“แบงก์ชาติ” เผยไตรมาสแรกยอดปล่อยกู้ไม่ติดลบ แบงก์ไทย-เทศปล่อยสินเชื่อให้ภาคธุรกิจเพิ่มขึ้น 7.59 หมื่นล้านบาท หรือ 0.62% พบส่วนใหญ่ยังได้รับสินเชื่อในวงเงินไม่มาก ธุรกิจการผลิตได้รับสินเชื่อเพิ่มขึ้นมากที่สุด 3.73 หมื่นล้านบาท ขณะที่กิจกรรมทางการเงิน และการประกันภัยที่ขอสินเชื่อไปปล่อยต่อ ลดลงมากที่สุด 5.01 หมื่นล้านบาท ส่วนธุรกิจอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล เพิ่มขึ้น 2.58 หมื่นล้านบาท
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แจ้งว่า ธปท.ได้ประกาศยอดคงค้างเงินให้สินเชื่อแยกตามประเภทธุรกิจของธนาคารพาณิชย์ไทย และสาขาธนาคารต่างประเทศล่าสุด ไตรมาสแรกของปีนี้ ปรากฏว่า ธนาคารพาณิชย์ในระบบมียอดคงค้างเงินให้สินเชื่อแก่ภาคธุรกิจต่างๆ ทั้งสิ้น 12.42 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 7.59 หมื่นล้านบาท หรือการขยายตัวสินเชื่อ
0.62% และเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน 6.20 แสนล้านบาท หรือขยายตัว 5.26% ซึ่งส่วนใหญ่ภาคธุรกิจยังคงได้รับสินเชื่อจากสถาบันการเงินเพิ่มขึ้นในวงเงินไม่มากนักตามการชะลอเศรษฐกิจ และการลงทุน
ภาคธุรกิจที่ได้รับสินเชื่อจากสถาบันการเงินเพิ่มขึ้นมากที่สุดเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน คือ ธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตเพิ่มขึ้น 3.73 หมื่นล้านบาท ซึ่งปัจจุบันมียอดคงค้างเงินสินเชื่อ 2.21 ล้านล้านบาท รองลงมาเป็นธุรกิจอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น 2.58 หมื่นล้านบาท ตามมาด้วย ธุรกิจไฟฟ้า ก๊าซ ไอน้ำ และระบบปรับอากาศ 2.09 หมื่นล้านบาท ธุรกิจการขนส่งและการขายปลีก
การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ 1.81 หมื่นล้านบาท ธุรกิจเกี่ยวกับกิจกรรมอสังหาริมทรัพย์ 1.06 หมื่นล้านบาท กิจกรรมการบริหารและการบริการสนับสนุน 7.74 พันล้านบาท ก่อสร้าง 5.45 พันล้านบาท
การบริหารราชการ การป้องกันประเทศ และการประกันสังคมภาคบังคับเพิ่มขึ้น 2.59 พันล้านบาท ข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร 1.83 พันล้านบาท การจัดหาน้ำ การจัดการ และการบำบัดน้ำเสีย ของเสีย และสิ่งปฏิกูล 1.50 พันล้านบาท กิจกรรมด้านสุขภาพและงานสังคมสงเคราะห์ 1.14 พันล้านบาท การเกษตร ป่าไม้ และประมง 362 ล้านบาท ศิลปะ ความบันเทิง และนันทนาการ 267 ล้านบาท กิจกรรมทางวิชาชีพ วิทยาศาสตร์ และเทคนิค 194 ล้านบาท และกิจกรรมองค์การระหว่างประเทศและภาคีสมาชิกเพิ่มขึ้น 1 ล้านบาท
ขณะเดียวกัน ธุรกิจที่ได้รับสินเชื่อจากธนาคารลดลงมากที่สุดในระบบ คือ กิจกรรมทางการเงินและการประกันภัย 5.01 หมื่นล้านบาท ซึ่งได้รับสินเชื่อแล้วไปปล่อยต่อในธุรกิจนั้นๆ จากปัจจุบันที่มียอดคงค้างสินเชื่อ 2.64 ล้านล้านบาท ธุรกิจที่พักแรม และบริการด้านอาหารลดลง 3.41 พันล้านบาท การขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า 2.05 พันล้านบาท การทำเหมืองแร่และเหมืองหิน 1.19 พันล้านบาทเป็นต้น
สำหรับธุรกิจเกี่ยวกับการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่เกิดจากธุรกิจจัดหาที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นถึง 3.15 หมื่นล้านบาท อีกทั้งธุรกิจซื้อหรือเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ธุรกิจการซื้ออสังหาริมทรัพย์เพื่อการอื่นๆ และธุรกิจการศึกษาเพิ่มขึ้น 481 ล้านบาท 134 ล้านบาท และ 14 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะเดียวกัน ธุรกิจการบริโภคส่วนบุคคลอื่นๆ ลดลงมากที่สุด 6.08
