ธปท. ป้องแบงก์คิดค่าธรรมเนียม (ค่าฟี) นับเหรียญ อ้างมุ่งเก็บนิติบุคคล หรือผู้ประกอบการตู้หยอดเหรียญมากกว่าคนออมเงิน ด้าน KBANK เด้งรับกระแสข่าว พร้อมปรับปรุงใหม่ ส่วน ธปท.ล่าสุด เผยขอความร่วมมือสถาบันการเงินไม่คิดค่าธรรมเนียมจ้างคนนอกมาดูแลการจดจำนองที่ดิน หรือไถ่ถอนโฉนดจากกรมที่ดิน พร้อมให้รายงานชื่อบริษัทภายนอกมาดูแลระบบงานไอที รวมถึงชื่อระบบงานถี่ยิบ
นายสมบูรณ์ จิตเป็นธม ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายการกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยกรณีที่ธนาคารพาณิชย์คิดค่าธรรมเนียมในการนำเงินเหรียญมาฝากว่า ปัจจุบัน ธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินเฉพาะกิจทุกแห่งมีอัตราค่าธรรมเนียมส่วนนี้ โครงสร้างธรรมเนียมมุ่งเน้นไปยังผู้ประกอบการ เช่น ผู้ให้บริการตู้ยอดเหรียญต่างๆ แล้วนำเงินมาฝากธนาคารมากกว่าผู้ออม หรือรายย่อย และการนำเงินเหรียญมาฝากเพื่อออมเงิน ค่าธรรมเนียมคงไม่มากเกินไป อยู่ในวิสัยที่สถาบันการเงินดูแลได้
ด้านธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (KBANK) ชี้แจงในเรื่องดังกล่าวว่า ปัจจุบัน ธนาคารไม่มีนโยบายคิดค่าธรรมเนียมลูกค้าบุคคลธรรมดา โดยจะคิดค่าธรรมเนียมลูกค้านิติบุคคล ร้านค้าเป็น ร้อยละ 1 ของมูลค่ารวม สำหรับการนับเหรียญ 501 เหรียญขึ้นไป ทั้งนี้ การคิดค่าธรรมเนียมนั้นเกิดจากการที่ธนาคารต้องทำการบริหารจัดการเงินสด และการขนส่งในแต่ละวัน ซึ่งลูกค้าบุคคลโดยปกติน่าจะฝากเหรียญไม่เกินจำนวน 500 เหรียญอยู่แล้ว นอกจากนี้ ลูกค้าบุคคลธรรมดาสามารถนำฝากเหรียญได้ทุกวัน สำหรับลูกค้านิติบุคคล ร้านค้าจะขึ้นอยู่กับการตกลงกันระหว่างห้างร้าน และธนาคาร เพื่อให้สามารถให้บริการลูกค้าทุกรายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อย่างไรก็ตาม ประกาศเดิมนั้นอาจไม่ชัดเจน และทำให้ลูกค้าบุคคลบางรายได้รับความไม่สะดวกในการรับบริการ และไม่สอดคล้องต่อแนวคิดธนาคาร ดังนั้น หลังจากนี้ธนาคารจะทำการปรับปรุงเนื้อหาประกาศการคิดค่าธรรมเนียมการรับฝากเงินให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ธนาคารต้องกราบขออภัยในความไม่สะดวกที่เกิดขึ้นต่อลูกค้าทั่วไปในครั้งนี้
การคิดค่าธรรมเนียมการรับฝากเงินของธนาคารในปัจจุบันสามารถเปรียบเทียบข้อมูลได้จาก เว็บไซต์ธนาคารแห่งประเทศไทย ในหัวข้ออัตราค่าธรรมเนียมเปรียบเทียบ http://www2.bot.or.th/feerate/internal.aspx?PageNo=1
จ้างคนนอก! ขอความร่วมมือไม่คิดค่าฟี
