รัฐฯ ทาบ “บางกอกแลนด์” สร้างส่วนต่อขยาย-สถานีจอดรถไฟฟ้าสายสีชมพูให้บริการผู้ใช้ถึงอิมแพคฯ เรียกเงิน 1,200 ล้านค่าก่อสร้างสถานี และส่วนต่อขยาย ด้านบางกอกแลนด์เสนอ 2 ทางเลือก 1.สร้างเอง 2.ออกค่าก่อสร้าง 50% แจงทุ่มเม็ดเงิน 2.7 พันล้านบาทซื้อหุ้น “อิมแพค” 44.8% จาก SPA งวดแรกจ่ายแล้ว 600 ล้านบาท
นายอนันต์ กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท บางกอกแลนด์ จำกัด (มหาชน) หรือบีแลนด์ เปิดเผยว่า จากปริมาณการเดินทางเข้าชมนิทรรศการ และงานแสดงสินค้าในอิมแพค มารีน่า เมืองทองธานี ซึ่งมีการจัดงานนิทรรศการต่างๆ อย่างต่อเนื่องตลอดปี ทำให้มีผู้เดินทางเข้าชมงานต่อปีสูงกว่า 15 ล้านคน ทำให้ในช่วงที่ผ่านมา การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ที่ทำหน้าที่ศึกษาและลงทุนพัฒนาโครงการรถไฟฟ้า มองเห็นถึงศักยภาพการใช้บริการระบบรถไฟฟ้าเดินทางเข้าสู่เมืองทองธานีในอนาคต
ล่าสุด บีแลนด์ได้รับการทาบทามจากรัฐบาล ในการเสนอเรื่องการเพิ่มส่วนต่อขยายสถานีรถไฟฟ้าสายสีชมพูเข้ามารับ-ส่งผู้เข้าชมงานนิทัศการในเมืองทองธานี ซึ่งหากมีการขยายสถานีเข้ามารับ-ส่งผู้โดยสารถึงในเมืองทองธานีได้จะทำให้มีจำนวนผู้เข้าชมงานเพิ่มจำนวนสูงขึ้นอีก 10 ล้านคนต่อปี หรือมีจำนวนผู้ชมงานต่อปีสูงถึง 25 ล้านคนต่อปีได้
อย่าไรก็ตาม การทาบทามดังกล่าวจากรัฐบาลนั้น ขณะนี้ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนออกมา โดยในส่วนของข้อเสนอจากรัฐบาลในการเพิ่มสถานีบริการรถไฟฟ้าสายสีชมพูเข้ามาให้บริการในเมืองทองธานีนั้น เบื้องต้น รัฐลบาลต้องการใช้พื้นที่จำนวน 20 ไร่ ในอิมแพค มารีน่า เมืองทองธานี ก่อสร้างสถานีจอดรถไฟฟ้า พร้อมกันนั้นในการขยายสถานีเข้ามาในพื้นที่อิมแพคฯ บีแลนด์ในฐานะที่ได้ประโยชน์จากการขยายสถานีรถไฟฟ้าเพิ่มเติมต้องออกเงินลงทุนในการขยายเส้นทาง และก่อสร้างสถานีจอดรถไฟฟ้าคิดเป็นเงิน 1,200 ล้านบาท
ทั้งนี้ จากข้อเสนอดังกล่าว บีแลนด์เห็นว่าในการก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้า และขยายเส้นทางให้บริการเข้ามาในอิมแพคฯ นั้น วงเงินที่บริษัทต้องจ่ายให้รัฐบาลพร้อมกับที่ดินจำนวน 20 ไร่นั้น ในส่วนของที่ดินเห็นว่าบริษัทไม่สามารถยกให้เปล่าได้แต่หากจะยกให้ก็จะขอพัฒนาพื้นที่ด้านบนเป็นมอลล์ขนาดใหญ่ ผสมผสานอาคารสูงจำนวนหนึ่ง ขณะที่สถานีจอดรถจะก่อสร้างอยู่ใต้พื้นดิน หรือใต้มอลล์ที่จะพัฒนาขึ้น ส่วนวงเงิน 1,200 ล้านบาท เบื้องต้น บริษัทเห็นว่าควรเป็นการลงทุนร่วมกันระหว่างบริษัท และรัฐบาลโดยการจ่ายเงินเพียง 50% หรือ 600 ล้านบาท ส่วนที่เหลือให้รัฐบาลเป็นผู้จ่าย
