xs
xsm
sm
md
lg

เกษตรไทยฯ มั่นใจธุรกิจเอทานอล Q4 สดใสดันยอดขายทั้งปีทะลุ 70 ล้านลิตร

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


กลุ่มบริษัทเกษตรไทยฯ มั่นใจสายธุรกิจเอทานอล ไตรมาสสุดท้ายปีนี้ คาดยอดจำหน่ายทั้งปีละ 70 ล้านลิตร หลังแนวโน้มสูงสุดจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ย้ำจุดแข็งลูกค้าเชื่อมั่นที่ส่งมอบได้ครบถ้วนตรงเวลามาตลอด ด้วยการบริหารวัตถุดิบอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะมีโรงงานน้ำตาลที่มีกำลังการผลิตต่อวันสูงที่สุดในโลก ทำให้มีโมลาสป้อนเข้าโรงงานเอทานอลได้ต่อเนื่องทั้งปี

นายณัฎฐปัญญ์ ศิริวิริยะกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท เกษตรไทย อินเตอร์เนชั่นแนล ชูการ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ KTIS เปิดเผยว่า ในปี 2559 ความต้องการใช้เอทานอลในประเทศอยู่ในระดับสูงกว่าปีก่อนอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปริมาณการจำหน่ายเอทานอลของบริษัทใน 9 เดือนแรกของปีนี้ เติบโตขึ้นจากปีก่อนกว่า 10% โดยคาดว่า ตลอดทั้งปีจะมีปริมาณการจำหน่ายเอทานอล สูงกว่า 70 ล้านลิตร ซึ่งในรอบ 9 เดือน จำหน่ายไปแล้วประมาณ 54.60 ล้านลิตร คิดเป็นรายได้รวมประมาณ 1,212 ล้านบาท

ทั้งนี้ ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของทุกปีเป็นช่วงที่ความต้องการใช้เอทานอลสูงกว่าไตรมาสอื่น โดยบริษัทมีกำลังการผลิตเอทานอล 230,000 ลิตรต่อวัน จึงขายในประเทศทั้งหมด ประกอบกับราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้นส่งผลให้ราคาเอทานอลสูงขึ้นด้วย ดังนั้น จึงเชื่อว่าไตรมาสนี้สายธุรกิจเอทานอลของ KTIS จะเป็นสายธุรกิจหนึ่งที่ทำผลการดำเนินงานได้ดี

สำหรับสายธุรกิจเอทานอลของกลุ่ม KTIS ดำเนินการภายใต้ บริษัท เอกรัฐพัฒนา จำกัด (ถือหุ้นโดย KTIS 100%) ซึ่งนับว่าเป็นโรงผลิตเอทานอลที่ใหญ่มากแห่งหนึ่งในประเทศไทย และได้รับการยอมรับจากลูกค้าที่เป็นบริษัทปิโตรเลียมรายใหญ่ของประเทศในเรื่องของการส่งมอบสินค้าได้ครบถ้วนตามเวลาที่กำหนด ไม่เคยขาดตกบกพร่อง เพราะสามารถบริหารวัตถุดิบได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากกลุ่ม KTIS มีโรงงานน้ำตาลเกษตรไทยที่มีกำลังการผลิตต่อวันสูงที่สุดในโลก จึงมีโมลาสเพียงพอที่จะป้อนเข้าสู่โรงงานได้อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี

“การไม่หยุดนิ่งในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม KTIS จึงได้มีการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตพลอยได้ (By products) จากเอทานอลที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้ เป็นการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยให้ได้ใช้สารปรับปรุงดินคุณภาพดี ในราคาที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยให้ได้อ้อยคุณภาพดี เพิ่มปริมาณผลผลิตต่อไร่ ลดต้นทุนค่าปุ๋ยเคมี เป็นประโยชน์ทั้งกับชาวไร่อ้อย และโรงงานน้ำตาล” นายณัฎฐปัญญ์ กล่าว


กำลังโหลดความคิดเห็น