“แอสเซท ไบร์ท” แจงตัวเลขงบการเงินหลังปรับปรุงหลังพบเปลี่ยนไปจากเดิม โดยเปลี่ยนแปลงนโนยบายบัญชีจากวิธีราคาทุนเป็นวิธีต้นทุนทดแทนใหม่ จึงมีส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์สุทธิเพิ่มขึ้น ส่งผลให้จากเดิมขาดทุนเกือบ 210 ล้านบาท เหลือ 17 ล้านบาท และงบไตรมาส 2 ปี57 ตัวเลขผิดจากเดิมมากจึงเกิดผลขาดทุนกว่า 43 ล้านบาท ยันแก้ไขงบไตรมาส 3 ตามมาตรฐานบัญชี
นายเปรมชัย กุศลฤกษ์ดี กรรมการบริษัท บริษัท แอสเซท ไบร์ท จำกัด (มหาชน) หรือ ABC ชี้แจงจข้อมูลในงบการเงินตามที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้ชี้แจงเพิ่มเติมว่า
1.เหตุผลที่บริษัทฯ โอนส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์ดังกล่าวข้างต้นไปเป็นกำไรจากการจำหน่ายสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขายในงบกำไรขาดทุน ซึ่งส่งผลให้บริษัทฯ แสดงกำไรสุทธิในงบการเงินสำหรับงวดเก้าเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 57 สูงเกินไป 201.38 ล้านบาท ลดลง 111.76% ของกำไรสุทธิที่แสดงไว้เดิม และความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบเกี่ยวกับกรณีดังกล่าว ABC ชี้แจงว่า ในไตรมาส 3 ปี 56 บริษัทได้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ โดยเปลี่ยนแปลงวิธีการรับรู้มูลค่าจากเดิมวิธีราคาทุนเป็นวิธีต้นทุนทดแทนใหม่ตีราคาใหม่สำหรับที่ดิน และอาคารที่ใช้เป็นโรงงานผลิตถุงเท้า ตั้งอยู่บนที่ดินเนื้อที่ 16-1-17 ไร่ เลขที่ 7 ซอยลาดปลาเค้า 71 ถนนลาดปลาเค้า แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพฯ เป็นผลให้มูลค่าที่ดิน และอาคารมีมูลค่าเพิ่มขึ้น 237.31 ล้านบาท ซึ่งบันทึกเป็นส่วนเกินทุนจากจากการตีราคาสินทรัพย์ในองค์ประกอบอื่นของส่วนของผู้ถือหุ้นในงบแสดงฐานะการเงิน
นอกจากนี้ เพื่อมิให้ราคาตามบัญชีแสดงมูลค่าที่แตกต่างจากมูลค่ายุติธรรมอย่างมีสาระสำคัญจึงมีการประเมินราคาสินทรัพย์ดังกล่าวเป็นประจำ ส่งผลให้บริษัทฯ ปรับมูลค่าส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์ใหม่ ทำให้มีส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์สุทธิ ณ 31 มีนาคม 57 จำนวน 160.69 ล้านบาท และบริษัทฯ ได้ทำการจัดประเภทที่ดิน และอาคารดังกล่าวใหม่เป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขายมูลค่า 208.34 ล้านบาท เนื่องจากได้ทำสัญญาจะซื้อจะขาย และรับเงินมัดจำจากการทำสัญญาซื้อขายที่ดิน และอาคารโรงงานดังกล่าวจากผู้ซื้อแล้ว ซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัทเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 57 และได้รับอนุมัติจากที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 51 เมื่อวันที่ 28 เมษยายน 57 ที่อนุมัติให้ขายที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างให้แก่บริษัท บีเอ็นซี เรียลเอสเตท จำกัด ในมูลค่า 220 ล้านบาท เนื่องจากบริษัทฯ ไม่ได้ใช้ประโยชน์จากการเลิกผลิตสินค้าตั้งแต่ต้นปี 56 ต่อมา ในไตรมาส 2 ปี 57 บริษัทฯ ได้ขาย และโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวให้แก่ผู้ซื้อ จึงได้ตัดรายการ และโอนปิดบัญชีที่เกี่ยวข้องอันได้แก่สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขาย 208.34 ล้านบาท ส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์160.69 ล้านบาท และบันทึกเป็นกำไรจากการขายสินทรัพย์ดังกล่าว 201.36 ล้านบาท ในงบกำไรขาดทุนตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 57