อย่างไรก็ตาม หากรัฐบาลไม่เห็นด้วยในแนวทางแรกก็อาจหยิบยกข้อเสนอที่ 2 ขึ้นมาพิจารณาคือ บีแลนด์จะลงทุนพัฒนาก่อสร้างสถานีจอดรถไฟฟ้าเอง โดยคาดว่าจะพัฒนาเป็นรถไฟฟ้าโมโนเรลเชื่อมต่อจากสถานีรถไฟฟ้าแจ้งวัฒนะ ซึ่งคาดว่าจะใช้งบลงทุนก่อสร้างประมาณ 600 ล้านบาท ซึ่งล่าสุด บริษัทได้ว่าจ้างบริษัท เทศโก้ จำกัด ให้ออกแบบสถานีจอดรถไฟฟ้าโมโนเรลไว้แล้ว
นายอนันต์ กล่าวถึงแผนดำเนินงานของบริษัทในช่วงปลายปีนี้ว่า ที่ประชุมบริษัทได้มีมติอนุมัติให้ซื้อคืนหุ้นบริษัท อิมแพค เอ็กซิบิชั่น เมเนจเม้นท์ จำกัด (อิมแพค) จำนวน 44.8% ของหุ้นทั้งหมดที่ขายให้แก่บริษัท South Asia Opportunities Fund Limited หรือ SPAในช่วง 5 ปีก่อนหน้านี้ ในวงเงิน 3,000 ล้านบาท เนื่องจากบริษัทดังกล่าวครบกำหนดขายคืนหุ้นให้แก่เจ้าของเดิม สำหรับหุ้นจำนวนดังกล่าวที่ บีแลนด์ ขายให้แก่กองทุนเมือ 5 ปีก่อนหน้าในราคา 7,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ SPA แจ้งต่อบีแลนด์ว่า ในการซื้อคืนหุ้นดังกล่าว หากบีแลนด์จ่ายเงินซื้อหุ้นทั้งหมดภายใน 90 วัน จะได้รับออปชันส่วนลดราคาขายหุ้นอีก 10% หรือจะทำให้บีแลนด์ต้องจ่ายเงินซื้อคืนหุ้นรวม 2,700 ล้านบาทเท่านั้น โดยล่าสุด บริษทได้จ่ายเงินงวดแรกให้แก่ SPA แล้ว จำนวน 600 ล้านบาท ส่วนเงินที่เหลืออีก 2,100 ล้านบาทนั้นคาดว่าจะใช้กระแสเงินสดของบริษัทบางส่วน ส่วนที่เหลือจะใช้เงินจากการตัดขายที่ดินในย่านศรีนครินทร์ 70-80 ไร่ จากจำนวนที่ดินสะสมที่มีในพื้นที่ดังกล่าวรวม 1,350 ไร่ โดยในเบื้องต้น ราคาประเมินของที่ดินแปลงดังกล่าวอยู่ที่ 12 ล้านบาทต่อไร่ ซึ่งหากตีมูลค่ารวมการขายที่ดินทั้งหมด 1,350 ไร่ จะมีมูลค่ารวม 16,000 ล้านบาท
นายอนันต์ กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท บางกอกแลนด์ จำกัด (มหาชน) หรือบีแลนด์ เปิดเผยว่า จากปริมาณการเดินทางเข้าชมนิทรรศการ และงานแสดงสินค้าในอิมแพค มารีน่า เมืองทองธานี ซึ่งมีการจัดงานนิทรรศการต่างๆ อย่างต่อเนื่องตลอดปี ทำให้มีผู้เดินทางเข้าชมงานต่อปีสูงกว่า 15 ล้านคน ทำให้ในช่วงที่ผ่านมา การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ที่ทำหน้าที่ศึกษาและลงทุนพัฒนาโครงการรถไฟฟ้า มองเห็นถึงศักยภาพการใช้บริการระบบรถไฟฟ้าเดินทางเข้าสู่เมืองทองธานีในอนาคต
