xs
xsm
sm
md
lg

ราคาทองเริ่มปรับตัวขึ้น

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ราคาทองคำในช่วงระยะเวลา  7-8 วันที่ผ่านมา เริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้นทั้งตลาดต่างประเทศและตลาดในประเทศ  เนื่องจากค่าเงินสหรัฐฯ อ่อนลง  ขณะที่ราคาทองคำเคลื่อนไหวระหว่าง 1,145.50-1,156.50 ดอลาร์สหรัฐต่อออนซ์ โดยราคาทองในประเทศปรับตัวลงต่ำสุดในกรอบ 17,800-18,400 บาทต่อน้ำหนักทองคำหนึ่งบาท ส่วนราคาเฉลี่ยผันผวนประมาณ 550 บาทต่อน้ำหนักทองคำหนึ่งบาท ประกอบกับมีกองทุนเข้ามาซื้อทองคำเข้าพอร์ตเพิ่ม  อีกสาเหตุหนึ่งเกิดจากความตึงเครียดในประเทศยูเครน โดยรัสเซียเพิ่มกำลังทหาร รวมถึงสรรพาวุธทั้งรถถัง  เครื่องบินรบเข้าไปในคาบสมุทรไครเมียเพิ่มขึ้น  ส่งผลให้นักลงทุนเริ่มให้น้ำหนักทองคำในฐาน “สินทรัพย์ปลอดภัย” มากขึ้น 

คาดการณ์ว่าระยะสั้น ราคาทองคำในตลาดโลกน่าจะเคลื่อนไหวระหว่าง 1,163.50-1,1194.50 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ส่วนราคาทองคำในประเทศน่าจะเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 17,800-18,900 บาทต่อน้ำหนักทองคำหนึ่งบาท ขณะเดียวกัน ต้องขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยนในช่วงสัปดาห์ด้วย ทั้งนี้ อยากกระตุ้นให้นักลงทุนพิจารณาปัจจัยพื้นฐานประกอบการลงทุนเป็นหลัก การฟัง “กูรู” เพียงเพื่อประกอบการตัดสินใจเท่านั้น  เพราะดังที่ผ่านมา หากนักลงทุนท่านใดรอซื้อทองคำที่แนวรับ 1,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ หรือที่ 15,000 บาทต่อน้ำหนักทองคำหนึ่งบาท ก็คงพลาดโอกาสเข้าสะสมทองคำช่วงราคาแตะจุดต่ำสุดเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ดังนั้น อยากให้เป็นประสบการณ์ไว้ประกอบการลงทุนให้รอบคอบขึ้น

สภาทองคำโลก เปิดเผยว่า อุปสงค์ทองคำในตลาดโลกปรับตัวลดลงถึง 2.5% ต่ำที่สุดในรอบ 5 ปีในช่วงไตรมาส 3/57 จากการชะลอตัวลงของปริมาณการสั่งซื้อทองคำแท่ง  เหรียญทองคำ  รวมถึงเครื่องประดับประเภทจิเวลรี่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความต้องการทองคำในจีนลดลงถึง 39% โดยคาดว่าความต้องการในจีนจะอยู่ประมาณ 850-950 ตัน โดยเฉพาะไตรมาส 3/14 ความต้องการในจีนเหลือเพียง 183 ตันเท่านั้น อย่างไรก็ตาม แม้ความต้องการช่วงไตรมาส 3/14 ในอินเดียจะอยู่ที่ 640 ตัน เพิ่มขึ้นถึง 60% ก็ไม่สามารถดันอุปสงค์รวมให้เพิ่มขึ้นได้ ทั้งนี้ คงต้องจับตามติที่ประชุมธนาคารกลางสวิสในวันอาทิตย์ที่ 30 พ.ย.นี้ ว่าจะเพิ่มสัดส่วนสำรองทองคำภายในระยะเวลา 5 ปี เป็น 20 % จากปัจจุบันที่ 7.5% ของทุนสำรองทั้งหมด 1,040 ตัน หรือไม่ เพราะผลโหวตดังกล่าวคงสามารถสร้างความคึกคักในตลาดทองคำได้ระดับหนึ่ง
 
ฉบับนี้ขอ update  ผลการดำเนินนโยบายผ่อนคลายทางการเงิน โดยการให้กู้ยืมสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำในจีน ปรากฏว่าเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ตัวเลขเงินเฟ้อในประเทศขยายตัวที่ 1.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2013 ถือเป็นอัตราที่ต่ำที่สุดในรอบ 5 ปี และอัตราเงินเฟ้อในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2014 อยู่ที่ 2.1% ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 3.5% สร้างความกังวลว่าเศรษฐกิจจีนจะมีแนวโน้มเข้าสู่ภาวะเงินฝืดมากขึ้น