ทั้งนี้ การที่บริษัทฯ บันทึกบัญชีข้างต้นเนื่องจากบริษัทฯ ได้ตีความว่า การที่บริษัทฯ ได้เลิกผลิตสิ่งทอเนื่องจากการเปลี่ยนประเภทธุรกิจ จึงไม่ได้ใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินที่เป็นที่ตั้งของโรงงานเดิมของบริษัทฯ ประกอบกับบริษัทฯ ได้รับเงินมัดจำจากการทำสัญญาซื้อขายที่ดิน และอาคารโรงงานดังกล่าวจากผู้ซื้อแล้ว ดังนั้น ในไตรมาสที่ 1 ปี 57 บริษัทฯ จึงโอนทรัพย์สินดังกล่าวไปยังบัญชีสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขาย เนื่องจากทรัพย์สินดังกล่าวไม่ตรงกับคำนิยามของที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 (ปรับปรุงปี 52) ที่ระบุว่า “ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ หมายถึงสินทรัพย์ที่มีตัวตนซึ่งเข้าเงื่อนไขทุกข้อต่อไปนี้
1.กิจการมีไว้เพื่อใช้ประโยชน์ในการผลิต ในการจำหน่ายสินค้า หรือให้บริการ เพื่อให้เช่า หรือใช้ในการบริหารงาน
2.กิจการคาดว่าจะใช้ประโยชน์มากกว่าหนึ่งรอบระยะเวลา ขณะที่บัญชีส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์ที่เกิดจากการตีราคาใหม่ ยังคงอยู่ในองค์ประกอบอื่นในส่วนของผู้ถือหุ้น ต่อมา บริษัทฯ ได้จำหน่ายสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขายดังกล่าวในไตรมาสที่ 2 ปี 57 บริษัทฯ ได้รับรู้เป็นกำไรที่ยังไม่เคยรับรู้จากการขายตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 5 (ปรับปรุงปี 55) เรื่อง สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขายและการดำเนินงานที่ยกเลิก วรรคที่ 24 ที่ระบุว่า “ในวันที่ตัดรายการออกจากบัญชีกิจการต้องรับรู้ผลกำไรหรือขาดทุนที่ยังไม่เคยรับรู้ในวันที่ขายสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน...” จึงเป็นเหตุให้บริษัทฯ รับรู้กำไรจากการขายสินทรัพย์ดังกล่าวผ่านงบกำไรขาดทุน บริษัทฯ จึงมิได้ปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีตามย่อหน้าที่ 41 ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 (ปรับปรุงปี 52) ต่อมา ก.ล.ต. ได้มีหนังสือให้บริษัทฯ แก้ไขงบการเงินงวดไตรมาส 3 ปี 57 เพื่อให้เป็นไปตามย่อหน้าที่ 41 ของมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 16 (ปรับปรุง 52) เรื่องการตีราคาสินทรัพย์ใหม่ โดยเมื่อบริษัทฯ เลิกใช้สินทรัพย์นั้นแล้ว บริษัทฯ ต้องโอนส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์ไปยังกำไรสะสมโดยตรง ณ วันที่มีการโอนเปลี่ยนประเภทดังกล่าว และต้องไม่โอนส่วนเกินทุนดังกล่าวเข้างบกำไรขาดทุนเมื่อขาย บริษัทจึงแก้ไขรายการดังกว่าในงบการเงินไตรมาส 3 ปี 57 เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 57 โดยโอนส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์สุทธิ และภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีที่ถูกปิดเข้างบกำไรขาดทุน 201.38 ล้านบาทไปเป็นกำไรสะสม ส่งผลให้มีขาดทุนจากจำหน่ายสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขายจำนวน 14,818 บาท ในงบกำไรขาดทุนความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบเกี่ยวกับกรณีการโอนส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์ที่เกิดจากการตีราคาใหม่ไปเป็นกำไรในงบกำไรขาดทุนเมื่อขายนั้น คณะกรรมการตรวจสอบเห็นด้วยเนื่องจากผู้สอบบัญชีได้สอบทานงบการเงินของบริษัทฯ และไม่ได้แสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไขในเรื่องดังกล่าวที่เป็นเหตุว่าบริษัทฯ จัดทำงบการเงินไม่สอดคล้องต่อมาตรฐานการบัญชี แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากคำสั่งของ ก.ล.ต. ที่ให้แก้ไขงบการเงินให้ถูกต้องตามมาตรฐานบัญชี คณะกรรมการตรวจสอบจึงเห็นควรให้ปฎิบัติตาม
2.การปรับปรุงรายการดังกล่าวมีผลกระทบต่องบการเงินฉบับก่อนหน้างบการเงินงวดไตรมาสที่ 3 ปี 57 ที่ได้มีการนำส่งต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ และเผยแพร่ต่อผู้ลงทุนหรือไม่อย่างไร และมีแนวทางแก้ไขผลกระทบดังกล่าวอย่างไร
ABC ชี้แจงว่า การปรับปรุงรายการดังกล่าวมีผลกระทบต่องบการเงินในไตรมาสที่ 1 ปี 57 ในบัญชีขาดทุนสะสม และไตรมาส 2 ปี 57 มีผลกระทบต่องบกำไรขาดทุน งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ และกำไร (ขาดทุน) ต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน ส่วนยอดสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของผู้ถือหุ้นไม่เปลี่ยนแปลง แต่ขาดทุนสะสมของบริษัทฯ เปลี่ยนแปลง โดยลดลงจากขาดทุน 209.71 ล้านบาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 56 เหลือขาดทุน 16.99 ล้านบาท ณ วันที่ 30 มิถุนายน 57
บริษัทฯ ได้แก้ไขและนำส่งงบการเงินงวด 9 เดือนเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 57 ซึ่งนักลงทุนสามารถที่จะศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ตามที่ได้แจ้งข่าวตลาดหลักทรัพย์ฯ ผลกระทบในไตรมาสที่ 1 ปี 57 จะเป็นผลให้ส่วนเกินจากการตีราคาสินทรัพย์ ในส่วนของผู้ถือหุ้น 160.69 ล้านบาท ลดลงทั้งจำนวน โดยนำไปหักลบกับขาดทุนสะสมดังนี้คือ ส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์ไตรมาส แรกปี 57 ก่อนปรับปรุงรายการ 160,691,257.83 ล้านบาท และขาดทุนสะสมไตรมาส 1 ปี 57 174,998,596.94 ล้านบาท และเมื่อปรับปรุงรายการตัวเลขลดเหลือ 14,307,339.11 ล้านบาท
ขณะที่ผลกระทบในงบการเงินไตรมาส 2 ปี 57 ตัวเลขกำไรจากการขายสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้ขาย 201,364,709.47 ล้านบาท รายได้รวม 205,507,835.25 ล้านบาท กำไรสุทธิ 158,005,950.73 ล้านบาท และกำไรต่อหุ้น 1.20 บาท
ขณะตัวเลขหลังปรับปรุงไม่มีกำไรจากการสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน มีรายได้รวม 4,128,307.78 ล้านบาท กำไรสุทธิ 43,373,576.74 ล้านบาท และขาดทุนต่อหุ้น 0.33 บาท
แนวทางการแก้ไขผลกระทบดังกล่าว บริษัทฯ จะไม่แก้ไขงบการเงินในไตรมาส 1 และ 2 ของปี 57 เนื่องจากมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของบริษัทฯ ไม่เปลี่ยนแปลง โดยส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ยังคงมีมูลค่าเท่าเดิมคือ 162.19 ล้านบาท ในไตรมาส 1 และ 159.51 ล้านบาท ในไตรมาส 2 ส่วนผลกระทบต่อผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ที่เกิดขึ้นในไตรมาส 2 จะมีผลให้บริษัทฯ ขาดทุน 43.37 ล้านบาท ซึ่งบริษัทฯ ได้แก้ไขไว้แล้วในงบการเงินในไตรมาส 3 ซึ่งสอดคล้องตามมาตรฐานทางบัญชี
