คนในแวดวงหุ้นกำลังจับตาการประชุมผู้ถือหุ้นบริษัท โพลาริส แคปปิตอล จำกัด(มหาชน) ในนัดต่อไป ซึ่งยังไม่มีการกำหนดว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใด
ส่วนการประชุมครั้งแรกเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ดำเนินไปด้วยความไม่เรียบร้อยนัก โดยผู้ถือหุ้นรายย่อยมีการโห่แสดงความไม่พอใจฝ่ายบริหารบริษัทซึ่งยกเลิกการประชุม โดยอ้างว่า มีผู้ถือหุ้นเข้าร่วมประชุม จำนวน 437 ราย คิดเป็นจำนวนหุ้น 2,717 ล้านหุ้น หรือประมาณ 31% ของทุนจดทะเบียน ไม่ถึง 1 ใน 3 ของจำนวนหุนที่จำหน่ายแล้วทั้งหมด จึงถือว่าไม่ครบองค์ประชุม
การประชุมผู้ถือหุ้น “โพลาร์” ครั้งนี้เพื่อขอมติเพิ่มทุนจาก 381,649 ล้านบาท เป็น 2,254,506 ล้านบาท การจัดสรรหุ้นเพิ่มทุนเพื่อรองรับใบสำคัญแสดงสิทธิ์องซื้อหุ้นสามัญ (วอร์แรนต์) การออกวอร์แรนต์รุ่นใหม่ การจัดสรรวอร์แรนต์ให้ผู้ถือหุ้นเดิม
ผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนแห่งนี้มักจะเล่นบทดุ โดยเคยประกาศฟ้องผู้ที่สร้างข่าวลบต่อบริษัท ล่าสุด ประกาศฟ้องกลุ่มบุคคลที่จะทำหน้าที่เป็นตัวแทนผู้ถือหุ้น ขอใบมอบอำนาจจากผู้ถือหุ้นทั่วไปเพื่อเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้นแทน โดยอ้างว่า บุคคลกลุ่มนี้ข่มขู่ผู้ถือหุ้น และเรียกเงินจากบริษัท แลกต่อการไม่เข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้น
ไม่มีใครยืนยันว่า มีการข่มขู่ผู้ถือหุ้นโพลาร์ให้ยอมมอบอำนาจเป็นตัวแทนเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้นจริงหรือไม่ และถ้าเป็นจริง ผู้ถือหุ้นจะยอมถูกข่มขู่หรือ
แต่ไม่ว่าข้อเท็จจริงจะเป็นอย่างไร เอาเป็นว่าผู้บริหารโพลาร์ดุในเรื่องกฎหมายก็แล้วกัน ไม่อยากให้ใครเข้าไปยุ่งต่อการบริหารบริษัทฯ ไม่เช่นนั้นฟ้องดะ
พฤติกรรมหุ้นตัวนี้ถือว่าไม่ธรรมดา โดยเป็นบริษัทที่มีทุนจดทะเบียนมโหฬารจำนวนเกือบเท่างบประมาณรายจ่ายประจำปี โดยทุนจดทะเบียนเดิม 381.6489ล้านบาท แต่จะเพิ่มเป็น 2,254,506 ล้านบาท มีผู้ถือหุ้นรายย่อย จำนวน 12,175 ราย ถือหุ้นรวมกัน 99% ของทุนจดทะเบียน
โพลาร์ไม่มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ไม่มีเจ้าภาพ แต่จะมี “เจ้ามือ” หรือไม่ ไม่ทราบ
หุ้นโพลาร์ เข้ามาซื้อขายในปี 2533 โดยนำหุ้นเสนอขายประชาชนทั่วไปในราคา 66 บาท จากราคาพาร์ 10 บาท แต่ราคาซื้อขายในกระดานทรุดตัวลงต่อเนื่อง เป็นหุ้นขาลงระยะยาว จนเหลืออยู่สิบกว่าสตางค์ ขณะที่ราคาพาร์ปรับเพิ่มเป็น 30 บาท