พันล้านบาท ส่วนที่เหลือลดลงในวงเงินไม่มากนัก คือ ธุรกิจซื้อที่ดินลดลง 248 ล้านบาท ซึ่งลดลงทั้งซื้อที่ดินเปล่า เพื่อสร้างสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ และสร้างบ้าน รวมถึงซื้อดินเปล่าเก็บไว้
ก่อนหน้านี้ ในรายงานผลการสำรวจภาวะและแนวโน้มสินเชื่อ ซึ่งสำรวจผู้บริหารสถาบันการเงินดูแลด้านสินเชื่อ พบว่า ในไตรมาส 2 ของปีนี้ สถาบันการเงินคาดว่าจะเพิ่มความเข้มงวดมาตรฐานการให้สินเชื่อภาคธุรกิจโดยรวมต่อเนื่องจากปัจจุบัน โดยเฉพาะสินเชื่อที่ให้แก่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) เนื่องจากความกังวลที่เพิ่มขึ้นต่อคุณภาพสินเชื่อจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว อีกทั้งเห็นว่าอาจต้องเพิ่มความระมัดระวังในการให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบการบางราย เช่น ธุรกิจที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวและโรงแรม ธุรกิจก่อสร้าง ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจสิ่งทอ เป็นต้น
ด้านความต้องการธุรกิจเอสเอ็มอี ยังคงปรับเพิ่มขึ้นจากสินเชื่อระยะสั้นส่วนใหญ่ ขณะที่ความต้องการสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ยังคงปรับลดลงจากปัจจุบันต่อเนื่องเป็นไตรมาส 3 สะท้อนมุมมองของสถาบันการเงินต่อแนวโน้มการลงทุนที่ยังคงลดลง ทั้งนี้ สถาบันการเงินประเมินว่า ความต้องการสินเชื่อในระยะต่อไปจะมาจากธุรกิจที่ผลิตสินค้า และให้บริการที่จำเป็น เช่น ธุรกิจพลังงานไฟฟ้า ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม การค้าส่งค้าปลีก การขนส่งและคลังสินค้า การโทรคมนาคม รวมถึงธุรกิจชิ้นส่วนยานยนต์ ที่คาดว่าจะปรับดีขึ้นตามภาคการส่งออกที่เริ่มฟื้นตัว
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แจ้งว่า ธปท.ได้ประกาศยอดคงค้างเงินให้สินเชื่อแยกตามประเภทธุรกิจของธนาคารพาณิชย์ไทย และสาขาธนาคารต่างประเทศล่าสุด ไตรมาสแรกของปีนี้ ปรากฏว่า ธนาคารพาณิชย์ในระบบมียอดคงค้างเงินให้สินเชื่อแก่ภาคธุรกิจต่างๆ ทั้งสิ้น 12.42 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 7.59 หมื่นล้านบาท หรือการขยายตัวสินเชื่อ
0.62% และเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน 6.20 แสนล้านบาท หรือขยายตัว 5.26% ซึ่งส่วนใหญ่ภาคธุรกิจยังคงได้รับสินเชื่อจากสถาบันการเงินเพิ่มขึ้นในวงเงินไม่มากนักตามการชะลอเศรษฐกิจ และการลงทุน
ภาคธุรกิจที่ได้รับสินเชื่อจากสถาบันการเงินเพิ่มขึ้นมากที่สุดเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน คือ ธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตเพิ่มขึ้น 3.73 หมื่นล้านบาท ซึ่งปัจจุบันมียอดคงค้างเงินสินเชื่อ 2.21 ล้านล้านบาท รองลงมาเป็นธุรกิจอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น 2.58 หมื่นล้านบาท ตามมาด้วย ธุรกิจไฟฟ้า ก๊าซ ไอน้ำ และระบบปรับอากาศ 2.09 หมื่นล้านบาท ธุรกิจการขนส่งและการขายปลีก
การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ 1.81 หมื่นล้านบาท ธุรกิจเกี่ยวกับกิจกรรมอสังหาริมทรัพย์ 1.06 หมื่นล้านบาท กิจกรรมการบริหารและการบริการสนับสนุน 7.74 พันล้านบาท ก่อสร้าง 5.45 พันล้านบาท