นายเปรมชัย กุศลฤกษ์ดี กรรมการบริษัท บริษัท แอสเซท ไบร์ท จำกัด (มหาชน) หรือ ABC ชี้แจงจข้อมูลในงบการเงินตามที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้ชี้แจงเพิ่มเติมว่า
1.เหตุผลที่บริษัทฯ โอนส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์ดังกล่าวข้างต้นไปเป็นกำไรจากการจำหน่ายสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขายในงบกำไรขาดทุน ซึ่งส่งผลให้บริษัทฯ แสดงกำไรสุทธิในงบการเงินสำหรับงวดเก้าเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 57 สูงเกินไป 201.38 ล้านบาท ลดลง 111.76% ของกำไรสุทธิที่แสดงไว้เดิม และความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบเกี่ยวกับกรณีดังกล่าว ABC ชี้แจงว่า ในไตรมาส 3 ปี 56 บริษัทได้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ โดยเปลี่ยนแปลงวิธีการรับรู้มูลค่าจากเดิมวิธีราคาทุนเป็นวิธีต้นทุนทดแทนใหม่ตีราคาใหม่สำหรับที่ดิน และอาคารที่ใช้เป็นโรงงานผลิตถุงเท้า ตั้งอยู่บนที่ดินเนื้อที่ 16-1-17 ไร่ เลขที่ 7 ซอยลาดปลาเค้า 71 ถนนลาดปลาเค้า แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพฯ เป็นผลให้มูลค่าที่ดิน และอาคารมีมูลค่าเพิ่มขึ้น 237.31 ล้านบาท ซึ่งบันทึกเป็นส่วนเกินทุนจากจากการตีราคาสินทรัพย์ในองค์ประกอบอื่นของส่วนของผู้ถือหุ้นในงบแสดงฐานะการเงิน
นอกจากนี้ เพื่อมิให้ราคาตามบัญชีแสดงมูลค่าที่แตกต่างจากมูลค่ายุติธรรมอย่างมีสาระสำคัญจึงมีการประเมินราคาสินทรัพย์ดังกล่าวเป็นประจำ ส่งผลให้บริษัทฯ ปรับมูลค่าส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์ใหม่ ทำให้มีส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์สุทธิ ณ 31 มีนาคม 57 จำนวน 160.69 ล้านบาท และบริษัทฯ ได้ทำการจัดประเภทที่ดิน และอาคารดังกล่าวใหม่เป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขายมูลค่า 208.34 ล้านบาท เนื่องจากได้ทำสัญญาจะซื้อจะขาย และรับเงินมัดจำจากการทำสัญญาซื้อขายที่ดิน และอาคารโรงงานดังกล่าวจากผู้ซื้อแล้ว ซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัทเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 57 และได้รับอนุมัติจากที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 51 เมื่อวันที่ 28 เมษยายน 57 ที่อนุมัติให้ขายที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างให้แก่บริษัท บีเอ็นซี เรียลเอสเตท จำกัด ในมูลค่า 220 ล้านบาท เนื่องจากบริษัทฯ ไม่ได้ใช้ประโยชน์จากการเลิกผลิตสินค้าตั้งแต่ต้นปี 56 ต่อมา ในไตรมาส 2 ปี 57 บริษัทฯ ได้ขาย และโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวให้แก่ผู้ซื้อ จึงได้ตัดรายการ และโอนปิดบัญชีที่เกี่ยวข้องอันได้แก่สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขาย 208.34 ล้านบาท ส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์160.69 ล้านบาท และบันทึกเป็นกำไรจากการขายสินทรัพย์ดังกล่าว 201.36 ล้านบาท ในงบกำไรขาดทุนตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 57
