“ไออาร์พีซี” ไตรมาสแรกปีนี้กำไรสุทธิ 344 ล้านบาท เพิ่มจากงวดนี้ปี 56 ที่ทำไว้ 154 ล้านบาท หรือ
เพิ่มขึ้น 190 ล้านบาท คิดเป็น 124% เหตุรายได้เพิ่ม EBITDA ไตรมาสนี้พุ่ง 48% จากปีก่อน
นางดวงกมล เศรษฐธนัง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายบัญชีและการเงิน บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) หรือ IRPC แจ้งผลงานไตรมาสแรกปีนี้ ว่า บริษัทมีกำไรสุทธิ 344 ล้านบาท ขณะที่งวดนี้ปีก่อนมีกำไรสุทธิ 154 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 190 ล้านบาท คิดเป็นเพิ่มขึ้น 124%
โดยไตรมาสแรกปีนี้ บริษัทฯ มี EBITDA 1,868 ล้านบาท เทียบกับไตรมาส1ปี 56 ที่ 1,265 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 603 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 48% และเทียบกับไตรมาส 4ปี 56 ที่ 2,396 ล้านบาทลดลง 528 ล้านบาท หรือลดลง 22% สำหรับงวดนี้บริษัทฯ มีรายได้จากการขายสุทธิ 71,854 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 1 ปี 56 จำนวน 2,890 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 4% เป็นผลมาจากราคาขายเฉลี่ยของผลิตภัณฑ์ปรับเพิ่มขึ้ 6% ขณะที่ปริมาณขายรวมอยู่ที่ 16.70 ล้านบาร์เรล หรือ 186 พันบาร์เรลต่อวัน ลดลงจาก 17.05 ล้านบาร์เรล หรือ 189 พันบาร์เรลต่อวัน ในไตรมาส 1/2556 หรือลดลง 2% และเทียบกับไตรมาส 4/2556 ลดลง 2,915 ล้านบาท หรือลดลง 4% เป็นผลจากราคาผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้น 2%
ขณะที่ปริมาณขายรวมลดลง 6% โดยปริมาณขายของไตรมาส 4/2556 อยู่ที่ 17.82 ล้านบาร์เรล หรือ 194 พันบาร์เรลต่อวัน สาเหตุหลักจากบริษัทฯ หยุดซ่อมบำรุงโรงงานตามแผนเป็นเวลา 14-23 วัน ตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม 57 โดยบริษัทมีกำไรขั้นต้นจากการผลิตตามราคาตลาด (Market GIM) สำหรับไตรมาสแรกปีนี้ 7.81 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เทียบกับไตรมาส 1 ปี 56 ที่ 7.40 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.41 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล จากปัจจัยหลักๆ คือราคาตลาดที่อิงตามตลาดโลกลดลงทำให้ GIM ลดลง 0.99 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล การใช้น้ำมันดิบในประเทศเพิ่มขึ้น 14% ของปริมาณการกลั่นทั้งหมด เพราะการใช้น้ำมันในประเทศเพิ่มขึ้น และผลตอบแทนจากโครงการลงทุน และปรับปรุงประสิทธิภาพ ทำให้ GIM เพิ่มขึ้น และจากการบริหารความเสี่ยงทำให้ไตรมาสนี้มีกำไรจาก Oil Hedging 580 ล้านบาท (1.14 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล) และราคาน้ำมันที่ลดลงทำให้มีขาดทุนจากสต๊อกน้ำมัน 207 ล้านบาท (0.41
เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล) และค่าเผื่อการลดลงของสินค้าคงเหลือ (LCM) 21 ล้านบาท (0.04 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล) ทำให้บริษัทฯ มีกำไรขั้นต้นจากการผลิตทางบัญชี (Accounting GIM) รวม 8.50 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 1 ปี 56 เพราะไตรมาสแรกปี 56 ขาดทุนจากสต๊อกน้ำมั ขณะที่มีกำไรจาก OilHedging 312 ล้านบาท
นอกจากนี้ ไตรมาสนี้ยังมีต้นทุนทางการเงินลดลง เนื่องจากมีกำไรจากสัญญาแลกเปลี่ยนสกุลเงินต้น และอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 63 ล้านบาท ดอกเบี้ยจ่ายลดลง 30 ล้านบาท แถมมีกำไรจากเงินลงทุนส่วนใหญ่เป็นส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมเพิ่มขึ้น
