มีบทความจำนวนมากได้นำเสนอข้อเท็จจริง และมุมมองเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อม โอกาส และความท้าทายที่จะเกิดขึ้นต่อธุรกิจในประเทศไทย และสมาชิกอาเซียนอื่นอีก 9 ประเทศ หลังการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2558 โดยข้อสรุปจากบทความเหล่านั้นที่คล้ายคลึงกัน คือ รัฐบาลของประเทศสมาชิกอาเซียนได้ดำเนินการนโยบายลดมาตรการกีดกันทางการค้า และการลงทุน ตลอดจนส่งเสริมให้ประเทศสมาชิกพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสิ่งเหล่านี้แสดงถึงการเตรียมความพร้อมก่อนการเปิดเออีซี
ในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2559 ดีลอยท์ (ประเทศไทย) ได้ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อม โอกาส และความท้าทายจากการเปิดเออีซี โดยมีผู้บริหารระดับสูงของบริษัทชั้นนำของประเทศไทย และบริษัทข้ามชาติในหลายอุตสาหกรรม เช่น ยานยนต์ การเงินการธนาคาร พลังงาน สินค้าอุปโภคบริโภค เป็นผู้ให้ข้อมูล จากการสอบถามเรื่องการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่เออีซี ร้อยละ 80 ของผู้บริหารที่ให้ข้อมูล ยอมรับว่า ได้ทำการขยายธุรกิจไปยังประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ ก่อนที่จะเปิดเออีซี แต่ผู้บริหารเหล่านี้มองว่าเออีซียังไม่ส่งผลกระทบต่อตัวธุรกิจอย่างมีนัยสำคัญ
ถึงแม้ว่า ร้อยละ 76 ของผู้บริหารมองว่า เออีซี คือ โอกาสในการขยายธุรกิจ แต่คาดการณ์ว่ารายได้ของบริษัทหลังจากการเปิดเออีซีจะเพิ่มขึ้นไม่เกินร้อยละ 20 โดยผู้บริหารส่วนใหญ่เห็นว่า การเปิดเออีซีจะสร้างสิ่งแวดล้อมทางธุรกิจใหม่ๆ และจะช่วยให้บริษัทมีความได้เปรียบในการแข่งขันในหลายด้าน โดยด้านที่ได้คะแนนสูงสุด ได้แก่ การเข้าถึงตลาดผู้บริโภคที่ขนาดใหญ่ขึ้น อันดับที่ 2 คือ การลดต้นทุน ตามด้วยการพัฒนาเทคโนโลยี และสร้างนวัตกรรม และการสร้างความแตกต่างในตัวผลิตภัณฑ์ ซึ่งได้คะแนนมาเป็นลำดับที่ 3 เท่ากัน จะเห็นว่า ปัจจัยที่ช่วยสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันหลายด้านที่ผู้บริหารเลือกนั้นอาจไม่ได้เป็นการเพิ่มรายได้ให้ธุรกิจโดยตรง แต่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และเพิ่มผลกำไรในการทำธุรกิจ รวมถึงช่วยดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากภายนอกกลุ่มเออีซีให้เข้ามาลงทุนอย่างต่อเนื่อง
นอกจากที่กล่าวข้างต้นแล้ว ผลวิจัยยังสะท้อนมุมมองผู้บริหารเกี่ยวกับการขยายธุรกิจไปยังตลาดใหม่ในภูมิภาคนี้ ในภาพรวมผู้บริหารจะขยายธุรกิจแบบระมัดระวัง ไม่ลงทุนแบบสุ่มเสี่ยง โดยวิธีที่ถูกใช้มากที่สุด คือ การร่วมทุนกับผู้ประกอบการในท้องถิ่น ซึ่งวิธีการดังกล่าวช่วยลดอุปสรรคในเรื่องการบุกเบิกตลาด และการสื่อสารกับคนท้องถิ่น รวมถึงลดความยุ่งยากในการติดต่อกับหน่วยงานรัฐบาล วิธีการที่นิยมใช้รองลงมา คือ การตั้งบริษัทลูกในประเทศที่เข้าไปลงทุน ซึ่งการบริหารจัดการบริษัทลูกจะทำได้ง่าย และคล่องตัว ลำดับที่ 3 คือ การส่งออก และนำเข้าสินค้ากับคู่ค้าต่างประเทศ ซึ่งวิธีการดังกล่าวมีความเสี่ยงที่ต่ำกว่า 2 วิธีแรก และผู้ประกอบการยังมีโอกาสทดสอบตลาดก่อนเข้าไปลงทุนจริง