ส่วนผู้ถือหุ้นใหญ่ทยอยขายหุ้นออกจนหุ้นส่วนใหญ่ถูกผ่องถ่ายมาสู่นักลงทุนรายย่อย ซึ่งดูเหมือนจะถือรอคอยอย่างไร้ความหวัง
เพราะผลดำเนินงานขาดทุนต่อเนื่อง ยอดขาดทุนสะสมกว่า 1 พันล้านบาท รายได้ของบริษัทก็ไม่สมส่วนต่อทุนจดทะเบียน โดยปี 58 มีรายได้รวมเพียงประมาณ 281 ล้านบาท และขาดทุนสุทธิ 162 ล้านบาท โดยยังไม่มีข้อมูลการจ่ายเงินปันผลนับแต่เข้าตลาด
โพลาร์ ถูกเปลี่ยนชื่อมาหลายครั้ง ถ้าเปรียบเทียบกับการทาแป้งพอกหน้าคงพอกกันจนจำหน้าไม่ได้แล้ว และมีการเพิ่มทุนถี่ยิบเหมือนยิงปืนกล รอบ 2 ปี เพิ่มทุนไปกว่า 10 ครั้ง โดยเฉพาะการเพิ่มทุนขายนักลงทุนเฉพาะเจาะจง (พีพี) แต่เงินเพิ่มทุนก็ไม่สามารถพลิกฟื้นฐานะการดำเนินงานของบริษัทได้ เพราะยังขาดทุนต่อไป
นอกจากนั้น มีการออกวอร์แรนต์มากระตุ้นราคามาเป็นระยะ และกำลังจะออกวอร์แรนต์รุ่นใหม่เข้ามาอีก โดยกิจกรรมกระตุ้นราคาเกิดขึ้นเป็นระลอก แต่ผลดำเนินงานกลับย่ำแย่
ปัญหาที่ผู้ถือหุ้นรายย่อยจำนวนกว่า 1.2 หมื่นคน กระอักกระอ่วนใจคือ จะทำอย่างไรต่อหุ้นที่ถืออยู่ในมือ เพราะเชื่อว่า ลวมตัวเข้าไปติดยอดดอยอยู่ด้วยกันทั้งนั้น จะขายทิ้งก็ทำใจตัดขาดทุนไม่ไหว จะถือต่อไปก็ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะตามทุนคืน
และหากบริษัทเรียกทุนเพิ่ม ถ้าตามใส่เงินเพิ่มทุนต่อไปก็กลัว “เจ้าทรัพย์” จะตาย เพราะเติมเงินไปแล้วบริษัทไม่ได้สร้างผลตอบแทนกลับมา ผู้ถือหุ้นรายย่อยต้องเจ็บหนักอีก
หุ้นโพลาร์ ขณะนี้อยู่ในภาวะนักลงทุนรายย่อยเป็นเจ้าภาพใหญ่ โดยฝ่ายบริหารบริษัทไม่ใช่ผู้ถือหุ้นใหญ่ ซึ่งหากผู้ถือหุ้นรายย่อยรวมตัวกันติดสามารถเข้าควบคุมการบริหารได้ทันที หรือจะโหวตปลดฝ่ายบริหารชุดปัจจุบันเมื่อไหร่ก็ได้ถ้าไม่พอใจที่บริหารแล้งเจ๊ง
เรื่องราวหุ้นโพลาร์จะเป็นอย่างไรต่อไปต้องจับตาการประชุมผู้ถือหุ้นนัดใหม่ เพราะการประชุมผู้ถือหุ้นนัดแรกที่มีอาการยึกยัก โยกโย้อาจเกิดจากผู้ถือหุ้นรายย่อยแสดงท่าทีจะไม่ยอมตามใจฝ่ายบริหารบริษัทก็ได้
แต่ยังไงเสีย การประชุมผู้ถือหุ้นโพลาร์นัดล้างตา ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์อย่าทำเอาหูไปนา เอาตาไปไร่ ทำเป็นไม่รับรู้ชะตากรรมนักลงทุนรายย่อยที่ถูกจับเป็นตัวประกันกว่า 1 หมื่นคน