นายสมบูรณ์ เปิดเผยด้วยว่า ธปท.ได้ขอความร่วมมือธนาคารพาณิชย์ไม่คิดค่าธรรมเนียม สำหรับธุรกรรมบางประเภทที่ไม่มีบริการรองรับ ยกตัวอย่าง ธนาคารพาณิชย์ได้ว่าจ้างคนให้ไปจัดการจดจำนองที่ดิน หรือไถ่ถอนโฉนดที่กรมที่ดิน และให้ลูกค้าจ่ายส่วนนี้แทน โดยมองว่าเรื่องนี้รับไม่ได้ เพราะมีผลกระทบต่อคนจำนวนมากในการกู้เงิน และไถ่ถอน รวมไปถึงการขอรายงานทางการเงิน (Statement) ก็ไม่ควรคิดค่าธรรมเนียมในครั้งแรก เพราะเป็นบริการได้รับจากธนาคารพาณิชย์
“กรณีจ้างคนข้างนอกมาจัดการค่าธรรมเนียมจดจำนอง ค่าธรรมเนียมไถ่ถอน ธปท.ได้ขอความร่วมมือแบบแรงๆ เมื่อกลางปีก่อน ทางแบงก์ชี้แจงว่า เป็นส่วนหนึ่งของการกู้ยืมในกระบวนการปล่อยสินเชื่อทั้งหมด นอกเหนือจากการประเมินหลักประกันการเอาโฉนดไปจด ดังนั้น การจ้างคนนอกมาทำเรื่องนี้เหมือนคิดค่าธรรมเนียมลอยจากอากาศไม่มีบริการรองรับ แต่มาคิดค่าธรรมเนียม ธปท.ไม่สบายใจ หลังจากขอความร่วมมือจากการพูดคุย และส่งหนังสือไป ขณะนี้ค่อยๆ หายไป แต่ก็ยังมีเหลืออยู่ไม่มาก”
นอกจากนี้ ธปท.ยังได้ปรับปรุงแนวทางการกำกับการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Outsourcing) ของสถาบันการเงินที่ประกอบธุรกิจในไทย โดยสถาบันการเงินจ้างผู้ให้บริการภายนอกที่ไม่เป็นกลุ่มธุรกิจเดียวกันมาทำงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทที่มีความสำคัญต่อสถาบันการเงิน (Critical IT Outsourcing) กำหนดให้สถาบันการเงินแจ้งชื่อบริษัท และชื่อระบบงานให้ ธปท.ทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วันก่อนเริ่มใช้บริการ หรือก่อนเปลี่ยนแปลงใช้บริการ
ขณะเดียวกัน ให้ส่งรายงานการใช้บริการ IT Outsourcing ทุกประเภทเป็นประจำทุกปี รวมถึงให้รายงานปัญหาเหตุการณ์ผิดปกติที่เกิดขึ้นจากการใช้บริการดังกล่าว เมื่อมีผลกระทบต่อการให้บริการการเงินพื้นฐานของสถาบันการเงินโดยเร็วไม่ควรเกิน 24 ชั่วโมง ทั้งนี้ หากนำใช้เทคโนโลยีประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ (Cloud computing) ทางสถาบันการเงินต้องหารือให้ ธปท.ทราบเป็นรายกรณีก่อนเริ่มใช้บริการ เพราะมองว่าการจัดเก็บข้อมูล หรือประมวลผลข้อมูลสำคัญของสถาบันการเงินอาจจะกระจุกตัวอยู่ที่ผู้ให้บริการเพียงบางราย หากข้อมูลรั่วไหลอาจส่งผลกระทบได้
“ธปท.เข้าใจดีว่า การจ้าง IT Outsourcing จะช่วยเรื่องการตลาด ประหยัดเวลา และต้นทุน ทำให้งานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และปัจจุบันระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างเยอะ และสถาบันการเงินหลายแห่งจ้างบริษัทข้างนอกมาดูแลเรื่องนี้เยอะขึ้น ซึ่งมีการรวบรวมทุกอย่างอยู่ภายใต้ศูนย์เดียว ดังนั้น ธปท.ให้รายงานชื่อบริษัท ชื่อระบบ เพื่อให้มีคนรับผิดชอบชัดเจน พร้อมทั้งให้รวบรวมเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งอนาคตอาจพิจารณาทบทวนบางอย่างให้มีความชัดเจนขึ้น”
