“ซีไอเอ็มบีไทย” ประเมินหลังเลือกตั้งอินโดฯ ส่งผลภาพรวมดีขึ้น ต่างชาติมีแนวโน้มขนเงินลงทุนเข้า แนะไทยเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเสริมความแกร่ง พร้อมเร่งพัฒนาประสิทธิภาพการส่งออก
นายอมรเทพ จาวะลา ผู้อำนวยการสำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ประเมินการเลือกตั้งประธานาธิบดีประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 9 ก.ค.2557 จะเป็นทั้งโอกาส และความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทย ในแง่ความเสี่ยงนั้นกล่าวได้ว่า หลังการเลือกตั้งจบลง อินโดนีเซียจะกลายเป็นคู่แข่งขันที่น่ากลัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มนักลงทุนที่กำลังพิจารณาว่าจะเลือกไทยหรืออินโดนีเซียในการขยายฐานการผลิต หรือเป็นศูนย์กลางการผลิต (hub) ในอาเซียน ยิ่งไปกว่านั้น หากการเมืองอินโดนีเซียมีแนวโน้มเสถียรภาพหลังจากนั้น จะยิ่งเป็นตัวแปรเปรียบเทียบที่เพิ่มความได้เปรียบมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันไทยนับว่ามีโครงสร้างพื้นฐานที่ดีกว่าอินโดนีเซีย ไม่ว่าจะเป็นถนน หรือท่าเรือ ทว่า หากไทยไม่สามารถลงทุนเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้ให้ดียิ่งขึ้น อินโดนีเซีย จะก้าวทัน และล้ำหน้าไทยในไม่ช้า โดยเฉพาะการที่นักลงทุนต่างชาติเองก็มีแผนย้ายฐานการผลิตจากประเทศไทยไปยังประเทศอื่น เช่น ประเทศญี่ปุ่น ที่เป็นนักลงทุนรายใหญ่ในภูมิภาคอาเซียนมีแผนธุรกิจที่เรียกว่า ประเทศไทยบวกหนึ่ง (Thailand plus one business model) ที่มีการเตรียมโยกย้ายอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานสูง (labor-intensive industries) ออกจากประเทศไทยไปยังประเทศใกล้เคียงในภูมิภาคอาเซียน เพื่อกระจายความเสี่ยงจากการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมา ประเทศไทยเผชิญทั้งปัญหาน้ำท่วม และความไม่สงบทางการเมือง
แม้ที่ผ่านมา ประเทศไทยจะสามารถบรรเทา หรือแก้ปัญหาเหล่านั้นได้ แต่ในระยะยาวประเทศไทยมีปัญหาขาดแคลนแรงงาน และค่าแรงที่สูง อันเป็นอุปสรรคในการขยายธุรกิจ โดยเฉพาะจากการที่ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างอินโดนีเซีย กำลังมีสัดส่วนคนในวัยทำงานเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งนอกจากจะช่วยส่งเสริมการขยายตัวของอุตสาหกรรมใช้แรงงานมากแล้ว ยังจะเป็นผลดีต่อการริเริ่มนวัตกรรมใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตอีกด้วย
“ประเทศไทยจำเป็นต้องอาศัยเงินลงทุนจากต่างประเทศ โดยเฉพาะภาคการส่งออกที่มีปัญหาเชิงโครงสร้าง ผู้ผลิตไทยยังอาศัยเทคโนโลยีไม่สูงในการผลิตสินค้าที่มีมูลค่าต่ำ เช่น ฮาร์ดดิสก์ คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ จึงถึงเวลาแล้วที่ผู้ประกอบการไทยต้องพัฒนาเทคโนโลยี และปัจจัยสำคัญก็คือ เงินลงทุนจากต่างชาติ ดังนั้น หนึ่งในภารกิจหลักของรัฐบาลก็คือ การสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุน เช่น การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ทั้งนักลงทุนต่างชาติ และบริษัทในประเทศ โดยเฉพาะผู้ผลิตที่มีเทคโนโลยีขั้นสูง”
นายอมรเทพ จาวะลา ผู้อำนวยการสำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ประเมินการเลือกตั้งประธานาธิบดีประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 9 ก.ค.2557 จะเป็นทั้งโอกาส และความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทย ในแง่ความเสี่ยงนั้นกล่าวได้ว่า หลังการเลือกตั้งจบลง อินโดนีเซียจะกลายเป็นคู่แข่งขันที่น่ากลัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มนักลงทุนที่กำลังพิจารณาว่าจะเลือกไทยหรืออินโดนีเซียในการขยายฐานการผลิต หรือเป็นศูนย์กลางการผลิต (hub) ในอาเซียน ยิ่งไปกว่านั้น หากการเมืองอินโดนีเซียมีแนวโน้มเสถียรภาพหลังจากนั้น จะยิ่งเป็นตัวแปรเปรียบเทียบที่เพิ่มความได้เปรียบมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันไทยนับว่ามีโครงสร้างพื้นฐานที่ดีกว่าอินโดนีเซีย ไม่ว่าจะเป็นถนน หรือท่าเรือ ทว่า หากไทยไม่สามารถลงทุนเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้ให้ดียิ่งขึ้น อินโดนีเซีย จะก้าวทัน และล้ำหน้าไทยในไม่ช้า โดยเฉพาะการที่นักลงทุนต่างชาติเองก็มีแผนย้ายฐานการผลิตจากประเทศไทยไปยังประเทศอื่น เช่น ประเทศญี่ปุ่น ที่เป็นนักลงทุนรายใหญ่ในภูมิภาคอาเซียนมีแผนธุรกิจที่เรียกว่า ประเทศไทยบวกหนึ่ง (Thailand plus one business model) ที่มีการเตรียมโยกย้ายอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานสูง (labor-intensive industries) ออกจากประเทศไทยไปยังประเทศใกล้เคียงในภูมิภาคอาเซียน เพื่อกระจายความเสี่ยงจากการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมา ประเทศไทยเผชิญทั้งปัญหาน้ำท่วม และความไม่สงบทางการเมือง
แม้ที่ผ่านมา ประเทศไทยจะสามารถบรรเทา หรือแก้ปัญหาเหล่านั้นได้ แต่ในระยะยาวประเทศไทยมีปัญหาขาดแคลนแรงงาน และค่าแรงที่สูง อันเป็นอุปสรรคในการขยายธุรกิจ โดยเฉพาะจากการที่ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างอินโดนีเซีย กำลังมีสัดส่วนคนในวัยทำงานเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งนอกจากจะช่วยส่งเสริมการขยายตัวของอุตสาหกรรมใช้แรงงานมากแล้ว ยังจะเป็นผลดีต่อการริเริ่มนวัตกรรมใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตอีกด้วย
“ประเทศไทยจำเป็นต้องอาศัยเงินลงทุนจากต่างประเทศ โดยเฉพาะภาคการส่งออกที่มีปัญหาเชิงโครงสร้าง ผู้ผลิตไทยยังอาศัยเทคโนโลยีไม่สูงในการผลิตสินค้าที่มีมูลค่าต่ำ เช่น ฮาร์ดดิสก์ คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ จึงถึงเวลาแล้วที่ผู้ประกอบการไทยต้องพัฒนาเทคโนโลยี และปัจจัยสำคัญก็คือ เงินลงทุนจากต่างชาติ ดังนั้น หนึ่งในภารกิจหลักของรัฐบาลก็คือ การสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุน เช่น การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ทั้งนักลงทุนต่างชาติ และบริษัทในประเทศ โดยเฉพาะผู้ผลิตที่มีเทคโนโลยีขั้นสูง”