ตัวแทนผู้ถือหุ้นรายย่อย IFEC ชี้ ก.ล.ต.หลงประเด็นปัญหาไอเฟค มองเป็นเรื่องความขัดแย้งภายในองค์กร จึงไม่ยอมลงดาบเพื่อปกป้องนักลงทุน ปล่อย “หมอวิชัย” ทำผิดกฎหมาย ท้าทายอำนาจฝ่ายกำกับ ไร้กรรมการตรวจสอบ จนได้ใจ แอบขายโรงไฟฟ้า-จำนำหุ้น ICAP แลกยืดหนี้ตั๋วบี/อี ชี้ยังมองไม่เห็นอนาคตปลดเครื่องหมาย SP
นายชัยวัฒน์ พิทักษ์รักธรรม ตัวแทนผู้ถือหุ้นรายย่อย บริษัท อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ เอ็นเนอร์ยี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (IFEC) เปิดเผยถึงกรณีผู้ถือหุ้นรายย่อยไอเฟค ไปยื่นหนังสือร้องเรียนถึงพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อร้องเรียน และขอความเป็นธรรมกรณีองค์กรของรัฐ 2 หน่วยงาน คือ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายเพื่อปกป้องผู้ลงทุนเพื่อให้ได้รับความเป็นธรรมว่า สำนักงาน ก.ล.ต.กำลังหลงประเด็น และมองว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นกับไอเฟค เป็นปัญหาภายใน เกิดจากความขัดแย้งของผู้บริหาร ทำให้ไม่เข้าไปก้าวก่าย โดย ก.ล.ต. ระบุว่า ได้มีการเชิญผู้บริหารเข้ามาประชุมร่วมกัน และหาทางแก้ปัญหาร่วมกันแล้ว แต่ในความเป็นจริง คือ ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นผลพวงมาจากการบริหารงานที่ผิดพลาด ส่อไปในทางไม่สุจริต และไม่คำนึงถึงหลักธรรมาภิบาล
ยกตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจน คือ กรณีที่ประธานไอเฟค และกรรมการ แอบนำหุ้น บริษัท อินเตอร์ฟาร์อีสท์ แคป แมเนจเม้นท์ จำกัด (ICAP) ซึ่งเป็นบริษัทที่ถือหุ้นของโรงแรมดาราเทวี ในสัดส่วน 51% ของทุนจดทะเบียนชำระแล้วของบริษัท ซึ่งหากประเมินคร่าวๆ จากมูลค่าของโรงแรมดาราเทวี คิดเป็นมูลค่าประมาณ 2,000 ล้านบาท ไปจำนองเพื่อค้ำประกันหนี้ตั๋วบี/อี มูลค่าเพียง 100 ล้านบาท แล้วปล่อยให้มีการผิดชำระหนี้ ทั้งที่ไม่มีสิทธิ และอำนาจในการดำเนินการดังกล่าว โดยช่วงเวลานั้น กรรมการของไอเฟค เหลืออยู่เพียง 2 คนจากทั้งคณะมีจำนวน 9 คน
“แม้ประธานไอเฟค จะอ้างว่า การค้ำประกันดังกล่าวไม่ถูกต้องตามธุรกรรมปกติ และกรณีนี้ไม่มีผลทำให้บริษัทได้รับความเสียหาย ซึ่งผู้ถือหุ้นรายย่อยมองว่า ถือเป็นความเสี่ยงเป็นอย่างมาก และอาจก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อบริษัท และไม่รู้ว่าจะมีการสอดไส้อะไรอีกหรือไม่ เพราะในเวลานั้น ไม่มีคณะกรรมการตรวจสอบ หรือหน่วยงานใดเข้าไปตรวจสอบการบริหารงานของประธานไอเฟค” ตัวแทนผู้ถือหุ้นรายย่อยระบุ
