รองนายกฯ สนับสนุนการพัฒนาบนกรอบ international platform และ digital economy
รองนายกรัฐมนตรี ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ปาฐกถาพิเศษ “กลยุทธ์การขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโตมั่นคงและยั่งยืน” แก่ผู้บริหารตลาดเงินตลาดทุนและภาคธุรกิจกว่า 300 ราย พร้อมประชุมร่วมกับคณะกรรมการ ตลท. ให้แนวทางการพัฒนาตลาดทุน โดยอิงแนวทางการให้ไทยเป็น international platform ทั้งด้านการค้า และการลงทุน พร้อมผลักดัน digital economy โดยเริ่มจากภาคตลาดทุน เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศให้เติบโตมั่นคง และยั่งยืน
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี กล่าวในงานปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “กลยุทธ์การขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโตมั่นคงและยั่งยืน” แก่ผู้บริหารระดับสูงจากแวดวงตลาดเงินตลาดทุน และภาคธุรกิจกว่า 300 ราย โดยได้ให้แนวทางการพัฒนาตลาดทุนไทยเพื่อเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตอย่างมั่นคง และยั่งยืน ภายใต้กรอบการพัฒนาประเทศในเรื่องการให้ไทยเป็นศูนย์กลางการค้าการลงทุนนานาชาติ (International Platform) โดยมุ่งสนับสนุนต่างชาติเข้ามาตั้งสำนักงานใหญ่ข้ามประเทศ (International Headquarter) และบริษัทการค้าระหว่างประเทศ (International Trading Centers) ซึ่งจะดึงดูดการค้าการลงทุนเข้ามายังประเทศไทย ตลท. ได้สนับสนุนแนวทางดังกล่าวในการขยายสินค้า และประเภทสินทรัพย์ให้หลากหลาย และเป็นสากล รวมทั้งการเป็นศูนย์กลางการลงทุนของภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Greater Mekong Subregion : GMS) ซึ่งที่ผ่านมา ตลท. ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง และจะต่อยอดการเชื่อมโยงภูมิภาคจากแนวนโยบายดังกล่าว
นอกจากนี้ ภาครัฐยังมุ่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจตามแนวทางเศรษฐกิจดิจิตอล (Digital Economy) หรือการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเพิ่มประสิทธิภาพ และสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยสามารถเริ่มจากภาคตลาดทุนซึ่งมีความพร้อม และในที่สุดจะเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนทุกอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นการบริการ การผลิต ตลอดจนหน่วยงานของภาครัฐ
ขณะที่ นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ประธานกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวเสริมว่า “สำหรับ ตลท. ได้วางทิศทางการพัฒนาตลาดทุนให้เติบโตยั่งยืน และรองรับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลง โดยมุ่งเน้นแนวคิด “Digital-Diversified-Sustainable - Internationalized (D-D-S-I)” ได้แก่ การนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการดำเนินงานในทุกมิติเพื่อตอบสนองทุกภาคส่วนในตลาดทุน (Digital) การเพิ่มความหลากหลายของตลาดและประเภทสินทรัพย์ ควบคู่ไปกับการพัฒนาสินค้าเดิม และขยายฐานผู้ลงทุน (Diversified) การพัฒนาผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในตลาดทุนให้ดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (Sustainable) ให้มากขึ้น นอกเหนือจากการมุ่งเน้นการส่งเสริมบรรษัทภิบาลที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน รวมทั้งการขยายบทบาทระหว่างประเทศของ ตลท.(Internationalized) นับเป็นโจทย์สำคัญสำหรับ ตลท. ซึ่งดำเนินงานครบ 40 ปีในปีนี้ และก้าวสู่ทศวรรษใหม่ต่อไป”
รองนายกรัฐมนตรี ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ปาฐกถาพิเศษ “กลยุทธ์การขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโตมั่นคงและยั่งยืน” แก่ผู้บริหารตลาดเงินตลาดทุนและภาคธุรกิจกว่า 300 ราย พร้อมประชุมร่วมกับคณะกรรมการ ตลท. ให้แนวทางการพัฒนาตลาดทุน โดยอิงแนวทางการให้ไทยเป็น international platform ทั้งด้านการค้า และการลงทุน พร้อมผลักดัน digital economy โดยเริ่มจากภาคตลาดทุน เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศให้เติบโตมั่นคง และยั่งยืน
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี กล่าวในงานปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “กลยุทธ์การขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโตมั่นคงและยั่งยืน” แก่ผู้บริหารระดับสูงจากแวดวงตลาดเงินตลาดทุน และภาคธุรกิจกว่า 300 ราย โดยได้ให้แนวทางการพัฒนาตลาดทุนไทยเพื่อเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตอย่างมั่นคง และยั่งยืน ภายใต้กรอบการพัฒนาประเทศในเรื่องการให้ไทยเป็นศูนย์กลางการค้าการลงทุนนานาชาติ (International Platform) โดยมุ่งสนับสนุนต่างชาติเข้ามาตั้งสำนักงานใหญ่ข้ามประเทศ (International Headquarter) และบริษัทการค้าระหว่างประเทศ (International Trading Centers) ซึ่งจะดึงดูดการค้าการลงทุนเข้ามายังประเทศไทย ตลท. ได้สนับสนุนแนวทางดังกล่าวในการขยายสินค้า และประเภทสินทรัพย์ให้หลากหลาย และเป็นสากล รวมทั้งการเป็นศูนย์กลางการลงทุนของภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Greater Mekong Subregion : GMS) ซึ่งที่ผ่านมา ตลท. ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง และจะต่อยอดการเชื่อมโยงภูมิภาคจากแนวนโยบายดังกล่าว
นอกจากนี้ ภาครัฐยังมุ่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจตามแนวทางเศรษฐกิจดิจิตอล (Digital Economy) หรือการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเพิ่มประสิทธิภาพ และสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยสามารถเริ่มจากภาคตลาดทุนซึ่งมีความพร้อม และในที่สุดจะเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนทุกอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นการบริการ การผลิต ตลอดจนหน่วยงานของภาครัฐ
ขณะที่ นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ประธานกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวเสริมว่า “สำหรับ ตลท. ได้วางทิศทางการพัฒนาตลาดทุนให้เติบโตยั่งยืน และรองรับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลง โดยมุ่งเน้นแนวคิด “Digital-Diversified-Sustainable - Internationalized (D-D-S-I)” ได้แก่ การนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการดำเนินงานในทุกมิติเพื่อตอบสนองทุกภาคส่วนในตลาดทุน (Digital) การเพิ่มความหลากหลายของตลาดและประเภทสินทรัพย์ ควบคู่ไปกับการพัฒนาสินค้าเดิม และขยายฐานผู้ลงทุน (Diversified) การพัฒนาผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในตลาดทุนให้ดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (Sustainable) ให้มากขึ้น นอกเหนือจากการมุ่งเน้นการส่งเสริมบรรษัทภิบาลที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน รวมทั้งการขยายบทบาทระหว่างประเทศของ ตลท.(Internationalized) นับเป็นโจทย์สำคัญสำหรับ ตลท. ซึ่งดำเนินงานครบ 40 ปีในปีนี้ และก้าวสู่ทศวรรษใหม่ต่อไป”