“ทีซีซี แลนด์” กางแผน 10 ปี เตรียมเม็ดเงิน 4 หมื่นล้าน ลงทุนศูนย์การค้าทั้งใน และต่างประเทศ ตั้งเป้า 29 โครงการเพิ่มพื้นที่แตะ 6.5 แสน ตร.ม. เตรียมใช้ BIGC ผนึกแบรนด์ศูนย์การค้าใหม่
นายณภัทร เจริญกุล กรรมการผู้จัดการกลุ่มไลฟ์สไตล์ กลุ่มบริษัท ทีซีซี แลนด์ แอสเสท เวิรด์ จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทตั้งงบลงทุนในการก่อสร้างโครงการศูนย์ค้าปลีกในช่วง 5-10 ปี (ปี 60-69) อยู่ที่ 4 หมื่นล้านบาท ไม่รวมงบซื้อที่ดิน แบ่งเป็นการลงทุนโครงการในกรุงเทพฯ และปริมณฑล 2 หมื่นล้านบาท และต่างจังหวัด 2 หมื่นล้านบาท
พร้อมตั้งเป้าเพิ่มพื้นที่เช่าภายในปี 69 เป็น 650,000 ตารางเมตร จากปัจจุบันมีพื้นที่เช่าทั้งหมด 170,000 ตารางเมตร โดยจะมีจำนวนศูนย์ค้าปลีกทั้งหมด 29 โครงการ จากปัจจุบันมีศูนย์ค้าปลีกทั้งหมด 8 โครงการ 5 แบรนด์ ได้แก่ โครงการเอเชีย ทีค เดอะ ริเวอร์ ฟร้อนท์, ศูนย์การค้าเกตเวย์ เอกมัย, ศูนย์การค้าพันธุ์ทิพย์ ประตูน้ำ, ศูนย์การค้าพันธุ์ทิพย์ งามวงศ์วาน, ศูนย์การค้าพันธุ์ทิพย์ บางกะปิ, ศูนย์การค้าพันธุ์ทิพย์ เชียงใหม่, ศูนย์การค้าเซ็นเตอร์พอยท์ ออฟ สยาม สแควร์ และโครงการบ็อคซ์ สเปช รัชโยธิน
บริษัทตั้งเป้ารายได้ในปี 69 แตะระดับ 1 หมื่นล้านบาท หรือเติบโตเฉลี่ยปีละ 15% จากปีนี้ คาดว่าจะมีรายได้ 2 พันล้านบาท โดยปี 60 รายได้น่าจะเพิ่มเป็น 2.3 พันล้านบาท ซึ่งการที่บริษัทมีรายได้ในระดับหมื่นล้านบาท และมีพื้นที่เช่าเพิ่มขึ้นเป็น 650,000 ตารางเมตร ภายในปี 69 จะผลักดันให้ส่วนแบ่งตลาด (Market Share) ของบริษัทก้าวขึ้นสู่ 1 ใน 3 ของธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่สุดของประเทศทั้งในแง่ของรายได้ และจำนวนพื้นที่เช่า จากปัจจุบันอยู่อันดับที่ 4
นายณภัทร กล่าวว่า การลงทุนในกรุงเทพฯ ปัจจุบันอยู่ระหว่างวางแผนขยายท่าเรือเป็น 3 ท่าในโครงการเอเชีย ทีค เดอะ ริเวอร์ ฟร้อนท์ ซึ่งจะเป็นท่าเรือที่ยาวที่สุดที่สามารถรองรับเรือสำราญได้พร้อมกันถึง 2 ลำ และปรับพื้นที่รองรับการจอดเรือท่องเที่ยว Dinne Cruise คาดว่าจะแล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการในปี 60 อีกทั้งจะมีการเปิดเส้นทางการให้บริการเรือโดยสารรับ-ส่งมาที่โครงการเพิ่มเติม อย่างเช่น จากท่าเรือวังหลัง และท่าเรือท่าเตียน หรือท่าเรือที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวหลักของแม่น้ำเจ้าพระยา จากปัจจุบันที่มีให้บริการเพียงท่าเรือสาทร เท่านั้น