สำหรับประเด็นเรื่องการลงทุนระหว่างประเทศ (FDI) ผู้บริหารได้แสดงความเห็นว่า ประเทศที่จะดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศเป็นลำดับต้นๆ หลังจากเปิดเออีซี ได้แก่ สิงคโปร์ เวียดนาม และอินโดนีเซีย เหตุผลที่ทั้ง 3 ประเทศดังกล่าวเป็นที่น่าสนใจของนักลงทุนมากกว่าประเทศไทย ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากที่ประเทศไทยประสบปัญหาความวุ่นวายทางการเมืองในช่วงเวลาผ่านมา ซึ่งกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และนักลงทุน ทั้งนี้ ผู้บริหารบางส่วนมองว่า ประเทศไทยเป็นจุดยุทธศาสตร์ด้านการลงทุนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Sub-region) โดยสามารถใช้ประเทศไทยเป็นฐานเพื่อขยายการลงทุน และการร่วมทุนกับผู้ประกอบการในประเทศที่เข้าไปลงทุน ซึ่งมีข้อได้เปรียบ คือ ประเทศในกลุ่มอนุภูมิภาคนี้จะมีขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน และสินค้าของประเทศไทยเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคในประเทศเหล่านี้ และยังสอดคล้องต่อข้อคำถามที่ดีลอยท์ ถามผู้บริหารว่า มีประเทศใดบ้างที่จะได้รับประโยชน์มากที่สุดภายหลังจากการเปิดเออีซี ซึ่ง 3 อันดับแรกในมุมมองผู้บริหาร ได้แก่ สิงคโปร์ เวียดนาม และไทย โดยมีพม่า ตามมาในอันดับที่ 4 คำตอบจากผู้บริหารช่วยสะท้อนว่า ภาครัฐบาลของไทยมีนโยบายที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่ภาคเอกชนที่ออกไปต่อสู่ในสนามแข่งขันระดับเออีซี และร้อยละ 68 ของผู้บริหารเชื่อมั่นว่า ประเทศสมาชิกเออีซีจะร่วมมือกันผลักดันให้เกิดประชาคมเศรษฐกิจที่สมบูรณ์ได้
ผู้บริหารส่วนใหญ่คาดหวังที่จะเห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องจนไปสู่การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่สมบูรณ์แบบ โดยยอมรับว่า ต้องเผชิญความท้าทายทั้งในระดับภูมิภาค และระดับธุรกิจ ในส่วนของความท้าทายระดับภูมิภาคนั้น ปัจจัยที่ผู้บริหารมีความเป็นห่วงมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ การขาดแคลนแรงงานที่มีฝีมือ ภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว และสถานการณ์ทางการเมืองของประเทศในภูมิภาคนี้ สำหรับความท้าทายระดับธุรกิจ ปัจจัยที่ผู้บริหารมองว่ามีความสำคัญ 3 อันดับแรก คือ กฎระเบียบของประเทศที่เข้าไปลงทุน กำลังซื้อของผู้บริโภค และมาตรการจูงใจด้านภาษี และการลงทุน ความท้าทายเหล่านี้เป็นตัวสะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างทางทรัพยากร และความพร้อมทางเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศสมาชิกเออีซี รวมถึงความแตกต่างในเรื่องความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการในภูมิภาคนี้ด้วย
ในภาพรวม ผู้บริหารมีมุมมองว่า การเปิดเออีซีจะนำไปสู่การสร้างสภาพแวดล้อมทางธุรกิจใหม่ ซึ่งมีความเป็นพลวัต และให้ประโยชน์แก่ภาคธุรกิจมากขึ้น ถึงแม้ว่าจะยังต้องเผชิญต่อความท้าทายทั้งในระดับภูมิภาค และระดับธุรกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ มุมมองจากผู้บริหารเหล่านี้ได้ชี้ให้เห็นถึงโอกาสในการขยายการธุรกิจ และการแสวงหาตลาดใหม่ๆ สำหรับผู้ผลิตอุตสาหกรรม และผู้ให้บริการ ในท้ายที่สุด การวิจัยนี้ได้ให้ข้อสรุปว่า การเปิดเออีซีทำให้ประเทศสมาชิกต้องปรับตัวเปลี่ยนแปลงเพื่อเพิ่มขีดความสามารถ และลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ รวมถึงขจัดอุปสรรคด้านต่างๆ เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ปี 2568
ในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2559 ดีลอยท์ (ประเทศไทย) ได้ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อม โอกาส และความท้าทายจากการเปิดเออีซี โดยมีผู้บริหารระดับสูงของบริษัทชั้นนำของประเทศไทย และบริษัทข้ามชาติในหลายอุตสาหกรรม เช่น ยานยนต์ การเงินการธนาคาร พลังงาน สินค้าอุปโภคบริโภค เป็นผู้ให้ข้อมูล จากการสอบถามเรื่องการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่เออีซี ร้อยละ 80 ของผู้บริหารที่ให้ข้อมูล ยอมรับว่า ได้ทำการขยายธุรกิจไปยังประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ ก่อนที่จะเปิดเออีซี แต่ผู้บริหารเหล่านี้มองว่าเออีซียังไม่ส่งผลกระทบต่อตัวธุรกิจอย่างมีนัยสำคัญ
ถึงแม้ว่า ร้อยละ 76 ของผู้บริหารมองว่า เออีซี คือ โอกาสในการขยายธุรกิจ แต่คาดการณ์ว่ารายได้ของบริษัทหลังจากการเปิดเออีซีจะเพิ่มขึ้นไม่เกินร้อยละ 20 โดยผู้บริหารส่วนใหญ่เห็นว่า การเปิดเออีซีจะสร้างสิ่งแวดล้อมทางธุรกิจใหม่ๆ และจะช่วยให้บริษัทมีความได้เปรียบในการแข่งขันในหลายด้าน โดยด้านที่ได้คะแนนสูงสุด ได้แก่ การเข้าถึงตลาดผู้บริโภคที่ขนาดใหญ่ขึ้น อันดับที่ 2 คือ การลดต้นทุน ตามด้วยการพัฒนาเทคโนโลยี และสร้างนวัตกรรม และการสร้างความแตกต่างในตัวผลิตภัณฑ์ ซึ่งได้คะแนนมาเป็นลำดับที่ 3 เท่ากัน จะเห็นว่า ปัจจัยที่ช่วยสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันหลายด้านที่ผู้บริหารเลือกนั้นอาจไม่ได้เป็นการเพิ่มรายได้ให้ธุรกิจโดยตรง แต่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และเพิ่มผลกำไรในการทำธุรกิจ รวมถึงช่วยดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากภายนอกกลุ่มเออีซีให้เข้ามาลงทุนอย่างต่อเนื่อง
นอกจากที่กล่าวข้างต้นแล้ว ผลวิจัยยังสะท้อนมุมมองผู้บริหารเกี่ยวกับการขยายธุรกิจไปยังตลาดใหม่ในภูมิภาคนี้ ในภาพรวมผู้บริหารจะขยายธุรกิจแบบระมัดระวัง ไม่ลงทุนแบบสุ่มเสี่ยง โดยวิธีที่ถูกใช้มากที่สุด คือ การร่วมทุนกับผู้ประกอบการในท้องถิ่น ซึ่งวิธีการดังกล่าวช่วยลดอุปสรรคในเรื่องการบุกเบิกตลาด และการสื่อสารกับคนท้องถิ่น รวมถึงลดความยุ่งยากในการติดต่อกับหน่วยงานรัฐบาล วิธีการที่นิยมใช้รองลงมา คือ การตั้งบริษัทลูกในประเทศที่เข้าไปลงทุน ซึ่งการบริหารจัดการบริษัทลูกจะทำได้ง่าย และคล่องตัว ลำดับที่ 3 คือ การส่งออก และนำเข้าสินค้ากับคู่ค้าต่างประเทศ ซึ่งวิธีการดังกล่าวมีความเสี่ยงที่ต่ำกว่า 2 วิธีแรก และผู้ประกอบการยังมีโอกาสทดสอบตลาดก่อนเข้าไปลงทุนจริง
