สำนักงาน ก.ล.ต. เปิดให้บริษัทต่างชาติเสนอขายหุ้นต่อประชาชน และเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทยเป็นตลาดแรก (primary listing) หรือเสนอขายหุ้นต่อประชาชนเป็นครั้งแรกพร้อมกับประเทศอื่น (dual offering) เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันของตลาดทุนไทย
นายวรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการ สำงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. เปิดเผยว่า คณะกรรมการกำกับตลาดทุนมีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์การอนุญาตให้บริษัทต่างประเทศเสนอขายหุ้นต่อประชาชน และนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทยเป็นตลาดแรก (primary listing) และบริษัทต่างประเทศเสนอขายหุ้นต่อประชาชนเป็นครั้งแรกในไทย และประเทศอื่นพร้อมกัน หรือในเวลาใกล้เคียงกัน (dual offering) เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันให้ตลาดทุนไทย และเพิ่มทางเลือกในการลงทุนให้แก่ผู้ลงทุน อีกทั้งรองรับข้อตกลงของหน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนในอาเซียน (ASEAN Capital Markets Forum : ACMF) ในการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนของบริษัทในกลุ่มประเทศสมาชิก ACMF อย่างน้อย 2 ประเทศพร้อมกัน โดยประกาศจะมีผลบังคับใช้ประมาณเดือนสิงหาคม
บริษัทต่างประเทศจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การอนุญาต การเปิดเผยข้อมูล และหลักเกณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้องเช่นเดียวกับบริษัทไทย เช่น การรักษาสิทธิผู้ถือหุ้น ไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ การเปิดเผยข้อมูลอย่างครบถ้วน และต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเพิ่มเติม เช่น เป็นการเสนอขายหุ้นที่ถูกกฎหมายและหลักเกณฑ์ของประเทศตน, กฎหมายและหลักเกณฑ์ที่คุ้มครองสิทธิของผู้ถือหุ้นเทียบเคียงได้กับกฎหมายไทย, หน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนของประเทศที่บริษัทจัดตั้งสามารถให้ความช่วยเหลือ ก.ล.ต.ในการตรวจสอบหรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง, มีกรรมการสัญชาติไทยและมีถิ่นที่อยู่ในไทยอย่างน้อย 2 คน โดยอย่างน้อย 1 คนต้องเป็นกรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ, จัดทำงบการเงินตามมาตรฐานการบัญชีไทย หรือ International Financial Reporting Standards (IFRS), ใช้ผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต. และ ใช้ที่ปรึกษาทางการเงินที่ได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต. โดยต้องทำหน้าที่ติดตามและให้คำแนะนำต่อไปอีก 3 ปี
สำหรับกรณีบริษัทต่างประเทศจัดตั้ง holding company ในประเทศไทย โดยมีผู้ถือหุ้นหลักเป็นต่างชาติ และมีธุรกิจหลักในต่างประเทศ และจะเสนอขายหุ้นต่อประชาชน และจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทยนั้น holding company ดังกล่าวจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเพิ่มเติมเช่นเดียวกับ primary listing เนื่องจากโดยลักษณะเสมือนบริษัทต่างประเทศมาเสนอขายหุ้นทางอ้อม แต่หากบริษัทต่างประเทศถือหุ้นโดยกลุ่มคนไทยรวมกันเกินกว่าร้อยละ 50 ก็จะถือว่าเป็นบริษัทไทย หรือคนไทยมีอำนาจควบคุม และต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เช่นเดียวกับบริษัทไทย
“ก.ล.ต. มุ่งมั่นที่จะพัฒนาตลาดทุนไทยให้เป็นที่น่าสนใจในสายตาของผู้ลงทุนทั่วโลก วิธีการหนึ่งคือ การเป็นแหล่งเงินทุนรองรับความต้องการขยายตัวของเศรษฐกิจ และธุรกิจต่างประเทศ พร้อมไปกับเพิ่มทางเลือกในการลงทุนให้แก่ผู้ลงทุน หลักเกณฑ์รองรับให้บริษัทต่างประเทศออกเสนอขายหุ้นต่อผู้ลงทุนไทยนี้เป็น มาตรฐานเดียวกับการออกเสนอขายหุ้นของบริษัทไทย โดยมีหลักเกณฑ์เพิ่มเติมที่จำเป็น เพื่อให้มั่นใจได้ว่าผู้ลงทุนจะได้รับการคุ้มครองและรักษาสิทธิอย่างเพียงพอ ทำให้ตลาดทุนไทยสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่องและมี เสถียรภาพ” นายวรพล กล่าว
นายวรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการ สำงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. เปิดเผยว่า คณะกรรมการกำกับตลาดทุนมีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์การอนุญาตให้บริษัทต่างประเทศเสนอขายหุ้นต่อประชาชน และนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทยเป็นตลาดแรก (primary listing) และบริษัทต่างประเทศเสนอขายหุ้นต่อประชาชนเป็นครั้งแรกในไทย และประเทศอื่นพร้อมกัน หรือในเวลาใกล้เคียงกัน (dual offering) เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันให้ตลาดทุนไทย และเพิ่มทางเลือกในการลงทุนให้แก่ผู้ลงทุน อีกทั้งรองรับข้อตกลงของหน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนในอาเซียน (ASEAN Capital Markets Forum : ACMF) ในการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนของบริษัทในกลุ่มประเทศสมาชิก ACMF อย่างน้อย 2 ประเทศพร้อมกัน โดยประกาศจะมีผลบังคับใช้ประมาณเดือนสิงหาคม
บริษัทต่างประเทศจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การอนุญาต การเปิดเผยข้อมูล และหลักเกณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้องเช่นเดียวกับบริษัทไทย เช่น การรักษาสิทธิผู้ถือหุ้น ไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ การเปิดเผยข้อมูลอย่างครบถ้วน และต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเพิ่มเติม เช่น เป็นการเสนอขายหุ้นที่ถูกกฎหมายและหลักเกณฑ์ของประเทศตน, กฎหมายและหลักเกณฑ์ที่คุ้มครองสิทธิของผู้ถือหุ้นเทียบเคียงได้กับกฎหมายไทย, หน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนของประเทศที่บริษัทจัดตั้งสามารถให้ความช่วยเหลือ ก.ล.ต.ในการตรวจสอบหรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง, มีกรรมการสัญชาติไทยและมีถิ่นที่อยู่ในไทยอย่างน้อย 2 คน โดยอย่างน้อย 1 คนต้องเป็นกรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ, จัดทำงบการเงินตามมาตรฐานการบัญชีไทย หรือ International Financial Reporting Standards (IFRS), ใช้ผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต. และ ใช้ที่ปรึกษาทางการเงินที่ได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต. โดยต้องทำหน้าที่ติดตามและให้คำแนะนำต่อไปอีก 3 ปี
สำหรับกรณีบริษัทต่างประเทศจัดตั้ง holding company ในประเทศไทย โดยมีผู้ถือหุ้นหลักเป็นต่างชาติ และมีธุรกิจหลักในต่างประเทศ และจะเสนอขายหุ้นต่อประชาชน และจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทยนั้น holding company ดังกล่าวจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเพิ่มเติมเช่นเดียวกับ primary listing เนื่องจากโดยลักษณะเสมือนบริษัทต่างประเทศมาเสนอขายหุ้นทางอ้อม แต่หากบริษัทต่างประเทศถือหุ้นโดยกลุ่มคนไทยรวมกันเกินกว่าร้อยละ 50 ก็จะถือว่าเป็นบริษัทไทย หรือคนไทยมีอำนาจควบคุม และต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เช่นเดียวกับบริษัทไทย
“ก.ล.ต. มุ่งมั่นที่จะพัฒนาตลาดทุนไทยให้เป็นที่น่าสนใจในสายตาของผู้ลงทุนทั่วโลก วิธีการหนึ่งคือ การเป็นแหล่งเงินทุนรองรับความต้องการขยายตัวของเศรษฐกิจ และธุรกิจต่างประเทศ พร้อมไปกับเพิ่มทางเลือกในการลงทุนให้แก่ผู้ลงทุน หลักเกณฑ์รองรับให้บริษัทต่างประเทศออกเสนอขายหุ้นต่อผู้ลงทุนไทยนี้เป็น มาตรฐานเดียวกับการออกเสนอขายหุ้นของบริษัทไทย โดยมีหลักเกณฑ์เพิ่มเติมที่จำเป็น เพื่อให้มั่นใจได้ว่าผู้ลงทุนจะได้รับการคุ้มครองและรักษาสิทธิอย่างเพียงพอ ทำให้ตลาดทุนไทยสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่องและมี เสถียรภาพ” นายวรพล กล่าว