ส่วนโครงการเกตเวย์ ที่ปัจจุบันมี 1 แห่ง คือ เกตเวย์เอกมัย ปัจจุบันอยู่ระหว่างการขยายโครงการเกตเวย์ บางซื่อ และเกตเวย์ พระราม 2 เพื่อรองรับกลุ่มลูกค้าบริเวณกรุงเทพฯ รอบนอก ด้านโครงการเซ็นเตอร์พอยท์ ออฟ สยาม สแควร์ ในปีหน้าจะมีการพัฒนาเฟสที่ 2 เพื่อขยายพื้นที่เช่าและลานกิจกรรม และโครงการบ็อคซ์ สเปช อยู่ระหว่างการพัฒนาพื้นที่ในย่านบางนา จำนวน 30 ไร่ คาดว่าจะเปิดให้บริการภายในปี 61 และโครงการศูนย์การค้าพันธุ์ทิพย์ บางกะปิ และศูนย์การค้าพันธุ์ทิพย์ เชียงใหม่ อยู่ระหว่างการปรับโฉม คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี 60
“การลงทุนของเรานั้น จะไม่ลงทุนตามความชอบของเรา เราจะเน้นการลงทุนที่ตอบโจทย์แต่ละไลฟ์สไตล์ และกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย อย่างเช่น เอเชีย ทีค ก็เป็นกลุ่มนักท่องเที่ยว พันธุ์ทิพย์ เป็นกลุ่มคนรักไอที เกตเวย์เอกมัย เป็นกลุ่มครอบครัว และเซ็นเติร์พอยท์ ก็เป็นกลุ่มวัยรุ่น” นายณภัทร กล่าว
สำหรับการลงทุนในต่างจังหวัดเบื้องต้น บริษัทจะนำแบรนด์เอเชีย ทีค ไปรุกในหัวเมืองท่องเที่ยวหลักในช่วง 5 ปีนี้ โดยมองการลงทุนในพัทยา ภูเก็ต เชียงใหม่ อุดรธานี และหาดใหญ่ เป็นต้น เพื่อขยายฐานลูกค้าที่เป็นท่องเที่ยวทั้งใน และต่างประเทศ ที่เดินทางมาท่องเที่ยวในต่างจังหวัดที่เป็นหัวเมืองท่องเที่ยวหลัก
พร้อมกับการเปิดแบรนด์ศูนย์การค้าใหม่ขายใน 30 จังหวัดทั่วประเทศ โดยคอนเซ็ปต์การรวมทุกไลฟ์สไตล์เข้าด้วยกัน และจะเป็นการร่วมมือกับ บมจ.บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ (BIGC) ซึ่งจะมีสาขาของบิ๊กซี ไปเปิดในศูนย์การค้าแบรนด์ใหม่ด้วย ในรูปแบบไฮเปอร์มาร์เกต หรือซูเปอร์มาร์เกต พื้นที่เช่าของศูนย์การค้าแบรนด์ใหม่จะอยู่ที่ไม่ต่ำกว่า 15,000-20,000 ตารางเมตร นำสวนสนุก และเอ็นเตอร์เทนเมนต์ต่างๆ เข้ามารวมอยู่ด้วย คาดว่าจะมีความชัดเจนของการลงทุนในปี 60 ปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษารูปแบบโครงการ
ขณะที่ในต่างประเทศ บริษัทอยู่ระหว่างการศึกษาในการนำแบรนด์เอเชีย ทีค ไปตั้งศูนย์การค้าด้วยการร่วมทุนกับพันธมิตรท้องถิ่น หรือการเป็นที่ปรึกษา หรือการรับจ้างบริหาร เป็นต้น ซึ่งล่าสุด ได้มีนักลงทุนจากประเทศเวียดนาม ติดต่อบริษัทเข้ามา แต่ยังไม่ได้พูดคุยในเชิงลึก ซึ่งบริษัทมีความสนใจในการขยายแบรนด์เอเชีย ทีค ไปในอาเซียนเช่นเดียวกัน รวมถึงจีน ซึ่งก่อนหน้านี้มีนักลงทุนจากจีน ติดต่อเข้ามา แต่ขณะนั้น บริษัทยังไม่มีศักยภาพเพียงพอ ทั้งนี้ การลงทุนในต่างประเทศคาดว่าจะเห็นได้ในช่วง 10 ปีนี้
“การพัฒนาโครงการของเราก็ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่องไปเรื่อยๆ โดยตอนนี้จะเน้นในกรุงเทพฯ และปริมณฑลก่อน เพราะเรามีที่ดินรองรับอยู่พอสมควรแล้ว แต่บางแปลงอาจจะไม่สวยก็ต้องมีการซื้อเพิ่มบ้าง ส่วนการลงทุนในต่างจังหวัด เราก็จะนำแบรนด์เอเชีย ทีค ไปเปิดตลาดใหม่ๆ โดยเฉพาะหัวเมืองท่องเที่ยว รวมถึงการเปิดศูนย์การค้าแบรนด์ใหม่ที่ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ โดยแบรนด์ใหม่เราก็จะไปพร้อมกับบิ๊กซีด้วย ส่วนในต่างประเทศก็คงอีกสักระยะ แต่การขยายไปในต่างประเทศก็คงใช้แบรนด์เอเชีย ทีค ไปขยาย โดยล่าสุด ก็มีนักลงทุนจากเวียนามติดต่อเข้ามา แต่ยังไม่ได้มีการพูดคุยรายละเอียดกันมากนัก โดยการลงทุนในต่างประเทศจะเป็นแบบร่วมทุนกับ Local Partner การเป็น Consult หรือ Management ซึ่งคงจะได้เห็นใน 10 ปีนี้” นายณภัทร กล่าว
นายณภัทร กล่าวอีกว่า ภาพรวมธุรกิจค้าปลีกในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ภายในช่วง 5 ปี (ปี 60-64) มองว่าจะมีการลงทุนเพิ่มมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน การพัฒนาก็ยากขึ้นด้วยเช่นกัน เพราะการที่ศูนย์การค้าแต่ละแห่งจะอยู่ได้ต้องอาศัยความแตกต่าง และศักยภาพของแต่ละพื้นที่ว่าจะมีการตอบสนองต่อลูกค้ามากน้อยเพียงใด อย่างไรก็ตาม สำหรับการลงทุนในหัวเมืองต่างจังหวัดในประเทศยังมีความน่าสนใจอยู่ เพราะมีการเติบโตจากการขยายตัวของการท่องเที่ยวที่มีต่อเนื่อง ส่งผลให้มีการลงทุนเพิ่มขึ้น
“มองว่าในระยะ 5 ปีข้างหน้ากำลังซื้อของผู้บริโภคยังมีต่อเนื่อง โดยมีการคาดการณ์ GDP ของไทยในระยะ 5 ปีจากนี้ จะโตราว 3% ถึงแม้ว่าอาจจะไม่ดีมากนัก แต่ข้อดี คือ เงินเฟ้อของไทยค่อนข้างต่ำมาก ที่สำคัญขณะนี้มีหลายจังหวัดที่มีศูนย์การค้าน้อยกว่าความต้องการ ก่อนหน้านี้บริษัทเคยมีแผนจะลงทุนที่พักค้างรถ และคนตามถนนทางหลวง (ไฮเวย์) ในต่างจังหวัดทั่วประเทศ แต่ล่าสุด ตัดสินใจล้มเลิกแผนนี้ไปแล้ว เนื่องจากไม่คุ้มค่าการลงทุน ขณะที่ 5 ศูนย์การค้าในปัจจุบันกับอีก 1 ศูนย์การค้าที่กำลังจะพัฒนาออกมา มีโอกาสทางธุรกิจสูงกว่ามาก” นายณภัทร กล่าว
