กสิกรไทย เดินหน้ารุกรายใหญ่รับปีแห่งการลงทุน ทั้งในด้านของสินเชื่อ และบริการ พร้อมดันลูกค้าเข้าสู่ระบบดิจิตอลแบงกิ้ง ชูลดต้นทุน 5% ตั้งเป้าเพิ่มสัดส่วนธุรกรรมดิจิตอลเป็น 50%
นายสุรเดช เกียรติธนากร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานธุรกิจลูกค้าบรรษัท ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (KBANK) เปิดเผยว่า ในปี 2559 ธนาคารตั้งเป้าขยายสินเชื่อรายใหญ่เติบโตที่ 4-6% จากปีนี้ที่โต 4% โดยปัจจัยขับเคลื่อนหลักๆ จากโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ โดยเฉพาะระบบคมนาคม ซึ่งจะส่งผลให้กลุ่มรับเหมาก่อสร้างมีความต้องการระดมทุนทั้งในส่วนของสินเชื่อ หรือตราสารอื่นๆ
ส่วนรายได้ค่าธรรมเนียมของกลุ่มรายใหญ่ตั้งเป้าเติบโต 12% จากการให้คำปรึกษาเชิงกลยุทธ์ และวาณิชธนกิจ พร้อมเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดเป็น 21% จากปีนี้ที่อยู่ในระดับ 17-18%
ขณะที่กลุ่มลูกค้าที่ต้องการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนเพื่อจำหน่ายให้แก่ประชาชนครั้งแรก (IPO) นั้น ในเบื้องต้นน่าจะมีประมาณ 4 แห่ง มูลค่ารวม 200,000 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มของพลังงาน ปิโตรเคมี ซึ่งอยู่ระหว่างเตรียมการยื่นแบบไฟลิ่งต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และหากดำเนินการได้ต่อเนื่องก็น่าจะสามารถเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ไตรมาสละ 1 แห่ง
นอกจากนี้ ก็ยังมีการระดมทุนในรูปแบบอื่นๆ ด้วย เช่น กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REIT) ก็มีงานในมือแล้ว 3-4 กอง มูลค่ารวม 2-3 หมื่นล้านบาท ซึ่งประเภทของกองรีทมีทั้งคลังสินค้าให้เช่า และอาคารสำนักงานให้เช่าจะทยอยเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ในปีหน้า
“ปีหน้าจะเป็นปีแห่งการระดมทุน เพราะคาดว่าจะมีการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ ซึ่งหากทำได้การลงทุนภาคเอกชนก็จะตามมา และไม่ใช่แค่สินเชื่อ แต่จะเป็นการระดมทุนในด้านอื่นๆ ซึ่งธนาคารก็มีความพร้อมอยู่แล้ว”
รุกดิจิตอลตั้งเป้าเพิ่มสัดส่วนเป็น 50%
ด้าน นายสุวัฒน์ เตชะวัฒนวรรณา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า นอกจากนี้ ธนาคารก็จะเน้นให้บริการทางด้านดิจิตอลแบงกิ้ง ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา มีอัตราการเติบโตในอัตราที่สูง และมีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าในปี 2559 จำนวนธุรกรรมดิจิตอลทั้งระบบจะเติบโตได้ถึง 37% ขณะที่ประเทศไทยมีจำนวนการใช้ e-Payment เพียงแค่ 31 รายการต่อคนต่อปี จึงน่าจะมีช่องทางที่ขยายได้อีกมาก
