แบงก์ชาติชี้เศรษฐกิจโลกกระทบเศรษฐกิจไทยไตรมาส 3 ชัดเจนขึ้นผ่านการส่งออก และการผลิตภาคอุตสาหกรรม เชื่ออุปโภคบริโภคภายในประเทศจะเป็นตัวสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไป ระบุการส่งออกไทยยังไม่ฟื้นตัวไปอีก 3-6 เดือน คาดจะดีขึ้นในกลางปีหน้า เผย ก.ย.เงินทุนไหลเข้าสุทธิ 499 ล้านเหรียญสหรัฐ เหตุแบงก์พาณิชย์ไทยสาขาต่างประเทศมีการกู้ยืมเงินมารองรับการขยายตัวสินเชื่อ
นายเมธี สุภาพงษ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า วิกฤตเศรษฐกิจโลกได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยชะลอตัวชัดเจนช่วงไตรมาส 3 โดยเฉพาะการส่งออก และการผลิตภาคอุตสาหกรรมเน้นเพื่อการส่งออก จึงคาดว่าภาวะเศรษฐกิจไทยช่วงไตรมาส 3 อยู่ที่ 3.3% เมื่อเทียบกับระยะเดียวกัน และขยายตัวที่ 0.7% เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 และมองว่าไตรมาส 4 เศรษฐกิจไทยยังเติบโตได้ 15% เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน และการอุปโภคบริโภคภายในประเทศจะเป็นตัวสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไป
“คาดว่าการส่งออกไทยยังไม่ฟื้นตัว หรือทรงตัวระดับนี้ไปอีก 3-6 เดือนข้างหน้าในแง่ของมูลค่าทรงตัวประมาณ 1.9-2.0 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐต่อเดือน และน่าจะกลับมาฟื้นตัวได้ในกลางปี 56 ทำให้การประมาณการมูลค่าการส่งออก 4.4% ในปีนี้ และปีหน้า 9.0% ก็ยังเป็นไปได้อยู่”
การส่งออกเริ่มได้รับผลกระทบปัญหาจากภาวะเศรษฐกิจโลกตั้งแต่เดือน พ.ค.ที่ผ่านมา โดยช่วงไตรมาส 3 ติดลบ 3% จากไตรมาสก่อนขยายตัวเป็นบวก 1.7% และล่าสุด เดือน ก.ย.มีการส่งออกทองคำที่มีมูลค่า 1,690 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือหดตัวถึง 7.9% แต่หากมีการหักทองคำออกหดตัว 0.1%จากระยะเดียวกันปีก่อน ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของการส่งออกช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 48-53) และเป็นการหดตัวในเกือบทุกหมวดสินค้า โดยเฉพาะสินค้าเกษตร ซึ่งปริมาณการส่งออกข้าวลดลงจากการสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน รวมถึงราคายางพารา
ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนชะลอลงกลับสู่ภาวะปกติจากการที่มีการลงทุนไปก่อนหน้านี้ โดยดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจลดลงในเดือน ก.ย.อยู่ที่ระดับ 49.9 เป็นระดับต่ำกว่าระดับ 50 ที่มีความเชื่อมั่นจากเดือนก่อน 50.2 เพราะนักธุรกิจมีความกังวลต่อคำสั่งซื้อลดลงต่อเนื่องช่วง 4 เดือนที่ผ่านมา นอกเหนือด้านต้นทุนลดลงต่อเนื่องมาค่อนข้างนาน และดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในอีก 3 เดือนข้างหน้าลดลงเช่นกัน 54.5 จากก่อนหน้านี้มองไว้ที่ระดับ 55.2 ส่วนใหญ่ยังกังวลต้นทุนการผลิต