ส่วนการจัดงานเคานต์ดาวน์ปีใหม่ของศูนย์การค้าในเครือในปีนี้นั้น บริษัทได้ยกเลิกไปแล้ว จากเดิมที่วางแผนจัดที่โครงการเอเชีย ทีค เดอะ ริเวอร์ ฟร้อนท์ และศูนย์การค้าเซ็นเตอร์พอยท์ ออฟ สยาม สแควร์ แต่เชื่อว่าจะไม่ได้รับผลกระทบต่อจำนวนผู้เข้ามาใช้บริการมากนัก เพราะกิจกรรมดังกล่าวจัดเพียง 1 วันเท่านั้น
ปัจจุบัน โครงการต่างๆ ของบริษัทถือว่ามีจำนวนผู้เข้ามาใช้บริการเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะโครงการเอเชีย ทีค เดอะ ริเวอร์ ฟร้อนท์ ที่ในปีนี้มีผู้เข้ามาใช้บริการสูงที่สุดตั้งแต่เปิดมา 5 ปี เฉลี่ยอยู่ที่ 35,000-40,000 คน/วัน ศูนย์การค้าเกตเวย์ เอกมัย ปัจจุบันมีผู้ใช้บริการเฉลี่ยอยู่ที่ 30,000 คน/วัน จากปีก่อน 8,000 คน/วัน ศูนย์การค้าพันธุ์ทิพย์ ประตูน้ำ และงามวงศ์วาน มีผู้ใช้บริการเฉลี่ยอยู่ที่ 20,000 คน/วัน จากปีก่อน 12,000 คน/วัน ศูนย์การค้าเซ็นเตอร์พอยท์ ออฟ สยาม สแควร์ มีผู้เข้ามาใช้บริการเฉลี่ยอยู่ที่ 40,000 คน/วัน จากปีก่อนที่ 25,000 คน/วัน และโครงการบ็อคซ์ สเปช รัชโยธิน มีผู้ใช้บริการเฉลี่ยอยู่ที่ 5,000 คน/วัน
นายณภัทร เจริญกุล กรรมการผู้จัดการกลุ่มไลฟ์สไตล์ กลุ่มบริษัท ทีซีซี แลนด์ แอสเสท เวิรด์ จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทตั้งงบลงทุนในการก่อสร้างโครงการศูนย์ค้าปลีกในช่วง 5-10 ปี (ปี 60-69) อยู่ที่ 4 หมื่นล้านบาท ไม่รวมงบซื้อที่ดิน แบ่งเป็นการลงทุนโครงการในกรุงเทพฯ และปริมณฑล 2 หมื่นล้านบาท และต่างจังหวัด 2 หมื่นล้านบาท
พร้อมตั้งเป้าเพิ่มพื้นที่เช่าภายในปี 69 เป็น 650,000 ตารางเมตร จากปัจจุบันมีพื้นที่เช่าทั้งหมด 170,000 ตารางเมตร โดยจะมีจำนวนศูนย์ค้าปลีกทั้งหมด 29 โครงการ จากปัจจุบันมีศูนย์ค้าปลีกทั้งหมด 8 โครงการ 5 แบรนด์ ได้แก่ โครงการเอเชีย ทีค เดอะ ริเวอร์ ฟร้อนท์, ศูนย์การค้าเกตเวย์ เอกมัย, ศูนย์การค้าพันธุ์ทิพย์ ประตูน้ำ, ศูนย์การค้าพันธุ์ทิพย์ งามวงศ์วาน, ศูนย์การค้าพันธุ์ทิพย์ บางกะปิ, ศูนย์การค้าพันธุ์ทิพย์ เชียงใหม่, ศูนย์การค้าเซ็นเตอร์พอยท์ ออฟ สยาม สแควร์ และโครงการบ็อคซ์ สเปช รัชโยธิน
