ก.ล.ต.นับหนึ่งไฟลิ่ง “บมจ.เอสซีไอ อิเลคตริค” ขายหุ้นไอพีโอ 187.50 ล้านหุ้น ด้านผู้บริหาร “เกรียงไกร เพียรวิทยาสกุล” เผยเตรียมบุกตลาด AEC เดินหน้าขยายการลงทุนธุรกิจระบบจำหน่ายไฟฟ้า และเสาส่งในลาว-พม่า ระบุตลาดมีโอกาสโตได้อีกมาก พร้อมร่วมลงทุนโรงไฟฟ้าพลังงานลมในไทย กำลังการผลิต 45 เมกะวัตต์ มั่นใจแนวโน้มรายได้-กำไรพุ่งกระฉูด ด้านที่ปรึกษาทางการเงินมือเก๋าจาก บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย) มั่นใจ SCI จะเป็นหุ้นน้องใหม่ป้ายแดงที่สร้างผลตอบแทนให้แก่นักลงทุนได้อย่างน่าประทับใจ คาดขายหุ้นไอพีโอ และเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ภายในปีนี้
นายวิชา โตมานะ กรรมการผู้จัดการ สายวาณิชธนกิจ บริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินบริษัท เอสซีไอ อิเลคตริค จำกัด (มหาชน) (SCI) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้นับหนึ่งแบบไฟลิ่ง SCI แล้วเมื่อวันที่ 12 กันยายนที่ผ่านมา โดยบริษัทมีแผนเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้แก่ประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวน 187.50 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) หุ้นละ 1 บาท หรือคิดเป็น 25% ของทุนจดทะเบียนของบริษัทภายหลัง IPO โดยคาดว่าจะเสนอขายหุ้นไอพีโอและเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ภายในปี 2558
บริษัท เอสซีไอ อิเลคตริค จำกัด (มหาชน) (SCI) เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายตู้สวิตช์บอร์ด รางเดินสายไฟ และอุปกรณ์รองรับ ผลิตและจำหน่ายเสาไฟฟ้าแรงสูง เสาสื่อสารโทรคมนาคม และโครงสร้างเหล็กชุบกัลวาไนซ์ ภายใต้บริษัทย่อย ธุรกิจบริการรับเหมาติดตั้งระบบไฟฟ้าแรงดันสูง และระบบจำหน่ายไฟฟ้า นอกจากนี้ บริษัทยังมีธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนภายใต้บริษัทย่อย คือ บริษัท ตาดสเลน พาวเวอร์ จำกัด (TAD) ที่ สปป.ลาว ทำโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำขนาด 3.2 เมกะวัตต์ ให้แก่รัฐวิสาหกิจไฟฟ้าลาว เริ่มผลิตกระแสไฟฟ้าในเชิงพาณิชย์ (COD) เมื่อต้นปี 56 ระยะเวลาสัมปทาน 30 ปี
ขณะที่บริษัทอยู่ระหว่างการนำเสนอเพื่อขออนุมัติโครงการปรับปรุงระบบจำหน่ายไฟฟ้า 4 ตัวเมืองในเฟสที่ 2 ที่นครหลวงเวียงจันทน์ ท่าแขก สะหวันนะเขต และปากเซ หลังจากได้เข้าดำเนินโครงการในเฟสแรกไปแล้ว
“ธุรกิจในกลุ่มของ SCI ถือว่ามีประสบการณ์มาอย่างยาวนาน ภายใต้การนำของครอบครัวพฤฒินารากร มีทีมผู้บริหาร และพนักงานมีความรู้ความสามารถ ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านวิศวกรรม และการควบคุมคุณภาพการผลิตจากพันธมิตร คือ AG Ajikawa Corporation (Japan) ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นบริษัท และมีโรงงานที่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าทั้งในส่วนของภาครัฐ และภาคเอกชนทั้งใน และต่างประเทศ ได้รับงานใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้มั่นใจว่า SCI จะเป็นหุ้นอีกตัวหนึ่งที่สร้างผลตอบแทนที่น่าประทับใจให้แก่นักลงทุนในอนาคต” นายวิชา กล่าวในที่สุด
