การเมืองร้อนกดดันหุ้นไทยเดือนพฤศิจกายนผันผวน คาดมีแรงเก็งกำไร บจ.ไตรมาส 3 สนับสนุนแค่ระยะสั้น ส่วนระยะยาวยังไร้ปัจจัยผลักดัน เม็ดเงินนอกยังไหลเข้ามาไทยแค่เล็กน้อย โบรกฯ แนะติดตามสถานการณ์ใกล้ชิด หลังรัฐบาลเรียกแขกเร่งผ่านวาระ พ.ร.บ.นิรโทษกรรมสุดซอย ชี้ยังมีอีกหลายคดีจ่อคิว “ยิ่งลักษณ์” เบอร์ต้นในผู้ถูกกล่าวหา จับตาไม้เด็ด “ยุบสภา” พร้อมติดตามหุ้นใหม่ MSCI รอบล่าสุด
ตลาดหุ้นไทย วันที่ 1 พ.ย.2556 ดัชนีปิดที่ระดับ 1,429.08 จุด ลดลง 13.80 จุด หรือ 0.96% มูลค่าการซื้อขาย 29,421.69 ล้านบาท ซึ่งสาเหตุหลักยังมาจากปัจจัยลบภายในประเทศ คือกระแสการคัดค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ขณะที่ภาพรวมตลาดหุ้นไทยเดือนตุลาคม 2556 ที่ผ่านมา พบว่า บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ กลายเป็นผู้ซื้อมากสุด 2,524.11 ล้านบาท ขณะที่นักลงทุนต่างประเทศ ซื้อสะสม 1,167.64 ล้านบาท ขณะเดียวกัน สถาบัน ขาย 2,325.82 ล้านบาท และนักลงทุนทั่วไปขาย 1,365.92 ล้านบาท
ส่วนในช่วง 10 เดือน ปี 2556 นักลงทุนต่างประเทศ ขายสะสมแล้ว 105,251.67 ล้านบาท และบัญชี บล.ขายสะสม 1,496.50 ล้านบาท โดยสถาบันซื้อสะสมมากสุด 81,160.63 ล้านบาท และนักลงทุนทั่วไปซื้อสะสม 25,587.54 ล้านบาท
บล.เอเซีย พลัส ระบุว่า หลังสภาฯ ได้มีมติผ่านวาระ 3 ของพ.ร.บ.นิรโทษกรรม กระบวนการต่อไปจะเป็นการส่งเรื่องเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของวุฒิสภา ซึ่งจะมีระยะเวลารวม 60 วัน หากวุฒิสภาผ่านกฎหมายดังกล่าว จะเข้าสู่ขั้นตอนการนำขึ้นทูลเกล้าฯ เตรียมประกาศใช้ แต่หากวุฒิสภามีการแก้ไขจะต้องมีการตั้งคณะกรรมาธิการร่วมของรัฐสภาเพื่อหาข้อสรุป ซึ่งยังต้องติดตามต่อ
ทั้งนี้ การเร่งปิดเกมของรัฐบาลมองว่าเป็นการเรียกแขก นับจากนี้การชุมนุมเพื่อต่อต้านนิรโทษกรรมจะขยายตัว และเข้มข้นมากขึ้น ซึ่งต้องติดตามท่าทีของผู้ชุมนุมอย่างใกล้ชิด จึงเป็นเรื่องที่น่าคิดว่า รัฐบาลจะเร่งเกมไปเพื่ออะไร เพราะยังมีเรื่องให้ต้องเตรียมรับมืออีก ได้แก่ คดีความที่ยังอยู่ในการตรวจสอบของศาลรัฐธรรมนูญ และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) อยู่หลายคดี โดยเฉพาะคดีใน ป.ป.ช.ล้วนเป็นคดีอาญา และอยู่ระหว่างการไต่สวนถึง 6 คดี ซึ่งนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นผู้ถูกกล่าวหาในลำดับต้นๆ แทบทั้งสิ้น ทำให้จำเป็นต้องจับตาให้มากยิ่งขึ้นกว่า เพราะรัฐบาลยังมีไพ่สำคัญในมือคือการ “ยุบสภา”