สำหรับในส่วนของธุรกิจรายใหญ่นั้น ในช่วง 10 เดือนแรกมีสัดส่วนลูกค้าที่ไม่ได้ทำธุรกรรมผ่านระบบดิจิตอล (Non-Degital Transaction) ที่ 72.5% หรือคิดเป็นเม็ดเงิน 19.05 ล้านล้านบาท และเป็นธุรกรรมที่ผ่านระบบดิจิตอล (Digital Transaction) 27.5% หรือคิดเป็นจำนวนเงิน 5.23 ล้านล้านบาท ซึ่งในปีหน้าระบบของธนาคารมีความพร้อมให้บริการด้านนี้อย่างเต็มที่ ทั้งในส่วนของลูกค้าธุรกิจรายใหญ่ รวมไปถึงซัปพลายเชนของลูกค้าด้วย โดยในเบื้องต้น ตั้งเป้าสัดส่วนธุรกรรมผ่านดิจิตอลเพิ่มขึ้นเป็น 50% ในอีก 3-5 ปีข้างหน้า
“การทำธุรกรรมทางการเงินในอีก 2-3 ปีข้างหน้าจะเปลี่ยนแปลงไปมาก การทำธุรกรรมผ่านออนไลน์จะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ตามระบบอินฟราสตรักเจอร์ที่พร้อม และสะดวกรวดเร็วขึ้น ซึ่งการที่เราให้บริการแก่ลูกค้า และลึกลงไปถึงซัปพลายเชนก็จะทำให้คู่ค้าต่างๆ ของลูกค้าเราต้องเขามาใช้ระบบนี้ตามไปด้วย อันนี้เป็นเทรนด์ที่จะเกิดขึ้น ซึ่งหากเป็นไปตามแผนที่วางไว้จะทำให้ปริมาณธุรกรรมผ่านระบบดิจิตอลของธนาคารเพิ่มขึ้นอีก 6 ล้านล้านบาท รวมเป็น 24 ล้านล้านบาท และจะทำให้ลูกค้าประหยัดต้นทุนได้ 5% หรือคิดเป็นเงิน 3 แสนล้านบาทต่อปี”
พร้อมให้สินเชื่อผู้ประมูลใบอนุญาต
สำหรับการประมูลคลื่น 4 G คลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์นั้น ธนาคารก็มีความพร้อมที่ให้การสนับสนุนทุกๆ ค่าย ทั้งด้านสินเชื่อ และใบค้ำประกันต่างๆ แต่คงต้องมาหารือในรายละเอียดต่างๆ ซึ่งหากดูจากวงเงินแล้วก็คงจะเป็นการปล่อยกู้ร่วมมากกว่า เนื่องจากธนาคารเองก็มีข้อจำกัดเรื่องวงเงินการปล่อยสินเชื่อแต่ละรายเช่นกัน
นายสุรเดช เกียรติธนากร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานธุรกิจลูกค้าบรรษัท ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (KBANK) เปิดเผยว่า ในปี 2559 ธนาคารตั้งเป้าขยายสินเชื่อรายใหญ่เติบโตที่ 4-6% จากปีนี้ที่โต 4% โดยปัจจัยขับเคลื่อนหลักๆ จากโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ โดยเฉพาะระบบคมนาคม ซึ่งจะส่งผลให้กลุ่มรับเหมาก่อสร้างมีความต้องการระดมทุนทั้งในส่วนของสินเชื่อ หรือตราสารอื่นๆ
ส่วนรายได้ค่าธรรมเนียมของกลุ่มรายใหญ่ตั้งเป้าเติบโต 12% จากการให้คำปรึกษาเชิงกลยุทธ์ และวาณิชธนกิจ พร้อมเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดเป็น 21% จากปีนี้ที่อยู่ในระดับ 17-18%
ขณะที่กลุ่มลูกค้าที่ต้องการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนเพื่อจำหน่ายให้แก่ประชาชนครั้งแรก (IPO) นั้น ในเบื้องต้นน่าจะมีประมาณ 4 แห่ง มูลค่ารวม 200,000 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มของพลังงาน ปิโตรเคมี ซึ่งอยู่ระหว่างเตรียมการยื่นแบบไฟลิ่งต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และหากดำเนินการได้ต่อเนื่องก็น่าจะสามารถเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ไตรมาสละ 1 แห่ง
นอกจากนี้ ก็ยังมีการระดมทุนในรูปแบบอื่นๆ ด้วย เช่น กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REIT) ก็มีงานในมือแล้ว 3-4 กอง มูลค่ารวม 2-3 หมื่นล้านบาท ซึ่งประเภทของกองรีทมีทั้งคลังสินค้าให้เช่า และอาคารสำนักงานให้เช่าจะทยอยเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ในปีหน้า
“ปีหน้าจะเป็นปีแห่งการระดมทุน เพราะคาดว่าจะมีการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ ซึ่งหากทำได้การลงทุนภาคเอกชนก็จะตามมา และไม่ใช่แค่สินเชื่อ แต่จะเป็นการระดมทุนในด้านอื่นๆ ซึ่งธนาคารก็มีความพร้อมอยู่แล้ว”
รุกดิจิตอลตั้งเป้าเพิ่มสัดส่วนเป็น 50%
ด้าน นายสุวัฒน์ เตชะวัฒนวรรณา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า นอกจากนี้ ธนาคารก็จะเน้นให้บริการทางด้านดิจิตอลแบงกิ้ง ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา มีอัตราการเติบโตในอัตราที่สูง และมีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าในปี 2559 จำนวนธุรกรรมดิจิตอลทั้งระบบจะเติบโตได้ถึง 37% ขณะที่ประเทศไทยมีจำนวนการใช้ e-Payment เพียงแค่ 31 รายการต่อคนต่อปี จึงน่าจะมีช่องทางที่ขยายได้อีกมาก
สำหรับในส่วนของธุรกิจรายใหญ่นั้น ในช่วง 10 เดือนแรกมีสัดส่วนลูกค้าที่ไม่ได้ทำธุรกรรมผ่านระบบดิจิตอล (Non-Degital Transaction) ที่ 72.5% หรือคิดเป็นเม็ดเงิน 19.05 ล้านล้านบาท และเป็นธุรกรรมที่ผ่านระบบดิจิตอล (Digital Transaction) 27.5% หรือคิดเป็นจำนวนเงิน 5.23 ล้านล้านบาท ซึ่งในปีหน้าระบบของธนาคารมีความพร้อมให้บริการด้านนี้อย่างเต็มที่ ทั้งในส่วนของลูกค้าธุรกิจรายใหญ่ รวมไปถึงซัปพลายเชนของลูกค้าด้วย โดยในเบื้องต้น ตั้งเป้าสัดส่วนธุรกรรมผ่านดิจิตอลเพิ่มขึ้นเป็น 50% ในอีก 3-5 ปีข้างหน้า
“การทำธุรกรรมทางการเงินในอีก 2-3 ปีข้างหน้าจะเปลี่ยนแปลงไปมาก การทำธุรกรรมผ่านออนไลน์จะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ตามระบบอินฟราสตรักเจอร์ที่พร้อม และสะดวกรวดเร็วขึ้น ซึ่งการที่เราให้บริการแก่ลูกค้า และลึกลงไปถึงซัปพลายเชนก็จะทำให้คู่ค้าต่างๆ ของลูกค้าเราต้องเขามาใช้ระบบนี้ตามไปด้วย อันนี้เป็นเทรนด์ที่จะเกิดขึ้น ซึ่งหากเป็นไปตามแผนที่วางไว้จะทำให้ปริมาณธุรกรรมผ่านระบบดิจิตอลของธนาคารเพิ่มขึ้นอีก 6 ล้านล้านบาท รวมเป็น 24 ล้านล้านบาท และจะทำให้ลูกค้าประหยัดต้นทุนได้ 5% หรือคิดเป็นเงิน 3 แสนล้านบาทต่อปี”
พร้อมให้สินเชื่อผู้ประมูลใบอนุญาต
สำหรับการประมูลคลื่น 4 G คลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์นั้น ธนาคารก็มีความพร้อมที่ให้การสนับสนุนทุกๆ ค่าย ทั้งด้านสินเชื่อ และใบค้ำประกันต่างๆ แต่คงต้องมาหารือในรายละเอียดต่างๆ ซึ่งหากดูจากวงเงินแล้วก็คงจะเป็นการปล่อยกู้ร่วมมากกว่า เนื่องจากธนาคารเองก็มีข้อจำกัดเรื่องวงเงินการปล่อยสินเชื่อแต่ละรายเช่นกัน