ลงไปช่วยกันดูหน่อยดีไหมใครกำลังเล่นอะไรในหุ้นโพลาร์ จนนักลงทุนรายย่อยซึ่งมีฐานะเป็นเจ้าทรัพย์ต้องตายกันเป็นเบือ
ส่วนการประชุมครั้งแรกเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ดำเนินไปด้วยความไม่เรียบร้อยนัก โดยผู้ถือหุ้นรายย่อยมีการโห่แสดงความไม่พอใจฝ่ายบริหารบริษัทซึ่งยกเลิกการประชุม โดยอ้างว่า มีผู้ถือหุ้นเข้าร่วมประชุม จำนวน 437 ราย คิดเป็นจำนวนหุ้น 2,717 ล้านหุ้น หรือประมาณ 31% ของทุนจดทะเบียน ไม่ถึง 1 ใน 3 ของจำนวนหุนที่จำหน่ายแล้วทั้งหมด จึงถือว่าไม่ครบองค์ประชุม
การประชุมผู้ถือหุ้น “โพลาร์” ครั้งนี้เพื่อขอมติเพิ่มทุนจาก 381,649 ล้านบาท เป็น 2,254,506 ล้านบาท การจัดสรรหุ้นเพิ่มทุนเพื่อรองรับใบสำคัญแสดงสิทธิ์องซื้อหุ้นสามัญ (วอร์แรนต์) การออกวอร์แรนต์รุ่นใหม่ การจัดสรรวอร์แรนต์ให้ผู้ถือหุ้นเดิม
ผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนแห่งนี้มักจะเล่นบทดุ โดยเคยประกาศฟ้องผู้ที่สร้างข่าวลบต่อบริษัท ล่าสุด ประกาศฟ้องกลุ่มบุคคลที่จะทำหน้าที่เป็นตัวแทนผู้ถือหุ้น ขอใบมอบอำนาจจากผู้ถือหุ้นทั่วไปเพื่อเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้นแทน โดยอ้างว่า บุคคลกลุ่มนี้ข่มขู่ผู้ถือหุ้น และเรียกเงินจากบริษัท แลกต่อการไม่เข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้น
ไม่มีใครยืนยันว่า มีการข่มขู่ผู้ถือหุ้นโพลาร์ให้ยอมมอบอำนาจเป็นตัวแทนเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้นจริงหรือไม่ และถ้าเป็นจริง ผู้ถือหุ้นจะยอมถูกข่มขู่หรือ
แต่ไม่ว่าข้อเท็จจริงจะเป็นอย่างไร เอาเป็นว่าผู้บริหารโพลาร์ดุในเรื่องกฎหมายก็แล้วกัน ไม่อยากให้ใครเข้าไปยุ่งต่อการบริหารบริษัทฯ ไม่เช่นนั้นฟ้องดะ
พฤติกรรมหุ้นตัวนี้ถือว่าไม่ธรรมดา โดยเป็นบริษัทที่มีทุนจดทะเบียนมโหฬารจำนวนเกือบเท่างบประมาณรายจ่ายประจำปี โดยทุนจดทะเบียนเดิม 381.6489ล้านบาท แต่จะเพิ่มเป็น 2,254,506 ล้านบาท มีผู้ถือหุ้นรายย่อย จำนวน 12,175 ราย ถือหุ้นรวมกัน 99% ของทุนจดทะเบียน
โพลาร์ไม่มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ไม่มีเจ้าภาพ แต่จะมี “เจ้ามือ” หรือไม่ ไม่ทราบ
หุ้นโพลาร์ เข้ามาซื้อขายในปี 2533 โดยนำหุ้นเสนอขายประชาชนทั่วไปในราคา 66 บาท จากราคาพาร์ 10 บาท แต่ราคาซื้อขายในกระดานทรุดตัวลงต่อเนื่อง เป็นหุ้นขาลงระยะยาว จนเหลืออยู่สิบกว่าสตางค์ ขณะที่ราคาพาร์ปรับเพิ่มเป็น 30 บาท