นอกจากนี้ คณะกรรมการชุดดังกล่าวยังได้ทำธุรกรรมการขอกู้ยืมเงินจาก บริษัท อีสต์โคสท์ เฟอร์นิเทค จำกัด (มหาชน) (ECF) จำนวน 50 ล้านบาท โดยต้องเสียดอกเบี้ยในอัตรา 6.25% พร้อมกับนำหุ้นที่ IFEC ถืออยู่ในบริษัท อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ เทอมอล พาวเวอร์ จำกัด (IFEC-T) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ IFEC ซึ่งทำธุรกิจโรงไฟฟ้าชีวมวลไปจำนำค้ำประกันการกู้ยืมเงิน ซึ่งโดยหลักการแล้ว ผู้ซื้อต้องเป็นผู้วางเงินมัดจำให้กับไอเฟค ไม่ใช่ไอเฟค ต้องไปทำสัญญาเงินกู้กับผู้ซื้อ
อีกประเด็น คือ ปัญหาภาระหนี้สินของไอเฟค จนถึงขณะนี้ยังไม่สามารถชี้แจงตลาดหลักทรัพย์ฯ ถึงแนวทางการแก้ปัญหาหนี้ตั๋วแลกเงินระยะสั้น (บี/อี) เกือบ 3,000 ล้านบาท ซึ่งประธานไอเฟค อ้างว่า สามารถปรับโครงสร้างหนี้เรียบร้อยแล้ว 1,000 ล้านบาท แต่ก็ไม่ได้รับการยืนยันจากเจ้าหนี้ว่า มีการเจรจาจริงหรือไม่ โดยล่าสุด ไอเฟคจ่ายหนี้ดอกเบี้ยหุ้นกู้ได้เพียง 3.95 ล้านบาทเท่านั้น จากยอดที่จะต้องจ่ายในวันที่ 5 พฤษภาคม 2560 จำนวน 35.5 ล้านบาท ของมูลค่าหุ้นกู้ที่เสนอขายจำนวน 3,000 ล้านบาท โดยไอเฟค ระบุว่า จะจ่ายส่วนที่เหลือในวันที่ 14 มิถุนายนนี้ ทั้งที่ไอเฟค มีเงินจากการแปลงสภาพใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุน (IFEC-W-1) ประมาณ 37 ล้านบาท เพราะเหตุใด จึงไม่สามารถคืนหนี้ดอกเบี้ยให้กับเจ้าหนี้หุ้นกู้ได้
ล่าสุด เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคมที่ผ่านมา มีชายแต่งกายคล้ายทหาร และตำรวจ เข้ายึดโรงแรมดาราเทวี มีการเปลี่ยน GM ผู้บริหารโรงแรม และโอนเงินทุนหมุนเวียนของโรงแรม จำนวน 40 ล้านบาท ออกไป ซึ่งทำให้เกิดปัญหาด้านการเงินต่อโรงแรมดาราเทวีในทันที
“เห็นได้ชัดเจนว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นกับไอเฟค เป็นเรื่องการบริหารงานที่ผิดพลาด ส่อไปในทางไม่สุจริต ไร้ซึ่งธรรมาภิบาล ปกปิดข้อมูลทางบัญชี และการเงิน โดยไม่ยินยอมส่งงบบัญชีที่รับรองโดยผู้สอบบัญชี สร้างความเสียหายให้กับผู้ถือหุ้นรายย่อย ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา เราได้ทำหนังสือถึงสำนักงาน ก.ล.ต.ในฐานะผู้มีอำนาจดูแล แต่กลับวางเฉยไม่ดำเนินการใดๆ ยิ่งปล่อยนานวัน ปัญหาไอเฟค ยิ่งถลำลึก โดนแขวน SP มาเกือบครึ่งปี ยังไม่เห็นทางออก นั่นก็เพราะสำนักงาน ก.ล.ต. มองว่า เป็นปัญหาภายใน แล้วปัดความรับผิดชอบให้ผู้ถือหุ้นรักษาผลประโยชน์ตัวเอง ด้วยการเข้าประชุมผู้ถือหุ้น ทั้งนี้ ที่ผ่านมา ก็เห็นอยู่แล้วว่า ประธานไอเฟคทำอะไร มีการใช้วิธีการลงคะแนนแบบเทคะแนน (Cumulative Voting) ในการเลือกตั้งกรรมการ ซึ่งเป็นวิธีที่ผิดกฎหมาย และระเบียบของบริษัท ในตอนนั้น เจ้าหน้าที่ของ ก.ล.ต.ที่เข้าสังเกตการณ์การประชุมก็เตือน แต่ประธานไอเฟค ก็ยังเดินหน้าต่อ โดยไม่เกรงกลัวกฎหมาย แล้วอย่างนี้รายย่อยจะพึ่งใครได้ ถ้าไม่มีใครเข้าไปตรวจสอบ” ตัวแทนผู้ถือหุ้นรายย่อย กล่าว
