“เจซีอาร์” สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือญี่ปุ่นปรับลดแนวโน้มความน่าเชื่อถือของไทย จากที่มีเสถียรภาพมาเป็นลบ เหตุปัญหาการเมืองยืดเยื้อเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวในอนาคต
น.ส.จุฬารัตน์ สุธีธร ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ เปิดเผยว่า ขณะนี้ เจแปน เครดิต เรตติ้ง เอเจนซี (เจซีอาร์) สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (เครดิต) ประเทศญี่ปุ่น ได้ปรับลดแนวโน้มความน่าเชื่อถือของไทยจากที่มีเสถียรภาพมาเป็นลบ เนื่องจากความวุ่นวายทางการเมืองที่ยืดเยื้อเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในอนาคต และหากวิกฤตการณ์ยังคงยืดเยื้อต่อไปในภาวะที่ดุลบัญชีเดินสะพัดยังคงติดลบ อาจทำให้เกิดการไหลออกของเงินทุนต่างประเทศ ที่มีผลจากธนาคารกลางสหรัฐฯ ลดปริมาณการซื้อสินทรัพย์ลง และส่งผลให้ดุลการชำระเงินขาดดุล ทำให้สถานะสภาพคล่องที่เป็นเงินตราต่างประเทศอ่อนแอลง รวมทั้งนโยบายทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในอนาคตจะล่าช้าออกไป
ทั้งนี้ เจซีอาร์ ยังคงเครดิตตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินต่างประเทศ ที่ระดับเอลบ และอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินบาท ที่ระดับเอ แต่หลังจากนี้ เจซีอาร์ จะเฝ้าติดตามพัฒนาการในอนาคตของสถานการณ์ทางการเมือง รวมทั้งผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อระบบเศรษฐกิจ และจะดำเนินการเกี่ยวกับอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทยตามความเหมาะสมและจำเป็นต่อไป หากข้อกังวลดังกล่าวกลายเป็นจริง
“ปัจจุบันเศรษฐกิจไทยได้เผชิญกับความวุ่นวายทางการเมืองที่ยืดเยื้อ โดยได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ทางการเมืองในไตรมาสที่ 4 ปี 56 หลังจากที่ชะลอตัวลงเนื่องจากการหดตัวของอุปสงค์ทั้งภายใน และภายนอกประเทศ จนทำให้อัตราการเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่แท้จริงลดลงอย่างเห็นได้ชัดอยู่ที่ 0.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และส่งผลให้อัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจชะลอตัวลงมาอยู่ที่ 2.9% แต่ภาพรวมของสถานะทางการคลัง ระบบธนาคารที่มีเสถียรภาพ และดุลภาคต่างประเทศที่เข้มแข็งโดยเปรียบเทียบ ทำให้ประเทศไทยแทบไม่มีโอกาสที่จะก้าวเข้าสู่วิกฤตการณ์ทางการเงิน หรือวิกฤตการณ์สภาพคล่องที่เป็นเงินตราต่างประเทศ”
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นยังไม่มีความชัดเจนว่าวิกฤตการณ์ทางการเมืองจะได้รับการแก้ไขอย่างไร เพราะความไม่สงบทางการเมือง และสังคมในประเทศไทยเกิดจากปัญหาที่หยั่งรากลึก และซับซ้อนที่บางส่วนเป็นผลมาจากความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจระหว่างภูมิภาค และระหว่างชนบทกับเขตเมือง ที่เป็นผลพวงจากการพัฒนาเศรษฐกิจ และการช่วงชิงระหว่างกลุ่มอำนาจเกิดใหม่ที่มี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นศูนย์กลาง และกลุ่มอำนาจเก่า ซึ่งเป็นไปได้ยากที่จะหาวิธีแก้ไขปัญหาดังกล่าว
น.ส.จุฬารัตน์ สุธีธร ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ เปิดเผยว่า ขณะนี้ เจแปน เครดิต เรตติ้ง เอเจนซี (เจซีอาร์) สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (เครดิต) ประเทศญี่ปุ่น ได้ปรับลดแนวโน้มความน่าเชื่อถือของไทยจากที่มีเสถียรภาพมาเป็นลบ เนื่องจากความวุ่นวายทางการเมืองที่ยืดเยื้อเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในอนาคต และหากวิกฤตการณ์ยังคงยืดเยื้อต่อไปในภาวะที่ดุลบัญชีเดินสะพัดยังคงติดลบ อาจทำให้เกิดการไหลออกของเงินทุนต่างประเทศ ที่มีผลจากธนาคารกลางสหรัฐฯ ลดปริมาณการซื้อสินทรัพย์ลง และส่งผลให้ดุลการชำระเงินขาดดุล ทำให้สถานะสภาพคล่องที่เป็นเงินตราต่างประเทศอ่อนแอลง รวมทั้งนโยบายทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในอนาคตจะล่าช้าออกไป
ทั้งนี้ เจซีอาร์ ยังคงเครดิตตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินต่างประเทศ ที่ระดับเอลบ และอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินบาท ที่ระดับเอ แต่หลังจากนี้ เจซีอาร์ จะเฝ้าติดตามพัฒนาการในอนาคตของสถานการณ์ทางการเมือง รวมทั้งผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อระบบเศรษฐกิจ และจะดำเนินการเกี่ยวกับอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทยตามความเหมาะสมและจำเป็นต่อไป หากข้อกังวลดังกล่าวกลายเป็นจริง
“ปัจจุบันเศรษฐกิจไทยได้เผชิญกับความวุ่นวายทางการเมืองที่ยืดเยื้อ โดยได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ทางการเมืองในไตรมาสที่ 4 ปี 56 หลังจากที่ชะลอตัวลงเนื่องจากการหดตัวของอุปสงค์ทั้งภายใน และภายนอกประเทศ จนทำให้อัตราการเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่แท้จริงลดลงอย่างเห็นได้ชัดอยู่ที่ 0.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และส่งผลให้อัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจชะลอตัวลงมาอยู่ที่ 2.9% แต่ภาพรวมของสถานะทางการคลัง ระบบธนาคารที่มีเสถียรภาพ และดุลภาคต่างประเทศที่เข้มแข็งโดยเปรียบเทียบ ทำให้ประเทศไทยแทบไม่มีโอกาสที่จะก้าวเข้าสู่วิกฤตการณ์ทางการเงิน หรือวิกฤตการณ์สภาพคล่องที่เป็นเงินตราต่างประเทศ”
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นยังไม่มีความชัดเจนว่าวิกฤตการณ์ทางการเมืองจะได้รับการแก้ไขอย่างไร เพราะความไม่สงบทางการเมือง และสังคมในประเทศไทยเกิดจากปัญหาที่หยั่งรากลึก และซับซ้อนที่บางส่วนเป็นผลมาจากความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจระหว่างภูมิภาค และระหว่างชนบทกับเขตเมือง ที่เป็นผลพวงจากการพัฒนาเศรษฐกิจ และการช่วงชิงระหว่างกลุ่มอำนาจเกิดใหม่ที่มี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นศูนย์กลาง และกลุ่มอำนาจเก่า ซึ่งเป็นไปได้ยากที่จะหาวิธีแก้ไขปัญหาดังกล่าว