หุ้นไทยปิดบ้านเทรดกันเองสนั่น รายย่อยขายกระจาย 4 หมื่นกว่าล้าน สถาบันรับไม่เลิกในสัดส่วนใกล้เคียงเหตุราคาน้ำโลกทรุดเริ่มพ่นพิษ กดดันดัชนีวิ่งหาจุดปรับฐาน หลังพุ่งขึ้นแรงจัดก่อนหน้า โบรกฯ ชี้กลุ่มพลังงานร่วงกดดันทั้งตลาด ส่อหั่นเป้าหมายรวมทั้งปีหน้า แต่กลุ่มขนส่งจะสวนทางรับอานิสงส์ต้นทุนน้ำลด ส่วนระยะสั้นเห็นการรีบาวนด์หลังร่วงหนักต่อเนื่อง
บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทยวันศุกร์ที่ผ่านมา (12 ธ.ค.) ดัชนีเคลื่อนไหวในแดนลบตลอดวัน สะท้อนสถานการณ์หุ้นไทยอยู่ในช่วงปรับฐานต่อ โดยกลุ่มพลังงานยังได้รับแรงกดดันจากราคาน้ำมันต่อเนื่อง แต่เริ่มมีทิศทางที่ชะลอตัวลง ในขณะเดียวกัน มีแรงขายทำกำไรในกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆ หลังมีกังวลด้านความผันผวนของเศรษฐกิจโลกเป็นระยะ ส่งผลให้ระหว่างวันดัชนีลดลงต่ำสุด 1,513.39 จุด และทะยานขึ้นสูงสุด 1,530.74 จุด จนมาปิดตลาดที่ 1,514.95 จุด ลดลง 11.86 จุด หรือ 0.78% ด้วยมูลค่าซื้อขาย 51,027.67 ล้านบาท
**ปิดประเทศซื้อขายกันเอง
ขณะที่การซื้อขายสุทธิแยกตามกลุ่มนักลงทุนตั้งแต่ต้นปี พบว่า กองทุนและสถาบันในประเทศเข้าซื้อหุ้นสะสม 47,233.88 ล้านบาท ตามมาด้วยบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ ซื้อสะสม 10,068.95 ล้านบาท โดยกลุ่มที่มีการขายมากสุดคือ นักลงทุนทั่วไปในประเทศในสัดส่วน 41,037.62 ล้านบาท และนักลงทุนต่างชาติขาย 16,265.20 ล้านบาท
**แรงขายหุ้นน้ำมันชะลอตัว ลุ้นรีบาวนด์
บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย ประเมินว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับลดลงตลอดสัปดาห์ โดยได้รับแรงกดดันจากความกังวลต่อปัจจัยการเมืองในกรีซ รวมทั้งแรงถ่วงจากการที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับลดลงต่อเนื่องสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 5 ปี ซึ่งส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติขายหุ้นไทยออกมาเพื่อลดความเสี่ยง ทำให้แนวโน้มสัปดาห์นี้ (15-19 ธ.ค.) คาดว่า ดัชนียังคงผันผวน แต่มีโอกาสฟื้นตัวขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ โดยต้องจับตาการประชุม กนง. ในวันที่ 17 ธ.ค.นี้ ขณะที่เครื่องชี้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่จะทยอยรายงานออกมา เช่น ดัชนีราคาผู้บริโภค และเครื่องชี้ภาคอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งยังต้องติดตามผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของเฟด (FOMC) ในวันที่ 16-17 ธ.ค. ตลอดจนการเปิดเผยความเชื่อมั่น (IFO) ของเยอรมนีด้วย
