ที่ปรึกษาการเงินอิสระ เห็นชอบราคาเสนอซื้อหุ้น “แพค ฟู้ด” ของไทยยูเนี่ยนฯ ราคาหุ้นละ 53.14 บาทต่อหุ้น สูงกว่ามูลค่าหุ้นที่ประเมินด้วยวิธีมูลค่าทางบัญชี และสูงกว่าราคาต้นทุนเฉลี่ยของ TUF คือ 52.05 บาทต่อหุ้น แจงผู้ถือหุ้นควรลงมติอนุมัติการเพิกถอนหลักทรัพย์ของกิจการออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
บริษัท เพลินจิต แคปปิตอล จากัด ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ หรือ IFA ของ บริษัท แพค ฟู้ด จำกัด (มหาชน) หรือ PPC ต่อการเพิกถอนหลักทรัพย์ที่ปรึกษาทางการเงินอิสระเห็นว่าราคาเสนอซื้อหุ้น PPC ที่ซื้อโดยบริษัท ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TUF ที่ 53.14 บาทต่อหุ้น เป็นราคาที่ควรตอบรับการเสนอซื้อ เพราะมีมูลค่าสูงกว่าราคาหุ้นที่เหมาะสมของกิจการประเมินโดยวิธีมูลค่าตามบัญชี (Book Value Approach) และวิธีปรับปรุงมูลค่าตามบัญชี (Adjusted Book Value Approach) ที่ราคา 48.55-52.93 บาทต่อหุ้น ซึ่งเป็นช่วงราคาที่ต่ำกว่าราคาเสนอซื้ออยู่ 0.12-4.59 บาทต่อหุ้น คิดเป็น 0.26-8.64% ของราคาเสนอซื้อ และราคาเสนอซื้อนี้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่เกี่ยวข้องกับการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์เพื่อเพิกถอนหลักทรัพย์ดังกล่าวข้างต้นคือเป็นราคาที่ไม่ต่ำกว่าราคาสูงสุดที่คำนวณได้ตามหลักเกณฑ์ต่างๆ ข้างต้น อีกทั้งราคาเสนอซื้อครั้งนี้สูงกว่าราคาต้นทุนเฉลี่ยของ TUF ซึ่งมีต้นทุนซื้อหุ้นของกิจการเฉลี่ยคือ 52.05 บาทต่อหุ้น
อีกทั้งการเพิกถอนหลักทรัพย์ของกิจการออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในครั้งนี้มีความสมเหตุสมผล เนื่องจากปัจจุบันหุ้นของกิจการไม่มีสภาพคล่องในการซื้อขาย และในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา กิจการไม่สามารถดำรงคุณสมบัติของการเป็นบริษัทจดทะเบียนในส่วนของกระจายหุ้นตามหลักเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งบริษัทจดทะเบียนแต่ละรายต้องมีจำนวนผู้ถือหุ้นสามัญรายย่อยไม่น้อยกว่า 150 ราย และผู้ถือหุ้นดังกล่าวต้องถือหุ้นรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 ของทุนชำระแล้วของบริษัทจดทะเบียน อีกทั้งหากบริษัท ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TUF ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ และเป็นบริษัทแม่เป็นบริษัทจดทะเบียนรายเดียวในตลาดหลักทรัพย์ฯ จะประโยชน์แก่กลุ่มสูงสุด คือ สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ให้เหลือเพียงแห่งเดียวในอนาคต หากกิจการต้องการเงินทุนสามารถดำเนินการผ่านบริษัทแม่ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า และมีอำนาจการต่อรองที่สูงกว่าด้วยเหตุนี้
ดังนั้น ที่ปรึกษาทางการเงินอิสระจึงเห็นว่าผู้ถือหุ้นควรลงมติอนุมัติการเพิกถอนหลักทรัพย์ของกิจการออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
อย่างไรก็ดี ผู้ถือหุ้นควรศึกษาข้อมูลผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อผู้ถือหุ้นภายหลังการอนุมัติการเพิกถอนหลักทรัพย์ของกิจการ ออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในครั้งนี้ เพื่อประกอบการตัดสินใจในการลงมติ โดยเฉพาะผลกระทบที่สำคัญ คือ ขาดตลาดรองในการซื้อขาย และผลประโยชน์ทางด้านภาษีและอากร การได้รับข้อมูลจากกิจการจะน้อยลง เพราะกิจการไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามประกาศตลาดหลักทรัพย์ฯ เรื่องแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการเปิดเผยสารสนเทศของบริษัทจดทะเบียนอีกต่อไป
บริษัท เพลินจิต แคปปิตอล จากัด ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ หรือ IFA ของ บริษัท แพค ฟู้ด จำกัด (มหาชน) หรือ PPC ต่อการเพิกถอนหลักทรัพย์ที่ปรึกษาทางการเงินอิสระเห็นว่าราคาเสนอซื้อหุ้น PPC ที่ซื้อโดยบริษัท ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TUF ที่ 53.14 บาทต่อหุ้น เป็นราคาที่ควรตอบรับการเสนอซื้อ เพราะมีมูลค่าสูงกว่าราคาหุ้นที่เหมาะสมของกิจการประเมินโดยวิธีมูลค่าตามบัญชี (Book Value Approach) และวิธีปรับปรุงมูลค่าตามบัญชี (Adjusted Book Value Approach) ที่ราคา 48.55-52.93 บาทต่อหุ้น ซึ่งเป็นช่วงราคาที่ต่ำกว่าราคาเสนอซื้ออยู่ 0.12-4.59 บาทต่อหุ้น คิดเป็น 0.26-8.64% ของราคาเสนอซื้อ และราคาเสนอซื้อนี้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่เกี่ยวข้องกับการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์เพื่อเพิกถอนหลักทรัพย์ดังกล่าวข้างต้นคือเป็นราคาที่ไม่ต่ำกว่าราคาสูงสุดที่คำนวณได้ตามหลักเกณฑ์ต่างๆ ข้างต้น อีกทั้งราคาเสนอซื้อครั้งนี้สูงกว่าราคาต้นทุนเฉลี่ยของ TUF ซึ่งมีต้นทุนซื้อหุ้นของกิจการเฉลี่ยคือ 52.05 บาทต่อหุ้น
อีกทั้งการเพิกถอนหลักทรัพย์ของกิจการออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในครั้งนี้มีความสมเหตุสมผล เนื่องจากปัจจุบันหุ้นของกิจการไม่มีสภาพคล่องในการซื้อขาย และในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา กิจการไม่สามารถดำรงคุณสมบัติของการเป็นบริษัทจดทะเบียนในส่วนของกระจายหุ้นตามหลักเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งบริษัทจดทะเบียนแต่ละรายต้องมีจำนวนผู้ถือหุ้นสามัญรายย่อยไม่น้อยกว่า 150 ราย และผู้ถือหุ้นดังกล่าวต้องถือหุ้นรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 ของทุนชำระแล้วของบริษัทจดทะเบียน อีกทั้งหากบริษัท ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TUF ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ และเป็นบริษัทแม่เป็นบริษัทจดทะเบียนรายเดียวในตลาดหลักทรัพย์ฯ จะประโยชน์แก่กลุ่มสูงสุด คือ สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ให้เหลือเพียงแห่งเดียวในอนาคต หากกิจการต้องการเงินทุนสามารถดำเนินการผ่านบริษัทแม่ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า และมีอำนาจการต่อรองที่สูงกว่าด้วยเหตุนี้
ดังนั้น ที่ปรึกษาทางการเงินอิสระจึงเห็นว่าผู้ถือหุ้นควรลงมติอนุมัติการเพิกถอนหลักทรัพย์ของกิจการออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
อย่างไรก็ดี ผู้ถือหุ้นควรศึกษาข้อมูลผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อผู้ถือหุ้นภายหลังการอนุมัติการเพิกถอนหลักทรัพย์ของกิจการ ออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในครั้งนี้ เพื่อประกอบการตัดสินใจในการลงมติ โดยเฉพาะผลกระทบที่สำคัญ คือ ขาดตลาดรองในการซื้อขาย และผลประโยชน์ทางด้านภาษีและอากร การได้รับข้อมูลจากกิจการจะน้อยลง เพราะกิจการไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามประกาศตลาดหลักทรัพย์ฯ เรื่องแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการเปิดเผยสารสนเทศของบริษัทจดทะเบียนอีกต่อไป