ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประเมินแบงก์อาจมีการออกหุ้นกู้เข้าเงินกองทุนชั้น 2 ตามเกณฑ์บาเซิล 3 เพิ่ม หลังหุ้นกู้เก่าครบกำหนด 81 พันล้านบาทในสิ้นปีนี้ จากช่วงที่ผ่านมามีเพียง 2 แห่งที่ออก
ฟิทช์ เรทติ้งส์ประเมินว่า ธนาคารพาณิชย์ไทยน่าจะมีการออกหุ้นกู้ที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ตามเกณฑ์บาเซิล 3 เพิ่มขึ้น เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ไทยจำเป็นที่จะต้องเสริมสร้างเงินกองทุนให้แข็งแกร่งมากขึ้น นอกจากนี้ กฎเกณฑ์ต่างๆ ได้มีการปรับปรุงให้มีความชัดเจนมากขึ้นแล้ว รวมทั้งนักลงทุนมีการยอมรับการลงทุนในตราสารประเภทดังกล่าว
แม้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เริ่มมีการบังคับใช้เกณฑ์บาเซิล 3 ไปแล้วตั้งแต่เดือนมกราคม 2556 แต่การออกหุ้นกู้ที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ตามเกณฑ์บาเซิล 3 นั้นยังมีจำนวนไม่มากนักในช่วงแรก โดยเป็นการเสนอขายในวงจำกัด (private placement) และมีมูลค่าค่อนข้างน้อย ดังนั้น แผนการเสนอขายหุ้นกู้ที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ตามเกณฑ์บาเซิล 3 ของธนาคารธนชาต (TBANK, อันดับเครดิตภายประเทศ ‘A+(tha)’/แนวโน้มอันดับเครดิตเป็นลบ) ในวันที่ 19 มิถุนายน จึงจะเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ประเภทดังกล่าวครั้งแรกในวงกว้างในประเทศไทย
ทั้งนี้ หุ้นกู้ที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ตามเกณฑ์บาเซิล 3 ที่จะออกโดย TBANK นั้น มีคุณสมบัติที่สามารถแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ เมื่อธนาคารมีผลการดำเนินงานที่ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ ด้วยคุณสมบัติดังกล่าวอันดับเครดิตของหุ้นกู้น่าจะถูกปรับลงจากอันดับเครดิตที่ใช้อ้างอิง 1 อันดับ ซึ่งในกรณีของ TBANK อันดับเครดิตที่ใช้อ้างอิงคืออันดับเครดิตภายในประเทศของธนาคารที่ ‘A+(tha)’ ซึ่งพิจารณาจากความแข็งแกร่งทางการเงินของธนาคารเอง
ส่วนหุ้นกู้ที่นับเป็นกองทุนชั้นที่ 2 ตามเกณฑ์บาเซิล 3 ของธนาคาร ยูโอบี (ไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ UOBT (‘A-’/แนวโน้มมีเสถียรภาพ) จำนวน 170 ล้านเหรียญสหรัฐ ที่ธนาคารเสนอขายในวงจำกัดเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2556 เนื่องจากธนาคารที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารแม่ เช่น UOBT ฟิทช์ เชื่อว่าธนาคารแม่จะให้ความช่วยเหลือแก่ธนาคารลูกล่วงหน้าเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ธนาคารลูกมีผลการดำเนินงานที่ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ ดังนั้น ในกรณีนี้อันดับเครดิตที่เหมาะสมในการใช้อ้างอิงจะเป็นอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว (Issuer Default Rating) ของธนาคาร
ณ สิ้นปี 2556 ธนาคารพาณิชย์ไทยทั้งหมดมียอดคงค้างของหุ้นกู้ที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ที่ 270 พันล้านบาท โดยเกือบทั้งหมดเป็นหุ้นกู้เดิมตามเกณฑ์บาเซิล 2 โดยฟิทช์ คาดว่าหุ้นกู้ที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 จะลดลงประมาณ 81 พันล้านบาทในปี 2557 และลดลงต่อเนื่องอีก 53 พันล้านบาท ในปี 2558 ซึ่งแสดงว่า ธนาคารพาณิชย์ไทยน่าจะมีความจำเป็นที่จะต้องออกหุ้นกู้ที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ตามเกณฑ์บาเซิล 3 เพิ่มขึ้นอย่างมากในอนาคต เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งในด้านเงินกองทุน
อย่างไรก็ตาม อัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของ (core Tier 1) ของระบบธนาคารพาณิชย์ไทย ยังคงอยู่ในระดับที่เพียงพอที่ประมาณ 11.63% ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2557 ซึ่งอาจแสดงว่าแรงกดดันต่อธนาคารพาณิชย์ไทยส่วนใหญ่ในการออกตราสารที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 ตามเกณฑ์บาเซิล 3 ยังคงมีไม่มากนัก
