ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินผลประกอบการแบงก์ไตรมาสแรก NIM ลดลงเล็กน้อย จากสิ้นปีก่อนจากการแข่งขันด้านดอกเบี้ย ขณะที่รายได้ค่าธรรมเนียมเติบโตได้ 13-18% จากแรงขับเคลื่อนด้านอุปโภคบริโภคเป็นหลัก
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินผลประกอบการของธนาคารพาณิชย์ในไตรมาสแรกปีนี้ โดยที่วัดจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิประกอบกับรายได้ค่าธรรมเนียมนั้น คาดว่าน่าจะอยู่ที่ประมาณ 127,000-129,000 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้น 15.4%-17.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และอยู่ในระดับทรงตัวถึงเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ 0.6%-2.2% เมื่อเทียบจากไตรมาสก่อน อันเป็นการเพิ่มขึ้นในอัตราชะลอลงเมื่อเทียบกับอัตราการเติบโตที่ปรากฏในไตรมาสสุดท้ายของปี 2555 ที่ 20% (YoY) และ 5.0% (QoQ) ทั้งนี้ แม้สาเหตุส่วนหนึ่งจะอธิบายได้จากผลของฤดูกาลที่สินเชื่อ และรายได้ค่าธรรมเนียมมักเพิ่มขึ้นมากช่วงโค้งสุดท้ายของทุกปี แต่อีกส่วนหนึ่งก็สะท้อนความสามารถในการทำกำไรที่แท้จริง เช่น การประเมินจากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย (Net Interest Margin: NIM) ที่ยังไม่ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า
ทั้งนี้ คาดว่าส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยในไตรมาสที่ 1/2556 จะอยู่ในกรอบประมาณ 3.01-3.04% ใกล้เคียงกับระดับ 3.04% ของไตรมาส 4/2555 ขณะที่ลดลงเมื่อเทียบกับระดับ 3.06% ของไตรมาส 1/2555 ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ในระดับทรงตัวที่ 2.75% ตลอดทั้งไตรมาส ทำให้การขับเคลื่อนรายได้ดอกเบี้ยรับต้องอาศัยการปล่อยสินเชื่อเชิงปริมาณเป็นสำคัญ ขณะที่ฝั่งรายจ่ายดอกเบี้ยนั้น ยังถูกกระทบจากผลพวงการแข่งขันระดมเงินฝาก โดยเฉพาะตั้งแต่ช่วงปลายปี 2555 ผ่านการนำเสนอผลิตภัณฑ์เงินฝากพิเศษที่ให้ดอกเบี้ยจูงใจ อันมีผลให้ธนาคารพาณิชย์ไทยจำเป็นต้องทยอยรับรู้ต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายส่วนเพิ่มจากผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจนกว่าจะครบกำหนด
ขณะที่รายได้ค่าธรรมเนียมของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยในช่วงไตรมาสที่ 1 น่าจะขยายตัวได้ประมาณ 13-18% (YoY) โดยชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวถึง 33.1% (YoY) ส่วนหนึ่งคาดว่ามาจากฐานที่ต่ำในปีก่อนหน้าอันเนื่องมาจากผลของอุทกภัยในช่วงปลายปี 2554 ทั้งนี้ คาดว่าการเติบโตของรายได้ค่าธรรมเนียมในไตรมาสแรกของปี 2556 เป็นผลมาจากรายได้ค่าธรรมเนียมจากการทำธุรกรรมผ่านบัตรเครดิตและบัตรเอทีเอ็ม อันเนื่องมาจากแรงส่งของการบริโภคภาคเอกชน และเศรษฐกิจที่ยังขับเคลื่อนได้อย่างดี อันเป็นปัจจัยหนุนต่อการจับจ่ายใช้สอยของประชาชน รวมทั้งค่าธรรมเนียมที่มีรายรับสอดคล้องไปกับการขยายตัวของสินเชื่อ เช่น ค่าธรรมเนียมจากการรับรอง รับอาวัลและค้ำประกัน และค่าธรรมเนียมจัดการ เป็นต้น นอกเหนือไปจากแรงเสริมผ่านค่าธรรมเนียมจากการเสนอขายกองทุนรวมผ่านสาขาธนาคารพาณิชย์ที่ยังคงรักษาจังหวะการเติบโตได้ดี
สำหรับในช่วงที่เหลือของปี 2556 แนวโน้มธุรกิจธนาคารพาณิชย์ยังคงต้องขึ้นอยู่กับความสามารถในการรักษาอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทย ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญในการกำหนดทิศทางการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ อันสอดคล้องไปกับพัฒนาการทางเศรษฐกิจของประเทศแกนหลัก ซึ่งยังคงต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจในบางจังหวะ รวมไปถึงทิศทางค่าเงินบาทที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออก และอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทยอย่างยากจะหลีกเลี่ยง
