“อิออน” ชี้การเมืองเป็นความเสี่ยง กระทบการใช้จ่ายไตรมาส 4 พร้อมประเมินผลงานตลอดทั้งปี 56 แนวโน้มกำไรโตดีกว่าที่คาดการณ์ เนื่องจากได้อัดโปรโมชันกระตุ้นยอดใช้จ่าย
น.ส.สุพรรณี อัศวสุวรรณ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) หรือ AEONTS บอกว่า สถานการณ์ปัจจุบันยังไม่กระทบต่อการใช้จ่าย หรือการจ่ายหนี้ของลูกค้า เพราะการชุมนุมไม่ได้อยู่ในจุดที่เป็นแหล่งการจับจ่ายใช้สอย
การจ่ายบิลของลูกค้ายังอยู่ในระดับปกติ แม้สัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) จะเพิ่มขึ้นมาอยู่ระดับ 3.5% แต่ยังไม่ใช่ระดับที่อันตราย เพราะส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากบริษัทได้ตั้งสำรองเผื่อหลังมีเหตุการณ์น้ำท่วมในหลายจังหวัด และบริษัทยังมีการเพิ่มทีมเพื่อรองรับกับจำนวนลูกค้าที่เพิ่มขึ้นในอัตรา 1% ของทุกเดือน โดยบริษัทตั้งเป้าจะบริหารให้เอ็นพีแอลอยู่ในระดับไม่เกิน 3%
“กำลังซื้อยังมีอยู่ อาจจะมีบ้างที่กลุ่มลูกค้าต่างจังหวัดในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าจะชะลอตัว แต่จำนวนลูกค้าของบริษัทก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ทั้งปีมองว่าผลการดำเนินงานจะเติบโตดีกว่าที่คาด โดยในส่วนของรายได้ และจำนวนลูกค้าจะเติบโตกว่า 10%”
ช่วงครึ่งแรกของปีนี้ มีกำไรสุทธิ 1.25 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 91% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เพราะปี 2555 บริษัทตั้งสำรองสำหรับเหตุการณ์น้ำท่วมในปี 2554 จำนวนมาก ส่วนแนวโน้มครึ่งปีหลังคาดกำไรอยู่ในระดับใกล้เคียงครึ่งปีแรก ทำให้แนวโน้มกำไรปีนี้ที่สิ้นสุดเดือน ก.พ.2557 จะมีกำไรมากกว่า 2 พันล้านบาท
บริษัทยังคงมีแผนขยายการลงทุนในอาเซียนต่อเนื่อง โดยทางบริษัทแม่ให้อิออนไทยรับผิดชอบการทำธุรกิจในกลุ่มซีแอลเอ็มวี (CLMV) คือ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม ซึ่งบริษัทมีการลงทุนครบทุกประเทศในกลุ่มนี้แล้ว แต่มีแผนลงทุนเพิ่มในกัมพูชาปีนี้ เพราะมีศักยภาพเติบโตได้อีกมาก จากปัจจุบันธุรกิจเช่าซื้อในกัมพูชาเติบโตกว่า 100%
“ธุรกิจของบริษัทในกัมพูชาเติบโตสูงมาก และหากห้างอิออนในกลางกรุงพนมเปญแล้วเสร็จในกลางปีหน้า ยิ่งทำให้มีโอกาสในการขยายตลาดการให้สินเชื่อต่างๆ ได้มากขึ้น ขณะที่กัมพูชายังไม่มีหน่วยงานกำกับทางด้านนี้ และในอนาคตบริษัทอาจจะขยายตลาดทำธุรกิจบัตรเครดิตด้วย”
แม้ปัจจุบันสัดส่วนรายได้การลงทุนในอาเซียนจะยังไม่สูง โดยรายได้ส่วนใหญ่ยังมาจากรายได้ในประเทศกว่า 95% เพราะอยู่ในช่วงเริ่มต้นธุรกิจต้องใช้เวลากว่าจะคืนทุน แต่ในอนาคตในช่วง 5-10 ปีข้างหน้า รายได้จากกลุ่มอาเซียน หรือซีแอลเอ็มวีน่าจะเติบโตไม่ต่ำกว่า 10% โดยเวียดนามเริ่มลงทุนปี 2551 ปัจจุบัน มีสาขาของอิออนแล้ว 4 แห่ง เริ่มรับรู้รายได้ปีที่ผ่านมา กัมพูชาเริ่มลงทุน ต.ค.2555 รับรู้รายได้ เม.ย.2556 ส่วนพม่าตั้งบริษัท พ.ย.2555 เริ่มบริหารสินเชื่อ มิ.ย.2556 และลาว เพิ่งตั้งบริษัทเมื่อ ม.ค.2556