** ยังมี Window dressing สนับสนุนส่งท้าย
นายเทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยไทย บล.เอเซีย พลัส กล่าวว่า ภาพรวมดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยน่าจะ รีบาวนด์ทางเทคนิค เนื่องจากในช่วง 1-2 วันทำการที่ผ่านมาดัชนีฯ ปรับตัวลดลงมาอย่างต่อเนื่อง หลังราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง ส่งผลให้นักลงทุนเทขายทำกำไรในหุ้นกลุ่มพลังงานออกมา อีกทั้งเชื่อว่าดัชนีฯ น่าจะได้รับแรงสนับสนุนจากการทำ Window dressing เข้ามาช่วยสนับสนุน อย่างไรก็ตาม ในการประชุม กนง. คาดการณ์ว่าที่ประชุมน่าจะยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 2% และการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC)อาจไม่ส่งผลต่อตลาดหุ้นไทยมากนัก
“น่าจะเห็นการรีบาวนด์ทางเทคนิค เพราะ SET ปรับตัวลดลงไปมาก และดัชนีน่าจะได้ปัจจัยบวกจากการทำ Winsdow dressing ด้านกลยุทธ์การลงทุน แนะนำนักลงทุนเลือกซื้อหุ้นที่มีพื้นฐานดี พร้อมประเมินแนวรับอยู่ที่ 1,508 จุด และแนวต้านอยู่ที่ 1,530 จุด”
***น้ำมันโลกร่วง หุ้นน้ำมัน-ถ่านหินกระทบหนัก
ก่อนหน้านี้ บล.เอเซีย พลัส ให้ความถึงสถานการณ์ราคาน้ำมันว่า ราคาน้ำมันดิบโลกที่ไหลลงต่อเนื่อง และหลุด 60 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หรือลดลงแล้วกว่า 51% ในช่วงเวลาเกือบ 1 ปีที่ผ่านมา มาจากปัญหาผลผลิตปิโตรเลียมโลกที่เกินความต้องการ โดยที่ผู้ผลิตหลักๆ ทั้ง OPEC และ Non-OPEC โดยเฉพาะรัสเซีย ต่างสงวนท่าทีที่จะลดปริมาณการผลิต เพราะล้วนเป็นผู้ที่มีรายได้หลักมาจากน้ำมัน ขณะที่สหรัฐฯ สามารถผลิตปิโตรเลียมภายใต้เทคโนโลยีการผลิตใหม่ๆ “Oil Sand/Shell Gas” ออกสู่ตลาด ทำให้ความต้องการใช้พลังงานกลับฟื้นตัวล่าช้า ตามเศรษฐกิจที่ยังชะลอตัวทั้งสหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และจีน โดยรวมทำให้คาดว่า ผู้ผลิตปิโตรเลียมรายหลักๆ ของโลกต้องปรับแผนการผลิตใหม่เพื่อความอยู่รอดในระยะยาว หลังจากคาดว่าระดับราคาน้ำมันปัจจุบันน่าจะใกล้จุดต่ำสุด สะท้อนจากที่ผู้ผลิตรายสำคัญๆ ของโลกในฝั่ง OPEC แสดงความเห็นว่า ราคาน้ำมันดิบดูไบ น่าจะทรงตัวในระดับ 65 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ไปอย่างน้อยในระยะ 6 เดือนแรกของปี 2558 และหลังจากนี้น่าจะฟื้นตัวขึ้นสู่ระดับเกิน 80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในช่วง 6 เดือนหลังของปี 2558 ด้วยความคาดหวังว่าเศรษฐกิจโลกจะมีแนวโน้มฟื้นตัว
“เราเตรียมปรับลดราคาน้ำมันดิบดูไบระยะยาวตั้งแต่ปี 2558 ลงเหลือ 75 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล จากเดิม 90 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งคาดว่าจะกระทบต่อผลการดำเนินงานของหุ้นปิโตรเลียมขั้นต้น (ปตท.สผ. และ ปตท.) และโรงกลั่น (ไทยออยล์, บางจาก, พีทีที โกลบอล เคมิคอล) รวมทั้งผู้ประกอบธุรกิจถ่านหิน (บ้านปู, ลานนารีซอร์สเซส) ซึ่งอาจต้องบันทึกผลขาดทุนจากการด้อยค่าของราคาน้ำมัน โดยคาดกำไรน่าจะหายไปราว 3 หมื่นล้านบาท”
***หุ้นไทยยังอยู่ในช่วงปรับฐาน
ขณะเดียวกัน จากสถานการณ์ดังกล่าว EPS Growth ตลาดในปี 2558 จะอยู่ที่ระดับ 12.7% เท่านั้น และทำให้มีค่าพีอีล่วงหน้า หรือ Expected P/E ปี 2558 อยู่ที่ระดับ 14.8 เท่า แม้ดัชนีหุ้นจะลดลงมาเกือบ 74 จุด และอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับเพื่อนบ้าน เช่น อินเดีย 14.6 เท่า และ อินโดนีเซีย 14.7 เท่า มาเลเซีย 15 เท่า แต่ยังต่ำกว่าฟิลิปปินส์ที่ 17.4 เท่า และจีน 10.8 เท่า ทำให้ตลาดหุ้นไทยยังโอกาสการปรับฐานยังมีอยู่