ทั้งนี้ เนื่องจากการช่วยเหลือผู้ประกอบวิสาหกิจขนาดกลางถึงขนาดย่อม หรือ SME ผ่านนโยบายดังกล่าว ไม่สามารถกระตุ้นให้เกิดการลงทุนเพิ่มขึ้น เพราะอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยของภาคธนาคารที่ปล่อยให้กับภาคธุรกิจ SME อยู่ที่ 7% ในขณะที่อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในจีนในไตรมาส 3/14 ปรับลดลงเหลือ 73% สะท้อนให้เห็นว่า ธุรกิจ SME ยังคงมีต้นทุนสูง และยังไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้อย่างที่รัฐบาลต้องการ แต่ธนาคารกลับยิ่งเพิ่มความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น ด้วยการเรียกเก็บ “ค่าชดเชยความเสี่ยง” เพิ่มเข้ามาในอัตราดอกเบี้ยอีกด้วย

ดังนั้น ในการประชุมผู้นำกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจแห่งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก หรือ การประชุมเอเปก ที่กรุงปักกิ่ง, จีน คาดว่า บรรดาผู้นำประเทศสมาชิกเอเปกจะอนุมัติแนวทางการจัดตั้ง FTAAP หลังดำเนินการศึกษามากว่า 2 ปี โดยจะถือเป็นขั้นตอนแรงของ “การเปิดเสรี” ในอีก 2 ปีข้างหน้า และยังถือเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาค รวมถึงความพยายามในการจัดตั้งเขตการค้าเสรี พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้แข็งแกร่ง เพื่อขยายการเติบโตทางเศรษฐกิจให้กับภูมิภาค  ขณะเดียวกัน ผู้นำ 2 ชาติก็มีแนวทางลงนามความร่วมมือในการปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันอย่างจริงจังอีกด้วย

ถ้าสังเกตตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา จีน เดินหน้าสร้างความสัมพันธ์ทางการเงินกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเอเชียมาอย่างต่อเนื่อง ควบคู่กับการลดทอนความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกาลง  ความเคลื่อนไหวสำคัญอีกครั้งเกิดขึ้นวันที่ 10 พ.ค.2557 จีนบรรลุข้อตกลงการค้าเสรีกับประเทศเกาหลีใต้ นำไปสู่การยกเลิกภาษีสินค้ามากถึง 90% ของการทั้งหมด ล่าสุด จีนมีแผนลงนามข้อมตกลงการค้าเสรีกับออสเตรเลียอีกด้วย 

ขณะเดียวกัน ธนาคารกลางจีน ได้กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวนให้แข็งค่ามากขึ้น โดยแข็งค่าขึ้น 0.37% อยู่ที่ 6.1377 หยวนต่อดอลลาร์สหรัฐ ถือเป็นการแข็งค่าที่สุดในรอบ 4 ปี ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางการเงินกับเพื่อนบ้านมากขึ้นอีกระดับหนึ่ง นอกจากนี้คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์จีนได้อนุญาตให้นักลงทุนในตลาดหุ้นเซี่ยงไฮ้ และฮ่องกงสามารถเทรดหุ้นเชื่อมโยงกันได้ทั้ง 2 ตลาด เพื่อกระตุ้นให้เงินสกุลหยวนกลายเป็นสกุลเงินสากลมากขึ้น และสร้างทั้ง 2 เมืองให้เป็น “ศูนย์กลางการเงิน” แห่งเอเชีย

การเคลื่อนไหวของจีนครั้งนี้ ถือเป็นการช่วยให้สินค้าของประเทศเพื่อนบ้านสามารถเข้าไปทำตลาดในจีนได้มากยิ่งขึ้น เพราะที่ผ่านมาจีนถูกมองว่า “แทรกแซง” ค่าเงินจนทำให้เงินหยวนอ่อนค่าลง สร้างความไม่พอใจต่อเพื้อนบ้านในเอเชียหลายประเทศจนหันไปดึงการลงทุนจากต่างประเทศเข้ามา

ขอกล่าวถึงสาเหตุที่รัฐมนตรีในคณะรัฐบาลญี่ปุ่นทยอยลาออก จนนายชินโสะ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ประกาศยุบสภาแล้วตามความคาดหมาย โดยให้มีผลในวันที่ 21 พฤศจิกายนนี้ และจะจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ภายในกลางเดือนธันวาคมนี้ หรือก่อนถึงกำหนดเลือกตั้งจริง 2 ปี พร้อมกับประกาศเลื่อนการขึ้นภาษีการขายรอบ 2 จาก 8% เป็น 10% ซึ่งเดิมกำหนดให้มีขึ้นในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ออกไปอีกอย่างน้อย 18 เดือน