ทำให้ทิศทางหุ้นไทยที่ได้รับแรงกดดันจากปัจจับการเมือง จะกดดันให้ SET Index มี Downside จำกัด โดยมีแนวรับสำคัญที่ 1,419 จุด และแย่ที่สุด 1,400 จุด นักลงทุนควรปรับพอร์ตลงทุน ขายหุ้นที่ปรับตัวขึ้นไปมากแล้ว และมารอรับหุ้นที่คาดว่าจะมีผลประกอบการเติบโตในไตรมาส 4 และแนะนำให้ชะลอลงทุนเพื่อรอดูสถานการณ์
ส่วนปัจจัยในต่างประเทศ การรายงานตัวเลขภาคแรงงานของสหรัฐฯ ยังคงเป็นไปในทิศทางทรงตัว จะเห็นได้ว่าสถานการณ์ตลาดแรงงานสหรัฐฯ ยังมีแนวโน้มไม่ดี ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการปิดหน่วยงานราชการ 16 วัน เมื่อต้นเดือนต.ค.ที่ผ่านมา ขณะที่ยูโรโซน อัตราเงินเฟ้อ ต.ค.ลดลงมาอยู่ที่ 0.7% จาก 1.1% ทำให้หลายฝ่ายออกมาคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางยุโรป จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงในการประชุมวันที่ 5 ธ.ค. ซึ่งจากเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศพัฒนาที่ยังไม่ฟื้นตัวอน่างแข็งแกร่ง ส่งผลให้นโยบายผ่อนคลายทางการเงินยังมีความจำเป็นต้องใช้ต่อไป และตลาดได้รับปัจจัยดังกล่าวไปมากแล้ว สะท้อนได้จากตลาดหุ้นสหรัฐฯ ขึ้นไปทำจุดสูงสุดต่อเนื่อง จึงทำให้เกิดแรงเทขายทำกำไรออกมา ดังนั้น ปัจจัยต่างประเทศในช่วงนี้จึงมีผลต่อตลาดหุ้นไทยน้อยลง โดยให้น้ำหนักไปที่การเมืองในประเทศมากกว่า
โดยรวมเม็ดเงินต่างประเทศ เข้าซื้อในตลาดอื่นของเอเชียมากกว่าไทย ทั้งเกาหลี ไต้หวัน อินโดนีเซีย แต่เชื่อว่าการขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติจากปัจจัยการกาารเมือง จะเป็นปัจจัยกดดันในระยะสั้นเท่านั้น
ด้าน บล.กรุงศรี จำกัด ประเมินภาพรวมตลาดหุ้นไทยเดือน พ.ย. ว่า วิกฤตเพดานหนี้สหรัฐฯ คลี่คลายลงเพียงแค่ระยะสั้น ทำให้ความเสี่ยงในภาพใหญ่ของตลาดโลกลดลง แต่โดยรวมยังขาดแรงขับเคลื่อนเชิงบวก เชื่อว่าจากนี้ไปดัชนีหุ้นจะเคลื่อนไหวไปตามปัจจัยพื้นฐานมากขึ้น ภายใต้แรงกดดันจากปัจจัยการเมืองในประเทศ
ทั้งนี้ นักลงทุนต้องจับตาการชุมนุมประท้วงของผู้ที่ไม่เห็นด้วย ประเมินว่าหากการชุมนุมไม่ลุกลามใหญ่โตจนกระทบภาคเศรษฐกิจอย่างชัดเจน เช่น การท่องเที่ยว หรือการคมนาคมขนส่ง เชื่อว่าเรื่องดังกล่าวจะมีผลต่อตลาดหุ้นเพียงแค่ระยะสั้นเท่านั้น
โดย บล.กรุงศรี จับตาดูผลประกอบการผลประกอบการไตรมาส 3/56 ของบริษัทจดทะเบียนในกลุ่มภาคกาารผลิตที่แท้จริง (Real Sector) ซึ่งคาดว่าดดยรวมน่าจะเติบโตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนประมาณ 10% แต่จะหดตัวลง 21% จากไตรมาสเดียวกันเมื่อปีก่อน