สำหรับประเด็นเรื่องการลงทุนระหว่างประเทศ (FDI) ผู้บริหารได้แสดงความเห็นว่า ประเทศที่จะดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศเป็นลำดับต้นๆ หลังจากเปิดเออีซี ได้แก่ สิงคโปร์ เวียดนาม และอินโดนีเซีย เหตุผลที่ทั้ง 3 ประเทศดังกล่าวเป็นที่น่าสนใจของนักลงทุนมากกว่าประเทศไทย ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากที่ประเทศไทยประสบปัญหาความวุ่นวายทางการเมืองในช่วงเวลาผ่านมา ซึ่งกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และนักลงทุน ทั้งนี้ ผู้บริหารบางส่วนมองว่า ประเทศไทยเป็นจุดยุทธศาสตร์ด้านการลงทุนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Sub-region) โดยสามารถใช้ประเทศไทยเป็นฐานเพื่อขยายการลงทุน และการร่วมทุนกับผู้ประกอบการในประเทศที่เข้าไปลงทุน ซึ่งมีข้อได้เปรียบ คือ ประเทศในกลุ่มอนุภูมิภาคนี้จะมีขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน และสินค้าของประเทศไทยเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคในประเทศเหล่านี้ และยังสอดคล้องต่อข้อคำถามที่ดีลอยท์ ถามผู้บริหารว่า มีประเทศใดบ้างที่จะได้รับประโยชน์มากที่สุดภายหลังจากการเปิดเออีซี ซึ่ง 3 อันดับแรกในมุมมองผู้บริหาร ได้แก่ สิงคโปร์ เวียดนาม และไทย โดยมีพม่า ตามมาในอันดับที่ 4 คำตอบจากผู้บริหารช่วยสะท้อนว่า ภาครัฐบาลของไทยมีนโยบายที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่ภาคเอกชนที่ออกไปต่อสู่ในสนามแข่งขันระดับเออีซี และร้อยละ 68 ของผู้บริหารเชื่อมั่นว่า ประเทศสมาชิกเออีซีจะร่วมมือกันผลักดันให้เกิดประชาคมเศรษฐกิจที่สมบูรณ์ได้
ผู้บริหารส่วนใหญ่คาดหวังที่จะเห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องจนไปสู่การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่สมบูรณ์แบบ โดยยอมรับว่า ต้องเผชิญความท้าทายทั้งในระดับภูมิภาค และระดับธุรกิจ ในส่วนของความท้าทายระดับภูมิภาคนั้น ปัจจัยที่ผู้บริหารมีความเป็นห่วงมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ การขาดแคลนแรงงานที่มีฝีมือ ภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว และสถานการณ์ทางการเมืองของประเทศในภูมิภาคนี้ สำหรับความท้าทายระดับธุรกิจ ปัจจัยที่ผู้บริหารมองว่ามีความสำคัญ 3 อันดับแรก คือ กฎระเบียบของประเทศที่เข้าไปลงทุน กำลังซื้อของผู้บริโภค และมาตรการจูงใจด้านภาษี และการลงทุน ความท้าทายเหล่านี้เป็นตัวสะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างทางทรัพยากร และความพร้อมทางเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศสมาชิกเออีซี รวมถึงความแตกต่างในเรื่องความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการในภูมิภาคนี้ด้วย
ในภาพรวม ผู้บริหารมีมุมมองว่า การเปิดเออีซีจะนำไปสู่การสร้างสภาพแวดล้อมทางธุรกิจใหม่ ซึ่งมีความเป็นพลวัต และให้ประโยชน์แก่ภาคธุรกิจมากขึ้น ถึงแม้ว่าจะยังต้องเผชิญต่อความท้าทายทั้งในระดับภูมิภาค และระดับธุรกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ มุมมองจากผู้บริหารเหล่านี้ได้ชี้ให้เห็นถึงโอกาสในการขยายการธุรกิจ และการแสวงหาตลาดใหม่ๆ สำหรับผู้ผลิตอุตสาหกรรม และผู้ให้บริการ ในท้ายที่สุด การวิจัยนี้ได้ให้ข้อสรุปว่า การเปิดเออีซีทำให้ประเทศสมาชิกต้องปรับตัวเปลี่ยนแปลงเพื่อเพิ่มขีดความสามารถ และลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ รวมถึงขจัดอุปสรรคด้านต่างๆ เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ปี 2568