การบริหารราชการ การป้องกันประเทศ และการประกันสังคมภาคบังคับเพิ่มขึ้น 2.59 พันล้านบาท ข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร 1.83 พันล้านบาท การจัดหาน้ำ การจัดการ และการบำบัดน้ำเสีย ของเสีย และสิ่งปฏิกูล 1.50 พันล้านบาท กิจกรรมด้านสุขภาพและงานสังคมสงเคราะห์ 1.14 พันล้านบาท การเกษตร ป่าไม้ และประมง 362 ล้านบาท ศิลปะ ความบันเทิง และนันทนาการ 267 ล้านบาท กิจกรรมทางวิชาชีพ วิทยาศาสตร์ และเทคนิค 194 ล้านบาท และกิจกรรมองค์การระหว่างประเทศและภาคีสมาชิกเพิ่มขึ้น 1 ล้านบาท
ขณะเดียวกัน ธุรกิจที่ได้รับสินเชื่อจากธนาคารลดลงมากที่สุดในระบบ คือ กิจกรรมทางการเงินและการประกันภัย 5.01 หมื่นล้านบาท ซึ่งได้รับสินเชื่อแล้วไปปล่อยต่อในธุรกิจนั้นๆ จากปัจจุบันที่มียอดคงค้างสินเชื่อ 2.64 ล้านล้านบาท ธุรกิจที่พักแรม และบริการด้านอาหารลดลง 3.41 พันล้านบาท การขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า 2.05 พันล้านบาท การทำเหมืองแร่และเหมืองหิน 1.19 พันล้านบาทเป็นต้น
สำหรับธุรกิจเกี่ยวกับการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่เกิดจากธุรกิจจัดหาที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นถึง 3.15 หมื่นล้านบาท อีกทั้งธุรกิจซื้อหรือเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ธุรกิจการซื้ออสังหาริมทรัพย์เพื่อการอื่นๆ และธุรกิจการศึกษาเพิ่มขึ้น 481 ล้านบาท 134 ล้านบาท และ 14 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะเดียวกัน ธุรกิจการบริโภคส่วนบุคคลอื่นๆ ลดลงมากที่สุด 6.08
พันล้านบาท ส่วนที่เหลือลดลงในวงเงินไม่มากนัก คือ ธุรกิจซื้อที่ดินลดลง 248 ล้านบาท ซึ่งลดลงทั้งซื้อที่ดินเปล่า เพื่อสร้างสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ และสร้างบ้าน รวมถึงซื้อดินเปล่าเก็บไว้
ก่อนหน้านี้ ในรายงานผลการสำรวจภาวะและแนวโน้มสินเชื่อ ซึ่งสำรวจผู้บริหารสถาบันการเงินดูแลด้านสินเชื่อ พบว่า ในไตรมาส 2 ของปีนี้ สถาบันการเงินคาดว่าจะเพิ่มความเข้มงวดมาตรฐานการให้สินเชื่อภาคธุรกิจโดยรวมต่อเนื่องจากปัจจุบัน โดยเฉพาะสินเชื่อที่ให้แก่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) เนื่องจากความกังวลที่เพิ่มขึ้นต่อคุณภาพสินเชื่อจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว อีกทั้งเห็นว่าอาจต้องเพิ่มความระมัดระวังในการให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบการบางราย เช่น ธุรกิจที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวและโรงแรม ธุรกิจก่อสร้าง ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจสิ่งทอ เป็นต้น
ด้านความต้องการธุรกิจเอสเอ็มอี ยังคงปรับเพิ่มขึ้นจากสินเชื่อระยะสั้นส่วนใหญ่ ขณะที่ความต้องการสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ยังคงปรับลดลงจากปัจจุบันต่อเนื่องเป็นไตรมาส 3 สะท้อนมุมมองของสถาบันการเงินต่อแนวโน้มการลงทุนที่ยังคงลดลง ทั้งนี้ สถาบันการเงินประเมินว่า ความต้องการสินเชื่อในระยะต่อไปจะมาจากธุรกิจที่ผลิตสินค้า และให้บริการที่จำเป็น เช่น ธุรกิจพลังงานไฟฟ้า ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม การค้าส่งค้าปลีก การขนส่งและคลังสินค้า การโทรคมนาคม รวมถึงธุรกิจชิ้นส่วนยานยนต์ ที่คาดว่าจะปรับดีขึ้นตามภาคการส่งออกที่เริ่มฟื้นตัว