ขณะที่ นายเกรียงไกร เพียรวิทยาสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสซีไอ อีเลคตริค จำกัด (มหาชน) (SCI) กล่าวว่า เงินที่ได้ไปชำระคืนเงินกู้สถาบันการเงิน นำไปเป็นเงินทุนหมุนเวียนในโครงการปรับปรุงระบบจำหน่ายไฟฟ้า (PDSR) เฟส 2 ในลาว มูลค่าโครงการ 67 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจะเริ่มต้นโครงการได้ประมาณไตรมาส 4/58 และลงทุนในโรงงานผลิตเสาส่งไฟฟ้าแรงสูง และเสาโทรคมนาคมในพม่า โดยร่วมทุนกับพันธมิตรซึ่งมีสัดส่วนลงทุนไม่น้อยกว่า 40% มูลค่าลงทุนทั้งหมด 26 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างโรงงานได้ในปี 2559
“การขยายการลงทุนในลาว และพม่าในครั้งนี้ถือเป็นการขยายตลาดในเออีซี ที่เรามองว่าทั้ง 2 ประเทศนี้มีศักยภาพในการเติบโตได้อีกมาก ทั้งในส่วนของลาวที่มีเป้าหมายเป็นแบตเตอรี่แห่งเอเชีย ขณะที่พม่าก็เพิ่งมีการเปิดประเทศ คาดว่าจะช่วยผลักดันรายได้ และกำไรของบริษัทให้เติบโตอย่างแข็งแกร่ง และยั่งยืนในอนาคต” นายเกรียงไกร กล่าว
นอกจากนี้ บริษัทจะนำเงินบางส่วนไปลงทุนในโรงงานไฟฟ้าพลังงานลมในประเทศไทย ขนาด 45 เมกะวัตต์ โดยร่วมทุนกับพันธมิตรในสัดส่วนประมาณ 30% ของมูลค่าลงทุนทั้งหมดราว 3.5-3.7 พันล้านบาท คาดว่าจะเริ่มใช้เงินทุนราวในปี 2559
สำหรับผลการดำเนินงานของ SCI ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (ปี 55-57) บริษัทมีรายได้จากการขาย และการให้บริการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเท่ากับ 1,443.67 ล้านบาท 2,175.81 ล้านบาท และ 2,808.60 ล้านบาท ตามลำดับ ซึ่งคิดเป็นอัตราการเติบโตในปี 56 จำนวน 50.71% เมื่อเทียบกับปี 55 และคิดเป็นอัตราการเติบโตในปี 57 จำนวน 29.08% เมื่อเทียบกับปี 56 ตามลำดับ ขณะที่กำไรสุทธิสำหรับปี 55-57 เท่ากับ 65.29 ล้านบาท 171.29 ล้านบาท และ 326.51 ล้านบาท ตามลำดับ
ส่วนงวด 6 เดือนแรกของปี 58 บริษัทมีรายได้จากการขาย และการให้บริการเพิ่มขึ้น 14.42% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน และมีกำไรสุทธิ 143.07 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 81.33% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
นายวิชา โตมานะ กรรมการผู้จัดการ สายวาณิชธนกิจ บริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินบริษัท เอสซีไอ อิเลคตริค จำกัด (มหาชน) (SCI) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้นับหนึ่งแบบไฟลิ่ง SCI แล้วเมื่อวันที่ 12 กันยายนที่ผ่านมา โดยบริษัทมีแผนเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้แก่ประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวน 187.50 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) หุ้นละ 1 บาท หรือคิดเป็น 25% ของทุนจดทะเบียนของบริษัทภายหลัง IPO โดยคาดว่าจะเสนอขายหุ้นไอพีโอและเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ภายในปี 2558
บริษัท เอสซีไอ อิเลคตริค จำกัด (มหาชน) (SCI) เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายตู้สวิตช์บอร์ด รางเดินสายไฟ และอุปกรณ์รองรับ ผลิตและจำหน่ายเสาไฟฟ้าแรงสูง เสาสื่อสารโทรคมนาคม และโครงสร้างเหล็กชุบกัลวาไนซ์ ภายใต้บริษัทย่อย ธุรกิจบริการรับเหมาติดตั้งระบบไฟฟ้าแรงดันสูง และระบบจำหน่ายไฟฟ้า นอกจากนี้ บริษัทยังมีธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนภายใต้บริษัทย่อย คือ บริษัท ตาดสเลน พาวเวอร์ จำกัด (TAD) ที่ สปป.ลาว ทำโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำขนาด 3.2 เมกะวัตต์ ให้แก่รัฐวิสาหกิจไฟฟ้าลาว เริ่มผลิตกระแสไฟฟ้าในเชิงพาณิชย์ (COD) เมื่อต้นปี 56 ระยะเวลาสัมปทาน 30 ปี
