ณ ปัจจุบันโครงการพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์เป็นโครงการไฟฟ้าประเภทเดียวที่ รัฐยังใช้วิธีรับซื้อแบบ FIT 5.66 บาท โดยไม่ต้องประมูล หรือแข่งขัน
ทั้งๆ ที่โครงการไฟฟ้าประเภทอื่น เช่น โครงการชีวมวล หรือโครงการพลังงานจากขยะนั้นต้องใช้การประมูลราคาขายตํ่าสุด
กรณีนี้ทําให้เกิดคําถามว่า ทําไมเรารัฐไม่ใช้วิธีประมูลราคาตํ่าสุดสําหรับโครงการพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์
ทําไมเราต้องจ่ายแพง โครงการในต่างประเทศบางโครงการรับซื้อไฟจากโครงการไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในราคาประมาณแค่ 1 บาทเท่านั้น (โครงการเดวา ที่ อาบู ดาบี ผู้ชนะประมูลเสนอราคาต่ำสุดที่ 2.99 เซ็นต์ หรือประมาณแค่ 1 บาท)
เราซื้อแพงกว่าเค้า 4-5 เท่า ต้นทุนการก่อสร้างโครงการในประเทศเราแพงขนาดนั้นจริงๆ หรือ เท่าที่พอเช็กได้ตอนนี้ราคาการก่อสร้างโครงการพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ก็ตกอยู่ที่เมกะวัตต์ละไม่เกิน 35 ล้านบาทซึ่งก็ไม่ได้ต่างกับราคาก่อสร้างในต่างประเทศนัก
“ที่ยังไม่ใช้วิธีการประมูลเพราะว่ามีการเอื้อประโยชน์ให้แก่กลุ่มผลประโยชน์กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือเปล่า”
พลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานสะอาดก็จริงนะครับ แต่เราต้องแลกมาด้วยราคาที่แพงขึ้น ส่วนเพิ่มที่เราไปจ่ายให้กลุ่มผู้ลงทุนก็ไม่ใช่เงินใครที่ไหนหรอกนะครับเงิน ประชาชนล้วนๆ สุดท้ายต้นทุนที่เพิ่มขึ้นก็ไปอยู่ในบิลเก็บค่าไฟของเราทุกเดือนในรูปของค่า FT
“กรณีนี้มันเหมือนกับการเอาเงินสนับสนุนรัฐไปยัดใส่กระเป๋านายทุนเจ้าของโครงการแบบชัดๆ แค่มีข้ออ้างที่ดูสวยงามนิดหน่อยคือ การส่งอุตสาหกรรมเสริมพลังงานทดแทน”
ใครมีเพื่อนมีพี่อยู่กระทรวงพลังงาน รบกวนช่วยไปถามให้หน่อยนะครับว่าทําไมไม่ใช้วิธีประมูลราคาขายไฟตํ่าสุด และทําไมเราต้องซื้อในราคา 5.66 บาท ที่ ณ เวลานี้น่าจะเรียกได้ว่าโคตรแพง
รัฐบูรพา