นายสมบูรณ์ จิตเป็นธม ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายการกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยกรณีที่ธนาคารพาณิชย์คิดค่าธรรมเนียมในการนำเงินเหรียญมาฝากว่า ปัจจุบัน ธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินเฉพาะกิจทุกแห่งมีอัตราค่าธรรมเนียมส่วนนี้ โครงสร้างธรรมเนียมมุ่งเน้นไปยังผู้ประกอบการ เช่น ผู้ให้บริการตู้ยอดเหรียญต่างๆ แล้วนำเงินมาฝากธนาคารมากกว่าผู้ออม หรือรายย่อย และการนำเงินเหรียญมาฝากเพื่อออมเงิน ค่าธรรมเนียมคงไม่มากเกินไป อยู่ในวิสัยที่สถาบันการเงินดูแลได้
ด้านธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (KBANK) ชี้แจงในเรื่องดังกล่าวว่า ปัจจุบัน ธนาคารไม่มีนโยบายคิดค่าธรรมเนียมลูกค้าบุคคลธรรมดา โดยจะคิดค่าธรรมเนียมลูกค้านิติบุคคล ร้านค้าเป็น ร้อยละ 1 ของมูลค่ารวม สำหรับการนับเหรียญ 501 เหรียญขึ้นไป ทั้งนี้ การคิดค่าธรรมเนียมนั้นเกิดจากการที่ธนาคารต้องทำการบริหารจัดการเงินสด และการขนส่งในแต่ละวัน ซึ่งลูกค้าบุคคลโดยปกติน่าจะฝากเหรียญไม่เกินจำนวน 500 เหรียญอยู่แล้ว นอกจากนี้ ลูกค้าบุคคลธรรมดาสามารถนำฝากเหรียญได้ทุกวัน สำหรับลูกค้านิติบุคคล ร้านค้าจะขึ้นอยู่กับการตกลงกันระหว่างห้างร้าน และธนาคาร เพื่อให้สามารถให้บริการลูกค้าทุกรายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อย่างไรก็ตาม ประกาศเดิมนั้นอาจไม่ชัดเจน และทำให้ลูกค้าบุคคลบางรายได้รับความไม่สะดวกในการรับบริการ และไม่สอดคล้องต่อแนวคิดธนาคาร ดังนั้น หลังจากนี้ธนาคารจะทำการปรับปรุงเนื้อหาประกาศการคิดค่าธรรมเนียมการรับฝากเงินให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ธนาคารต้องกราบขออภัยในความไม่สะดวกที่เกิดขึ้นต่อลูกค้าทั่วไปในครั้งนี้
การคิดค่าธรรมเนียมการรับฝากเงินของธนาคารในปัจจุบันสามารถเปรียบเทียบข้อมูลได้จาก เว็บไซต์ธนาคารแห่งประเทศไทย ในหัวข้ออัตราค่าธรรมเนียมเปรียบเทียบ http://www2.bot.or.th/feerate/internal.aspx?PageNo=1
จ้างคนนอก! ขอความร่วมมือไม่คิดค่าฟี
นายสมบูรณ์ เปิดเผยด้วยว่า ธปท.ได้ขอความร่วมมือธนาคารพาณิชย์ไม่คิดค่าธรรมเนียม สำหรับธุรกรรมบางประเภทที่ไม่มีบริการรองรับ ยกตัวอย่าง ธนาคารพาณิชย์ได้ว่าจ้างคนให้ไปจัดการจดจำนองที่ดิน หรือไถ่ถอนโฉนดที่กรมที่ดิน และให้ลูกค้าจ่ายส่วนนี้แทน โดยมองว่าเรื่องนี้รับไม่ได้ เพราะมีผลกระทบต่อคนจำนวนมากในการกู้เงิน และไถ่ถอน รวมไปถึงการขอรายงานทางการเงิน (Statement) ก็ไม่ควรคิดค่าธรรมเนียมในครั้งแรก เพราะเป็นบริการได้รับจากธนาคารพาณิชย์