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินผลประกอบการของธนาคารพาณิชย์ในไตรมาสแรกปีนี้ โดยที่วัดจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิประกอบกับรายได้ค่าธรรมเนียมนั้น คาดว่าน่าจะอยู่ที่ประมาณ 127,000-129,000 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้น 15.4%-17.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และอยู่ในระดับทรงตัวถึงเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ 0.6%-2.2% เมื่อเทียบจากไตรมาสก่อน อันเป็นการเพิ่มขึ้นในอัตราชะลอลงเมื่อเทียบกับอัตราการเติบโตที่ปรากฏในไตรมาสสุดท้ายของปี 2555 ที่ 20% (YoY) และ 5.0% (QoQ) ทั้งนี้ แม้สาเหตุส่วนหนึ่งจะอธิบายได้จากผลของฤดูกาลที่สินเชื่อ และรายได้ค่าธรรมเนียมมักเพิ่มขึ้นมากช่วงโค้งสุดท้ายของทุกปี แต่อีกส่วนหนึ่งก็สะท้อนความสามารถในการทำกำไรที่แท้จริง เช่น การประเมินจากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย (Net Interest Margin: NIM) ที่ยังไม่ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า
ทั้งนี้ คาดว่าส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยในไตรมาสที่ 1/2556 จะอยู่ในกรอบประมาณ 3.01-3.04% ใกล้เคียงกับระดับ 3.04% ของไตรมาส 4/2555 ขณะที่ลดลงเมื่อเทียบกับระดับ 3.06% ของไตรมาส 1/2555 ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ในระดับทรงตัวที่ 2.75% ตลอดทั้งไตรมาส ทำให้การขับเคลื่อนรายได้ดอกเบี้ยรับต้องอาศัยการปล่อยสินเชื่อเชิงปริมาณเป็นสำคัญ ขณะที่ฝั่งรายจ่ายดอกเบี้ยนั้น ยังถูกกระทบจากผลพวงการแข่งขันระดมเงินฝาก โดยเฉพาะตั้งแต่ช่วงปลายปี 2555 ผ่านการนำเสนอผลิตภัณฑ์เงินฝากพิเศษที่ให้ดอกเบี้ยจูงใจ อันมีผลให้ธนาคารพาณิชย์ไทยจำเป็นต้องทยอยรับรู้ต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายส่วนเพิ่มจากผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจนกว่าจะครบกำหนด
ขณะที่รายได้ค่าธรรมเนียมของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยในช่วงไตรมาสที่ 1 น่าจะขยายตัวได้ประมาณ 13-18% (YoY) โดยชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวถึง 33.1% (YoY) ส่วนหนึ่งคาดว่ามาจากฐานที่ต่ำในปีก่อนหน้าอันเนื่องมาจากผลของอุทกภัยในช่วงปลายปี 2554 ทั้งนี้ คาดว่าการเติบโตของรายได้ค่าธรรมเนียมในไตรมาสแรกของปี 2556 เป็นผลมาจากรายได้ค่าธรรมเนียมจากการทำธุรกรรมผ่านบัตรเครดิตและบัตรเอทีเอ็ม อันเนื่องมาจากแรงส่งของการบริโภคภาคเอกชน และเศรษฐกิจที่ยังขับเคลื่อนได้อย่างดี อันเป็นปัจจัยหนุนต่อการจับจ่ายใช้สอยของประชาชน รวมทั้งค่าธรรมเนียมที่มีรายรับสอดคล้องไปกับการขยายตัวของสินเชื่อ เช่น ค่าธรรมเนียมจากการรับรอง รับอาวัลและค้ำประกัน และค่าธรรมเนียมจัดการ เป็นต้น นอกเหนือไปจากแรงเสริมผ่านค่าธรรมเนียมจากการเสนอขายกองทุนรวมผ่านสาขาธนาคารพาณิชย์ที่ยังคงรักษาจังหวะการเติบโตได้ดี
สำหรับในช่วงที่เหลือของปี 2556 แนวโน้มธุรกิจธนาคารพาณิชย์ยังคงต้องขึ้นอยู่กับความสามารถในการรักษาอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทย ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญในการกำหนดทิศทางการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ อันสอดคล้องไปกับพัฒนาการทางเศรษฐกิจของประเทศแกนหลัก ซึ่งยังคงต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจในบางจังหวะ รวมไปถึงทิศทางค่าเงินบาทที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออก และอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทยอย่างยากจะหลีกเลี่ยง