ทั้งนี้ การที่บริษัทฯ บันทึกบัญชีข้างต้นเนื่องจากบริษัทฯ ได้ตีความว่า การที่บริษัทฯ ได้เลิกผลิตสิ่งทอเนื่องจากการเปลี่ยนประเภทธุรกิจ จึงไม่ได้ใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินที่เป็นที่ตั้งของโรงงานเดิมของบริษัทฯ ประกอบกับบริษัทฯ ได้รับเงินมัดจำจากการทำสัญญาซื้อขายที่ดิน และอาคารโรงงานดังกล่าวจากผู้ซื้อแล้ว ดังนั้น ในไตรมาสที่ 1 ปี 57 บริษัทฯ จึงโอนทรัพย์สินดังกล่าวไปยังบัญชีสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขาย เนื่องจากทรัพย์สินดังกล่าวไม่ตรงกับคำนิยามของที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 (ปรับปรุงปี 52) ที่ระบุว่า “ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ หมายถึงสินทรัพย์ที่มีตัวตนซึ่งเข้าเงื่อนไขทุกข้อต่อไปนี้
1.กิจการมีไว้เพื่อใช้ประโยชน์ในการผลิต ในการจำหน่ายสินค้า หรือให้บริการ เพื่อให้เช่า หรือใช้ในการบริหารงาน
2.กิจการคาดว่าจะใช้ประโยชน์มากกว่าหนึ่งรอบระยะเวลา ขณะที่บัญชีส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์ที่เกิดจากการตีราคาใหม่ ยังคงอยู่ในองค์ประกอบอื่นในส่วนของผู้ถือหุ้น ต่อมา บริษัทฯ ได้จำหน่ายสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขายดังกล่าวในไตรมาสที่ 2 ปี 57 บริษัทฯ ได้รับรู้เป็นกำไรที่ยังไม่เคยรับรู้จากการขายตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 5 (ปรับปรุงปี 55) เรื่อง สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขายและการดำเนินงานที่ยกเลิก วรรคที่ 24 ที่ระบุว่า “ในวันที่ตัดรายการออกจากบัญชีกิจการต้องรับรู้ผลกำไรหรือขาดทุนที่ยังไม่เคยรับรู้ในวันที่ขายสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน...” จึงเป็นเหตุให้บริษัทฯ รับรู้กำไรจากการขายสินทรัพย์ดังกล่าวผ่านงบกำไรขาดทุน บริษัทฯ จึงมิได้ปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีตามย่อหน้าที่ 41 ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 (ปรับปรุงปี 52) ต่อมา ก.ล.ต. ได้มีหนังสือให้บริษัทฯ แก้ไขงบการเงินงวดไตรมาส 3 ปี 57 เพื่อให้เป็นไปตามย่อหน้าที่ 41 ของมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 16 (ปรับปรุง 52) เรื่องการตีราคาสินทรัพย์ใหม่ โดยเมื่อบริษัทฯ เลิกใช้สินทรัพย์นั้นแล้ว บริษัทฯ ต้องโอนส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์ไปยังกำไรสะสมโดยตรง ณ วันที่มีการโอนเปลี่ยนประเภทดังกล่าว และต้องไม่โอนส่วนเกินทุนดังกล่าวเข้างบกำไรขาดทุนเมื่อขาย บริษัทจึงแก้ไขรายการดังกว่าในงบการเงินไตรมาส 3 ปี 57 เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 57 โดยโอนส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์สุทธิ และภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีที่ถูกปิดเข้างบกำไรขาดทุน 201.38 ล้านบาทไปเป็นกำไรสะสม ส่งผลให้มีขาดทุนจากจำหน่ายสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขายจำนวน 14,818 บาท ในงบกำไรขาดทุนความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบเกี่ยวกับกรณีการโอนส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์ที่เกิดจากการตีราคาใหม่ไปเป็นกำไรในงบกำไรขาดทุนเมื่อขายนั้น คณะกรรมการตรวจสอบเห็นด้วยเนื่องจากผู้สอบบัญชีได้สอบทานงบการเงินของบริษัทฯ และไม่ได้แสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไขในเรื่องดังกล่าวที่เป็นเหตุว่าบริษัทฯ จัดทำงบการเงินไม่สอดคล้องต่อมาตรฐานการบัญชี แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากคำสั่งของ ก.