เพิ่มขึ้น 190 ล้านบาท คิดเป็น 124% เหตุรายได้เพิ่ม EBITDA ไตรมาสนี้พุ่ง 48% จากปีก่อน
นางดวงกมล เศรษฐธนัง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายบัญชีและการเงิน บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) หรือ IRPC แจ้งผลงานไตรมาสแรกปีนี้ ว่า บริษัทมีกำไรสุทธิ 344 ล้านบาท ขณะที่งวดนี้ปีก่อนมีกำไรสุทธิ 154 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 190 ล้านบาท คิดเป็นเพิ่มขึ้น 124%
โดยไตรมาสแรกปีนี้ บริษัทฯ มี EBITDA 1,868 ล้านบาท เทียบกับไตรมาส1ปี 56 ที่ 1,265 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 603 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 48% และเทียบกับไตรมาส 4ปี 56 ที่ 2,396 ล้านบาทลดลง 528 ล้านบาท หรือลดลง 22% สำหรับงวดนี้บริษัทฯ มีรายได้จากการขายสุทธิ 71,854 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 1 ปี 56 จำนวน 2,890 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 4% เป็นผลมาจากราคาขายเฉลี่ยของผลิตภัณฑ์ปรับเพิ่มขึ้ 6% ขณะที่ปริมาณขายรวมอยู่ที่ 16.70 ล้านบาร์เรล หรือ 186 พันบาร์เรลต่อวัน ลดลงจาก 17.05 ล้านบาร์เรล หรือ 189 พันบาร์เรลต่อวัน ในไตรมาส 1/2556 หรือลดลง 2% และเทียบกับไตรมาส 4/2556 ลดลง 2,915 ล้านบาท หรือลดลง 4% เป็นผลจากราคาผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้น 2%
ขณะที่ปริมาณขายรวมลดลง 6% โดยปริมาณขายของไตรมาส 4/2556 อยู่ที่ 17.82 ล้านบาร์เรล หรือ 194 พันบาร์เรลต่อวัน สาเหตุหลักจากบริษัทฯ หยุดซ่อมบำรุงโรงงานตามแผนเป็นเวลา 14-23 วัน ตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม 57 โดยบริษัทมีกำไรขั้นต้นจากการผลิตตามราคาตลาด (Market GIM) สำหรับไตรมาสแรกปีนี้ 7.81 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เทียบกับไตรมาส 1 ปี 56 ที่ 7.40 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.41 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล จากปัจจัยหลักๆ คือราคาตลาดที่อิงตามตลาดโลกลดลงทำให้ GIM ลดลง 0.99 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล การใช้น้ำมันดิบในประเทศเพิ่มขึ้น 14% ของปริมาณการกลั่นทั้งหมด เพราะการใช้น้ำมันในประเทศเพิ่มขึ้น และผลตอบแทนจากโครงการลงทุน และปรับปรุงประสิทธิภาพ ทำให้ GIM เพิ่มขึ้น และจากการบริหารความเสี่ยงทำให้ไตรมาสนี้มีกำไรจาก Oil Hedging 580 ล้านบาท (1.14 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล) และราคาน้ำมันที่ลดลงทำให้มีขาดทุนจากสต๊อกน้ำมัน 207 ล้านบาท (0.41
เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล) และค่าเผื่อการลดลงของสินค้าคงเหลือ (LCM) 21 ล้านบาท (0.04 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล) ทำให้บริษัทฯ มีกำไรขั้นต้นจากการผลิตทางบัญชี (Accounting GIM) รวม 8.50 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 1 ปี 56 เพราะไตรมาสแรกปี 56 ขาดทุนจากสต๊อกน้ำมั ขณะที่มีกำไรจาก OilHedging 312 ล้านบาท
นอกจากนี้ ไตรมาสนี้ยังมีต้นทุนทางการเงินลดลง เนื่องจากมีกำไรจากสัญญาแลกเปลี่ยนสกุลเงินต้น และอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 63 ล้านบาท ดอกเบี้ยจ่ายลดลง 30 ล้านบาท แถมมีกำไรจากเงินลงทุนส่วนใหญ่เป็นส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมเพิ่มขึ้น