บริษัทตั้งเป้ารายได้ในปี 69 แตะระดับ 1 หมื่นล้านบาท หรือเติบโตเฉลี่ยปีละ 15% จากปีนี้ คาดว่าจะมีรายได้ 2 พันล้านบาท โดยปี 60 รายได้น่าจะเพิ่มเป็น 2.3 พันล้านบาท ซึ่งการที่บริษัทมีรายได้ในระดับหมื่นล้านบาท และมีพื้นที่เช่าเพิ่มขึ้นเป็น 650,000 ตารางเมตร ภายในปี 69 จะผลักดันให้ส่วนแบ่งตลาด (Market Share) ของบริษัทก้าวขึ้นสู่ 1 ใน 3 ของธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่สุดของประเทศทั้งในแง่ของรายได้ และจำนวนพื้นที่เช่า จากปัจจุบันอยู่อันดับที่ 4
นายณภัทร กล่าวว่า การลงทุนในกรุงเทพฯ ปัจจุบันอยู่ระหว่างวางแผนขยายท่าเรือเป็น 3 ท่าในโครงการเอเชีย ทีค เดอะ ริเวอร์ ฟร้อนท์ ซึ่งจะเป็นท่าเรือที่ยาวที่สุดที่สามารถรองรับเรือสำราญได้พร้อมกันถึง 2 ลำ และปรับพื้นที่รองรับการจอดเรือท่องเที่ยว Dinne Cruise คาดว่าจะแล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการในปี 60 อีกทั้งจะมีการเปิดเส้นทางการให้บริการเรือโดยสารรับ-ส่งมาที่โครงการเพิ่มเติม อย่างเช่น จากท่าเรือวังหลัง และท่าเรือท่าเตียน หรือท่าเรือที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวหลักของแม่น้ำเจ้าพระยา จากปัจจุบันที่มีให้บริการเพียงท่าเรือสาทร เท่านั้น
ส่วนโครงการเกตเวย์ ที่ปัจจุบันมี 1 แห่ง คือ เกตเวย์เอกมัย ปัจจุบันอยู่ระหว่างการขยายโครงการเกตเวย์ บางซื่อ และเกตเวย์ พระราม 2 เพื่อรองรับกลุ่มลูกค้าบริเวณกรุงเทพฯ รอบนอก ด้านโครงการเซ็นเตอร์พอยท์ ออฟ สยาม สแควร์ ในปีหน้าจะมีการพัฒนาเฟสที่ 2 เพื่อขยายพื้นที่เช่าและลานกิจกรรม และโครงการบ็อคซ์ สเปช อยู่ระหว่างการพัฒนาพื้นที่ในย่านบางนา จำนวน 30 ไร่ คาดว่าจะเปิดให้บริการภายในปี 61 และโครงการศูนย์การค้าพันธุ์ทิพย์ บางกะปิ และศูนย์การค้าพันธุ์ทิพย์ เชียงใหม่ อยู่ระหว่างการปรับโฉม คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี 60
“การลงทุนของเรานั้น จะไม่ลงทุนตามความชอบของเรา เราจะเน้นการลงทุนที่ตอบโจทย์แต่ละไลฟ์สไตล์ และกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย อย่างเช่น เอเชีย ทีค ก็เป็นกลุ่มนักท่องเที่ยว พันธุ์ทิพย์ เป็นกลุ่มคนรักไอที เกตเวย์เอกมัย เป็นกลุ่มครอบครัว และเซ็นเติร์พอยท์ ก็เป็นกลุ่มวัยรุ่น” นายณภัทร กล่าว