ล.ต. ที่ให้แก้ไขงบการเงินให้ถูกต้องตามมาตรฐานบัญชี คณะกรรมการตรวจสอบจึงเห็นควรให้ปฎิบัติตาม
2.การปรับปรุงรายการดังกล่าวมีผลกระทบต่องบการเงินฉบับก่อนหน้างบการเงินงวดไตรมาสที่ 3 ปี 57 ที่ได้มีการนำส่งต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ และเผยแพร่ต่อผู้ลงทุนหรือไม่อย่างไร และมีแนวทางแก้ไขผลกระทบดังกล่าวอย่างไร
ABC ชี้แจงว่า การปรับปรุงรายการดังกล่าวมีผลกระทบต่องบการเงินในไตรมาสที่ 1 ปี 57 ในบัญชีขาดทุนสะสม และไตรมาส 2 ปี 57 มีผลกระทบต่องบกำไรขาดทุน งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ และกำไร (ขาดทุน) ต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน ส่วนยอดสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของผู้ถือหุ้นไม่เปลี่ยนแปลง แต่ขาดทุนสะสมของบริษัทฯ เปลี่ยนแปลง โดยลดลงจากขาดทุน 209.71 ล้านบาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 56 เหลือขาดทุน 16.99 ล้านบาท ณ วันที่ 30 มิถุนายน 57
บริษัทฯ ได้แก้ไขและนำส่งงบการเงินงวด 9 เดือนเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 57 ซึ่งนักลงทุนสามารถที่จะศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ตามที่ได้แจ้งข่าวตลาดหลักทรัพย์ฯ ผลกระทบในไตรมาสที่ 1 ปี 57 จะเป็นผลให้ส่วนเกินจากการตีราคาสินทรัพย์ ในส่วนของผู้ถือหุ้น 160.69 ล้านบาท ลดลงทั้งจำนวน โดยนำไปหักลบกับขาดทุนสะสมดังนี้คือ ส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์ไตรมาส แรกปี 57 ก่อนปรับปรุงรายการ 160,691,257.83 ล้านบาท และขาดทุนสะสมไตรมาส 1 ปี 57 174,998,596.94 ล้านบาท และเมื่อปรับปรุงรายการตัวเลขลดเหลือ 14,307,339.11 ล้านบาท
ขณะที่ผลกระทบในงบการเงินไตรมาส 2 ปี 57 ตัวเลขกำไรจากการขายสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้ขาย 201,364,709.47 ล้านบาท รายได้รวม 205,507,835.25 ล้านบาท กำไรสุทธิ 158,005,950.73 ล้านบาท และกำไรต่อหุ้น 1.20 บาท
ขณะตัวเลขหลังปรับปรุงไม่มีกำไรจากการสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน มีรายได้รวม 4,128,307.78 ล้านบาท กำไรสุทธิ 43,373,576.74 ล้านบาท และขาดทุนต่อหุ้น 0.33 บาท
แนวทางการแก้ไขผลกระทบดังกล่าว บริษัทฯ จะไม่แก้ไขงบการเงินในไตรมาส 1 และ 2 ของปี 57 เนื่องจากมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของบริษัทฯ ไม่เปลี่ยนแปลง โดยส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ยังคงมีมูลค่าเท่าเดิมคือ 162.19 ล้านบาท ในไตรมาส 1 และ 159.51 ล้านบาท ในไตรมาส 2 ส่วนผลกระทบต่อผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ที่เกิดขึ้นในไตรมาส 2 จะมีผลให้บริษัทฯ ขาดทุน 43.37 ล้านบาท ซึ่งบริษัทฯ ได้แก้ไขไว้แล้วในงบการเงินในไตรมาส 3 ซึ่งสอดคล้องตามมาตรฐานทางบัญชี