ขณะที่บริษัทอยู่ระหว่างการนำเสนอเพื่อขออนุมัติโครงการปรับปรุงระบบจำหน่ายไฟฟ้า 4 ตัวเมืองในเฟสที่ 2 ที่นครหลวงเวียงจันทน์ ท่าแขก สะหวันนะเขต และปากเซ หลังจากได้เข้าดำเนินโครงการในเฟสแรกไปแล้ว
“ธุรกิจในกลุ่มของ SCI ถือว่ามีประสบการณ์มาอย่างยาวนาน ภายใต้การนำของครอบครัวพฤฒินารากร มีทีมผู้บริหาร และพนักงานมีความรู้ความสามารถ ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านวิศวกรรม และการควบคุมคุณภาพการผลิตจากพันธมิตร คือ AG Ajikawa Corporation (Japan) ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นบริษัท และมีโรงงานที่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าทั้งในส่วนของภาครัฐ และภาคเอกชนทั้งใน และต่างประเทศ ได้รับงานใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้มั่นใจว่า SCI จะเป็นหุ้นอีกตัวหนึ่งที่สร้างผลตอบแทนที่น่าประทับใจให้แก่นักลงทุนในอนาคต” นายวิชา กล่าวในที่สุด
ขณะที่ นายเกรียงไกร เพียรวิทยาสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสซีไอ อีเลคตริค จำกัด (มหาชน) (SCI) กล่าวว่า เงินที่ได้ไปชำระคืนเงินกู้สถาบันการเงิน นำไปเป็นเงินทุนหมุนเวียนในโครงการปรับปรุงระบบจำหน่ายไฟฟ้า (PDSR) เฟส 2 ในลาว มูลค่าโครงการ 67 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจะเริ่มต้นโครงการได้ประมาณไตรมาส 4/58 และลงทุนในโรงงานผลิตเสาส่งไฟฟ้าแรงสูง และเสาโทรคมนาคมในพม่า โดยร่วมทุนกับพันธมิตรซึ่งมีสัดส่วนลงทุนไม่น้อยกว่า 40% มูลค่าลงทุนทั้งหมด 26 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างโรงงานได้ในปี 2559
“การขยายการลงทุนในลาว และพม่าในครั้งนี้ถือเป็นการขยายตลาดในเออีซี ที่เรามองว่าทั้ง 2 ประเทศนี้มีศักยภาพในการเติบโตได้อีกมาก ทั้งในส่วนของลาวที่มีเป้าหมายเป็นแบตเตอรี่แห่งเอเชีย ขณะที่พม่าก็เพิ่งมีการเปิดประเทศ คาดว่าจะช่วยผลักดันรายได้ และกำไรของบริษัทให้เติบโตอย่างแข็งแกร่ง และยั่งยืนในอนาคต” นายเกรียงไกร กล่าว
นอกจากนี้ บริษัทจะนำเงินบางส่วนไปลงทุนในโรงงานไฟฟ้าพลังงานลมในประเทศไทย ขนาด 45 เมกะวัตต์ โดยร่วมทุนกับพันธมิตรในสัดส่วนประมาณ 30% ของมูลค่าลงทุนทั้งหมดราว 3.5-3.7 พันล้านบาท คาดว่าจะเริ่มใช้เงินทุนราวในปี 2559
สำหรับผลการดำเนินงานของ SCI ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (ปี 55-57) บริษัทมีรายได้จากการขาย และการให้บริการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเท่ากับ 1,443.67 ล้านบาท 2,175.81 ล้านบาท และ 2,808.60 ล้านบาท ตามลำดับ ซึ่งคิดเป็นอัตราการเติบโตในปี 56 จำนวน 50.71% เมื่อเทียบกับปี 55 และคิดเป็นอัตราการเติบโตในปี 57 จำนวน 29.08% เมื่อเทียบกับปี 56 ตามลำดับ ขณะที่กำไรสุทธิสำหรับปี 55-57 เท่ากับ 65.29 ล้านบาท 171.29 ล้านบาท และ 326.51 ล้านบาท ตามลำดับ
ส่วนงวด 6 เดือนแรกของปี 58 บริษัทมีรายได้จากการขาย และการให้บริการเพิ่มขึ้น 14.42% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน และมีกำไรสุทธิ 143.07 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 81.33% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน