xs
xsm
sm
md
lg

คลังเผย ศก.ไตรมาสแรกโตแผ่วลง คาดเงินบาทกระทบหนักไตรมาส 2 แนะโด๊ปภาคส่งออก

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


สศค.เผย GDP ช่วง Q1/56 โต 6% ยอมรับแม้ภาวะ ศก. โตต่อเนื่อง แต่มีสัญญาณแผ่วลง ทั้งจากการใช้จ่ายเอกชน ส่งออก และการผลิต โดยต้องคิดตามผลกระทบ “บาทแข็ง” คาดมีผลกระทบมากใน พร้อมระบุ “ส่งออก” ช่วงที่เหลือปีนี้ต้องโตเฉลี่ยไตรมาสละ 10% เพื่อให้ได้ตามเป้า Q2/56

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ระบุว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 1/56 มีอัตราการขยายตัว 6% ขณะที่ทั้งปี 56 ยังคงเป้าหมายเดิมเศรษฐกิจเติบโต 5.3% ทั้งนี้ สศค.จะติดตามผลจากสถานการณ์เงินบาทแข็งค่า ซึ่งคาดว่าจะมีผลกระทบมากในไตรมาส 2/56 โดยมองว่าหากจะให้การส่งออกเติบโตได้ตามเป้าหมาย มูลค่าการส่งออกในช่วงที่เหลือจะต้องเติบโตเฉลี่ย 10% ในแต่ละไตรมาส

นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการ สศค. เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยไตรมาส 1/56 ยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่อง แต่มีสัญญาณแผ่วลงจากช่วงก่อนหน้า ทั้งจากการใช้จ่ายในประเทศ การส่งออก ด้านการผลิต โดยเฉพ่าภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตร สะท้อนจากยอดจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่แม้จะขยายตัว 6.9% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน แต่ชะลอจากไตรมาส 4/55 ที่ขยายตัว 18% ส่วนส่งออกไตรมาส 1/56 ขยายตัวได้เพียง 4.3% ดังนั้น ในไตรมาส ที่เหลือของปี มูลค่าการส่งออกจะต้องขยายตัวให้ได้ไตรมาสละ 10% ภายใต้ค่าเงินบาทที่ 29.40 บาท/ดอลลาร์

ในไตรมาส 1/56 คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวได้ในอัตรา 6% และทั้งปี สศค.ยังคงเป้าเศรษฐกิจขยายตัวที่ 5.3% โดยปีนี้การใช้นโยบายการคลังการขาดดุลงบประมาณ เพื่อสนับสนุนการเติบโตเศรษฐกิจ ซึ่งที่ผ่านมานโยบายการคลังทำหน้าที่ได้มีประสิทธิภาพดี

อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยต่างประเทศที่ต้องติดตามคือ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ภาวะเงินทุนไหลเข้าจากการใช้มาตรการเพิ่มปริมาณเงินของประเทศต่างๆ รวมถึงเงินบาทที่แข็งค่า ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อภาคส่งออก ดังนั้น จึงต้องมีการติดตามเศรษฐกิจทั้งระดับจุลภาค และมหภาค

สำหรับเงินบาทที่แข็งค่าคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจอย่างมาก ตั้งแต่ไตรมาส 2/56 เพราะส่วนใหญ่ภาคธุรกิจจะมีการวางแผนล่วงหน้าเป็นปี การจัดทำประมาณการเงินบาทคงไม่ได้คาดว่าจะแข็งค่าถึง 28 บาท/ดอลลาร์ ดังนั้น คงถึงเวลาที่ภาคธุรกิจจะต้องมีการรปรับแผน และติดตามการดำเนินนโยบายของภาครัฐในการแก้ปัญหาค่าเงินบาท
กำลังโหลดความคิดเห็น