*** กลุ่มขนส่งรับอานิสงส์
“กลยุทธ์การลงทุนยังแนะนำให้เลือกหุ้นเป็นรายตัว โดยเฉพาะหุ้นในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ที่มี EPS Growth ปี 2558 อยู่ที่ 14% ที่ มี P/E ต่ำ และเงินปันผลสูง ได้แก่ ศุภาลัย, พฤกษา, เอพี (ไทยแลนด์) และตามมาด้วยหุ้นที่ได้ประโยชน์จากราคาน้ำมันขาลง โดยเฉพาะหุ้นขนส่ง ที่กำไรในช่วง 2-3 ไตรมาสแรกปีหน้าจะสดใส”
**คาดต่ำสุดอาจได้เห็น 1,480 จุด
เช่นเดียวกับ บล.ฟิลลิป ระบุในบทวิเคราะห์ว่า ตลาดหุ้นไทยปรับฐานลงแรงกว่าตลาดอื่น ส่วนหนึ่งคือปัจจัยเรื่องมูลค่า เนื่องจากตลาดหุ้นไทยถือว่าเป็นตลาดหุ้นกลุ่มที่มีค่า P/E ปรับเพิ่มขึ้นหากเทียบกับในอดีตสูงที่สุดร่วมกับ ฟิลิปปินส์ ยุโรป และสหรัฐฯ ซึ่งหุ้นกลุ่มดังกล่าวมีโอกาสถูกขายทำกำไรสูง หากประเมินจากค่า P/E ปี 58 ยังอยู่ที่ 13.8 เท่า ซึ่งในอดีตพบว่า ตลาดหุ้นไทยจะซื้อขายด้วย P/E ไม่เกิน 13 เท่า หรือเทียบเท่าดัชนีที่ 1,440 จุดซึ่งถือว่ายังอยู่ในระดับที่สูงพอควร และอาจมี Downside ได้อีก
“ระยะสั้นตลาดปรับเข้าเขต Oversold แล้ว หลังปรับตัวหลุด 1,550 อาจมีลุ้นรีบาวนด์ได้ โดยคาดว่าแนวต้านจะอยู่ที่ 1,550-1,560 จุด จากค่าเฉลี่ยในอดีตชี้ว่า Flow LTF จะเข้าช่วงเดือน ธ.ค. ประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้ อาจถอยก่อนหากปรับหลุด 1,520 เนื่องจากหากปรับหลุดระดับดังกล่าวลงไปมีโอกาสเห็น 1,500-1,480”
บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทยวันศุกร์ที่ผ่านมา (12 ธ.ค.) ดัชนีเคลื่อนไหวในแดนลบตลอดวัน สะท้อนสถานการณ์หุ้นไทยอยู่ในช่วงปรับฐานต่อ โดยกลุ่มพลังงานยังได้รับแรงกดดันจากราคาน้ำมันต่อเนื่อง แต่เริ่มมีทิศทางที่ชะลอตัวลง ในขณะเดียวกัน มีแรงขายทำกำไรในกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆ หลังมีกังวลด้านความผันผวนของเศรษฐกิจโลกเป็นระยะ ส่งผลให้ระหว่างวันดัชนีลดลงต่ำสุด 1,513.39 จุด และทะยานขึ้นสูงสุด 1,530.74 จุด จนมาปิดตลาดที่ 1,514.95 จุด ลดลง 11.86 จุด หรือ 0.78% ด้วยมูลค่าซื้อขาย 51,027.67 ล้านบาท
**ปิดประเทศซื้อขายกันเอง
ขณะที่การซื้อขายสุทธิแยกตามกลุ่มนักลงทุนตั้งแต่ต้นปี พบว่า กองทุนและสถาบันในประเทศเข้าซื้อหุ้นสะสม 47,233.88 ล้านบาท ตามมาด้วยบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ ซื้อสะสม 10,068.95 ล้านบาท โดยกลุ่มที่มีการขายมากสุดคือ นักลงทุนทั่วไปในประเทศในสัดส่วน 41,037.62 ล้านบาท และนักลงทุนต่างชาติขาย 16,265.20 ล้านบาท
