ประธานบอร์ด ECF เผยลงนามร่วมทุนกับ GUNKUL บริหารหลังคาพื้นที่โรงงานกว่า 1 แสนตารางเมตร ตั้งแผงโซลาร์ผลิตกระแสไฟฟ้าเฟดแรก 10 เมกะวัตต์ ตั้งเป้าการผลิตรวมกับพันธมิตรถึง 30 เมกะวัตต์ ส่วน GUNKUL คาดจะได้ค่าตอบแทนอัตราค่าไฟที่ขายให้แก่ กฟภ และ กฟน. ในช่วงปี 2558 ไม่ต่ำกว่า 6.01 ต่อวัตต์ต่อหน่วย
นายอารักษ์ สุขสวัสดิ์ กรรมการผู้จัดการ บมจ.อีสต์โคสท์เฟอร์นิเทค หรือ ECF กล่าวว่า บริษัทฯได้ลงนามบันทึกข้อตกลงในการร่วมทุนที่จะใช้พื้นที่หลังคาโรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ของ ECF โรงงานอื่นๆ ของและพันธมิตรในจังหวัดระยอง และชลบุรี เพื่อติดตั้งแผงโซลาร์ผลิตกระแสไฟฟ้า (Solar Rooftop) ซึ่งบริษัทฯ จะใช้เงินลงทุนเฉลี่ย 60 ล้านบาทต่อ 1 เมกะวัตต์ โดยบริษัทฯ ตั้งเป้าว่าสามารถผลิตการไฟฟ้าได้ไม่ต่ำกว่า 10 เมกะวัตต์ในช่วงแรก และจะเพิ่มพื้นที่เพื่อรองรับการผลิตไฟฟ้าได้เต็มที่ถึง 30 เมกะวัตต์ในอนาคต และจะทำให้บริษัทสามารถทยอยรับรู้รายได้จากการขายไฟฟ้าในช่วงแรกประมาณกลางปีหน้า
“การร่วมทุนระหว่าง บมจ.กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง หรือ GUNKUL และ บมจ.อีสต์โคสท์เฟอร์นิเทค ECF ในการดำเนินติดตั้ง Solar Rooftop บนหลังคาโรงงานของ ECF และพันธมิตรของ ECF ใช้เงินลงทุนกว่า 1 พันล้านบาท ในการดำเนินงานทั้งโครงการในการติดตั้ง Solar Rooftop ขนาด 30 เมกะวัตต์ โดยได้รับอัตรา Feed in Tariff ที่ 6.01 ต่อวัตต์ และคาดว่าจะทยอยเสนอขายไฟให้แก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ในช่วงปี 2558”
ขณะที่ นายสมบูรณ์ เอื้ออัชฌาสัย กรรมการผู้จัดการ บมจ.กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง หรือ GUNKUL กล่าวว่า บริษัทได้ลงนามความร่วมมือกันในการจัดตั้งบริษัทผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา (Solar PV Rooftop) โดยบริษัทฯจะดำเนินการด้านระบบวิศวกรรม การติดตั้งซ่อมบำรุง ตลอดจนงานด้านเทคนิคต่างๆ โดยหากโครงการแล้วเสร็จ ECF จะสามารถรับรู้รายได้ค่าเช่าพื้นที่หลังคา และส่วนแบ่งรายได้จากการจำหน่ายไฟฟ้า ซึ่งรายได้จากการขายไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจะแบ่งกันตามสัดส่วนของการถือครองหุ้นร่วมทุนในสัดส่วนร้อยละ 74.99 และ 25.01 ตามลำดับ
ทั้งนี้ น.ส.โศภชา ดำรงปิยวุฒิ์ ประธานกรรมการบริหาร บมจ.กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง หรือ GUNKUL กล่าวเพิ่มเติมว่า ในกลางปี 2558 บริษัทฯ คาดว่าจะมีการเริ่มรับรู้รายได้จากการร่วมทุนกับ บมจ.กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง (GUNKUL) ในการลงทุนติดตั้ง Solar Rooftop บนหลังคาโรงงานของ ECF และพันธมิตรของ ECF ในเฟสแรกขนาด 10 เมกะวัตต์ บนพื้นที่หลังคากว่า 100,000 ตารางเมตร โดยบริษัทตั้งเป้าติดตั้งแผงผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ Solar Rooftop ให้ได้ที่ 30 เมกะวัตต์ โดยคาดว่าจะต้องใช้พื้นที่หลังคากว่า 200,000 ตารางเมตร ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจาและสำรวจพื้นที่หลังคาของพันธมิตร ECF โดยเงินลงทุนในโครงการดังกล่าวจะใช้เงินลงทุนกว่า 1 พันล้านบาท ในการทำโครงการทั้งหมดครบ 30 เมกะวัตต์
