xs
xsm
sm
md
lg

สัญญาณปรับขึ้น ดบ.US กดดันราคาทองคำ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


การส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วเกินคาดของเฟด กดดันดอลลาร์แข็งค่า และราคาทองคำอ่อนตัว ภาพรวมอยู่โมเมนตัมขาลง

“วรุต รุ่งขำ” ผุ้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์ วาย แอลจี บูลเลียน แอนด์ ฟิวเจอร์ส กล่าวถึงทิศทางราคาทองคำว่าในช่วงที่ผ่านมา ราคาทองคำมีการทำระดับต่ำสุดครั้งใหม่ และยังไม่สามารถทำระดับสูงสุดใหม่ได้ ทำให้แนวโน้ม หรือโมเมนตัมมีการแกว่งตัวแบบไซด์เวย์ ดาวน์ หรือทิศทางที่อ่อนตัวลง

ส่วนหนึ่งเพราะราคาทองคำถูกกดดันจากทิศทางของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ที่มีการปรับตัวแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังจากคณะกรรมการธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) หลายรายออกมาส่งสัญญาณการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะเวลาที่เร็วกว่าตลาดคาดการณ์ หรือมีการคาดการณ์กันว่าเฟด อาจจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมประจำเดือนเมษายนนี้ ซึ่งประเด็นดังกล่าวส่งผลให้สกุลเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง และส่งผลกดดัดทำให้ราคาทองคำมีการอ่่อนตัวลงอย่างชัดเจน

โดยปัจจัยที่ยังคงต้องจับตา นั่นคือ เป็นตัวเลขเศรษฐกิจในฝั่งสหรัฐฯ โดยเฉพาะตัวเลขในฝั่งแรงงาน ซึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมา จะเห็นค่อนข้างชัดว่า จำนวนผู้ขอสวัสดิการการว่างงานประจำสัปดาห์ยังมีการปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อนหน้า แสดงให้เห็นว่า ตัวเลขตลาดแรงงานในฝั่งสหรัฐฯ มีทิศทางค่อนข้างแข็งแกร่ง

ดังนั้น กลยุทธ์ราคาทองคำในช่วงนี้ เนื่องจากแนวโน้ม หรือโมเมนตัมราคาทองคำมีเเนวโน้มเป็นลบมากขึ้น และการแกว่งตัวเป็นลักษณะที่ค่อยๆ ซึมลง นักลงทุนอาจจะต้องอาศัยการชะลอตัวลงมาของราคาทดสอบในกรอบของราคาด้านล่าง และเสี่ยงเข้าซื้อเพื่อเกร็งกำไรระยะสั้นจากการดีดตัว ขณะที่หากราคามีการดีดตัว หรือรีบราวนด์ขึ้นอาจจะทยอยแบ่งทองคำออกขายเพื่อลดความเสี่ยง และรอการอ่อนตัวอีกครั้งแล้วค่อยเข้าไปซื้อใหม่ โดยแนวรับยังคงประเมินอยู่ในแนวรับระยะสั้นบริเวณ 1,200 เหรียญดอลลาร์/ออนซ์



ขณะเดียวกัน หากราคาไม่หลุดจากแนวรับดังกล่าวเชื่อว่ายังมีโอกาสที่ราคาจะดีดตัวขึ้นทดสอบกรอบแนวต้านด้านบนบริเวณ 1,230 เหรียญดอลลาร์/ออนซ์ แต่หากราคามีการดีดตัวขึ้น และยังไม่สามารถผ่านระยะดังกล่าวได้ แนวโน้ม หรือโมเมนตัมยังคงเป็นไซด์เวย์ดาวน์เหมือนเดิม

“หากราคาทองคำอ่อนตัวลงจนหลุดระดับ 1,200 เหรียญดอลลาร์/ออนซ์ ราคาอาจมีการอ่อนตัว หรือปรับฐานลงต่อไปยังโซนแนวรับถัดไปบริเวณ 1,180 เหรียญดอลลาร์/ออนซ์”
กำลังโหลดความคิดเห็น