**แรงขายหุ้นน้ำมันชะลอตัว ลุ้นรีบาวนด์
บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย ประเมินว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับลดลงตลอดสัปดาห์ โดยได้รับแรงกดดันจากความกังวลต่อปัจจัยการเมืองในกรีซ รวมทั้งแรงถ่วงจากการที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับลดลงต่อเนื่องสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 5 ปี ซึ่งส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติขายหุ้นไทยออกมาเพื่อลดความเสี่ยง ทำให้แนวโน้มสัปดาห์นี้ (15-19 ธ.ค.) คาดว่า ดัชนียังคงผันผวน แต่มีโอกาสฟื้นตัวขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ โดยต้องจับตาการประชุม กนง. ในวันที่ 17 ธ.ค.นี้ ขณะที่เครื่องชี้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่จะทยอยรายงานออกมา เช่น ดัชนีราคาผู้บริโภค และเครื่องชี้ภาคอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งยังต้องติดตามผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของเฟด (FOMC) ในวันที่ 16-17 ธ.ค. ตลอดจนการเปิดเผยความเชื่อมั่น (IFO) ของเยอรมนีด้วย
** ยังมี Window dressing สนับสนุนส่งท้าย
นายเทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยไทย บล.เอเซีย พลัส กล่าวว่า ภาพรวมดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยน่าจะ รีบาวนด์ทางเทคนิค เนื่องจากในช่วง 1-2 วันทำการที่ผ่านมาดัชนีฯ ปรับตัวลดลงมาอย่างต่อเนื่อง หลังราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง ส่งผลให้นักลงทุนเทขายทำกำไรในหุ้นกลุ่มพลังงานออกมา อีกทั้งเชื่อว่าดัชนีฯ น่าจะได้รับแรงสนับสนุนจากการทำ Window dressing เข้ามาช่วยสนับสนุน อย่างไรก็ตาม ในการประชุม กนง. คาดการณ์ว่าที่ประชุมน่าจะยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 2% และการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC)อาจไม่ส่งผลต่อตลาดหุ้นไทยมากนัก
“น่าจะเห็นการรีบาวนด์ทางเทคนิค เพราะ SET ปรับตัวลดลงไปมาก และดัชนีน่าจะได้ปัจจัยบวกจากการทำ Winsdow dressing ด้านกลยุทธ์การลงทุน แนะนำนักลงทุนเลือกซื้อหุ้นที่มีพื้นฐานดี พร้อมประเมินแนวรับอยู่ที่ 1,508 จุด และแนวต้านอยู่ที่ 1,530 จุด”
***น้ำมันโลกร่วง หุ้นน้ำมัน-ถ่านหินกระทบหนัก
ก่อนหน้านี้ บล.เอเซีย พลัส ให้ความถึงสถานการณ์ราคาน้ำมันว่า ราคาน้ำมันดิบโลกที่ไหลลงต่อเนื่อง และหลุด 60 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หรือลดลงแล้วกว่า 51% ในช่วงเวลาเกือบ 1 ปีที่ผ่านมา มาจากปัญหาผลผลิตปิโตรเลียมโลกที่เกินความต้องการ โดยที่ผู้ผลิตหลักๆ ทั้ง OPEC และ Non-OPEC โดยเฉพาะรัสเซีย ต่างสงวนท่าทีที่จะลดปริมาณการผลิต เพราะล้วนเป็นผู้ที่มีรายได้หลักมาจากน้ำมัน ขณะที่สหรัฐฯ สามารถผลิตปิโตรเลียมภายใต้เทคโนโลยีการผลิตใหม่ๆ “Oil Sand/Shell Gas” ออกสู่ตลาด ทำให้ความต้องการใช้พลังงานกลับฟื้นตัวล่าช้า ตามเศรษฐกิจที่ยังชะลอตัวทั้งสหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และจีน โดยรวมทำให้คาดว่า ผู้ผลิตปิโตรเลียมรายหลักๆ ของโลกต้องปรับแผนการผลิตใหม่เพื่อความอยู่รอดในระยะยาว หลังจากคาดว่าระดับราคาน้ำมันปัจจุบันน่าจะใกล้จุดต่ำสุด