นายอารักษ์ สุขสวัสดิ์ กรรมการผู้จัดการ บมจ.อีสต์โคสท์เฟอร์นิเทค หรือ ECF กล่าวว่า บริษัทฯได้ลงนามบันทึกข้อตกลงในการร่วมทุนที่จะใช้พื้นที่หลังคาโรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ของ ECF โรงงานอื่นๆ ของและพันธมิตรในจังหวัดระยอง และชลบุรี เพื่อติดตั้งแผงโซลาร์ผลิตกระแสไฟฟ้า (Solar Rooftop) ซึ่งบริษัทฯ จะใช้เงินลงทุนเฉลี่ย 60 ล้านบาทต่อ 1 เมกะวัตต์ โดยบริษัทฯ ตั้งเป้าว่าสามารถผลิตการไฟฟ้าได้ไม่ต่ำกว่า 10 เมกะวัตต์ในช่วงแรก และจะเพิ่มพื้นที่เพื่อรองรับการผลิตไฟฟ้าได้เต็มที่ถึง 30 เมกะวัตต์ในอนาคต และจะทำให้บริษัทสามารถทยอยรับรู้รายได้จากการขายไฟฟ้าในช่วงแรกประมาณกลางปีหน้า
“การร่วมทุนระหว่าง บมจ.กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง หรือ GUNKUL และ บมจ.อีสต์โคสท์เฟอร์นิเทค ECF ในการดำเนินติดตั้ง Solar Rooftop บนหลังคาโรงงานของ ECF และพันธมิตรของ ECF ใช้เงินลงทุนกว่า 1 พันล้านบาท ในการดำเนินงานทั้งโครงการในการติดตั้ง Solar Rooftop ขนาด 30 เมกะวัตต์ โดยได้รับอัตรา Feed in Tariff ที่ 6.01 ต่อวัตต์ และคาดว่าจะทยอยเสนอขายไฟให้แก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ในช่วงปี 2558”
ขณะที่ นายสมบูรณ์ เอื้ออัชฌาสัย กรรมการผู้จัดการ บมจ.กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง หรือ GUNKUL กล่าวว่า บริษัทได้ลงนามความร่วมมือกันในการจัดตั้งบริษัทผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา (Solar PV Rooftop) โดยบริษัทฯจะดำเนินการด้านระบบวิศวกรรม การติดตั้งซ่อมบำรุง ตลอดจนงานด้านเทคนิคต่างๆ โดยหากโครงการแล้วเสร็จ ECF จะสามารถรับรู้รายได้ค่าเช่าพื้นที่หลังคา และส่วนแบ่งรายได้จากการจำหน่ายไฟฟ้า ซึ่งรายได้จากการขายไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจะแบ่งกันตามสัดส่วนของการถือครองหุ้นร่วมทุนในสัดส่วนร้อยละ 74.99 และ 25.01 ตามลำดับ
ทั้งนี้ น.ส.โศภชา ดำรงปิยวุฒิ์ ประธานกรรมการบริหาร บมจ.กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง หรือ GUNKUL กล่าวเพิ่มเติมว่า ในกลางปี 2558 บริษัทฯ คาดว่าจะมีการเริ่มรับรู้รายได้จากการร่วมทุนกับ บมจ.กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง (GUNKUL) ในการลงทุนติดตั้ง Solar Rooftop บนหลังคาโรงงานของ ECF และพันธมิตรของ ECF ในเฟสแรกขนาด 10 เมกะวัตต์ บนพื้นที่หลังคากว่า 100,000 ตารางเมตร โดยบริษัทตั้งเป้าติดตั้งแผงผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ Solar Rooftop ให้ได้ที่ 30 เมกะวัตต์ โดยคาดว่าจะต้องใช้พื้นที่หลังคากว่า 200,000 ตารางเมตร ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจาและสำรวจพื้นที่หลังคาของพันธมิตร ECF โดยเงินลงทุนในโครงการดังกล่าวจะใช้เงินลงทุนกว่า 1 พันล้านบาท ในการทำโครงการทั้งหมดครบ 30 เมกะวัตต์