ธ.ก.ส.หวั่นงบปี 58 ล่าช้าทำสภาพคล่องสะดุด เหตุตั้งของบชดเชยโครงการเก่าๆ ไปกว่า 1.8 แสนล้าน เชื่อถูกตัดเหลือครึ่งเดียว เหตุงบประมาณมีจำกัด ชี้รัฐบาลเน้นจ่ายหนี้เงินกู้ก่อน
นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ในปีงบประมาณ 2558 ที่จะถึงนี้ ธ.ก.ส.ได้ประสานงานไปยังกระทรวงการคลัง และสำนักงบประมาณเพื่อขอรับการจัดสรรงบเพื่อชำระหนี้คืน และจ่ายชดเชยส่วนต่างจากการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลในระยะที่ผ่านมา จำนวนทั้งสิ้น 1.8 แสนล้านบาท เพื่อนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการบริหารสภาพคล่องในปีบัญชี 2557 ซึ่งการจัดสรรก็ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.)
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้งบประมาณปี 2558 ยังไม่ได้เริ่มดำนินการจัดทำเพราะเป็นช่วงของรัฐบาลรักษาการ และอาจจะนำมาใช้ล่าช้าประมาณไตรมาส 2 ของปีงบประมาณ ทำให้ ธ.ก.ส.ต้องบริหารสภาพคล่องที่มีอยู่ให้เพียงพอต่อการดำเนินงานในระยะนี้ไปก่อนจะได้รับงบเข้ามา ซึ่งมองว่าไม่น่าจะได้รับผลกระทบมากนัก เพราะธนาคารยังมีสภาพคล่องอยู่กว่า 2 แสนล้านบาท และหากมีความจำเป็นก็สามารถระดมทุนเข้ามาเพิ่มเติมได้ทั้งการออกเงินฝาก และสลากออมทรัพย์ใหม่ๆ
“จากวงเงินที่ขอตั้งงบประมาณไปนั้นเป็นตัวเลขสูงสุดที่ ธ.ก.ส.สามารถขอไปได้ โดยเป็นการรวมเงินชดเชยหลายรายการที่รัฐบาลยังค้างจ่ายทั้งโครงการจำนำสินค้าเกษตรในอดีต โครงการจำนำข้าวก่อนปี 2554 และหลังปี 2554 รวมทั้งโครงการประกันราคา ทำใหมียอดรวมสูงถึง 1.8 แสนล้านบาท ซึ่งตัวเลขขาดทุนจากการจำนำข้าวนั้นหักจากมูลค่าสินค้าคงเหลือตามการปิดบัญชีล่าสุดแล้ว แต่ที่ผ่านมา ธ.ก.ส.ไม่เคยได้งบเต็มวงเงินที่ขอไป อย่างปีก่อนขอไป 1.6 แสนล้านบาท ก็ได้รับมาเพียง 8 หมื่นกว่าล้านบาท หรือ 50% ซึ่งถือว่ามากกว่าปีก่อนๆ ที่ได้เพียง 30% ของวงเงินที่ขอไป ปีนี้ก็น่าจะได้ใกล้เคียงกัน หรือประมาณแสนล้านบาทขึ้นอยู่กับว่ารัฐบาลมีโครงการอื่นๆ ที่มีความสำคัญในการจัดสรรวงเงินกว่าหรือไม่ อีกทั้งงบประมาณคงเพิ่มได้ค่อนข้างจำกัดและในจำนวนนี้ประมาณ 85% นำมาใช้ในโครงการจำนำข้าว”
นายลักษณ์ กล่าวและว่า ในสิ้นเดือน พ.ค.นี้ คณะกรรการปิดบัญชีจะมีการพิจารณาตัวเลขสินค้าคงเหลือ หรือข้าวในโกดังอีกครั้งหากมีปริมาณข้าวเข้ามาเพิ่ม 2 ล้านกว่าตันที่เคยหายไปก็จะทำให้มีรายได้เข้ามาเพิ่ม ยอดเงินต้องจ่ายชดเชยผลขาดทุนก็จะลดลงตามไปด้วย
นายลักษณ์ กล่าวอีกว่า หากรัฐบาลไม่สามารถจัดสรรวงเงินชำระคืนได้ตามที่ขอไปก็คงต้องมาพิจารณาว่าจะขยายระยะเวลาการชำระหนี้คืน ธ.ก.ส.ออกไปหรือไม่จากที่ขณะนี้เหลือระยะเวลาอีก 4 ปี จากที่กำหนดไว้ 5 ปี ก่อนหน้านี้ที่กระทรวงการคลัง และรัฐบาลกำหนดจะชำระหนี้คืน ธ.ก.ส.ให้ได้ทั้งหมด ซึ่งการจัดสรรงบประมาณนั้นสำนักงบฯ และรัฐบาลคงต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ โดยเฉพาะงบเพื่อการชำระหนี้เงินกู้ ต้องดูแลจัดสรรไว้เต็มจำนวนไม่ให้มีความผิดพลาดเกิดขึ้น ทำให้งบส่วนอื่นๆ จึงอาจถูกตัดทอนลง อย่างไรก็ตาม ระหว่างที่งบปี 58 ยังไม่มีผลบังคับใช้นั้นหากมีหนี้ที่ครบกำหนดชำระทางสำนักบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ก็ต้องดูแลบริหารจัดการไปก่อนตามกระบวนการที่สามารถทำได้
นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ในปีงบประมาณ 2558 ที่จะถึงนี้ ธ.ก.ส.ได้ประสานงานไปยังกระทรวงการคลัง และสำนักงบประมาณเพื่อขอรับการจัดสรรงบเพื่อชำระหนี้คืน และจ่ายชดเชยส่วนต่างจากการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลในระยะที่ผ่านมา จำนวนทั้งสิ้น 1.8 แสนล้านบาท เพื่อนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการบริหารสภาพคล่องในปีบัญชี 2557 ซึ่งการจัดสรรก็ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.)
