กรมสรรพากรจะเพิ่มมูลค่าหักลดหย่อนภาษีจากรายได้สุทธิเพิ่มอีก 6 หมื่นบาทต่อปี รวมของเดิมเป็น 1.2 แสนบาท ให้สอดคล้องกับค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น คาดใช้ใบกำกับภาษีมาหักลดหย่อนเริ่มได้ในปีภาษี 2557
นางเบญจา หลุยเจริญ รมช.คลัง เปิดเผยว่า กรมสรรพากรจะแก้ไขการนำค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันมาหักจากรายได้ทั้งปี เพื่อหารายได้สุทธิคำนวณเสียภาษีเหมาจ่ายวงเงินไม่เกิน 60,000 บาทต่อปี เพราะมองว่าเป็นยอดเงินที่บังคับใช้มานานแล้ว ขณะที่ปัจจุบันค่าครองชีพสูงขึ้นต่อเนื่อง จึงต้องปรับเพิ่มค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีให้สูงขึ้นสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน เพื่อลดภาระให้แก่ประชาชนผู้เสียภาษี
โดยต้องศึกษาให้รอบคอบอีกหลายด้าน เบื้องต้น อาจให้ประชาชนนำใบเสร็จรับเงินสำหรับการใช้สินค้าอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวัน สำหรับการซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมาประกอบยื่นเสียภาษี โดยไม่ควรใช้ใบเสร็จจากห้างสรรพสินค้ารายใหญ่ เพราะต้องการช่วยเหลือเอสเอ็มอี เพื่อขยายฐานภาษี และได้ประโยชน์ทั้ง 2 ทาง ทั้งเอสเอ็มอี และประชาชน แต่ต้องศึกษาแนวทางต่างๆ ให้ชัดเจน
รวมไปถึงแนวทางการทบทวนค่าลดหย่อนในการคำนวณภาษีประเภทต่างๆ ซึ่งมีหลายประเภทในปัจจุบัน เช่น ดอกเบี้ยจากค่าผ่อนบ้าน เบี้ยประกันชีวิต เงินบริจาคเพื่อการกีฬา การศึกษา การลงทุนในกองทุนระยะยาว โดยกำหนดเป็นเพดานในแต่ละประเภท ที่ผ่านมาพบว่า ค่าลดหย่อนประเภทต่างๆ มีทั้งการใช้สิทธิ และไม่ใช้สิทธิ จึงต้องมาศึกษาดูว่าจะกำหนดเป็นเพดานรายบุคคลสำหรับค่าลดหย่อน แต่ขณะนี้มีหลายทางเลือกจึงต้องพิจารณาให้ชัดเจน
นอกจากนี้ ได้กำชับให้สรรพากรพื้นที่กลับไปดูผู้ประกอบการที่ประสบปัญหาขาดทุน เพื่อดูว่าได้เริ่มกลับมามีผลกำไรเพื่อเตรียมเสียภาษีได้เมื่อไร ไม่ใช่เห็นว่าขาดทุนแล้วปล่อยไปรอให้ได้กำไรแล้วจึงเข้าไปดู เพราะที่ผ่านมา เมื่อมีผลขาดทุนอาจใช้เวลาถึง 5 ปี เพื่อใช้สิทธิไม่เสียภาษี
นายสุทธิชัย สังขมณี อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า การปรับค่าใช้จ่ายเหมาจ่ายบังคับใช้มาก่อนจะมีภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนั้น ต่อไปจะปรับให้มีทั้ง 2 แบบในการคำนวณค่าใช้จ่าย โดยมีทั้งแบบเหมาจ่าย และใช้ใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มมาคำนวณรวมกัน แบ่งเป็นให้มีแบบเหมาจ่ายวงเงิน 60,000 บาทต่อปี สำหรับทุกคนที่เสียภาษี เพราะไปซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคในตลาดสด ร้านทั่วไปจึงไม่มีใบกำกับภาษี
โดยจะเพิ่มหักค่าใช้จ่ายอีกส่วนเข้ามา คือ นำค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการ และมีใบกำกับภาษีวงเงิน 60,000 บาทต่อปี รวมเป็นวงเงินค่าใช้จ่ายคำนวณภาษีวงเงิน 1.2 แสนล้านบาท โดยจะเริ่มปีแรกในปีภาษี 2557 จากนั้นในปีต่อไป จะทยอยลดแบบเหมาจ่าย เช่น เหลือ 40,000 บาทต่อปี เพื่อมาเพิ่มค่าใช้จ่ายจากใบกำกับภาษี เพิ่มเป็น 80,000 บาท โดยจะดูค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น สินค้าอุปโภคบริโภค ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่านำมัน เบื้องต้นต้องการสนับสนุนเอสเอ็มให้ขายสินค้าได้
