xs
xsm
sm
md
lg

ย้อนรอยระบบการเงินโลก (ตอนที่ 3)

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ย้อนรอยระบบการเงินโลก (ตอนที่ 3)
 
สกุลเงินที่มีความสำคัญในแต่ละช่วง บ่งบอกถึงอำนาจของประเทศ หรือจักรวรรดินั้นๆกำลังเฟื่องฟู
 
ศตวรรษที่ 1-4 สกุลเงิน หรือเหรียญ Aureus ยุคโรมรุ่งเรือง
ศตวรรษที่ 4-12 สกุลเงิน หรือเหรียญ Solidus ยุคไบแซนไทน์
ศตวรรษที่ 13-15 สกุลเงิน หรือเหรียญ Florino ยุค Florence
ศตวรรษที่ 17-18 สกุลเงิน หรือเหรียญ Gulden ยุคเนเธอร์แลนด์
ศตวรรษที่ 18-19 สกุลเงิน หรือเหรียญ Real de a Ocho หรือดอลลาร์สเปน ยุคสเปน
ศตวรรษที่ 19-20 ตอนต้น สกุลเงินปอนด์ Pound ยุคจักรวรรดิ British Empire
และตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20 ตอนต้นเป็นต้นมา US Dollar ยุคอเมริกาเป็นพี่ใหญ่

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ.1939-1945) มีการประชุมที่รัฐ New Hampshire ของสหรัฐอเมริกา ในเมือง Bretton Wood ซึ่งเป็นที่มาของระบบการเงินโลกใหม่ตอนนั้นที่ชื่อ “Bretton Woods System” โดยระบบนี้จะมีการผูกค่าเงินดอลลาร์กับทองคำ โดยทองคำ 1 Ounce จะเท่ากับ 35 ดอลลาร์สหรัฐ ส่วนสกุลเงินอื่นๆ ก็จะถูกผูกไว้กับสกุลเงินดอลลาร์อีกทีหนึ่งเป็นอัตราแลกเปลี่ยนคงที่กัน ตอนนั้นค่าเงินบาทเราก็ผูกไว้กับดอลลาร์สหรัฐที่อัตรา 12.50 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบนี้ข้อดีก็คือ ลดความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนซึ่งจะช่วยผลักดันการค้า และการลงทุนให้เกิดง่ายขึ้น แต่เมื่อประเทศไหนที่มีปัญหาขาดดุลมากๆ ก็อาจจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนอัตราแลกเปลี่ยนที่ผูกไว้เช่นกัน ส่วนใหญ่ประเทศที่มีปัญหาก็จะต้องลดค่าเงินตัวเอง ส่วนไทยนั้นหลังจากผูกค่าเงินกับดอลลาร์มาถึงปี พ.ศ.2521 เราก็เปลี่ยนเป็นการผูกเงินบาทไว้กับตะกร้าสกุลเงินแทน ซึ่งตะกร้าเงินในตอนนั้น ประกอบด้วย สกุลเงินต่างประเทศ ได้แก่ ดอลลาร์สหรัฐ ปอนด์สเตอลิง มาร์ก เยน ริงกิต ดอลลาร์สิงคโปร์ และดอลลาร์ฮ่องกง โดยตั้งแต่ 2514-2540 เงินบาทเราอยู่ระหว่าง 20-27 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ จนกระทั่งไทยเราประกาศยกเลิกการผูกค่าเงินบาทกับตะกร้าเงิน ช่วงปลายปีพ.ศ.2540-กลางปี 2541 แล้วเปลี่ยนมาใช้ระบบลอยตัวกึ่งจัดการแทน ซึ่งทำให้ค่าเงินบาทอ่อนฮวบไป 50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐอยู่ช่วงหนึ่ง

กลับมาที่ระบบ Bretton Woods System ก็ดำเนินต่อมาได้ดีหลายสิบปีหลังจากกำเนิดขึ้น จนกระทั่งผู้ตั้งกฎนี้ขึ้น หรือสหรัฐอเมริกานั่นเองที่เริ่มขาดวินัยด้านการคลัง ตั้งแต่เกิดสงครามเวียดนาม ปี ค.ศ.1955 จนไปสิ้นสุด 1975 นั้น สหรัฐฯ มีการเข้าร่วมสงครามเวียดนามที่ยืดเยื้อยาวนานจนเกิดการขาดทุนบัญชีเดินสะพัดต่อเนื่อง ซึ่งสหรัฐฯ ก็ใช้วิธีกู้เงินจากธนาคารกลางที่ปั๊มเงินออกมาเพื่อนำมาใช้จ่ายต่อไป ประเทศที่เกินดุลเริ่มเห็นท่าไม่ดี ก็เริ่มนำเงินดอลลาร์ที่ตัวเองได้มา และกำลังท่วมโลกกลับมาแลกทองคำจากสหรัฐฯ ที่ผูกไว้ที่ 35 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แลกไปแลกมา ประธานาธิบดีนิกสัน ประกาศยกเลิกระบบ Bretton Woods System เลยเพราะตัวเองเหลือทองคำน้อยลงมากกว่าแต่ก่อน แต่ด้วยสหรัฐฯ ยังมีกำลังทางทหาร และอาวุธทางสงครามที่ก้าวหน้ากว่าผู้อื่น หลังประกาศยกเลิกการผูกค่าเงินไว้กับทองคำก็หันมาใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวแทน ซึ่งอัตราแลกเปลี่ยนของแต่ละประเทศจะขึ้นอยู่กับกลไกของตลาดนั่นเอง
 
อย่างไรก็ตาม หลังเหตุการณ์ดังกล่าว แม้จะไม่มีสงครามใหญ่ๆ อีกแล้ว แต่โลกก็ยังเผชิญต่อวิกฤตเศรษฐกิจซึ่งก็เป็นเสมือนสงครามชนิดหนึ่งเช่นกัน โดยเฉพาะตั้งแต่ปี ค.ศ.2008 จนถึงปัจจุบัน สงครามสมัยใหม่กลับกลายมาอยู่ในรูปแบบของสงครามเศรษฐกิจ และค่าเงินแทนแน่นอนว่า หลายๆ ประเทศเริ่มตื่นตัวจากปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตจากธนาคารกลางหลายๆ ประเทศใช้วิธีปั๊มเงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ โดยหลายประเทศก็เริ่มปรับตัว ไม่เน้นให้ความสำคัญต่อสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐเพียงสกุลเดียวเหมือนแต่ก่อนสกุลเงินของประเทศที่มีเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ งและเติบโตมากขึ้นก็จะถูกหยิบยกมาใช้แทนสกุลเงินหลักเดิมที่มีปัญหามากขึ้นเรื่อยๆ เช่น สกุลเงินหยวน ของจีนเป็นต้น

สัญญา หาญพัฒนกิจพานิช ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) โกลเบล็ก จำกัด
กำลังโหลดความคิดเห็น