นายชัยวัฒน์ พิทักษ์รักธรรม ตัวแทนผู้ถือหุ้นรายย่อย บริษัท อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ เอ็นเนอร์ยี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (IFEC) เปิดเผยถึงกรณีผู้ถือหุ้นรายย่อยไอเฟค ไปยื่นหนังสือร้องเรียนถึงพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อร้องเรียน และขอความเป็นธรรมกรณีองค์กรของรัฐ 2 หน่วยงาน คือ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายเพื่อปกป้องผู้ลงทุนเพื่อให้ได้รับความเป็นธรรมว่า สำนักงาน ก.ล.ต.กำลังหลงประเด็น และมองว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นกับไอเฟค เป็นปัญหาภายใน เกิดจากความขัดแย้งของผู้บริหาร ทำให้ไม่เข้าไปก้าวก่าย โดย ก.ล.ต. ระบุว่า ได้มีการเชิญผู้บริหารเข้ามาประชุมร่วมกัน และหาทางแก้ปัญหาร่วมกันแล้ว แต่ในความเป็นจริง คือ ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นผลพวงมาจากการบริหารงานที่ผิดพลาด ส่อไปในทางไม่สุจริต และไม่คำนึงถึงหลักธรรมาภิบาล
ยกตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจน คือ กรณีที่ประธานไอเฟค และกรรมการ แอบนำหุ้น บริษัท อินเตอร์ฟาร์อีสท์ แคป แมเนจเม้นท์ จำกัด (ICAP) ซึ่งเป็นบริษัทที่ถือหุ้นของโรงแรมดาราเทวี ในสัดส่วน 51% ของทุนจดทะเบียนชำระแล้วของบริษัท ซึ่งหากประเมินคร่าวๆ จากมูลค่าของโรงแรมดาราเทวี คิดเป็นมูลค่าประมาณ 2,000 ล้านบาท ไปจำนองเพื่อค้ำประกันหนี้ตั๋วบี/อี มูลค่าเพียง 100 ล้านบาท แล้วปล่อยให้มีการผิดชำระหนี้ ทั้งที่ไม่มีสิทธิ และอำนาจในการดำเนินการดังกล่าว โดยช่วงเวลานั้น กรรมการของไอเฟค เหลืออยู่เพียง 2 คนจากทั้งคณะมีจำนวน 9 คน
“แม้ประธานไอเฟค จะอ้างว่า การค้ำประกันดังกล่าวไม่ถูกต้องตามธุรกรรมปกติ และกรณีนี้ไม่มีผลทำให้บริษัทได้รับความเสียหาย ซึ่งผู้ถือหุ้นรายย่อยมองว่า ถือเป็นความเสี่ยงเป็นอย่างมาก และอาจก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อบริษัท และไม่รู้ว่าจะมีการสอดไส้อะไรอีกหรือไม่ เพราะในเวลานั้น ไม่มีคณะกรรมการตรวจสอบ หรือหน่วยงานใดเข้าไปตรวจสอบการบริหารงานของประธานไอเฟค” ตัวแทนผู้ถือหุ้นรายย่อยระบุ
นอกจากนี้ คณะกรรมการชุดดังกล่าวยังได้ทำธุรกรรมการขอกู้ยืมเงินจาก บริษัท อีสต์โคสท์ เฟอร์นิเทค จำกัด (มหาชน) (ECF) จำนวน 50 ล้านบาท โดยต้องเสียดอกเบี้ยในอัตรา 6.25% พร้อมกับนำหุ้นที่ IFEC ถืออยู่ในบริษัท อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ เทอมอล พาวเวอร์ จำกัด (IFEC-T) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ IFEC ซึ่งทำธุรกิจโรงไฟฟ้าชีวมวลไปจำนำค้ำประกันการกู้ยืมเงิน ซึ่งโดยหลักการแล้ว ผู้ซื้อต้องเป็นผู้วางเงินมัดจำให้กับไอเฟค ไม่ใช่ไอเฟค ต้องไปทำสัญญาเงินกู้กับผู้ซื้อ