นางเบญจา หลุยเจริญ รมช.คลัง เปิดเผยว่า กรมสรรพากรจะแก้ไขการนำค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันมาหักจากรายได้ทั้งปี เพื่อหารายได้สุทธิคำนวณเสียภาษีเหมาจ่ายวงเงินไม่เกิน 60,000 บาทต่อปี เพราะมองว่าเป็นยอดเงินที่บังคับใช้มานานแล้ว ขณะที่ปัจจุบันค่าครองชีพสูงขึ้นต่อเนื่อง จึงต้องปรับเพิ่มค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีให้สูงขึ้นสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน เพื่อลดภาระให้แก่ประชาชนผู้เสียภาษี
โดยต้องศึกษาให้รอบคอบอีกหลายด้าน เบื้องต้น อาจให้ประชาชนนำใบเสร็จรับเงินสำหรับการใช้สินค้าอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวัน สำหรับการซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมาประกอบยื่นเสียภาษี โดยไม่ควรใช้ใบเสร็จจากห้างสรรพสินค้ารายใหญ่ เพราะต้องการช่วยเหลือเอสเอ็มอี เพื่อขยายฐานภาษี และได้ประโยชน์ทั้ง 2 ทาง ทั้งเอสเอ็มอี และประชาชน แต่ต้องศึกษาแนวทางต่างๆ ให้ชัดเจน
รวมไปถึงแนวทางการทบทวนค่าลดหย่อนในการคำนวณภาษีประเภทต่างๆ ซึ่งมีหลายประเภทในปัจจุบัน เช่น ดอกเบี้ยจากค่าผ่อนบ้าน เบี้ยประกันชีวิต เงินบริจาคเพื่อการกีฬา การศึกษา การลงทุนในกองทุนระยะยาว โดยกำหนดเป็นเพดานในแต่ละประเภท ที่ผ่านมาพบว่า ค่าลดหย่อนประเภทต่างๆ มีทั้งการใช้สิทธิ และไม่ใช้สิทธิ จึงต้องมาศึกษาดูว่าจะกำหนดเป็นเพดานรายบุคคลสำหรับค่าลดหย่อน แต่ขณะนี้มีหลายทางเลือกจึงต้องพิจารณาให้ชัดเจน
นอกจากนี้ ได้กำชับให้สรรพากรพื้นที่กลับไปดูผู้ประกอบการที่ประสบปัญหาขาดทุน เพื่อดูว่าได้เริ่มกลับมามีผลกำไรเพื่อเตรียมเสียภาษีได้เมื่อไร ไม่ใช่เห็นว่าขาดทุนแล้วปล่อยไปรอให้ได้กำไรแล้วจึงเข้าไปดู เพราะที่ผ่านมา เมื่อมีผลขาดทุนอาจใช้เวลาถึง 5 ปี เพื่อใช้สิทธิไม่เสียภาษี
นายสุทธิชัย สังขมณี อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า การปรับค่าใช้จ่ายเหมาจ่ายบังคับใช้มาก่อนจะมีภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนั้น ต่อไปจะปรับให้มีทั้ง 2 แบบในการคำนวณค่าใช้จ่าย โดยมีทั้งแบบเหมาจ่าย และใช้ใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มมาคำนวณรวมกัน แบ่งเป็นให้มีแบบเหมาจ่ายวงเงิน 60,000 บาทต่อปี สำหรับทุกคนที่เสียภาษี เพราะไปซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคในตลาดสด ร้านทั่วไปจึงไม่มีใบกำกับภาษี
โดยจะเพิ่มหักค่าใช้จ่ายอีกส่วนเข้ามา คือ นำค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการ และมีใบกำกับภาษีวงเงิน 60,000 บาทต่อปี รวมเป็นวงเงินค่าใช้จ่ายคำนวณภาษีวงเงิน 1.2 แสนล้านบาท โดยจะเริ่มปีแรกในปีภาษี 2557 จากนั้นในปีต่อไป จะทยอยลดแบบเหมาจ่าย เช่น เหลือ 40,000 บาทต่อปี เพื่อมาเพิ่มค่าใช้จ่ายจากใบกำกับภาษี เพิ่มเป็น 80,000 บาท โดยจะดูค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น สินค้าอุปโภคบริโภค ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่านำมัน เบื้องต้นต้องการสนับสนุนเอสเอ็มให้ขายสินค้าได้