สัปดาห์นี้การเมืองยังกดดันหุ้นไทยผันผวนต่อ คาดสถานการณ์ยังตึงเครียดจนถึงวันเลือกตั้งล่วงหน้า แนะจับตา กนง.ประชุม 22 ม.ค.นี้ อาจมีการปรับลดดอกเบี้ย โบรกฯ แนะนำลงทุนแบบวันต่อวัน หากดัชนีปรับขึ้นใกล้ 1,300 จุด ควรทำกำไร ชี้หุ้นอสังหาฯ-ลีสซิ่งจะได้ประโยชน์หากมีการปรับลดดอกเบี้ย เช่นเดียวกับหุ้นปันผลสูงที่ใกล้ฤดูกาลจ่ายเงินปันผล และควรถือเงินสด 70% ของพอร์ต
ผ่านมาครึ่งเดือนแรกมกราคม 2557 สิ่งหนึ่งที่สังเกตได้คือ การกลับเข้ามาซื้อสะสมของนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งตั้งแต่วันที่ 1-17 ม.ค. ซื้อสะสม 919.19 ล้านบาท เป็นไปในรูปแบบแรงซื้อที่ค่อนข้างเบาบาง เมื่อเทียบกับการขายสะสมออกไปกว่า 1.9 แสนล้านบาทเมื่อปีที่ผ่านมา
ภาพรวมปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเคลื่อนไหวของดัชนีหุ้นไทยผันผวนมากในช่วงที่ผ่านมา สาเหตุใหญ่มาจากสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศระหว่างรัฐบาลรักษาการ และกลุ่มคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ซึ่งมีท่าที่ว่าทั้ง 2 ฝ่ายจะข้อยุติระหว่างกันลงได้
ทำให้ทิศทางตลาดหุ้นไทยในสัปดาห์นี้ นักวิเคราะห์ยังเชื่อว่าปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองยังคงกดดันตลาดหุ้นไทยอยู่ โดยมองแนวรับที่ 1,280 จุด และแนวต้านที่ 1,310 จุด ซึ่งกลยุทธ์การลงทุนแนะนำถือเงินสด 70% เน้นเก็งกำไรระยะสั้นเมื่อดัชนีเข้าใกล้ 1,300 จุด และรอดูสัญญาณการเข้าซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติ ส่วนหุ้นกลุ่มที่น่าลงทุน คือ กลุ่มส่งออกที่จะได้รับประโยชน์จากการอ่อนค่าของเงินบาท หลังจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) มีโอกาสปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
น.ส.ธีรดา ชาญยิ่งยงค์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย) กล่าวว่า ช่วงปลายสัปดาห์นักลงทุนขายออกมาจากเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้น และเพื่อลดความเสี่ยงของสถานการณ์ในช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ทำให้แนวโน้มการลงทุนในสัปดาห์นี้ตลาดยังมีความผันผวนไปตามสถานการณ์ทางการเมืองต่อไป หากมีการดีดตัวขึ้นคงจะยังอยู่ในกรอบที่ค่อนข้างจำกัด แต่ยังมีปัจจัยระยะสั้นที่อาจจะทำให้เกิดการเก็งกำไรเข้ามาบ้าง คือ การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ช่วงกลางสัปดาห์ และการประกาศผลประกอบการของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ พร้อมให้แนวรับ 1,240 จุด และแนวต้าน 1,350 จุด
เช่นเดียวกับ นายประกิต สิริวัฒนเกตุ ผู้จัดการฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แนวโน้มการลงทุนในสัปดาห์นี้เชื่อว่าจะยังปรับลดลงต่อแต่ไม่มาก หลังสถานการณ์การเมืองในปัจจุบันถือว่ายังอยู่ในระดับแย่มาก และนักลงทุนต่างชาติยังไม่กลับเข้าซื้อ โดยให้แนวรับที่ 1,260-1,270 จุด
ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่าแนวโน้มสัปดาห์นี้ (20-24 ม.ค.2557) คาดว่าเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 32.65-33.10 บาทต่อดอลลาร์ โดยต้องจับตาปัจจัยการเมืองในประเทศ และสัญญาณอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากผลการประชุม กนง. ที่จะมีขึ้นในวันที่ 22 ม.ค.นี้. รวมถึงดัชนี PMI ภาคการผลิตของหลายๆ ประเทศ (เบื้องต้น) เดือน ม.ค.2557 ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ ยอดขายบ้านมือสองเดือน ธ.ค.2556 และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ นอกจากนี้ อีกทั้งนักลงทุนยังน่าจะติดตามข้อมูลจีดีพีและข้อมูลเศรษฐกิจอื่นๆ ของจีน ในช่วงต้นสัปดาห์ด้วยเช่นกัน แต่ตลาดการเงินสหรัฐฯ จะปิดทำการในวันจันทร์ เนื่องในวันมาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์
ทั้งนี้ ในภาพรวมนักวิเคราะห์แนะนำนักลงทุนให้เพิ่มความระมัดระวังการลงทุนสูงขึ้น หลังต่างชาติพลิกมาขายสุทธิวันละมากกว่า 1,000 ล้านบาท 3 วันติดต่อกันแล้ว โดยหลายฝ่ายเชื่อว่าเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองน่าจะเข้มข้นขึ้นอีกก่อนวันเลือกตั้งล่วงหน้า 26 ม.ค. เพราะฉะนั้นหากดัชนีปรับตัวขึ้นเหนือ 1,300 จุด แนะนำให้ขายทำกำไร ส่วนการเทรดดิ้งสั้นเน้นจบในวัน ซึ่งประเมินว่าจะมีหุ้นที่ได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยลดลง (คาด กนง.ลดดบ.0.25% เป็น 2.00% ในการประชุม 22 ม.ค.นี้) ได้แก่ 1.หุ้นอสังหาริมทรัพย์ LH, QH, SPALI 2.หุ้นลีสซิ่ง ASK และ 3.หุ้นปันผล TICON, PYLON, DELTA, KTB, SRICHA, MCOT, ASP, KGI, AI, PAP โดยหุ้นทั้งหมดดังกล่าวล้วนมีการจ่ายเงินปันผล ซึ่งเป็นประเด็นที่มีความสอดคล้องกับช่วงฤดูกาลทยอยประกาศงบ และจ่ายเงินปันผลประจำปีในช่วง 1-2 เดือนข้างหน้านี้ด้วย
ผ่านมาครึ่งเดือนแรกมกราคม 2557 สิ่งหนึ่งที่สังเกตได้คือ การกลับเข้ามาซื้อสะสมของนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งตั้งแต่วันที่ 1-17 ม.ค. ซื้อสะสม 919.19 ล้านบาท เป็นไปในรูปแบบแรงซื้อที่ค่อนข้างเบาบาง เมื่อเทียบกับการขายสะสมออกไปกว่า 1.9 แสนล้านบาทเมื่อปีที่ผ่านมา
ภาพรวมปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเคลื่อนไหวของดัชนีหุ้นไทยผันผวนมากในช่วงที่ผ่านมา สาเหตุใหญ่มาจากสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศระหว่างรัฐบาลรักษาการ และกลุ่มคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ซึ่งมีท่าที่ว่าทั้ง 2 ฝ่ายจะข้อยุติระหว่างกันลงได้
ทำให้ทิศทางตลาดหุ้นไทยในสัปดาห์นี้ นักวิเคราะห์ยังเชื่อว่าปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองยังคงกดดันตลาดหุ้นไทยอยู่ โดยมองแนวรับที่ 1,280 จุด และแนวต้านที่ 1,310 จุด ซึ่งกลยุทธ์การลงทุนแนะนำถือเงินสด 70% เน้นเก็งกำไรระยะสั้นเมื่อดัชนีเข้าใกล้ 1,300 จุด และรอดูสัญญาณการเข้าซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติ ส่วนหุ้นกลุ่มที่น่าลงทุน คือ กลุ่มส่งออกที่จะได้รับประโยชน์จากการอ่อนค่าของเงินบาท หลังจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) มีโอกาสปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
