สำนักงาน ก.ล.ต. สั่งพ้นตำแหน่ง “สมจิตร โบว์เสรีวงศ์” กรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ บมจ.สิงห์ พาราเทค ตามกฎ หลังตรวจพบทำเอกสาร และบันทึกรายการขายอันเป็นเท็จในบัญชี ถือเป็นการแต่งงบการเงินเพื่อโชว์ผลการดำเนินงานให้มีกำไรสุทธิ ทั้งที่ความจริงมีผลขาดทุน
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. กล่าวโทษนายสมจิตร โบว์เสรีวงศ์ กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัท สิงห์ พาราเทค จำกัด (มหาชน) หรือ SINGHA ต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2555 เนื่องจากมีการกระทำที่เข้าข่ายจัดทำ และเปิดเผยข้อมูลเท็จในเอกสารบัญชี และงบการเงินของบริษัท อันเข้าข่ายความผิดตามมาตรา 312 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535
เนื่องจาก ก.ล.ต. ได้ตรวจสอบพยานหลักฐานแล้วเห็นว่า นายสมจิตรได้ดำเนินการ หรือมีส่วนรู้เห็นยินยอมให้มีการจัดทำเอกสาร และบันทึกรายได้จากการขายอันเป็นเท็จในบัญชี และงบการเงินของ SINGHA ในปี 2550 เป็นเงินรวม 543.3 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 47.3 ของยอดขายสินค้า เพื่อให้ SINGHA สามารถแสดงผลกำไรสุทธิจากการดำเนินการในปี 2550 จำนวน 63.7 ล้านบาท ซึ่งหากไม่มียอดรายได้ดังกล่าว ผลประกอบการในงบการเงินของ SINGHA จะแสดงผลขาดทุน
โดยรายได้ที่เชื่อว่าเป็นเท็จดังกล่าว คือ รายการขายสินค้าประเภทพื้นไม้สำเร็จรูปให้แก่ลูกค้าในประเทศ 9 แห่ง ในปี 2550 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นลูกค้ารายใหม่ และต่อมา งบการเงินในปี 2551 SINGHA ได้บันทึกรายจ่ายหนี้สงสัยจะสูญเป็นจำนวนเงินสูงถึง 320.8 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากยอดขายสินค้าให้แก่ลูกค้าในประเทศดังกล่าว นอกจากนี้ ในปี 2551 งบการเงินของ SINGHA ที่ยื่นต่อ ก.ล.ต. เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2552 ได้แสดงผลขาดทุนสุทธิจำนวน 944.7 ล้านบาท
ทั้งนี้ การที่นายสมจิตรอยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษดำเนินคดีโดย ก.ล.ต. เพราะเหตุต้องสงสัยเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลอันเป็นเท็จดังกล่าว ทำให้นายสมจิตรเป็นบุคคลที่มีลักษณะขาดความเหมาะสมที่จะได้รับความไว้วางใจให้บริหารกิจการที่มีมหาชนเป็นผู้ถือหุ้น ตามข้อ 4(3) ของประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ.8/2553 เรื่อง การกำหนดลักษณะขาดความน่าไว้วางใจของกรรมการและผู้บริหารของบริษัท ลงวันที่ 23 เมษายน 2553 และมีผลให้นายสมจิตรต้องพ้นจากตำแหน่งกรรมการ หรือผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ หรือบริษัทจดทะเบียน และจะดำรงตำแหน่งกรรมการ หรือผู้บริหารในบริษัทต่อไปไม่ได้ตามนัยมาตรา 89/4 และมาตรา 89/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ ด้วย ดังนั้น ก.ล.ต. จึงไม่สามารถแสดงชื่อของนายสมจิตรในระบบข้อมูลรายชื่อผู้บริหารบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ตั้งแต่วันที่ ก.ล.ต. กล่าวโทษ