สำหรับการลงทุนในต่างจังหวัดเบื้องต้น บริษัทจะนำแบรนด์เอเชีย ทีค ไปรุกในหัวเมืองท่องเที่ยวหลักในช่วง 5 ปีนี้ โดยมองการลงทุนในพัทยา ภูเก็ต เชียงใหม่ อุดรธานี และหาดใหญ่ เป็นต้น เพื่อขยายฐานลูกค้าที่เป็นท่องเที่ยวทั้งใน และต่างประเทศ ที่เดินทางมาท่องเที่ยวในต่างจังหวัดที่เป็นหัวเมืองท่องเที่ยวหลัก
พร้อมกับการเปิดแบรนด์ศูนย์การค้าใหม่ขายใน 30 จังหวัดทั่วประเทศ โดยคอนเซ็ปต์การรวมทุกไลฟ์สไตล์เข้าด้วยกัน และจะเป็นการร่วมมือกับ บมจ.บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ (BIGC) ซึ่งจะมีสาขาของบิ๊กซี ไปเปิดในศูนย์การค้าแบรนด์ใหม่ด้วย ในรูปแบบไฮเปอร์มาร์เกต หรือซูเปอร์มาร์เกต พื้นที่เช่าของศูนย์การค้าแบรนด์ใหม่จะอยู่ที่ไม่ต่ำกว่า 15,000-20,000 ตารางเมตร นำสวนสนุก และเอ็นเตอร์เทนเมนต์ต่างๆ เข้ามารวมอยู่ด้วย คาดว่าจะมีความชัดเจนของการลงทุนในปี 60 ปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษารูปแบบโครงการ
ขณะที่ในต่างประเทศ บริษัทอยู่ระหว่างการศึกษาในการนำแบรนด์เอเชีย ทีค ไปตั้งศูนย์การค้าด้วยการร่วมทุนกับพันธมิตรท้องถิ่น หรือการเป็นที่ปรึกษา หรือการรับจ้างบริหาร เป็นต้น ซึ่งล่าสุด ได้มีนักลงทุนจากประเทศเวียดนาม ติดต่อบริษัทเข้ามา แต่ยังไม่ได้พูดคุยในเชิงลึก ซึ่งบริษัทมีความสนใจในการขยายแบรนด์เอเชีย ทีค ไปในอาเซียนเช่นเดียวกัน รวมถึงจีน ซึ่งก่อนหน้านี้มีนักลงทุนจากจีน ติดต่อเข้ามา แต่ขณะนั้น บริษัทยังไม่มีศักยภาพเพียงพอ ทั้งนี้ การลงทุนในต่างประเทศคาดว่าจะเห็นได้ในช่วง 10 ปีนี้
“การพัฒนาโครงการของเราก็ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่องไปเรื่อยๆ โดยตอนนี้จะเน้นในกรุงเทพฯ และปริมณฑลก่อน เพราะเรามีที่ดินรองรับอยู่พอสมควรแล้ว แต่บางแปลงอาจจะไม่สวยก็ต้องมีการซื้อเพิ่มบ้าง ส่วนการลงทุนในต่างจังหวัด เราก็จะนำแบรนด์เอเชีย ทีค ไปเปิดตลาดใหม่ๆ โดยเฉพาะหัวเมืองท่องเที่ยว รวมถึงการเปิดศูนย์การค้าแบรนด์ใหม่ที่ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ โดยแบรนด์ใหม่เราก็จะไปพร้อมกับบิ๊กซีด้วย ส่วนในต่างประเทศก็คงอีกสักระยะ แต่การขยายไปในต่างประเทศก็คงใช้แบรนด์เอเชีย ทีค ไปขยาย โดยล่าสุด ก็มีนักลงทุนจากเวียนามติดต่อเข้ามา แต่ยังไม่ได้มีการพูดคุยรายละเอียดกันมากนัก โดยการลงทุนในต่างประเทศจะเป็นแบบร่วมทุนกับ Local Partner การเป็น Consult หรือ Management ซึ่งคงจะได้เห็นใน 10 ปีนี้” นายณภัทร กล่าว
