แบงก์พาณิชย์ ยอมรับลดดอกเบี้ยเงินกู้กระทบรายได้ และกำไรไตรมาส 2 ทำให้เร่งหารายได้อื่นชดเชย พร้อมเบรกแคมเปญพิเศษคุมต้นทุน ระบุหากต้องลดดอกเบี้ยฝากจะทำให้กระทบลูกค้าน้อยสุด
นายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BBL) กล่าวว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารในช่วงที่ผ่านมานั้น ก็ต้องยอมรับว่าจะส่งผลกระทบต่อส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ (NIM) ของธนาคารให้ลดลง แต่ธนาคารก็จะต้องพยายามบริหารจัดการหารายได้ทางด้านอื่นมาทดแทนต่อไป
ส่วนกรณีที่คณะรัฐบาลได้เลื่อนระยะเวลาลดวงเงินการการคุ้มครองเงินฝากที่จะถึงกำหนดวันที่ 10 สิงหาคม 2559 นี้ เป็น 10 สิงหาคม 2561 นั้น ถือเป็นเรื่องที่ดี ทำให้ทั้งในส่วนของธนาคาร และลูกค้ามีเวลาในการปรับตัวมากขึ้น มีความมั่นใจมากขึ้นในสถานการณ์นี้ และสภาพคล่องของธนาคารในปัจจุบันก็ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด ขณะที่ลูกค้าเองก็มีทางเลือกในการลงทุนด้านต่างๆ นอกจากเงินฝากมากขึ้นอยู่แล้ว จึงไม่น่าจะกระทบมากนัก
นายอาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และรองประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (SCB) กล่าวว่า การลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลต่อรายได้ของธนาคารแน่นอน ดังนั้น สิ่งที่ธนาคารจะทำได้ก็จะต้องเร่งหารายได้ทางอื่น รวมทั้งการบริหารจัดการต้นทุนเพื่อชดเชยรายได้ส่วนที่ลดลง
“การปรับลดดอกเบี้ยเงินฝากตามเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ธนาคารก็ต้องพยายามทำให้ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อลูกค้าน้อยที่สุด โดยเฉพาะในกลุ่มที่ต้องพึ่งพาเงินฝากเป็นรายได้หลัก โดยส่วนหนึ่งก็อาจจะต้องไปดูส่วนของเงินฝากแคมเปญพิเศษก่อน”
น.ส.ขัตติยา อินทรวิชัย กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (KBANK)กล่าวว่า ผลกระทบจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้นั้นน่าจะเห็นได้ตั้งแต่ไตรมาส 2 นี้เลย ซึ่งสิ่งที่ธนาคารจะทำได้ก็ คือ การหารายได้ค่าธรรมเนียมเพิ่ม และลดค่าใช้จ่ายในส่วนที่ควรจะลดได้ตามภาวะที่ควรเป็น ด้านการระดมเงินฝากก็คงจะต้องพิจารณาเป็นส่วนๆ ไป เนื่องจากความต้องการระดมเงินขณะนี้ยังมีไม่มากนัก อัตราส่วนเงินกู้ต่อเงินฝาก (L/D) ก็ยังอยู่ในระดับ 90-93% ซึ่งเป็นระดับที่เหมาะสมอยู่แล้ว
ส่วนภาวะเศรษฐกิจที่ยังซบเซาอยู่นั้นจะต้องมีการปรับลดดอกเบี้ยลงอีกหรือไม่นั้น น.ส.ขัตติยา กล่าวว่า คงต้องพิจารณากันเป็นรายสถานการณ์ไป และการที่เศรษฐกิจจะฟื้นก็ไม่ได้ขึ้นอยู่กับดอกเบี้ยเท่านั้น ต้องใช้หลายนโยบายเข้ามาเสริมกันไป ซึ่งการปรับลดดอกเบี้ย 2 ครั้งที่ผ่านมา ก็ถือว่าเป็นการช่วยลูกค้าที่ครบถ้วนทั้ง รายใหญ่ กลาง และเล็ก
