แบงก์ชาติ เผยปัญหาหนี้ครัวเรือนไต่ระดับต่อเนื่อง ล่าสุด ยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนแตะ 10.43% ทำให้ระดับหนี้ครัวเรือนขยับอยู่ที่ 85.92% ณ สิ้นไตรมาส 4 ปี 57 รายได้ลดลงมากกว่าก่อหนี้ใหม่ เหตุระวังตัวมากขึ้น ส่วนใหญ่ยอดหนี้เพิ่มขึ้นอันดับแรก คือ ธนาคารพาณิชย์ 2.72 แสนล้านบาท ขณะที่สัดส่วนการเติบโตหนี้ของกองทุนฟื้นฟูฯ-กบข.-บตท.-บสย.สูงสุดในกลุ่มสถาบันการเงินด้วยกันถึง 42.81%
นางรุ่ง มัลลิกะมาส ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า สัดส่วนหนี้ครัวเรือนอยู่ที่ 85.9% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ล่าสุด สิ้นไตรมาส 4 ของปี 57 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนอยู่ที่ 84.7% โดยยอมรับว่าสัดส่วนหนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้น สะท้อนรายได้ของคนลดลงมากกว่าก่อหนี้ใหม่ อย่างไรก็ตาม ธปท.ไม่ได้กังวลหนี้ครัวเรือน เนื่องจากการก่อหนี้ใหม่ชะลอลง ขณะที่ผู้บริโภคระมัดระวังตัวมากขึ้น ซึ่งเริ่มเห็นภาพเช่นนี้มาตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปีก่อน
รายงานข่าวจาก ธปท. แจ้งว่า สายนโยบายการเงินได้ประกาศเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือน (หนี้ครัวเรือน) อยู่ที่ 10.43 ล้านล้านบาท ล่าสุด ณ สิ้นไตรมาส 4 ของปี 57 ยอดหนี้เพิ่มขึ้นทั้งเทียบกับระยะเดียวกันกับปีก่อน และไตรมาสก่อนหน้า 6.39 แสนล้านบาท หรือเติบโต 6.53% และ 2.11 แสนล้านบาท หรือเติบโต 2.07% ตามลำดับ ระดับหนี้ครัวเรือนไต่ระดับต่อเนื่อง ในช่วงไตรมาส 4 ของปี 56 หรือเทียบกับระยะเดียวกันกับปีก่อนอยู่ที่ 82.30% เมื่อเข้าปี 57 ในไตรมาส 1-3 ระดับหนี้ครัวเรือนอยู่ที่ 82.78%, 83.51%, 84.72% ตามลำดับ และล่าสุด ไตรมาส 4 ของปี 57 ขยับเพิ่มเป็น 85.92%
การเปลี่ยนแปลงยอดหนี้ครัวเรือนไตรมาส 4 ของปี 57 เทียบกับไตรมาส 4 ของปี 56 หรือช่วงเดียวกันปีก่อน พบว่า ส่วนใหญ่สถาบันการเงินให้เงินกู้แก่ภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้น ยกเว้นธุรกิจบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน โดยบริษัทบริหารสินทรัพย์ และบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยให้เงินกู้แก่ครัวเรือนลดลง 2.06 พันล้านบาท หรือหดตัว 8.01% จากปัจจุบันในไตรมาส 4 ของปี 57 ยอดคงค้างเงินให้กู้ยืมแก่ครัวเรือนอยู่ที่ 2.37 หมื่นล้านบาท
สำหรับสถาบันการเงินให้กู้แก่ครัวเรือนเพิ่มขึ้น อันดับแรก ธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศ สาขาธนาคารต่างประเทศที่ตั้งอยู่ในไทย รวมถึงกิจการวิเทศธนกิจ 2.72 แสนล้านบาท หรือเติบโต 6.54% อันดับ 2 สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่รับฝากเงิน 1.64 แสนล้านบาท หรือขยายตัว 5.69% อันดับ 3 เป็นสหกรณ์ออมทรัพย์ 1.26 แสนล้านบาท หรือขยายตัว 8.61% ซึ่งสัดส่วนการเติบโตสูงสุดในกลุ่มสถาบันรับฝากเงินที่ให้กู้แก่ภาคครัวเรือน