อีกประเด็น คือ ปัญหาภาระหนี้สินของไอเฟค จนถึงขณะนี้ยังไม่สามารถชี้แจงตลาดหลักทรัพย์ฯ ถึงแนวทางการแก้ปัญหาหนี้ตั๋วแลกเงินระยะสั้น (บี/อี) เกือบ 3,000 ล้านบาท ซึ่งประธานไอเฟค อ้างว่า สามารถปรับโครงสร้างหนี้เรียบร้อยแล้ว 1,000 ล้านบาท แต่ก็ไม่ได้รับการยืนยันจากเจ้าหนี้ว่า มีการเจรจาจริงหรือไม่ โดยล่าสุด ไอเฟคจ่ายหนี้ดอกเบี้ยหุ้นกู้ได้เพียง 3.95 ล้านบาทเท่านั้น จากยอดที่จะต้องจ่ายในวันที่ 5 พฤษภาคม 2560 จำนวน 35.5 ล้านบาท ของมูลค่าหุ้นกู้ที่เสนอขายจำนวน 3,000 ล้านบาท โดยไอเฟค ระบุว่า จะจ่ายส่วนที่เหลือในวันที่ 14 มิถุนายนนี้ ทั้งที่ไอเฟค มีเงินจากการแปลงสภาพใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุน (IFEC-W-1) ประมาณ 37 ล้านบาท เพราะเหตุใด จึงไม่สามารถคืนหนี้ดอกเบี้ยให้กับเจ้าหนี้หุ้นกู้ได้
ล่าสุด เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคมที่ผ่านมา มีชายแต่งกายคล้ายทหาร และตำรวจ เข้ายึดโรงแรมดาราเทวี มีการเปลี่ยน GM ผู้บริหารโรงแรม และโอนเงินทุนหมุนเวียนของโรงแรม จำนวน 40 ล้านบาท ออกไป ซึ่งทำให้เกิดปัญหาด้านการเงินต่อโรงแรมดาราเทวีในทันที
“เห็นได้ชัดเจนว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นกับไอเฟค เป็นเรื่องการบริหารงานที่ผิดพลาด ส่อไปในทางไม่สุจริต ไร้ซึ่งธรรมาภิบาล ปกปิดข้อมูลทางบัญชี และการเงิน โดยไม่ยินยอมส่งงบบัญชีที่รับรองโดยผู้สอบบัญชี สร้างความเสียหายให้กับผู้ถือหุ้นรายย่อย ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา เราได้ทำหนังสือถึงสำนักงาน ก.ล.ต.ในฐานะผู้มีอำนาจดูแล แต่กลับวางเฉยไม่ดำเนินการใดๆ ยิ่งปล่อยนานวัน ปัญหาไอเฟค ยิ่งถลำลึก โดนแขวน SP มาเกือบครึ่งปี ยังไม่เห็นทางออก นั่นก็เพราะสำนักงาน ก.ล.ต. มองว่า เป็นปัญหาภายใน แล้วปัดความรับผิดชอบให้ผู้ถือหุ้นรักษาผลประโยชน์ตัวเอง ด้วยการเข้าประชุมผู้ถือหุ้น ทั้งนี้ ที่ผ่านมา ก็เห็นอยู่แล้วว่า ประธานไอเฟคทำอะไร มีการใช้วิธีการลงคะแนนแบบเทคะแนน (Cumulative Voting) ในการเลือกตั้งกรรมการ ซึ่งเป็นวิธีที่ผิดกฎหมาย และระเบียบของบริษัท ในตอนนั้น เจ้าหน้าที่ของ ก.ล.ต.ที่เข้าสังเกตการณ์การประชุมก็เตือน แต่ประธานไอเฟค ก็ยังเดินหน้าต่อ โดยไม่เกรงกลัวกฎหมาย แล้วอย่างนี้รายย่อยจะพึ่งใครได้ ถ้าไม่มีใครเข้าไปตรวจสอบ” ตัวแทนผู้ถือหุ้นรายย่อย กล่าว