ฟิทช์ เรทติ้งส์ประเมินว่า ธนาคารพาณิชย์ไทยน่าจะมีการออกหุ้นกู้ที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ตามเกณฑ์บาเซิล 3 เพิ่มขึ้น เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ไทยจำเป็นที่จะต้องเสริมสร้างเงินกองทุนให้แข็งแกร่งมากขึ้น นอกจากนี้ กฎเกณฑ์ต่างๆ ได้มีการปรับปรุงให้มีความชัดเจนมากขึ้นแล้ว รวมทั้งนักลงทุนมีการยอมรับการลงทุนในตราสารประเภทดังกล่าว
แม้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เริ่มมีการบังคับใช้เกณฑ์บาเซิล 3 ไปแล้วตั้งแต่เดือนมกราคม 2556 แต่การออกหุ้นกู้ที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ตามเกณฑ์บาเซิล 3 นั้นยังมีจำนวนไม่มากนักในช่วงแรก โดยเป็นการเสนอขายในวงจำกัด (private placement) และมีมูลค่าค่อนข้างน้อย ดังนั้น แผนการเสนอขายหุ้นกู้ที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ตามเกณฑ์บาเซิล 3 ของธนาคารธนชาต (TBANK, อันดับเครดิตภายประเทศ ‘A+(tha)’/แนวโน้มอันดับเครดิตเป็นลบ) ในวันที่ 19 มิถุนายน จึงจะเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ประเภทดังกล่าวครั้งแรกในวงกว้างในประเทศไทย
ทั้งนี้ หุ้นกู้ที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ตามเกณฑ์บาเซิล 3 ที่จะออกโดย TBANK นั้น มีคุณสมบัติที่สามารถแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ เมื่อธนาคารมีผลการดำเนินงานที่ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ ด้วยคุณสมบัติดังกล่าวอันดับเครดิตของหุ้นกู้น่าจะถูกปรับลงจากอันดับเครดิตที่ใช้อ้างอิง 1 อันดับ ซึ่งในกรณีของ TBANK อันดับเครดิตที่ใช้อ้างอิงคืออันดับเครดิตภายในประเทศของธนาคารที่ ‘A+(tha)’ ซึ่งพิจารณาจากความแข็งแกร่งทางการเงินของธนาคารเอง
ส่วนหุ้นกู้ที่นับเป็นกองทุนชั้นที่ 2 ตามเกณฑ์บาเซิล 3 ของธนาคาร ยูโอบี (ไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ UOBT (‘A-’/แนวโน้มมีเสถียรภาพ) จำนวน 170 ล้านเหรียญสหรัฐ ที่ธนาคารเสนอขายในวงจำกัดเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2556 เนื่องจากธนาคารที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารแม่ เช่น UOBT ฟิทช์ เชื่อว่าธนาคารแม่จะให้ความช่วยเหลือแก่ธนาคารลูกล่วงหน้าเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ธนาคารลูกมีผลการดำเนินงานที่ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ ดังนั้น ในกรณีนี้อันดับเครดิตที่เหมาะสมในการใช้อ้างอิงจะเป็นอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว (Issuer Default Rating) ของธนาคาร
ณ สิ้นปี 2556 ธนาคารพาณิชย์ไทยทั้งหมดมียอดคงค้างของหุ้นกู้ที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ที่ 270 พันล้านบาท โดยเกือบทั้งหมดเป็นหุ้นกู้เดิมตามเกณฑ์บาเซิล 2 โดยฟิทช์ คาดว่าหุ้นกู้ที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 จะลดลงประมาณ 81 พันล้านบาทในปี 2557 และลดลงต่อเนื่องอีก 53 พันล้านบาท ในปี 2558 ซึ่งแสดงว่า ธนาคารพาณิชย์ไทยน่าจะมีความจำเป็นที่จะต้องออกหุ้นกู้ที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ตามเกณฑ์บาเซิล 3 เพิ่มขึ้นอย่างมากในอนาคต เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งในด้านเงินกองทุน
อย่างไรก็ตาม อัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของ (core Tier 1) ของระบบธนาคารพาณิชย์ไทย ยังคงอยู่ในระดับที่เพียงพอที่ประมาณ 11.63% ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2557 ซึ่งอาจแสดงว่าแรงกดดันต่อธนาคารพาณิชย์ไทยส่วนใหญ่ในการออกตราสารที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 ตามเกณฑ์บาเซิล 3 ยังคงมีไม่มากนัก