“ดอกเบี้ยลด รายได้ก็ต้องลด ซึ่งเรามองว่า การลดดอกเบี้ย 2 ครั้งที่ผ่านมาก็เป็นการช่วยเหลือลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นลูกค้ารายย่อย กลาง และเล็ก ก็ครบทุกกลุ่ม แล้วจะต้องมีลดดอกเบี้ยครั้งที่ 3 อีกหรือไม่ก็คงบอกไม่ได้ ต้องดูร่วมกันหลายๆ ส่วน ไม่ใช่เรื่องดอกเบี้ยอย่างเดียว”
นายธัญญพงศ์ ธรรมาวรานุคุปต์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ธุรกิจรายย่อยและเครือข่าย ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (KTB) กล่าวว่า ธนาคารไม่ได้รับผลกระทบจากการขยายเวลาคุ้มครองเงินฝาก ซึ่งการขยายเวลาคุ้มครองนั้นก็คงไม่อยากให้เงินฝากได้รับผลกระทบในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจยังไม่เอื้ออำนวย แต่ที่ผ่านมา ธนาคารเองก็ได้มีการเตรียมความพร้อมไว้ระดับหนึ่งแล้ว โดยธนาคารมีนโยบายรักษา L/D Ratio ไว้ที่ระดับ 90-94%
ส่วนการปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ก่อนหน้านี้ เชื่อว่า ทุกธนาคารที่ปรับลดก็คงจะได้รับผลกระทบเหมือนกันหมด ทั้งในส่วนของกำไร และ NIM ก็คงจะได้เห็นรายได้ หรือกำไรที่่ลดลงในไตรมาส 2 นี้ แต่ธนาคารก็จะต้องมีการบริหารต้นทุนของตนเองให้เหมาะสมต่อสถานการณ์ที่เป็นอยู่ ทั้งในด้านของเงินฝากแคมเปญพิเศษต่างๆ ที่คงจะไม่มากเท่าเดิม เพราะความต้องการระดมเงินมีไม่มาก รวมทั้งก็จะต้องเร่งเพิ่มรายได้ส่วนอื่นมาชดเชยด้วย
นายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BBL) กล่าวว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารในช่วงที่ผ่านมานั้น ก็ต้องยอมรับว่าจะส่งผลกระทบต่อส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ (NIM) ของธนาคารให้ลดลง แต่ธนาคารก็จะต้องพยายามบริหารจัดการหารายได้ทางด้านอื่นมาทดแทนต่อไป
ส่วนกรณีที่คณะรัฐบาลได้เลื่อนระยะเวลาลดวงเงินการการคุ้มครองเงินฝากที่จะถึงกำหนดวันที่ 10 สิงหาคม 2559 นี้ เป็น 10 สิงหาคม 2561 นั้น ถือเป็นเรื่องที่ดี ทำให้ทั้งในส่วนของธนาคาร และลูกค้ามีเวลาในการปรับตัวมากขึ้น มีความมั่นใจมากขึ้นในสถานการณ์นี้ และสภาพคล่องของธนาคารในปัจจุบันก็ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด ขณะที่ลูกค้าเองก็มีทางเลือกในการลงทุนด้านต่างๆ นอกจากเงินฝากมากขึ้นอยู่แล้ว จึงไม่น่าจะกระทบมากนัก
นายอาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และรองประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (SCB) กล่าวว่า การลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลต่อรายได้ของธนาคารแน่นอน ดังนั้น สิ่งที่ธนาคารจะทำได้ก็จะต้องเร่งหารายได้ทางอื่น รวมทั้งการบริหารจัดการต้นทุนเพื่อชดเชยรายได้ส่วนที่ลดลง