สะท้อนจากที่ผู้ผลิตรายสำคัญๆ ของโลกในฝั่ง OPEC แสดงความเห็นว่า ราคาน้ำมันดิบดูไบ น่าจะทรงตัวในระดับ 65 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ไปอย่างน้อยในระยะ 6 เดือนแรกของปี 2558 และหลังจากนี้น่าจะฟื้นตัวขึ้นสู่ระดับเกิน 80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในช่วง 6 เดือนหลังของปี 2558 ด้วยความคาดหวังว่าเศรษฐกิจโลกจะมีแนวโน้มฟื้นตัว
“เราเตรียมปรับลดราคาน้ำมันดิบดูไบระยะยาวตั้งแต่ปี 2558 ลงเหลือ 75 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล จากเดิม 90 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งคาดว่าจะกระทบต่อผลการดำเนินงานของหุ้นปิโตรเลียมขั้นต้น (ปตท.สผ. และ ปตท.) และโรงกลั่น (ไทยออยล์, บางจาก, พีทีที โกลบอล เคมิคอล) รวมทั้งผู้ประกอบธุรกิจถ่านหิน (บ้านปู, ลานนารีซอร์สเซส) ซึ่งอาจต้องบันทึกผลขาดทุนจากการด้อยค่าของราคาน้ำมัน โดยคาดกำไรน่าจะหายไปราว 3 หมื่นล้านบาท”
***หุ้นไทยยังอยู่ในช่วงปรับฐาน
ขณะเดียวกัน จากสถานการณ์ดังกล่าว EPS Growth ตลาดในปี 2558 จะอยู่ที่ระดับ 12.7% เท่านั้น และทำให้มีค่าพีอีล่วงหน้า หรือ Expected P/E ปี 2558 อยู่ที่ระดับ 14.8 เท่า แม้ดัชนีหุ้นจะลดลงมาเกือบ 74 จุด และอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับเพื่อนบ้าน เช่น อินเดีย 14.6 เท่า และ อินโดนีเซีย 14.7 เท่า มาเลเซีย 15 เท่า แต่ยังต่ำกว่าฟิลิปปินส์ที่ 17.4 เท่า และจีน 10.8 เท่า ทำให้ตลาดหุ้นไทยยังโอกาสการปรับฐานยังมีอยู่
*** กลุ่มขนส่งรับอานิสงส์
“กลยุทธ์การลงทุนยังแนะนำให้เลือกหุ้นเป็นรายตัว โดยเฉพาะหุ้นในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ที่มี EPS Growth ปี 2558 อยู่ที่ 14% ที่ มี P/E ต่ำ และเงินปันผลสูง ได้แก่ ศุภาลัย, พฤกษา, เอพี (ไทยแลนด์) และตามมาด้วยหุ้นที่ได้ประโยชน์จากราคาน้ำมันขาลง โดยเฉพาะหุ้นขนส่ง ที่กำไรในช่วง 2-3 ไตรมาสแรกปีหน้าจะสดใส”
**คาดต่ำสุดอาจได้เห็น 1,480 จุด
เช่นเดียวกับ บล.ฟิลลิป ระบุในบทวิเคราะห์ว่า ตลาดหุ้นไทยปรับฐานลงแรงกว่าตลาดอื่น ส่วนหนึ่งคือปัจจัยเรื่องมูลค่า เนื่องจากตลาดหุ้นไทยถือว่าเป็นตลาดหุ้นกลุ่มที่มีค่า P/E ปรับเพิ่มขึ้นหากเทียบกับในอดีตสูงที่สุดร่วมกับ ฟิลิปปินส์ ยุโรป และสหรัฐฯ ซึ่งหุ้นกลุ่มดังกล่าวมีโอกาสถูกขายทำกำไรสูง หากประเมินจากค่า P/E ปี 58 ยังอยู่ที่ 13.8 เท่า ซึ่งในอดีตพบว่า ตลาดหุ้นไทยจะซื้อขายด้วย P/E ไม่เกิน 13 เท่า หรือเทียบเท่าดัชนีที่ 1,440 จุดซึ่งถือว่ายังอยู่ในระดับที่สูงพอควร และอาจมี Downside ได้อีก
“ระยะสั้นตลาดปรับเข้าเขต Oversold แล้ว หลังปรับตัวหลุด 1,550 อาจมีลุ้นรีบาวนด์ได้ โดยคาดว่าแนวต้านจะอยู่ที่ 1,550-1,560 จุด จากค่าเฉลี่ยในอดีตชี้ว่า Flow LTF จะเข้าช่วงเดือน ธ.ค. ประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้ อาจถอยก่อนหากปรับหลุด 1,520 เนื่องจากหากปรับหลุดระดับดังกล่าวลงไปมีโอกาสเห็น 1,500-1,480”