น.ส.ธีรดา ชาญยิ่งยงค์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย) กล่าวว่า ช่วงปลายสัปดาห์นักลงทุนขายออกมาจากเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้น และเพื่อลดความเสี่ยงของสถานการณ์ในช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ทำให้แนวโน้มการลงทุนในสัปดาห์นี้ตลาดยังมีความผันผวนไปตามสถานการณ์ทางการเมืองต่อไป หากมีการดีดตัวขึ้นคงจะยังอยู่ในกรอบที่ค่อนข้างจำกัด แต่ยังมีปัจจัยระยะสั้นที่อาจจะทำให้เกิดการเก็งกำไรเข้ามาบ้าง คือ การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ช่วงกลางสัปดาห์ และการประกาศผลประกอบการของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ พร้อมให้แนวรับ 1,240 จุด และแนวต้าน 1,350 จุด
เช่นเดียวกับ นายประกิต สิริวัฒนเกตุ ผู้จัดการฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แนวโน้มการลงทุนในสัปดาห์นี้เชื่อว่าจะยังปรับลดลงต่อแต่ไม่มาก หลังสถานการณ์การเมืองในปัจจุบันถือว่ายังอยู่ในระดับแย่มาก และนักลงทุนต่างชาติยังไม่กลับเข้าซื้อ โดยให้แนวรับที่ 1,260-1,270 จุด
ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่าแนวโน้มสัปดาห์นี้ (20-24 ม.ค.2557) คาดว่าเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 32.65-33.10 บาทต่อดอลลาร์ โดยต้องจับตาปัจจัยการเมืองในประเทศ และสัญญาณอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากผลการประชุม กนง. ที่จะมีขึ้นในวันที่ 22 ม.ค.นี้. รวมถึงดัชนี PMI ภาคการผลิตของหลายๆ ประเทศ (เบื้องต้น) เดือน ม.ค.2557 ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ ยอดขายบ้านมือสองเดือน ธ.ค.2556 และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ นอกจากนี้ อีกทั้งนักลงทุนยังน่าจะติดตามข้อมูลจีดีพีและข้อมูลเศรษฐกิจอื่นๆ ของจีน ในช่วงต้นสัปดาห์ด้วยเช่นกัน แต่ตลาดการเงินสหรัฐฯ จะปิดทำการในวันจันทร์ เนื่องในวันมาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์
ทั้งนี้ ในภาพรวมนักวิเคราะห์แนะนำนักลงทุนให้เพิ่มความระมัดระวังการลงทุนสูงขึ้น หลังต่างชาติพลิกมาขายสุทธิวันละมากกว่า 1,000 ล้านบาท 3 วันติดต่อกันแล้ว โดยหลายฝ่ายเชื่อว่าเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองน่าจะเข้มข้นขึ้นอีกก่อนวันเลือกตั้งล่วงหน้า 26 ม.ค. เพราะฉะนั้นหากดัชนีปรับตัวขึ้นเหนือ 1,300 จุด แนะนำให้ขายทำกำไร ส่วนการเทรดดิ้งสั้นเน้นจบในวัน ซึ่งประเมินว่าจะมีหุ้นที่ได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยลดลง (คาด กนง.ลดดบ.0.25% เป็น 2.00% ในการประชุม 22 ม.ค.นี้) ได้แก่ 1.หุ้นอสังหาริมทรัพย์ LH, QH, SPALI 2.หุ้นลีสซิ่ง ASK และ 3.หุ้นปันผล TICON, PYLON, DELTA, KTB, SRICHA, MCOT, ASP, KGI, AI, PAP โดยหุ้นทั้งหมดดังกล่าวล้วนมีการจ่ายเงินปันผล ซึ่งเป็นประเด็นที่มีความสอดคล้องกับช่วงฤดูกาลทยอยประกาศงบ และจ่ายเงินปันผลประจำปีในช่วง 1-2 เดือนข้างหน้านี้ด้วย