น.ส.สุพรรณี อัศวสุวรรณ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) หรือ AEONTS บอกว่า สถานการณ์ปัจจุบันยังไม่กระทบต่อการใช้จ่าย หรือการจ่ายหนี้ของลูกค้า เพราะการชุมนุมไม่ได้อยู่ในจุดที่เป็นแหล่งการจับจ่ายใช้สอย
การจ่ายบิลของลูกค้ายังอยู่ในระดับปกติ แม้สัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) จะเพิ่มขึ้นมาอยู่ระดับ 3.5% แต่ยังไม่ใช่ระดับที่อันตราย เพราะส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากบริษัทได้ตั้งสำรองเผื่อหลังมีเหตุการณ์น้ำท่วมในหลายจังหวัด และบริษัทยังมีการเพิ่มทีมเพื่อรองรับกับจำนวนลูกค้าที่เพิ่มขึ้นในอัตรา 1% ของทุกเดือน โดยบริษัทตั้งเป้าจะบริหารให้เอ็นพีแอลอยู่ในระดับไม่เกิน 3%
“กำลังซื้อยังมีอยู่ อาจจะมีบ้างที่กลุ่มลูกค้าต่างจังหวัดในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าจะชะลอตัว แต่จำนวนลูกค้าของบริษัทก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ทั้งปีมองว่าผลการดำเนินงานจะเติบโตดีกว่าที่คาด โดยในส่วนของรายได้ และจำนวนลูกค้าจะเติบโตกว่า 10%”
ช่วงครึ่งแรกของปีนี้ มีกำไรสุทธิ 1.25 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 91% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เพราะปี 2555 บริษัทตั้งสำรองสำหรับเหตุการณ์น้ำท่วมในปี 2554 จำนวนมาก ส่วนแนวโน้มครึ่งปีหลังคาดกำไรอยู่ในระดับใกล้เคียงครึ่งปีแรก ทำให้แนวโน้มกำไรปีนี้ที่สิ้นสุดเดือน ก.พ.2557 จะมีกำไรมากกว่า 2 พันล้านบาท
บริษัทยังคงมีแผนขยายการลงทุนในอาเซียนต่อเนื่อง โดยทางบริษัทแม่ให้อิออนไทยรับผิดชอบการทำธุรกิจในกลุ่มซีแอลเอ็มวี (CLMV) คือ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม ซึ่งบริษัทมีการลงทุนครบทุกประเทศในกลุ่มนี้แล้ว แต่มีแผนลงทุนเพิ่มในกัมพูชาปีนี้ เพราะมีศักยภาพเติบโตได้อีกมาก จากปัจจุบันธุรกิจเช่าซื้อในกัมพูชาเติบโตกว่า 100%
“ธุรกิจของบริษัทในกัมพูชาเติบโตสูงมาก และหากห้างอิออนในกลางกรุงพนมเปญแล้วเสร็จในกลางปีหน้า ยิ่งทำให้มีโอกาสในการขยายตลาดการให้สินเชื่อต่างๆ ได้มากขึ้น ขณะที่กัมพูชายังไม่มีหน่วยงานกำกับทางด้านนี้ และในอนาคตบริษัทอาจจะขยายตลาดทำธุรกิจบัตรเครดิตด้วย”
แม้ปัจจุบันสัดส่วนรายได้การลงทุนในอาเซียนจะยังไม่สูง โดยรายได้ส่วนใหญ่ยังมาจากรายได้ในประเทศกว่า 95% เพราะอยู่ในช่วงเริ่มต้นธุรกิจต้องใช้เวลากว่าจะคืนทุน แต่ในอนาคตในช่วง 5-10 ปีข้างหน้า รายได้จากกลุ่มอาเซียน หรือซีแอลเอ็มวีน่าจะเติบโตไม่ต่ำกว่า 10% โดยเวียดนามเริ่มลงทุนปี 2551 ปัจจุบัน มีสาขาของอิออนแล้ว 4 แห่ง เริ่มรับรู้รายได้ปีที่ผ่านมา กัมพูชาเริ่มลงทุน ต.ค.2555 รับรู้รายได้ เม.ย.2556 ส่วนพม่าตั้งบริษัท พ.ย.2555 เริ่มบริหารสินเชื่อ มิ.ย.2556 และลาว เพิ่งตั้งบริษัทเมื่อ ม.ค.2556