“บล.กรุงศรี ยังคงวางเป้าหมายดัชนีสิ้นปี 2556 ไว้ที่ 1,530 จุด หรือ P/E 16 เท่า ซึ่งหมายถึงดัชนีจะมี Upside จากปัจจุบันประมาณ 5.2% คาดในเดือน พ.ย.นี้จะแกว่งตัวออกข้างระหว่างที่ไร้ปัจจัยบวกใหม่เข้ามาสนับสนุน โดยในช่วงครึ่งเดือนแรก พ.ย. อาจมีแรงเก็งกำไรงบไตรมาส 3 ของบริษัทจดทะเบียนเข้ามาในระยะสั้น”
ขณะเดียวกัน นักลงทุนควรติดตามการคัดเลือกหุ้นเข้าพอร์ตดัชนี MSCI Morgan Stanley Capital International หรือ MSCI ที่จะมีการปรับอีกครั้งในเดือนนี้ ซึ่งข้อมูลในอดีตพบว่า ตั้งแต่ปี 2551-2556 หุ้นที่ถูกคัดเลือกเข้า MSCI Global Standard มักปรับตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยราว 12% นับแต่วันที่ถูกประกาศรายชื่อจนถึงวันที่ถูกนำเข้าคำนวณ (ประมาณ 2 สัปดาห์)
ส่วนหุ้นที่ถูกนำเข้าในดัชนี MSCI Global Small Cap มักดึงดูดนักลงทุนได้น้อยกว่าตลาด โดยปรับเพิ่มเพียง 1.36% ในช่วงเวลาเดียวกัน ในทางตรงกันข้าม หุ้นที่ถูกคัดออกจะถูกปรับตัวลดลง 10% และ 6.5% ตามลำดับ
อย่างไรก็ดี เนื่องจากการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงหลักทรัพย์ในดัชนี MSCI ทำได้ยาก จึงแนะนำให้รอประกาศอย่างเป็นทางการในช่วงกลางเดือน พ.ย. (ปนะมาณวันที่ 7-8 พ.ย.) และจึงซื้อหุ้นเก็งกำไรตาม
ตลาดหุ้นไทย วันที่ 1 พ.ย.2556 ดัชนีปิดที่ระดับ 1,429.08 จุด ลดลง 13.80 จุด หรือ 0.96% มูลค่าการซื้อขาย 29,421.69 ล้านบาท ซึ่งสาเหตุหลักยังมาจากปัจจัยลบภายในประเทศ คือกระแสการคัดค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ขณะที่ภาพรวมตลาดหุ้นไทยเดือนตุลาคม 2556 ที่ผ่านมา พบว่า บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ กลายเป็นผู้ซื้อมากสุด 2,524.11 ล้านบาท ขณะที่นักลงทุนต่างประเทศ ซื้อสะสม 1,167.64 ล้านบาท ขณะเดียวกัน สถาบัน ขาย 2,325.82 ล้านบาท และนักลงทุนทั่วไปขาย 1,365.92 ล้านบาท
ส่วนในช่วง 10 เดือน ปี 2556 นักลงทุนต่างประเทศ ขายสะสมแล้ว 105,251.67 ล้านบาท และบัญชี บล.ขายสะสม 1,496.50 ล้านบาท โดยสถาบันซื้อสะสมมากสุด 81,160.63 ล้านบาท และนักลงทุนทั่วไปซื้อสะสม 25,587.54 ล้านบาท
