หุ้นไทยปิดบวก 14.37 จุด อยู่ที่ระดับ 1,437.51 จุด มูลค่าการซื้อขายเบาบางเพียง 32,718.54 ล้านบาท จากนักลงทุนรายย่อยเทขายออกกว่า 1,015.66 ล้านบาท หวั่นสถานการณ์ชุมนุมการเมือง และค่าเงินบาทยังคงผันผวนรุนแรง
ดัชนีตลาดหุ้นไทยวันนี้ (1 ส.ค.) ปิดที่ระดับ 1,437.51 จุด ปรับตัวเพิ่มขึ้น 14.37 จุด หรือ +1.01% มูลค่าการซื้อขาย 32,718.54 ล้านบาท ระหว่างวันปรับตัวสูงสุดที่ระดับ 1,443.65 จุด และลดลงต่ำสุดที่ 1,425.51 จุด ภาพรวมดัชนีหลักทรัพย์ร่วงลงแรงจากนักลงทุนรายย่อยเทกระจาดขายออกกว่า 1,015.66 ล้านบาท จากความกังวลการชุมนุมทางการเมือง
หลักทรัพย์ที่มีการเปลี่ยนแปลง เพิ่มขึ้น จำนวน 454 หลักทรัพย์ ลดลง 211 หลักทรัพย์ และไม่เปลี่ยนแปลง 152 หลักทรัพย์
การซื้อขายสุทธิแยกตามกลุ่มนักลงทุนพบว่า นักลงทุนทั่วไปขายสุทธิ 1,015.66 ล้านบาท นักลงทุนต่างประเทศขายสุทธิ 319.88 ล้านบาท ในขณะที่สถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 716.94 ล้านบาท และบัญชีบริษัทหลักหลักทรัพย์ (บล.) ซื้อสุทธิ 618.60ล้านบาท
หลักทรัพย์ที่มีมูลค่าซื้อขายสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่
PTTGC ปิดที่ 69.00& บาท เพิ่มขึ้น +3.00 บาท หรือ +4.55% มูลค่าการซื้อขาย 2,439,026 ล้านบาท
INTUCH ปิดที่ 90.25 บาท เพิ่มขึ้น +3.25 บาท หรือ +3.74% มูลค่าการซื้อขาย 1,858,813 ล้านบาท
JAS ปิดที่ 8.35 บาท เพิ่มขึ้น +0.05บาท หรือ +0.60% มูลค่าการซื้อขาย 1,499,363 ล้านบาท
TRUE ปิดที่ 8.15 บาท เพิ่มขึ้น +0.30 บาท หรือ +3.82% มูลค่าการซื้อขาย 1,496,236 ล้านบาท
CPALL ปิดที่ 34.00 บาท ลดลง -1.00 บาท หรือ -2.86% มูลค่าการซื้อขาย 1,145,225 ล้านบาท
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์จาก บล.ธนชาต กล่าวว่า ปัจจัยที่กระทบตลาดหุ้นไทยมีปัจจัยหลักๆ อยู่ 2 ประการคือปั จจัยต่างประเทศจากสรุปผลการประชุมคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟด ที่จะเริ่มลดมาตรการผ่อนคลายทางการเงิน หรือ QE ตั้งแต่เดือนกันยายนนี้เป็นต้นไป ส่วนปัจจัยภายในประเทศไ ด้แก่ การประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงเพื่อควบคุมการชุมนุมระหว่างวันที่ 1-10 สิงหาคมนี้ ซึ่งอาจจะส่งผลให้มีแรงเทขายทำกำไรออกมามาก โดยวางกรอบแนวรับที่จุดต่ำสุดที่ 1,403 จุด
ทั้งนี้ แม้การกลับมายืนได้เหนือ 1,420 จุดได้ ในขณะที่เมื่อวานนี้ถือว่าเป็นสัญญาณบวกต่อการดีดตัวกลับขึ้นมา แต่อาจเป็นช่วงผันผวนในระยะเวลาสั้นๆ แต่ตลาดหุ้นไทยคาดว่าจะเกิดสัญญาณอ่อนตัวกลับลงมาอีกรอบ ก็ต่อเมื่อสามารถยืนได้เหนือ 1,450 จุด
ขณะเดียวกัน จากการประชุม FOMC เมื่อคืนที่ผ่านมา ไม่ได้เปลี่ยนความคาดการณ์ต่อการลดวงเงิน QE ในเดือนกันยายนนี้ โดยตัวเลขเศรษฐกิจเดือนมิถุนายน ปรับตัวชะลอตัวลง โดยการผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลง -3.5% เทียบกันในอัตราปีต่อปี ส่วนการลงทุนภาคเอกชนลดลง -4.1% เทียบกันในอัตราปีต่อปี ทั้งนี้ การบริโภคภาคเอกชนปรับตัวสูงขึ้น +0.8% เทียบกันในอัตราปีต่อปี และการส่งออกปรับตัวลดลง -3.5% เทียบกันในอัตราปีต่อปี
อย่างไรก็ตาม ยังคงแนะนำให้ปรับเพิ่มพอร์ตซื้อเข้าเมื่อราคาอ่อนตัวลง การปรับลดลงแรงของตลาดหุ้นไทย ทั้งนี้ ตั้งแต่ปลายสัปดาห์ก่อนที่หุ้นไทยต่ำกว่า 1,485 จุด เป็นจังหวะปรับลดพอร์ตการลงทุนลง และด้วยปัจจัยกดดันทางการเมือง หรือตลาดหุ้นสามารถกลับไปยืนได้เหนือระดับ 1,450 จุด