นายธีรวัต อมรธาตรี กรรมการผู้จัดการ บมจ.บางกอกชีทเม็ททัล (BM) เปิดเผยว่า บริษัท คาดว่า จะได้รับงานเพิ่มมากขึ้นในโครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ 1.4 ล้านล้านบาท หากรัฐบาลมีการประกาศสัดส่วนวัตถุดิบและชิ้นส่วนประกอบที่ผลิตในประเทศของโครงการต่างๆ ออกมาชัดเจน เนื่องจากบริษัทมีกำลังการผลิตที่พร้อมรับงานเพิ่มเติมอีกมาก เนื่องจากในปัจจุบันมีการใช้กำลังการผลิตเพียง 60% ของทั้งหมดเท่านั้น และยังสามารถขยายกำลังการผลิตเพิ่มเติมได้อีกหากมีการรับงานมากขึ้น เพราะสามารถใช้กำลังการผลิตเพิ่มเติมจากโรงงานเชื่อมประกอบแห่งใหม่ขนาด 4,000 ตร.ม.ได้อีกด้วย
“ตั้งแต่เริ่มมีโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 1.4 ล้านล้านบาท ผู้ประกอบการรายย่อยเริ่มตื่นตัว และจับมือกันว่า ใครสามารถทำอะไรได้บ้าง หรือถ้ายังทำเองไม่ได้ ก็จับมือกับต่างชาติ เราจะได้ทั้งเงิน ลูกค้า และโนว์ฮาวด้วย” นายธีรวัต กล่าว
ทั้งนี้ BM เป็นผู้ประกอบการผลิตชิ้นส่วนประกอบในส่วนของซัปพลายเชนโครงการก่อสร้างต่างๆ โดยเป็นผู้ผลิต และแปรรูปผลิตภัณฑ์เหล็ก เช่น ราง และท่อร้อยสายไฟฟ้า ตู้สื่อสาร ตู้ไฟฟ้า ตู้โลหะ และแผงควบคุมไฟฟ้าที่ใช้ตามอาคารต่างๆ ซึ่งมีสัดส่วนในการรับงานผ่านผู้ประกอบการรับเหมาก่อสร้างด้านโครงสร้างพื้นฐานสูงถึง 60% ของงานทั้งหมด รวมทั้งแป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนโลหะขึ้นรูปและโลหะเชื่อมประกอบ ที่ใช้ในไฟฟ้าอุตสาหรรมและเครื่องจักรกลต่างๆ
นายธีรวัต กล่าวว่า รัฐบาลควรพิจารณากำหนดสัดส่วนวัตถุดิบและชิ้นส่วนประกอบที่ผลิตในประเทศ (Local content) ในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 1.4 ล้านล้านบาท โดยเฉพาะการลงทุนโครงการใหม่ๆ ที่ใช้นวัตกรรมสูง อย่างเช่นโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง เนื่องจากการที่รัฐบาลกำหนดสัดส่วนวัตถุดิบในประเทศให้ชัดเจนจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการในประเทศเป็นอย่างมาก
ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการรับเหมาก่อสร้าง ผู้ผลิตชิ้นส่วนประกอบในส่วนของซัปพลายเชน รวมถึงกลุ่มวัสดุก่อสร้างต่างๆ จะได้รับประโยชน์ทั้งในแง่ของปริมาณการรับงานที่มากขึ้น ซึ่งจะช่วยสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการ และที่สำคัญผู้ประกอบการในประเทศจะได้รับประโยชน์จากการพัฒนาเทคโนโลยีร่วมกับบริษัทต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในโครงการต่างๆ ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการไทยสามารถนำความรู้นั้นมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมให้กับตนเอง รวมถึงจะเป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้อีกทางหนึ่งด้วย