บล.เอเซีย พลัส ระบุว่า หลังสภาฯ ได้มีมติผ่านวาระ 3 ของพ.ร.บ.นิรโทษกรรม กระบวนการต่อไปจะเป็นการส่งเรื่องเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของวุฒิสภา ซึ่งจะมีระยะเวลารวม 60 วัน หากวุฒิสภาผ่านกฎหมายดังกล่าว จะเข้าสู่ขั้นตอนการนำขึ้นทูลเกล้าฯ เตรียมประกาศใช้ แต่หากวุฒิสภามีการแก้ไขจะต้องมีการตั้งคณะกรรมาธิการร่วมของรัฐสภาเพื่อหาข้อสรุป ซึ่งยังต้องติดตามต่อ
ทั้งนี้ การเร่งปิดเกมของรัฐบาลมองว่าเป็นการเรียกแขก นับจากนี้การชุมนุมเพื่อต่อต้านนิรโทษกรรมจะขยายตัว และเข้มข้นมากขึ้น ซึ่งต้องติดตามท่าทีของผู้ชุมนุมอย่างใกล้ชิด จึงเป็นเรื่องที่น่าคิดว่า รัฐบาลจะเร่งเกมไปเพื่ออะไร เพราะยังมีเรื่องให้ต้องเตรียมรับมืออีก ได้แก่ คดีความที่ยังอยู่ในการตรวจสอบของศาลรัฐธรรมนูญ และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) อยู่หลายคดี โดยเฉพาะคดีใน ป.ป.ช.ล้วนเป็นคดีอาญา และอยู่ระหว่างการไต่สวนถึง 6 คดี ซึ่งนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นผู้ถูกกล่าวหาในลำดับต้นๆ แทบทั้งสิ้น ทำให้จำเป็นต้องจับตาให้มากยิ่งขึ้นกว่า เพราะรัฐบาลยังมีไพ่สำคัญในมือคือการ “ยุบสภา”
ทำให้ทิศทางหุ้นไทยที่ได้รับแรงกดดันจากปัจจับการเมือง จะกดดันให้ SET Index มี Downside จำกัด โดยมีแนวรับสำคัญที่ 1,419 จุด และแย่ที่สุด 1,400 จุด นักลงทุนควรปรับพอร์ตลงทุน ขายหุ้นที่ปรับตัวขึ้นไปมากแล้ว และมารอรับหุ้นที่คาดว่าจะมีผลประกอบการเติบโตในไตรมาส 4 และแนะนำให้ชะลอลงทุนเพื่อรอดูสถานการณ์
ส่วนปัจจัยในต่างประเทศ การรายงานตัวเลขภาคแรงงานของสหรัฐฯ ยังคงเป็นไปในทิศทางทรงตัว จะเห็นได้ว่าสถานการณ์ตลาดแรงงานสหรัฐฯ ยังมีแนวโน้มไม่ดี ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการปิดหน่วยงานราชการ 16 วัน เมื่อต้นเดือนต.ค.ที่ผ่านมา ขณะที่ยูโรโซน อัตราเงินเฟ้อ ต.ค.ลดลงมาอยู่ที่ 0.7% จาก 1.1% ทำให้หลายฝ่ายออกมาคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางยุโรป จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงในการประชุมวันที่ 5 ธ.ค. ซึ่งจากเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศพัฒนาที่ยังไม่ฟื้นตัวอน่างแข็งแกร่ง ส่งผลให้นโยบายผ่อนคลายทางการเงินยังมีความจำเป็นต้องใช้ต่อไป และตลาดได้รับปัจจัยดังกล่าวไปมากแล้ว สะท้อนได้จากตลาดหุ้นสหรัฐฯ ขึ้นไปทำจุดสูงสุดต่อเนื่อง จึงทำให้เกิดแรงเทขายทำกำไรออกมา ดังนั้น ปัจจัยต่างประเทศในช่วงนี้จึงมีผลต่อตลาดหุ้นไทยน้อยลง โดยให้น้ำหนักไปที่การเมืองในประเทศมากกว่า