“การปรับลดดอกเบี้ยเงินฝากตามเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ธนาคารก็ต้องพยายามทำให้ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อลูกค้าน้อยที่สุด โดยเฉพาะในกลุ่มที่ต้องพึ่งพาเงินฝากเป็นรายได้หลัก โดยส่วนหนึ่งก็อาจจะต้องไปดูส่วนของเงินฝากแคมเปญพิเศษก่อน”
น.ส.ขัตติยา อินทรวิชัย กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (KBANK)กล่าวว่า ผลกระทบจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้นั้นน่าจะเห็นได้ตั้งแต่ไตรมาส 2 นี้เลย ซึ่งสิ่งที่ธนาคารจะทำได้ก็ คือ การหารายได้ค่าธรรมเนียมเพิ่ม และลดค่าใช้จ่ายในส่วนที่ควรจะลดได้ตามภาวะที่ควรเป็น ด้านการระดมเงินฝากก็คงจะต้องพิจารณาเป็นส่วนๆ ไป เนื่องจากความต้องการระดมเงินขณะนี้ยังมีไม่มากนัก อัตราส่วนเงินกู้ต่อเงินฝาก (L/D) ก็ยังอยู่ในระดับ 90-93% ซึ่งเป็นระดับที่เหมาะสมอยู่แล้ว
ส่วนภาวะเศรษฐกิจที่ยังซบเซาอยู่นั้นจะต้องมีการปรับลดดอกเบี้ยลงอีกหรือไม่นั้น น.ส.ขัตติยา กล่าวว่า คงต้องพิจารณากันเป็นรายสถานการณ์ไป และการที่เศรษฐกิจจะฟื้นก็ไม่ได้ขึ้นอยู่กับดอกเบี้ยเท่านั้น ต้องใช้หลายนโยบายเข้ามาเสริมกันไป ซึ่งการปรับลดดอกเบี้ย 2 ครั้งที่ผ่านมา ก็ถือว่าเป็นการช่วยลูกค้าที่ครบถ้วนทั้ง รายใหญ่ กลาง และเล็ก
“ดอกเบี้ยลด รายได้ก็ต้องลด ซึ่งเรามองว่า การลดดอกเบี้ย 2 ครั้งที่ผ่านมาก็เป็นการช่วยเหลือลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นลูกค้ารายย่อย กลาง และเล็ก ก็ครบทุกกลุ่ม แล้วจะต้องมีลดดอกเบี้ยครั้งที่ 3 อีกหรือไม่ก็คงบอกไม่ได้ ต้องดูร่วมกันหลายๆ ส่วน ไม่ใช่เรื่องดอกเบี้ยอย่างเดียว”
นายธัญญพงศ์ ธรรมาวรานุคุปต์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ธุรกิจรายย่อยและเครือข่าย ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (KTB) กล่าวว่า ธนาคารไม่ได้รับผลกระทบจากการขยายเวลาคุ้มครองเงินฝาก ซึ่งการขยายเวลาคุ้มครองนั้นก็คงไม่อยากให้เงินฝากได้รับผลกระทบในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจยังไม่เอื้ออำนวย แต่ที่ผ่านมา ธนาคารเองก็ได้มีการเตรียมความพร้อมไว้ระดับหนึ่งแล้ว โดยธนาคารมีนโยบายรักษา L/D Ratio ไว้ที่ระดับ 90-94%
ส่วนการปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ก่อนหน้านี้ เชื่อว่า ทุกธนาคารที่ปรับลดก็คงจะได้รับผลกระทบเหมือนกันหมด ทั้งในส่วนของกำไร และ NIM ก็คงจะได้เห็นรายได้ หรือกำไรที่่ลดลงในไตรมาส 2 นี้ แต่ธนาคารก็จะต้องมีการบริหารต้นทุนของตนเองให้เหมาะสมต่อสถานการณ์ที่เป็นอยู่ ทั้งในด้านของเงินฝากแคมเปญพิเศษต่างๆ ที่คงจะไม่มากเท่าเดิม เพราะความต้องการระดมเงินมีไม่มาก รวมทั้งก็จะต้องเร่งเพิ่มรายได้ส่วนอื่นมาชดเชยด้วย