“กรณีจ้างคนข้างนอกมาจัดการค่าธรรมเนียมจดจำนอง ค่าธรรมเนียมไถ่ถอน ธปท.ได้ขอความร่วมมือแบบแรงๆ เมื่อกลางปีก่อน ทางแบงก์ชี้แจงว่า เป็นส่วนหนึ่งของการกู้ยืมในกระบวนการปล่อยสินเชื่อทั้งหมด นอกเหนือจากการประเมินหลักประกันการเอาโฉนดไปจด ดังนั้น การจ้างคนนอกมาทำเรื่องนี้เหมือนคิดค่าธรรมเนียมลอยจากอากาศไม่มีบริการรองรับ แต่มาคิดค่าธรรมเนียม ธปท.ไม่สบายใจ หลังจากขอความร่วมมือจากการพูดคุย และส่งหนังสือไป ขณะนี้ค่อยๆ หายไป แต่ก็ยังมีเหลืออยู่ไม่มาก”
นอกจากนี้ ธปท.ยังได้ปรับปรุงแนวทางการกำกับการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Outsourcing) ของสถาบันการเงินที่ประกอบธุรกิจในไทย โดยสถาบันการเงินจ้างผู้ให้บริการภายนอกที่ไม่เป็นกลุ่มธุรกิจเดียวกันมาทำงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทที่มีความสำคัญต่อสถาบันการเงิน (Critical IT Outsourcing) กำหนดให้สถาบันการเงินแจ้งชื่อบริษัท และชื่อระบบงานให้ ธปท.ทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วันก่อนเริ่มใช้บริการ หรือก่อนเปลี่ยนแปลงใช้บริการ
ขณะเดียวกัน ให้ส่งรายงานการใช้บริการ IT Outsourcing ทุกประเภทเป็นประจำทุกปี รวมถึงให้รายงานปัญหาเหตุการณ์ผิดปกติที่เกิดขึ้นจากการใช้บริการดังกล่าว เมื่อมีผลกระทบต่อการให้บริการการเงินพื้นฐานของสถาบันการเงินโดยเร็วไม่ควรเกิน 24 ชั่วโมง ทั้งนี้ หากนำใช้เทคโนโลยีประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ (Cloud computing) ทางสถาบันการเงินต้องหารือให้ ธปท.ทราบเป็นรายกรณีก่อนเริ่มใช้บริการ เพราะมองว่าการจัดเก็บข้อมูล หรือประมวลผลข้อมูลสำคัญของสถาบันการเงินอาจจะกระจุกตัวอยู่ที่ผู้ให้บริการเพียงบางราย หากข้อมูลรั่วไหลอาจส่งผลกระทบได้
“ธปท.เข้าใจดีว่า การจ้าง IT Outsourcing จะช่วยเรื่องการตลาด ประหยัดเวลา และต้นทุน ทำให้งานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และปัจจุบันระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างเยอะ และสถาบันการเงินหลายแห่งจ้างบริษัทข้างนอกมาดูแลเรื่องนี้เยอะขึ้น ซึ่งมีการรวบรวมทุกอย่างอยู่ภายใต้ศูนย์เดียว ดังนั้น ธปท.ให้รายงานชื่อบริษัท ชื่อระบบ เพื่อให้มีคนรับผิดชอบชัดเจน พร้อมทั้งให้รวบรวมเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งอนาคตอาจพิจารณาทบทวนบางอย่างให้มีความชัดเจนขึ้น”