“ถ้าอยากให้ผู้ประกอบการในประเทศได้ รัฐบาลต้องประกาศเพิ่มเติม หรือประกาศให้ชัดเจนเลยว่า แต่ละโครงการจะต้องมี Local content เท่าไหร่ เพราะไม่เพียงแต่เราจะได้เงิน แต่เราจะได้โนว์ฮาวด้วย เพราะผู้ประกอบการบ้านเราเก่ง และพร้อมที่จะเดินหน้า โดยเฉพาะโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง ซึ่งตัวเงิน และความรู้จะลงมาถึงผู้ประกอบการค่อนข้างมาก และยังช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้อีกด้วย” นายธีรวัต กล่าว
“ตั้งแต่เริ่มมีโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 1.4 ล้านล้านบาท ผู้ประกอบการรายย่อยเริ่มตื่นตัว และจับมือกันว่า ใครสามารถทำอะไรได้บ้าง หรือถ้ายังทำเองไม่ได้ ก็จับมือกับต่างชาติ เราจะได้ทั้งเงิน ลูกค้า และโนว์ฮาวด้วย” นายธีรวัต กล่าว
ทั้งนี้ BM เป็นผู้ประกอบการผลิตชิ้นส่วนประกอบในส่วนของซัปพลายเชนโครงการก่อสร้างต่างๆ โดยเป็นผู้ผลิต และแปรรูปผลิตภัณฑ์เหล็ก เช่น ราง และท่อร้อยสายไฟฟ้า ตู้สื่อสาร ตู้ไฟฟ้า ตู้โลหะ และแผงควบคุมไฟฟ้าที่ใช้ตามอาคารต่างๆ ซึ่งมีสัดส่วนในการรับงานผ่านผู้ประกอบการรับเหมาก่อสร้างด้านโครงสร้างพื้นฐานสูงถึง 60% ของงานทั้งหมด รวมทั้งแป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนโลหะขึ้นรูปและโลหะเชื่อมประกอบ ที่ใช้ในไฟฟ้าอุตสาหรรมและเครื่องจักรกลต่างๆ
นายธีรวัต กล่าวว่า รัฐบาลควรพิจารณากำหนดสัดส่วนวัตถุดิบและชิ้นส่วนประกอบที่ผลิตในประเทศ (Local content) ในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 1.4 ล้านล้านบาท โดยเฉพาะการลงทุนโครงการใหม่ๆ ที่ใช้นวัตกรรมสูง อย่างเช่นโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง เนื่องจากการที่รัฐบาลกำหนดสัดส่วนวัตถุดิบในประเทศให้ชัดเจนจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการในประเทศเป็นอย่างมาก
ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการรับเหมาก่อสร้าง ผู้ผลิตชิ้นส่วนประกอบในส่วนของซัปพลายเชน รวมถึงกลุ่มวัสดุก่อสร้างต่างๆ จะได้รับประโยชน์ทั้งในแง่ของปริมาณการรับงานที่มากขึ้น ซึ่งจะช่วยสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการ และที่สำคัญผู้ประกอบการในประเทศจะได้รับประโยชน์จากการพัฒนาเทคโนโลยีร่วมกับบริษัทต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในโครงการต่างๆ ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการไทยสามารถนำความรู้นั้นมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมให้กับตนเอง รวมถึงจะเป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้อีกทางหนึ่งด้วย
“ถ้าอยากให้ผู้ประกอบการในประเทศได้ รัฐบาลต้องประกาศเพิ่มเติม หรือประกาศให้ชัดเจนเลยว่า แต่ละโครงการจะต้องมี Local content เท่าไหร่ เพราะไม่เพียงแต่เราจะได้เงิน แต่เราจะได้โนว์ฮาวด้วย เพราะผู้ประกอบการบ้านเราเก่ง และพร้อมที่จะเดินหน้า โดยเฉพาะโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง ซึ่งตัวเงิน และความรู้จะลงมาถึงผู้ประกอบการค่อนข้างมาก และยังช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้อีกด้วย” นายธีรวัต กล่าว