กลุ่มกิจการร่วมค้า JVCC ยื่นหนังสืออุทธรณ์ร้องขอความเป็นธรรม รมว.คมนาคม หลัง ขสมก.ล้มประมูลจัดซื้อรถเมล์ NGV จำนวน 489 คัน ซึ่งบริษัทชนะประมูลมาด้วยความโปร่งใส และการยกเลิกในครั้งนี้เปรียบเสมือนฉีกสัญญาคุณธรรม ซึ่งถือเป็นโครงการนำร่องของรัฐบาลชุดนี้ ระบุสร้างความเสียหายให้บริษัทฯ อย่างร้ายแรง ปิดโอกาสประชาชนเข้าถึงการให้บริการรถเมล์สาธารณะที่มีคุณภาพ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
นายกริน ชยวิสุทธิ์ ตัวแทนจากกลุ่มกิจการร่วมค้า เจวีซีซี (JVCC) ซึ่งมี บริษัท ช.ทวี ดอลลาเซียน จำกัด (มหาชน) หรือ CHO ถือหุ้น 50% ร่วมกับบริษัท ขอนแก่น ช.ทวี (1993) จำกัด (ซึ่งไม่ใช่บริษัทย่อยของ CHO) ได้เข้ายื่นหนังสืออุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการบริหารกิจการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ที่ 2209/2558 ลงวันที่ 2 ธันวาคม 2558 และขอความเป็นธรรม ต่อคณะกรรมการบริหารกิจการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และ ฯพณฯ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เนื่องจากกรณีที่มีคำสั่งยกเลิกการทำสัญญาซื้อรถโดยสารใช้ก๊าซธรรมชาติ NGV จำนวน 489 คัน และการทำสัญญาจ้างซ่อมแซมบำรุงรักษารถโดยสาร ซึ่งทางกลุ่มกิจการร่วมค้า JVCC เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุดตามเงื่อนไขขอบเขตของงาน (TOR) ซึ่งได้รับความเดือดร้อนเสียหายอย่างยิ่ง
อนึ่ง องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ได้มีการเปิดประมูลเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2558 และมีผู้มีสิทธิเสนอราคา 2 ราย คือ กิจการร่วมค้า เจวีซีซี และบริษัท เบสท์ริน กรุ๊ป จำกัด ซึ่งผลการเสนอราคาปรากฏว่า กิจการร่วมค้า เจวีซีซี เสนอราคาต่ำสุดตามเงื่อนไขขอบเขตของงาน TOR ซึ่งกำหนดให้เชิญผู้เสนอราคาต่ำสุดเพื่อเจรจาต่อรองเกี่ยวกับราคาซ่อมแซมและบำรุงรักษารถโดยสารในปีที่ 6 ถึงปีที่ 10 ซึ่งกลุ่มกิจการร่วมค้า เจวีซีซี ก็ยินยอมลดราคาตามราคากลางที่กำหนดไว้
ทั้งนี้ กลุ่มกิจการร่วมค้า เจวีซีซี ได้ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้น และได้ปฏิบัติอย่างถูกต้องตามขั้นตอนของคณะกรรมการกำหนดขอบเขตของงาน (TOR) กระบวนการเสนอราคาของคณะกรรมการประกวดราคาที่แจ้งผลว่า กิจการร่วมค้า เจวีซีซี เป็นผู้ชนะการเสนอราคาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ และเป็นผู้ชนะการเสนอราคาจ้างซ่อมแซมและบำรุงรักษารถโดยสารปรับอากาศ และมีหนังสือแจ้งให้กิจการร่วมค้า เจวีซีซี เข้าลงนามสัญญาซื้อขายซื้อรถโดยสารปรับอากาศใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ (NGV) จำนวน 489 คัน และสัญญาจ้างซ่อมแซมและบำรุงรักษารถโดยสารปรับอากาศใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ (NGV) ซึ่งขั้นตอน และกระบวนการพิจารณาดังกล่าวได้ผ่านการพิจารณา และอนุมัติที่ชอบด้วยกฎหมายแล้วทุกประการ จึงไม่มีเหตุผลใดๆ ที่คณะกรรมการบริหารกิจการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ จะยกเลิกการทำสัญญาจัดซื้อรถโดยสารใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ NGV จำนวน 489 คัน และการทำสัญญาจ้างซ่อมแซมบำรุงรักษารถโดยสารต่อกิจการร่วมค้า เจวีซีซี
ตัวแทนจากกลุ่มกิจการร่วมค้า เจวีซีซี กล่าวว่า “การดำเนินการตามโครงการจัดซื้อรถโดยสารปรับอากาศใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ (NGV) จำนวน 489 คัน ตามที่กล่าวมาข้างต้น เป็นกระบวนการเสนอราคาที่มีความโปร่งใส สุจริต และชอบธรรม กับทั้งกิจการร่วมค้า เจวีซีซี ได้ลงนามในข้อตกลงคุณธรรม ตามมติคณะรัฐมนตรี จึงนับได้ว่าโครงการจัดซื้อรถโดยสารปรับอากาศใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ (NGV) จำนวน 489 คัน เป็นโครงการนำร่องในความร่วมมือป้องกันและต่อต้านทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ เพื่อให้เกิดการใช้เงินงบประมาณอย่างคุ้มค่า และปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้างด้วยความโปร่งใส และเป็นธรรมยิ่งขึ้น”
ประกอบกับการยกเลิกสัญญาฯ ของคณะกรรมการบริหารกิจการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ในครั้งนี้จะก่อให้เกิดผลเสียหายต่อประโยชน์ส่วนรวม ที่เป็นการตัดโอกาสกับประชาชนที่อยู่ในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลในอันที่จะได้รับการบริการสาธารณะจากรัฐ ซึ่งปัจจุบันรถโดยสารที่องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพให้บริการอยู่ส่วนใหญ่มีสภาพชำรุดทรุดโทรม ไม่เหมาะสมที่จะนำมาให้บริการ และในการดำเนินการประมูลงานโครงการซื้อรถโดยสารปรับอากาศใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ (NGV) จำนวน 489 คันนี้ จะช่วยลดมลพิษ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสร้างคุณภาพชีวิตให้แก่ประชาชนที่ใช้บริการขนส่งของสาธารณะของภาครัฐ
นายกริน ชยวิสุทธิ์ ตัวแทนจากกลุ่มกิจการร่วมค้า เจวีซีซี (JVCC) ซึ่งมี บริษัท ช.ทวี ดอลลาเซียน จำกัด (มหาชน) หรือ CHO ถือหุ้น 50% ร่วมกับบริษัท ขอนแก่น ช.ทวี (1993) จำกัด (ซึ่งไม่ใช่บริษัทย่อยของ CHO) ได้เข้ายื่นหนังสืออุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการบริหารกิจการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ที่ 2209/2558 ลงวันที่ 2 ธันวาคม 2558 และขอความเป็นธรรม ต่อคณะกรรมการบริหารกิจการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และ ฯพณฯ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เนื่องจากกรณีที่มีคำสั่งยกเลิกการทำสัญญาซื้อรถโดยสารใช้ก๊าซธรรมชาติ NGV จำนวน 489 คัน และการทำสัญญาจ้างซ่อมแซมบำรุงรักษารถโดยสาร ซึ่งทางกลุ่มกิจการร่วมค้า JVCC เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุดตามเงื่อนไขขอบเขตของงาน (TOR) ซึ่งได้รับความเดือดร้อนเสียหายอย่างยิ่ง
อนึ่ง องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ได้มีการเปิดประมูลเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2558 และมีผู้มีสิทธิเสนอราคา 2 ราย คือ กิจการร่วมค้า เจวีซีซี และบริษัท เบสท์ริน กรุ๊ป จำกัด ซึ่งผลการเสนอราคาปรากฏว่า กิจการร่วมค้า เจวีซีซี เสนอราคาต่ำสุดตามเงื่อนไขขอบเขตของงาน TOR ซึ่งกำหนดให้เชิญผู้เสนอราคาต่ำสุดเพื่อเจรจาต่อรองเกี่ยวกับราคาซ่อมแซมและบำรุงรักษารถโดยสารในปีที่ 6 ถึงปีที่ 10 ซึ่งกลุ่มกิจการร่วมค้า เจวีซีซี ก็ยินยอมลดราคาตามราคากลางที่กำหนดไว้
ทั้งนี้ กลุ่มกิจการร่วมค้า เจวีซีซี ได้ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้น และได้ปฏิบัติอย่างถูกต้องตามขั้นตอนของคณะกรรมการกำหนดขอบเขตของงาน (TOR) กระบวนการเสนอราคาของคณะกรรมการประกวดราคาที่แจ้งผลว่า กิจการร่วมค้า เจวีซีซี เป็นผู้ชนะการเสนอราคาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ และเป็นผู้ชนะการเสนอราคาจ้างซ่อมแซมและบำรุงรักษารถโดยสารปรับอากาศ และมีหนังสือแจ้งให้กิจการร่วมค้า เจวีซีซี เข้าลงนามสัญญาซื้อขายซื้อรถโดยสารปรับอากาศใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ (NGV) จำนวน 489 คัน และสัญญาจ้างซ่อมแซมและบำรุงรักษารถโดยสารปรับอากาศใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ (NGV) ซึ่งขั้นตอน และกระบวนการพิจารณาดังกล่าวได้ผ่านการพิจารณา และอนุมัติที่ชอบด้วยกฎหมายแล้วทุกประการ จึงไม่มีเหตุผลใดๆ ที่คณะกรรมการบริหารกิจการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ จะยกเลิกการทำสัญญาจัดซื้อรถโดยสารใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ NGV จำนวน 489 คัน และการทำสัญญาจ้างซ่อมแซมบำรุงรักษารถโดยสารต่อกิจการร่วมค้า เจวีซีซี
ตัวแทนจากกลุ่มกิจการร่วมค้า เจวีซีซี กล่าวว่า “การดำเนินการตามโครงการจัดซื้อรถโดยสารปรับอากาศใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ (NGV) จำนวน 489 คัน ตามที่กล่าวมาข้างต้น เป็นกระบวนการเสนอราคาที่มีความโปร่งใส สุจริต และชอบธรรม กับทั้งกิจการร่วมค้า เจวีซีซี ได้ลงนามในข้อตกลงคุณธรรม ตามมติคณะรัฐมนตรี จึงนับได้ว่าโครงการจัดซื้อรถโดยสารปรับอากาศใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ (NGV) จำนวน 489 คัน เป็นโครงการนำร่องในความร่วมมือป้องกันและต่อต้านทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ เพื่อให้เกิดการใช้เงินงบประมาณอย่างคุ้มค่า และปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้างด้วยความโปร่งใส และเป็นธรรมยิ่งขึ้น”
ประกอบกับการยกเลิกสัญญาฯ ของคณะกรรมการบริหารกิจการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ในครั้งนี้จะก่อให้เกิดผลเสียหายต่อประโยชน์ส่วนรวม ที่เป็นการตัดโอกาสกับประชาชนที่อยู่ในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลในอันที่จะได้รับการบริการสาธารณะจากรัฐ ซึ่งปัจจุบันรถโดยสารที่องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพให้บริการอยู่ส่วนใหญ่มีสภาพชำรุดทรุดโทรม ไม่เหมาะสมที่จะนำมาให้บริการ และในการดำเนินการประมูลงานโครงการซื้อรถโดยสารปรับอากาศใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ (NGV) จำนวน 489 คันนี้ จะช่วยลดมลพิษ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสร้างคุณภาพชีวิตให้แก่ประชาชนที่ใช้บริการขนส่งของสาธารณะของภาครัฐ