xs
xsm
sm
md
lg

โกลบอลคอมแพ็กฯ ชี้รัฐ-เอกชน ต้องวางแนวทำงานร่วมกัน เพื่อพัฒนาประเทศสู่ความยั่งยืน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


ปธ.โกลบอลคอมแพ็กฯ มองภาครัฐ-เอกชน ต้องมีแนวทางปฏิบัติร่วมกันเพื่อก้าวสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ด้านประธานบอร์ด ตลท.แนะให้ความสำคัญ 5 กลุ่ม สำหรับยุคดิจิตอลอีโคโนมี

นายศุภชัย เจียรวนนท์ รองประธานกรรมการเครือเจริญโภคภัณฑ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการเตรียมการสำหรับเครือข่ายโกลบอลคอมเเพ็กประเทศไทย กล่าวในงานประชุมเชิงปฏิบัติการ “ก้าวสู่โกลบอลคอมแพ็กในประะเทศไทย …เพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” โดยระบุว่า 15 องค์กรธุรกิจเอกชนขนาดใหญ่ของไทยได้ร่วมกันผลักดันไปสู่เป้าหมาย 17 ประการ ครอบคลุมทั้งด้านสิทธิมนุษยชน มาตรฐานแรงงาน การปกป้องสิ่งแวดล้อม การต่อต้านคอร์รัปชั่น ตามแนวทางที่ยั่งยืนของ “UN Global compact” เพื่อสอดคล้องกับธุรกิจเอกชนทั่วโลก ซึ่งร่วมกันพัฒนาที่ยั่งยืนกว่า 10,000 แห่งทั่วโลก ยอมรับว่า ภาคเอกชนต่างมุ่งหวังแสวงหากำไร การมุ่งผลประกอบการที่ดี การหาผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้น และการครองใจลูกค้าในตลาด

แต่สิ่งท้าท้ายของภาคเอกชนที่ต้องคำนึงถึง เพื่อให้เกิดความยั่งยืนขององค์กร และเป็นสิ่งท้าทายของโลก ซึ่งไม่ได้นำมาพิจารณาในช่วงที่ผ่านมา ขณะที่ภาคเอกชนไม่มีอำนาจในมือในการเข้าร่วมแก้ปัญหาเกี่ยวกับความเหลื่อมล้ำทางสังคม ปัญหาความยากจน ปัญหาสิ่งแวดล้อม จึงมีความยินดีที่รัฐบาลให้ความสำคัญต่อการผลักดันมาตรการต่างๆ สอดคล้องกับ UN ผู้นำในองค์กรควรตระหนักรู้ เพื่อกำหนดเป้าหมายเดียวกัน เพื่อรวมความยั่งยืนเข้าไปอยู่ในแผนบริการของบริษัท การวางแผนธุรกิจ คาดว่าจะเกิดขึ้นได้ใน 1 ปีข้างหน้า เพื่อให้แต่ละธุรกิจเริ่มกำหนดเป้าหมายการดำเนินการของแต่ละบริษัท และเกิดการแลกเปลี่ยนความเชี่ยวชาญแต่ละด้าน

นายชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ ประธานกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กล่าวว่า การบริหารองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ต้องให้ความสำคัญกับ 5 กลุ่ม คือ 1.ผู้บริโภค ปัจจุบันมีความรู้ และต้องการให้บริษัทที่ตนเองซื้อสินค้าทำความดี หากไม่ดีจะเผยแพร่ตามโซเชียลรวดเร็วมาก 2.คู่ค้า บริษัทขนาดใหญ่ต้องดูแลให้คู้ค้าทำความดี หากไม่ทำขู่ว่าจะเลิกค้าขายด้วย

3.บริษัทจดทะเบียนใน ตลท.ปัจจุบัน หากไม่ทำดี บริหารจัดการที่ดี นักลงทุนจะถอนหุ้นนี้ออกไปได้ 4.พนักงานบริษัท ต้องดูแลเพื่อให้อยู่ได้ รักษาคนดี คนเก่งให้อยู่กับบริษัท 5.ชุมชน สังคม บริษัทต้องดูแลสังคมเพื่อให้เกิดภาพมองที่ดี

ดังนั้น การเดินไปสู่องค์กรที่ยั่งยืน ต้องเริ่มวางแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการที่ดี การบริหารความเสี่ยง เพื่อให้องค์กรมีความยั่งยืน โดยเฉพาะความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่ เช่น หากไม่ทำดีอาจถูกเลิกร่วมค้า และลงทุนด้วย จึงต้องติดตามดูแลคู่ค้า การช่วยเหลือเอสเอ็มอีที่เป็นเครือข่ายธุรกิจ นับเป็นการช่วยเหลือสังคมอีกด้านหนึ่ง
กำลังโหลดความคิดเห็น