไม่ได้ว่า ผลประโยชน์มากมายขนาดนี้ อาจจะเป็นสาเหตุสำคัญแห่งความล่าช้า อย่างผิดปกติ ของ การปฏิรูปรัฐสาหกิจ หรือไม่
หลังจาก คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ยึดอำนาจเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ได้เพียงเดือนเศษ ก็มีคำสั่ง แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแล รัฐวิสาหกิจ หรือ คนร ประกอบด้วย กรรมการ 17 คน . มี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะ หัวหน้า คสช. เป็นประธาน รองหัวหน้า คสช. ฝ่ายเศรษฐกิจเป็นรองประธาน มีกรรมการประกอบด้วยปลัดกระทรวง ที่เป็นต้นสังกัดรัฐวิสาหกิจ เช่น ปลัดกระทรวงการคลัง กระทรวงพลังงาน กระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย ฯลฯ ผู้ว่า แบงก์ชาติ เลขาธิการ ก.ล.ต. และภาคเอกชนคือ นายบัณฑูร ล่ำซำ ประธานกรรมการธนาคารกสิกรไทย นายบรรยง พงษ์พาณิชย์ ประธานกรรมการกลุ่มธุรกิจการเงิน เกียรตินาคิน นายวีรไท สันติประภพ ซึ่งตอนนั้นยังไม่ได้เป็นผู้ว่าแบงก์ชาติ
คณะกรรมการชุดนี้ มีหน้าที่จัดทำแผนการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ ให้มีประสิทธิภาพ และมีความโปร่งใส
การเกิดขึ้นของ คนร. หลังการยึดอำนาจเพียงเดือนเดียว และการที่ หัวหน้า คสช. นั่งเป็นประธาน คนร. ด้วยตัวเอง สะท้อนให้เห็นว่า คสช. ให้ความสำคัญกับการปฏิรูป เปลี่ยนแปลง รัฐวิสาหกิจ เป็นลำดับแรกๆ ของวาระ ปฏิรูปประเทศ
ผ่านไป 2 ปีครึ่ง ผลงานของ คณะกรรมการชุดนี้คือ ร่าง พรบ. การพัฒนาการกำกับดูแล และ การบริหารรัฐสาหกิจ ซึ่งจะเป็นเครื่องมือในการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ ตามเจตจำนงของ คสช. เมื่อสองปีก่อน
เดิม คนร. มีกำหนดการว่า ร่าง กฎหมายฉบับนี้ จะมีผลบังคับใช้ ในไตรมาสแรกของ .พ.ศ. 2559 แต่เพิ่งจะได้ได้รับการบรรจุเข้า ที่ประชุม ครม. เพื่อให้ความเห็นชอบในหลักกา ร เมื่อเดือนสิงหาคม ปีที่แล้ว เมื่อถูกถามถึง สาเหตุแห่งความล่าช้า ก็ได้รับคำตอบว่า รอให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาอยู่ ทั้งๆที่ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ก็นั่งเป็นกรรมการอยู่ด้วยแล้ว
หลังจาก ครม. เห็นชอบแล้ว ก็ต้องส่งร่าง กฎหมายให้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ( สนช. ) พิจารณาให้ความเห็นชอบ
หัวใจสำคัญ ที่จะนำไปสู่การปฏิรูป รัฐวิสาหกิจ ตาม ร่าง กฎหมายนี้คือ การตั้ง ซุปเปอร์โฮลดิ้ง คัมปะนี หรือ บรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติ ขึ้นมากำกับดูแลรัฐวิสาหกิจที่แปลงเป็นบริษัท และบริษัทมหาชน แล้วรวม 12 แห่ง คือ การบินไทย ปตท. อสมท ทีโอที กสท ธนาคารกรุงไทย บริษัทท่าอากาศยาน ประเทศไทย บริษัทขนส่ง บริษัทไปรษณย์ไทย บริษัทธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ บริษัทอู่กรุงเทพ และ บริษัทสหโรงแรมไทยและการท่องเที่ยวไทย
การกำกับดูแลของซุปเปอร์โฮลดิ้ง ก้คือ การเข้าไปเป็นผู้ถือหุ้นแทนกระทรวงการคลัง ในรัฐวิสาหกิจทั้ง 12 แห่งนี้ มีอำนาจในการแต่งตั้งกรรมการ กำหนดนโยบาย ติดตามตรวจาสอบการดำเนินงาน อำนาจเหล่านี้ เคยเป็นของ นักการเมือง และข้าราชการของกระทรวงต้นสังกัด เช่น ปตท. เป็นของ กระทรวงพลังงาน การบินไทยเป็นของกระทรวงคมนาคม ทีโอที และ กสท. เป็นของ กระทรวงไอซีที หรือกระทรวงดิจิตัล ในปัจจุบัน เมื่อ ร่าง พรบ. พัฒนาการกำกับดูแล และการบริหารรัฐวาหกิจ มีผลบังคับใช้ มีการตั้งบรรษัทวิสาหกิจแหง่ชาติขึ้น อำนาจนี้ก็จะถูกถ่ายโอน เคลื่อนย้ายไปรวมศุนย์ที่ซุปเปอร์ โฮลดิ้งนี้ ซึ่งมีกรรมการเป็นกรรมการผุ้ทรงคุณวุฒิจากการสรรหา เก้าคน จากกรรมการทั้งหมด 10 คน ไม่ใช่กรรมการที่กระทรวงต้นสังกัดส่งมา
บัดนี้เวลาผ่านไปแล้ว เกือบ 6 เดือนนับตั้งแต่ ร่าง พรบ. ผ่าน ครม. ไม่รู้ว่า จะถึงคิวที่ สนช. หยิกยกขึ้นมาพิจารณาเมื่อไร และจะมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลง ในสาระสำคัญ ให้ต่างไปจากเจตนารมณ์ดั้งเดิมของกฎหมาย เหมือนร่างกฎหมายเศรษฐกิจบางฉบับ หรือไม่ หรือ อาจจะไม่ได้ประกาศใช้เป็นกฎหมายเลย
สินบน โรลส์รอน และสินบนเจเนรัล เคเบิ้ล เป็นเพียงยอดภูเขาน้ำแข็งที่โผล่พ้นน้ำขึ้นมา รัฐวิสาหกิจ มีมูลค่า การจัดซื้อ จัดจ้าง แต่ละปี 4- 5 แสนล้านบาท เงินสินบน ใต้โต๊ะรวมๆกันแล้ว จะมีมูลค่าสักเท่าไร จู่ๆ ผลประโยชน์แบบกินตามน้ำที่นักการเมือง ข้าราชการชั้นผุ้ใหญ่แต่ละกระทรวง แบ่งๆกันกิน จะถูกดึงออกไป ภายใต้ร่าง พรบ. นี้ คงไม่มีใครยอมง่ายๆ