ล่าสุด รัฐบาลญี่ปุ่นระบุว่า จะมีการปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลดลงกว่า 2.5% จากปัจจุบันอยู่ที่ 3.5% โดยจะมีผลบังคับใช้ในปีงบประมาณ 2558  อย่างไรก็ตาม รัฐบาลญี่ปุ่น ณ เดือนกันยายนอยู่ที่ 1,038.9 ล้านล้านเยน ลดลงจากช่วง 3 เดือนก่อนหน้านี้เล็กน้อง  ส่งผลให้ธนาคารกลางญี่ปุ่นอาจพิจารณายุติมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ หรือ มาตรการ QE ภายในปลายปี 2558 ถึงต้นปี 2559 บนเงื่อนไขอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 2%
 
ขอ update  ความร่วมมือกันของคณะกรรมการกำกับการซื้อขายล่วงหน้าสินค้าโภคภัณฑ์ของสหรัฐอเมริกา หรือ CFTC  องค์กรกำกับดูแลทางการเงินของอังกฤษ หรือ FCA  และองค์กรควบคุมตลาดการเงินของสวิตเซอร์แลนด์  สอบสวนการแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินต่างประเทศ และได้สั่งปรับ 5  ธนาคารขนาดใหญ่ประกอบด้วย  1. ธนาคารซิตี้แบงก์  2. ธนาคารเจพีมอร์แกน เซส  3. ธนาคารรอยัลแบงก์ ออฟสกอตแลนด์ หรือ RBS  4. ธนาคาร HSBC  และ 5. ธนาคาร UBS รวมวงเงิน 3,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ  จากการเทรดเงินของธนาคารจนเข้าไปแทรกแซงอัตราอ้างอิงเพื่อการแลกเปลี่ยนสกุลเงินตราต่างประเทศ  โดยพบว่าช่วงระหว่างวันที่ 1 ม.ค.2551-15ต.ค.2557 ทั้ง 5 ธนาคารไม่ได้ควบคุมเทรดเดอร์ค้าเงินตราต่างประเทศ สร้างความเสียหายให้นักลงทุนทั่วไป รวมถึงลูกค้าของธนาคารด้วย

ปิดท้ายฉบับนี้ที่ราคาน้ำมันดิบ ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบอ่อนตัวลงต่ำสุดในรอบหลายปี หลังจากประเทศซาอุดิอาระเบียผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลกลดราคาน้ำมันดิบที่ส่งขายให้สหรัฐอเมริกา เพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดเมื่อต้องเผชิญการแข่งขันกับราคาน้ำมันจากหินดินดานของสหรัฐอเมริกาที่ถูกกว่า 

ปัจจุบัน กลุ่มโอเปกซึ่งมีสมาชิก 12 ประเทศมีกำลังการผลิตน้ำมันดิมประมาณวันละ 31 ล้านบาร์เรล สูงกว่าเพดานที่กำหนดไว้ 1 ล้านบาร์เรล ประกาศจะปรับลดกำลังการผลิตส่วนเกินดังกล่าวลง คาดว่า ตลาดน้ำมันจะดูดซับการผลิตที่เกินทั้งหมดในเร็ววันนี้  อย่างไรก็ตาม การประกาศดังกล่าวกดราคาน้ำมันดิบเวสต์เทกซัส ที่ส่งมอบเดือนธันวาคมในตลาดสิงคโปร์ลดลง 34 เปอร์เซ็นต์ทันที

มีการคาดการณ์ว่า องค์การพลังงานระหว่างประเทศ ว่าราคาน้ำมันดิบจะยังคงปรับตัวลดลงต่อเนื่องไปจนถึงปี 2558 เนื่องจากความต้องการใช้ในตลาดโลกยังคงชะลอตัว ขณะเดียวกัน ปริมาณน้ำมันดิบที่ผลิตได้กลับเพิ่มขึ้น เนื่องจากประเทศสหรัฐอเมริกาเดินเครื่องผลิตน้ำมันในชั้นหินดินดาน หรือ เชลล์ก๊าซ ออกสู่ตลาดโลก และผลจากราคาน้ำมันดิบที่ลดลงทำให้จีนเพิ่มการนำเข้าน้ำมันจากกลุ่มประเทศในตะวันออกกลางมากขึ้นถึง 21 ล้านบาร์เรล และจะเพิ่มปริมาณน้ำมันสำรองขึ้นอีก 35 ล้านบาร์เรลในสิ้นไตรมาส 3/15 นี้
กำลังโหลดความคิดเห็น