ตามมาด้วยบริษัทบัตรเครดิต ลีสซิ่ง และสินเชื่อส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น 5.34 หมื่นล้านบาท เติบโต 5.07% เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน บริษัทหลักทรัพย์เพิ่มขึ้น 11.17 หมื่นล้านบาท เติบโต 22.92% บริษัทประกันภัยและประกันชีวิต 1.09 หมื่นล้านบาท เติบโต 13.78% กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (กองทุนฟื้นฟูฯ) กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) บรรษัทตลาดรองสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (บตท.) และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) 3.65 พันล้านบาท หรือเติบโต 42.81% ถือว่าเติบโตสูงสุดในกลุ่มสถาบันการเงินอยู่ในระบบที่ปล่อยกู้ให้ครัวเรือน
นอกจากนี้ บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ มีการปล่อยกู้ให้แก่ครัวเรือนเพิ่มขึ้น 81 ล้านบาท หรือขยายตัว 2.84% และโรงรับจำนำเพิ่มขึ้น 26 ล้านบาท เติบโต 0.05% จากช่วงก่อนหน้านี้ยอดให้กู้แก่ครัวเรือนหดตัว
อย่างไรก็ดี นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวถึงหนี้ครัวเรือนว่า เริ่มเห็นแนวโน้มการชะลอตัว และสถานการณ์ช่วงปี 2-3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งตอนนั้นหนี้เพิ่มขึ้นจากปัญหาน้ำท่วม และโครงการรถคันแรก แต่ตอนนี้การก่อหนี้รถคันแรกบรรเทาลง ขณะที่ผู้ให้กู้ระมัดระวังมากขึ้น แม้การใช้จ่ายของภาคเอกชนชะลอ แต่การจ้างงานยังดีอยู่บริษัทต่างๆ ไม่ล้ม เพียงแค่ขายของได้น้อย และไม่สามารถขยับราคาตามต้นทุนสูงขึ้นได้ ซึ่งต่างกับสมัยวิกฤตต้มยำกุ้งที่มีการปิดบริษัทไล่คนออก
นางรุ่ง มัลลิกะมาส ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า สัดส่วนหนี้ครัวเรือนอยู่ที่ 85.9% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ล่าสุด สิ้นไตรมาส 4 ของปี 57 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนอยู่ที่ 84.7% โดยยอมรับว่าสัดส่วนหนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้น สะท้อนรายได้ของคนลดลงมากกว่าก่อหนี้ใหม่ อย่างไรก็ตาม ธปท.ไม่ได้กังวลหนี้ครัวเรือน เนื่องจากการก่อหนี้ใหม่ชะลอลง ขณะที่ผู้บริโภคระมัดระวังตัวมากขึ้น ซึ่งเริ่มเห็นภาพเช่นนี้มาตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปีก่อน
รายงานข่าวจาก ธปท. แจ้งว่า สายนโยบายการเงินได้ประกาศเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือน (หนี้ครัวเรือน) อยู่ที่ 10.43 ล้านล้านบาท ล่าสุด ณ สิ้นไตรมาส 4 ของปี 57 ยอดหนี้เพิ่มขึ้นทั้งเทียบกับระยะเดียวกันกับปีก่อน และไตรมาสก่อนหน้า 6.39 แสนล้านบาท หรือเติบโต 6.53% และ 2.11 แสนล้านบาท หรือเติบโต 2.07% ตามลำดับ ระดับหนี้ครัวเรือนไต่ระดับต่อเนื่อง ในช่วงไตรมาส 4 ของปี 56 หรือเทียบกับระยะเดียวกันกับปีก่อนอยู่ที่ 82.30% เมื่อเข้าปี 57 ในไตรมาส 1-3 ระดับหนี้ครัวเรือนอยู่ที่ 82.78%, 83.51%, 84.72% ตามลำดับ และล่าสุด ไตรมาส 4 ของปี 57 ขยับเพิ่มเป็น 85.92%