อนึ่ง การกล่าวโทษของ ก.ล.ต. เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของกระบวนการบังคับใช้กฎหมายทางอาญาเท่านั้น ภายใต้กระบวนการนี้ การพิจารณาวินิจฉัยว่าบุคคลใดเป็นผู้กระทำผิดกฎหมายเป็นอำนาจ และดุลพินิจของศาลยุติธรรม
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. กล่าวโทษนายสมจิตร โบว์เสรีวงศ์ กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัท สิงห์ พาราเทค จำกัด (มหาชน) หรือ SINGHA ต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2555 เนื่องจากมีการกระทำที่เข้าข่ายจัดทำ และเปิดเผยข้อมูลเท็จในเอกสารบัญชี และงบการเงินของบริษัท อันเข้าข่ายความผิดตามมาตรา 312 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535
เนื่องจาก ก.ล.ต. ได้ตรวจสอบพยานหลักฐานแล้วเห็นว่า นายสมจิตรได้ดำเนินการ หรือมีส่วนรู้เห็นยินยอมให้มีการจัดทำเอกสาร และบันทึกรายได้จากการขายอันเป็นเท็จในบัญชี และงบการเงินของ SINGHA ในปี 2550 เป็นเงินรวม 543.3 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 47.3 ของยอดขายสินค้า เพื่อให้ SINGHA สามารถแสดงผลกำไรสุทธิจากการดำเนินการในปี 2550 จำนวน 63.7 ล้านบาท ซึ่งหากไม่มียอดรายได้ดังกล่าว ผลประกอบการในงบการเงินของ SINGHA จะแสดงผลขาดทุน
โดยรายได้ที่เชื่อว่าเป็นเท็จดังกล่าว คือ รายการขายสินค้าประเภทพื้นไม้สำเร็จรูปให้แก่ลูกค้าในประเทศ 9 แห่ง ในปี 2550 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นลูกค้ารายใหม่ และต่อมา งบการเงินในปี 2551 SINGHA ได้บันทึกรายจ่ายหนี้สงสัยจะสูญเป็นจำนวนเงินสูงถึง 320.8 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากยอดขายสินค้าให้แก่ลูกค้าในประเทศดังกล่าว นอกจากนี้ ในปี 2551 งบการเงินของ SINGHA ที่ยื่นต่อ ก.ล.ต. เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2552 ได้แสดงผลขาดทุนสุทธิจำนวน 944.7 ล้านบาท
ทั้งนี้ การที่นายสมจิตรอยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษดำเนินคดีโดย ก.ล.ต. เพราะเหตุต้องสงสัยเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลอันเป็นเท็จดังกล่าว ทำให้นายสมจิตรเป็นบุคคลที่มีลักษณะขาดความเหมาะสมที่จะได้รับความไว้วางใจให้บริหารกิจการที่มีมหาชนเป็นผู้ถือหุ้น ตามข้อ 4(3) ของประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ.8/2553 เรื่อง การกำหนดลักษณะขาดความน่าไว้วางใจของกรรมการและผู้บริหารของบริษัท ลงวันที่ 23 เมษายน 2553 และมีผลให้นายสมจิตรต้องพ้นจากตำแหน่งกรรมการ หรือผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ หรือบริษัทจดทะเบียน และจะดำรงตำแหน่งกรรมการ หรือผู้บริหารในบริษัทต่อไปไม่ได้ตามนัยมาตรา 89/4 และมาตรา 89/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ ด้วย ดังนั้น ก.ล.ต. จึงไม่สามารถแสดงชื่อของนายสมจิตรในระบบข้อมูลรายชื่อผู้บริหารบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ตั้งแต่วันที่ ก.ล.ต. กล่าวโทษ
อนึ่ง การกล่าวโทษของ ก.ล.ต. เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของกระบวนการบังคับใช้กฎหมายทางอาญาเท่านั้น ภายใต้กระบวนการนี้ การพิจารณาวินิจฉัยว่าบุคคลใดเป็นผู้กระทำผิดกฎหมายเป็นอำนาจ และดุลพินิจของศาลยุติธรรม