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้งบประมาณปี 2558 ยังไม่ได้เริ่มดำนินการจัดทำเพราะเป็นช่วงของรัฐบาลรักษาการ และอาจจะนำมาใช้ล่าช้าประมาณไตรมาส 2 ของปีงบประมาณ ทำให้ ธ.ก.ส.ต้องบริหารสภาพคล่องที่มีอยู่ให้เพียงพอต่อการดำเนินงานในระยะนี้ไปก่อนจะได้รับงบเข้ามา ซึ่งมองว่าไม่น่าจะได้รับผลกระทบมากนัก เพราะธนาคารยังมีสภาพคล่องอยู่กว่า 2 แสนล้านบาท และหากมีความจำเป็นก็สามารถระดมทุนเข้ามาเพิ่มเติมได้ทั้งการออกเงินฝาก และสลากออมทรัพย์ใหม่ๆ
“จากวงเงินที่ขอตั้งงบประมาณไปนั้นเป็นตัวเลขสูงสุดที่ ธ.ก.ส.สามารถขอไปได้ โดยเป็นการรวมเงินชดเชยหลายรายการที่รัฐบาลยังค้างจ่ายทั้งโครงการจำนำสินค้าเกษตรในอดีต โครงการจำนำข้าวก่อนปี 2554 และหลังปี 2554 รวมทั้งโครงการประกันราคา ทำใหมียอดรวมสูงถึง 1.8 แสนล้านบาท ซึ่งตัวเลขขาดทุนจากการจำนำข้าวนั้นหักจากมูลค่าสินค้าคงเหลือตามการปิดบัญชีล่าสุดแล้ว แต่ที่ผ่านมา ธ.ก.ส.ไม่เคยได้งบเต็มวงเงินที่ขอไป อย่างปีก่อนขอไป 1.6 แสนล้านบาท ก็ได้รับมาเพียง 8 หมื่นกว่าล้านบาท หรือ 50% ซึ่งถือว่ามากกว่าปีก่อนๆ ที่ได้เพียง 30% ของวงเงินที่ขอไป ปีนี้ก็น่าจะได้ใกล้เคียงกัน หรือประมาณแสนล้านบาทขึ้นอยู่กับว่ารัฐบาลมีโครงการอื่นๆ ที่มีความสำคัญในการจัดสรรวงเงินกว่าหรือไม่ อีกทั้งงบประมาณคงเพิ่มได้ค่อนข้างจำกัดและในจำนวนนี้ประมาณ 85% นำมาใช้ในโครงการจำนำข้าว”
นายลักษณ์ กล่าวและว่า ในสิ้นเดือน พ.ค.นี้ คณะกรรการปิดบัญชีจะมีการพิจารณาตัวเลขสินค้าคงเหลือ หรือข้าวในโกดังอีกครั้งหากมีปริมาณข้าวเข้ามาเพิ่ม 2 ล้านกว่าตันที่เคยหายไปก็จะทำให้มีรายได้เข้ามาเพิ่ม ยอดเงินต้องจ่ายชดเชยผลขาดทุนก็จะลดลงตามไปด้วย
นายลักษณ์ กล่าวอีกว่า หากรัฐบาลไม่สามารถจัดสรรวงเงินชำระคืนได้ตามที่ขอไปก็คงต้องมาพิจารณาว่าจะขยายระยะเวลาการชำระหนี้คืน ธ.ก.ส.ออกไปหรือไม่จากที่ขณะนี้เหลือระยะเวลาอีก 4 ปี จากที่กำหนดไว้ 5 ปี ก่อนหน้านี้ที่กระทรวงการคลัง และรัฐบาลกำหนดจะชำระหนี้คืน ธ.ก.ส.ให้ได้ทั้งหมด ซึ่งการจัดสรรงบประมาณนั้นสำนักงบฯ และรัฐบาลคงต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ โดยเฉพาะงบเพื่อการชำระหนี้เงินกู้ ต้องดูแลจัดสรรไว้เต็มจำนวนไม่ให้มีความผิดพลาดเกิดขึ้น ทำให้งบส่วนอื่นๆ จึงอาจถูกตัดทอนลง อย่างไรก็ตาม ระหว่างที่งบปี 58 ยังไม่มีผลบังคับใช้นั้นหากมีหนี้ที่ครบกำหนดชำระทางสำนักบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ก็ต้องดูแลบริหารจัดการไปก่อนตามกระบวนการที่สามารถทำได้