โดยรวมเม็ดเงินต่างประเทศ เข้าซื้อในตลาดอื่นของเอเชียมากกว่าไทย ทั้งเกาหลี ไต้หวัน อินโดนีเซีย แต่เชื่อว่าการขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติจากปัจจัยการกาารเมือง จะเป็นปัจจัยกดดันในระยะสั้นเท่านั้น
ด้าน บล.กรุงศรี จำกัด ประเมินภาพรวมตลาดหุ้นไทยเดือน พ.ย. ว่า วิกฤตเพดานหนี้สหรัฐฯ คลี่คลายลงเพียงแค่ระยะสั้น ทำให้ความเสี่ยงในภาพใหญ่ของตลาดโลกลดลง แต่โดยรวมยังขาดแรงขับเคลื่อนเชิงบวก เชื่อว่าจากนี้ไปดัชนีหุ้นจะเคลื่อนไหวไปตามปัจจัยพื้นฐานมากขึ้น ภายใต้แรงกดดันจากปัจจัยการเมืองในประเทศ
ทั้งนี้ นักลงทุนต้องจับตาการชุมนุมประท้วงของผู้ที่ไม่เห็นด้วย ประเมินว่าหากการชุมนุมไม่ลุกลามใหญ่โตจนกระทบภาคเศรษฐกิจอย่างชัดเจน เช่น การท่องเที่ยว หรือการคมนาคมขนส่ง เชื่อว่าเรื่องดังกล่าวจะมีผลต่อตลาดหุ้นเพียงแค่ระยะสั้นเท่านั้น
โดย บล.กรุงศรี จับตาดูผลประกอบการผลประกอบการไตรมาส 3/56 ของบริษัทจดทะเบียนในกลุ่มภาคกาารผลิตที่แท้จริง (Real Sector) ซึ่งคาดว่าดดยรวมน่าจะเติบโตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนประมาณ 10% แต่จะหดตัวลง 21% จากไตรมาสเดียวกันเมื่อปีก่อน
“บล.กรุงศรี ยังคงวางเป้าหมายดัชนีสิ้นปี 2556 ไว้ที่ 1,530 จุด หรือ P/E 16 เท่า ซึ่งหมายถึงดัชนีจะมี Upside จากปัจจุบันประมาณ 5.2% คาดในเดือน พ.ย.นี้จะแกว่งตัวออกข้างระหว่างที่ไร้ปัจจัยบวกใหม่เข้ามาสนับสนุน โดยในช่วงครึ่งเดือนแรก พ.ย. อาจมีแรงเก็งกำไรงบไตรมาส 3 ของบริษัทจดทะเบียนเข้ามาในระยะสั้น”
ขณะเดียวกัน นักลงทุนควรติดตามการคัดเลือกหุ้นเข้าพอร์ตดัชนี MSCI Morgan Stanley Capital International หรือ MSCI ที่จะมีการปรับอีกครั้งในเดือนนี้ ซึ่งข้อมูลในอดีตพบว่า ตั้งแต่ปี 2551-2556 หุ้นที่ถูกคัดเลือกเข้า MSCI Global Standard มักปรับตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยราว 12% นับแต่วันที่ถูกประกาศรายชื่อจนถึงวันที่ถูกนำเข้าคำนวณ (ประมาณ 2 สัปดาห์)
ส่วนหุ้นที่ถูกนำเข้าในดัชนี MSCI Global Small Cap มักดึงดูดนักลงทุนได้น้อยกว่าตลาด โดยปรับเพิ่มเพียง 1.36% ในช่วงเวลาเดียวกัน ในทางตรงกันข้าม หุ้นที่ถูกคัดออกจะถูกปรับตัวลดลง 10% และ 6.5% ตามลำดับ
อย่างไรก็ดี เนื่องจากการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงหลักทรัพย์ในดัชนี MSCI ทำได้ยาก จึงแนะนำให้รอประกาศอย่างเป็นทางการในช่วงกลางเดือน พ.ย. (ปนะมาณวันที่ 7-8 พ.ย.) และจึงซื้อหุ้นเก็งกำไรตาม