การเปลี่ยนแปลงยอดหนี้ครัวเรือนไตรมาส 4 ของปี 57 เทียบกับไตรมาส 4 ของปี 56 หรือช่วงเดียวกันปีก่อน พบว่า ส่วนใหญ่สถาบันการเงินให้เงินกู้แก่ภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้น ยกเว้นธุรกิจบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน โดยบริษัทบริหารสินทรัพย์ และบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยให้เงินกู้แก่ครัวเรือนลดลง 2.06 พันล้านบาท หรือหดตัว 8.01% จากปัจจุบันในไตรมาส 4 ของปี 57 ยอดคงค้างเงินให้กู้ยืมแก่ครัวเรือนอยู่ที่ 2.37 หมื่นล้านบาท
สำหรับสถาบันการเงินให้กู้แก่ครัวเรือนเพิ่มขึ้น อันดับแรก ธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศ สาขาธนาคารต่างประเทศที่ตั้งอยู่ในไทย รวมถึงกิจการวิเทศธนกิจ 2.72 แสนล้านบาท หรือเติบโต 6.54% อันดับ 2 สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่รับฝากเงิน 1.64 แสนล้านบาท หรือขยายตัว 5.69% อันดับ 3 เป็นสหกรณ์ออมทรัพย์ 1.26 แสนล้านบาท หรือขยายตัว 8.61% ซึ่งสัดส่วนการเติบโตสูงสุดในกลุ่มสถาบันรับฝากเงินที่ให้กู้แก่ภาคครัวเรือน
ตามมาด้วยบริษัทบัตรเครดิต ลีสซิ่ง และสินเชื่อส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น 5.34 หมื่นล้านบาท เติบโต 5.07% เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน บริษัทหลักทรัพย์เพิ่มขึ้น 11.17 หมื่นล้านบาท เติบโต 22.92% บริษัทประกันภัยและประกันชีวิต 1.09 หมื่นล้านบาท เติบโต 13.78% กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (กองทุนฟื้นฟูฯ) กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) บรรษัทตลาดรองสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (บตท.) และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) 3.65 พันล้านบาท หรือเติบโต 42.81% ถือว่าเติบโตสูงสุดในกลุ่มสถาบันการเงินอยู่ในระบบที่ปล่อยกู้ให้ครัวเรือน
นอกจากนี้ บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ มีการปล่อยกู้ให้แก่ครัวเรือนเพิ่มขึ้น 81 ล้านบาท หรือขยายตัว 2.84% และโรงรับจำนำเพิ่มขึ้น 26 ล้านบาท เติบโต 0.05% จากช่วงก่อนหน้านี้ยอดให้กู้แก่ครัวเรือนหดตัว
อย่างไรก็ดี นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวถึงหนี้ครัวเรือนว่า เริ่มเห็นแนวโน้มการชะลอตัว และสถานการณ์ช่วงปี 2-3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งตอนนั้นหนี้เพิ่มขึ้นจากปัญหาน้ำท่วม และโครงการรถคันแรก แต่ตอนนี้การก่อหนี้รถคันแรกบรรเทาลง ขณะที่ผู้ให้กู้ระมัดระวังมากขึ้น แม้การใช้จ่ายของภาคเอกชนชะลอ แต่การจ้างงานยังดีอยู่บริษัทต่างๆ ไม่ล้ม เพียงแค่ขายของได้น้อย และไม่สามารถขยับราคาตามต้นทุนสูงขึ้นได้ ซึ่งต่างกับสมัยวิกฤตต้มยำกุ้งที่มีการปิดบริษัทไล่คนออก