นายเมธี กล่าวว่า ในเดือน ก.ย.มีเงินทุนไหลเข้าสุทธิ 499 ล้านเหรียญสหรัฐ จากการไหลเข้าธนาคารพาณิชย์ไทยจากสาขาต่างประเทศมีการกู้ยืมเงินมารองรับการขยายตัวสินเชื่อ รวมไปถึงมีเงินลงทุนในพันธบัตรทั้ง ธปท.และรัฐบาล ขณะเดียวกัน ธุรกิจค้าปลีกและค่าส่งมีการลงทุนโดยตรงในต่างประเทศอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกันคนไทยมีการซื้อตราสารหนี้ในต่างประเทศมากขึ้นเช่นกัน
นายเมธี สุภาพงษ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า วิกฤตเศรษฐกิจโลกได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยชะลอตัวชัดเจนช่วงไตรมาส 3 โดยเฉพาะการส่งออก และการผลิตภาคอุตสาหกรรมเน้นเพื่อการส่งออก จึงคาดว่าภาวะเศรษฐกิจไทยช่วงไตรมาส 3 อยู่ที่ 3.3% เมื่อเทียบกับระยะเดียวกัน และขยายตัวที่ 0.7% เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 และมองว่าไตรมาส 4 เศรษฐกิจไทยยังเติบโตได้ 15% เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน และการอุปโภคบริโภคภายในประเทศจะเป็นตัวสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไป
“คาดว่าการส่งออกไทยยังไม่ฟื้นตัว หรือทรงตัวระดับนี้ไปอีก 3-6 เดือนข้างหน้าในแง่ของมูลค่าทรงตัวประมาณ 1.9-2.0 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐต่อเดือน และน่าจะกลับมาฟื้นตัวได้ในกลางปี 56 ทำให้การประมาณการมูลค่าการส่งออก 4.4% ในปีนี้ และปีหน้า 9.0% ก็ยังเป็นไปได้อยู่”
การส่งออกเริ่มได้รับผลกระทบปัญหาจากภาวะเศรษฐกิจโลกตั้งแต่เดือน พ.ค.ที่ผ่านมา โดยช่วงไตรมาส 3 ติดลบ 3% จากไตรมาสก่อนขยายตัวเป็นบวก 1.7% และล่าสุด เดือน ก.ย.มีการส่งออกทองคำที่มีมูลค่า 1,690 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือหดตัวถึง 7.9% แต่หากมีการหักทองคำออกหดตัว 0.1%จากระยะเดียวกันปีก่อน ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของการส่งออกช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 48-53) และเป็นการหดตัวในเกือบทุกหมวดสินค้า โดยเฉพาะสินค้าเกษตร ซึ่งปริมาณการส่งออกข้าวลดลงจากการสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน รวมถึงราคายางพารา
ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนชะลอลงกลับสู่ภาวะปกติจากการที่มีการลงทุนไปก่อนหน้านี้ โดยดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจลดลงในเดือน ก.ย.อยู่ที่ระดับ 49.9 เป็นระดับต่ำกว่าระดับ 50 ที่มีความเชื่อมั่นจากเดือนก่อน 50.2 เพราะนักธุรกิจมีความกังวลต่อคำสั่งซื้อลดลงต่อเนื่องช่วง 4 เดือนที่ผ่านมา นอกเหนือด้านต้นทุนลดลงต่อเนื่องมาค่อนข้างนาน และดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในอีก 3 เดือนข้างหน้าลดลงเช่นกัน 54.5 จากก่อนหน้านี้มองไว้ที่ระดับ 55.2 ส่วนใหญ่ยังกังวลต้นทุนการผลิต
นายเมธี กล่าวว่า ในเดือน ก.ย.มีเงินทุนไหลเข้าสุทธิ 499 ล้านเหรียญสหรัฐ จากการไหลเข้าธนาคารพาณิชย์ไทยจากสาขาต่างประเทศมีการกู้ยืมเงินมารองรับการขยายตัวสินเชื่อ รวมไปถึงมีเงินลงทุนในพันธบัตรทั้ง ธปท.และรัฐบาล ขณะเดียวกัน ธุรกิจค้าปลีกและค่าส่งมีการลงทุนโดยตรงในต่างประเทศอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกันคนไทยมีการซื้อตราสารหนี้ในต่างประเทศมากขึ้นเช่นกัน