ส่วนผู้ถือหุ้นใหญ่ทยอยขายหุ้นออกจนหุ้นส่วนใหญ่ถูกผ่องถ่ายมาสู่นักลงทุนรายย่อย ซึ่งดูเหมือนจะถือรอคอยอย่างไร้ความหวัง
เพราะผลดำเนินงานขาดทุนต่อเนื่อง ยอดขาดทุนสะสมกว่า 1 พันล้านบาท รายได้ของบริษัทก็ไม่สมส่วนต่อทุนจดทะเบียน โดยปี 58 มีรายได้รวมเพียงประมาณ 281 ล้านบาท และขาดทุนสุทธิ 162 ล้านบาท โดยยังไม่มีข้อมูลการจ่ายเงินปันผลนับแต่เข้าตลาด
โพลาร์ ถูกเปลี่ยนชื่อมาหลายครั้ง ถ้าเปรียบเทียบกับการทาแป้งพอกหน้าคงพอกกันจนจำหน้าไม่ได้แล้ว และมีการเพิ่มทุนถี่ยิบเหมือนยิงปืนกล รอบ 2 ปี เพิ่มทุนไปกว่า 10 ครั้ง โดยเฉพาะการเพิ่มทุนขายนักลงทุนเฉพาะเจาะจง (พีพี) แต่เงินเพิ่มทุนก็ไม่สามารถพลิกฟื้นฐานะการดำเนินงานของบริษัทได้ เพราะยังขาดทุนต่อไป
นอกจากนั้น มีการออกวอร์แรนต์มากระตุ้นราคามาเป็นระยะ และกำลังจะออกวอร์แรนต์รุ่นใหม่เข้ามาอีก โดยกิจกรรมกระตุ้นราคาเกิดขึ้นเป็นระลอก แต่ผลดำเนินงานกลับย่ำแย่
ปัญหาที่ผู้ถือหุ้นรายย่อยจำนวนกว่า 1.2 หมื่นคน กระอักกระอ่วนใจคือ จะทำอย่างไรต่อหุ้นที่ถืออยู่ในมือ เพราะเชื่อว่า ลวมตัวเข้าไปติดยอดดอยอยู่ด้วยกันทั้งนั้น จะขายทิ้งก็ทำใจตัดขาดทุนไม่ไหว จะถือต่อไปก็ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะตามทุนคืน
และหากบริษัทเรียกทุนเพิ่ม ถ้าตามใส่เงินเพิ่มทุนต่อไปก็กลัว “เจ้าทรัพย์” จะตาย เพราะเติมเงินไปแล้วบริษัทไม่ได้สร้างผลตอบแทนกลับมา ผู้ถือหุ้นรายย่อยต้องเจ็บหนักอีก
หุ้นโพลาร์ ขณะนี้อยู่ในภาวะนักลงทุนรายย่อยเป็นเจ้าภาพใหญ่ โดยฝ่ายบริหารบริษัทไม่ใช่ผู้ถือหุ้นใหญ่ ซึ่งหากผู้ถือหุ้นรายย่อยรวมตัวกันติดสามารถเข้าควบคุมการบริหารได้ทันที หรือจะโหวตปลดฝ่ายบริหารชุดปัจจุบันเมื่อไหร่ก็ได้ถ้าไม่พอใจที่บริหารแล้งเจ๊ง
เรื่องราวหุ้นโพลาร์จะเป็นอย่างไรต่อไปต้องจับตาการประชุมผู้ถือหุ้นนัดใหม่ เพราะการประชุมผู้ถือหุ้นนัดแรกที่มีอาการยึกยัก โยกโย้อาจเกิดจากผู้ถือหุ้นรายย่อยแสดงท่าทีจะไม่ยอมตามใจฝ่ายบริหารบริษัทก็ได้
แต่ยังไงเสีย การประชุมผู้ถือหุ้นโพลาร์นัดล้างตา ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์อย่าทำเอาหูไปนา เอาตาไปไร่ ทำเป็นไม่รับรู้ชะตากรรมนักลงทุนรายย่อยที่ถูกจับเป็นตัวประกันกว่า 1 หมื่นคน
ลงไปช่วยกันดูหน่อยดีไหมใครกำลังเล่นอะไรในหุ้นโพลาร์ จนนักลงทุนรายย่อยซึ่งมีฐานะเป็นเจ้าทรัพย์ต้องตายกันเป็นเบือ