นายณภัทร กล่าวอีกว่า ภาพรวมธุรกิจค้าปลีกในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ภายในช่วง 5 ปี (ปี 60-64) มองว่าจะมีการลงทุนเพิ่มมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน การพัฒนาก็ยากขึ้นด้วยเช่นกัน เพราะการที่ศูนย์การค้าแต่ละแห่งจะอยู่ได้ต้องอาศัยความแตกต่าง และศักยภาพของแต่ละพื้นที่ว่าจะมีการตอบสนองต่อลูกค้ามากน้อยเพียงใด อย่างไรก็ตาม สำหรับการลงทุนในหัวเมืองต่างจังหวัดในประเทศยังมีความน่าสนใจอยู่ เพราะมีการเติบโตจากการขยายตัวของการท่องเที่ยวที่มีต่อเนื่อง ส่งผลให้มีการลงทุนเพิ่มขึ้น
“มองว่าในระยะ 5 ปีข้างหน้ากำลังซื้อของผู้บริโภคยังมีต่อเนื่อง โดยมีการคาดการณ์ GDP ของไทยในระยะ 5 ปีจากนี้ จะโตราว 3% ถึงแม้ว่าอาจจะไม่ดีมากนัก แต่ข้อดี คือ เงินเฟ้อของไทยค่อนข้างต่ำมาก ที่สำคัญขณะนี้มีหลายจังหวัดที่มีศูนย์การค้าน้อยกว่าความต้องการ ก่อนหน้านี้บริษัทเคยมีแผนจะลงทุนที่พักค้างรถ และคนตามถนนทางหลวง (ไฮเวย์) ในต่างจังหวัดทั่วประเทศ แต่ล่าสุด ตัดสินใจล้มเลิกแผนนี้ไปแล้ว เนื่องจากไม่คุ้มค่าการลงทุน ขณะที่ 5 ศูนย์การค้าในปัจจุบันกับอีก 1 ศูนย์การค้าที่กำลังจะพัฒนาออกมา มีโอกาสทางธุรกิจสูงกว่ามาก” นายณภัทร กล่าว
ส่วนการจัดงานเคานต์ดาวน์ปีใหม่ของศูนย์การค้าในเครือในปีนี้นั้น บริษัทได้ยกเลิกไปแล้ว จากเดิมที่วางแผนจัดที่โครงการเอเชีย ทีค เดอะ ริเวอร์ ฟร้อนท์ และศูนย์การค้าเซ็นเตอร์พอยท์ ออฟ สยาม สแควร์ แต่เชื่อว่าจะไม่ได้รับผลกระทบต่อจำนวนผู้เข้ามาใช้บริการมากนัก เพราะกิจกรรมดังกล่าวจัดเพียง 1 วันเท่านั้น
ปัจจุบัน โครงการต่างๆ ของบริษัทถือว่ามีจำนวนผู้เข้ามาใช้บริการเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะโครงการเอเชีย ทีค เดอะ ริเวอร์ ฟร้อนท์ ที่ในปีนี้มีผู้เข้ามาใช้บริการสูงที่สุดตั้งแต่เปิดมา 5 ปี เฉลี่ยอยู่ที่ 35,000-40,000 คน/วัน ศูนย์การค้าเกตเวย์ เอกมัย ปัจจุบันมีผู้ใช้บริการเฉลี่ยอยู่ที่ 30,000 คน/วัน จากปีก่อน 8,000 คน/วัน ศูนย์การค้าพันธุ์ทิพย์ ประตูน้ำ และงามวงศ์วาน มีผู้ใช้บริการเฉลี่ยอยู่ที่ 20,000 คน/วัน จากปีก่อน 12,000 คน/วัน ศูนย์การค้าเซ็นเตอร์พอยท์ ออฟ สยาม สแควร์ มีผู้เข้ามาใช้บริการเฉลี่ยอยู่ที่ 40,000 คน/วัน จากปีก่อนที่ 25,000 คน/วัน และโครงการบ็อคซ์ สเปช รัชโยธิน มีผู้ใช้บริการเฉลี่ยอยู่ที่ 5,000 คน/วัน