ล่าสุด บีแลนด์ได้รับการทาบทามจากรัฐบาล ในการเสนอเรื่องการเพิ่มส่วนต่อขยายสถานีรถไฟฟ้าสายสีชมพูเข้ามารับ-ส่งผู้เข้าชมงานนิทัศการในเมืองทองธานี ซึ่งหากมีการขยายสถานีเข้ามารับ-ส่งผู้โดยสารถึงในเมืองทองธานีได้จะทำให้มีจำนวนผู้เข้าชมงานเพิ่มจำนวนสูงขึ้นอีก 10 ล้านคนต่อปี หรือมีจำนวนผู้ชมงานต่อปีสูงถึง 25 ล้านคนต่อปีได้
อย่าไรก็ตาม การทาบทามดังกล่าวจากรัฐบาลนั้น ขณะนี้ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนออกมา โดยในส่วนของข้อเสนอจากรัฐบาลในการเพิ่มสถานีบริการรถไฟฟ้าสายสีชมพูเข้ามาให้บริการในเมืองทองธานีนั้น เบื้องต้น รัฐลบาลต้องการใช้พื้นที่จำนวน 20 ไร่ ในอิมแพค มารีน่า เมืองทองธานี ก่อสร้างสถานีจอดรถไฟฟ้า พร้อมกันนั้นในการขยายสถานีเข้ามาในพื้นที่อิมแพคฯ บีแลนด์ในฐานะที่ได้ประโยชน์จากการขยายสถานีรถไฟฟ้าเพิ่มเติมต้องออกเงินลงทุนในการขยายเส้นทาง และก่อสร้างสถานีจอดรถไฟฟ้าคิดเป็นเงิน 1,200 ล้านบาท
ทั้งนี้ จากข้อเสนอดังกล่าว บีแลนด์เห็นว่าในการก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้า และขยายเส้นทางให้บริการเข้ามาในอิมแพคฯ นั้น วงเงินที่บริษัทต้องจ่ายให้รัฐบาลพร้อมกับที่ดินจำนวน 20 ไร่นั้น ในส่วนของที่ดินเห็นว่าบริษัทไม่สามารถยกให้เปล่าได้แต่หากจะยกให้ก็จะขอพัฒนาพื้นที่ด้านบนเป็นมอลล์ขนาดใหญ่ ผสมผสานอาคารสูงจำนวนหนึ่ง ขณะที่สถานีจอดรถจะก่อสร้างอยู่ใต้พื้นดิน หรือใต้มอลล์ที่จะพัฒนาขึ้น ส่วนวงเงิน 1,200 ล้านบาท เบื้องต้น บริษัทเห็นว่าควรเป็นการลงทุนร่วมกันระหว่างบริษัท และรัฐบาลโดยการจ่ายเงินเพียง 50% หรือ 600 ล้านบาท ส่วนที่เหลือให้รัฐบาลเป็นผู้จ่าย
อย่างไรก็ตาม หากรัฐบาลไม่เห็นด้วยในแนวทางแรกก็อาจหยิบยกข้อเสนอที่ 2 ขึ้นมาพิจารณาคือ บีแลนด์จะลงทุนพัฒนาก่อสร้างสถานีจอดรถไฟฟ้าเอง โดยคาดว่าจะพัฒนาเป็นรถไฟฟ้าโมโนเรลเชื่อมต่อจากสถานีรถไฟฟ้าแจ้งวัฒนะ ซึ่งคาดว่าจะใช้งบลงทุนก่อสร้างประมาณ 600 ล้านบาท ซึ่งล่าสุด บริษัทได้ว่าจ้างบริษัท เทศโก้ จำกัด ให้ออกแบบสถานีจอดรถไฟฟ้าโมโนเรลไว้แล้ว
นายอนันต์ กล่าวถึงแผนดำเนินงานของบริษัทในช่วงปลายปีนี้ว่า ที่ประชุมบริษัทได้มีมติอนุมัติให้ซื้อคืนหุ้นบริษัท อิมแพค เอ็กซิบิชั่น เมเนจเม้นท์ จำกัด (อิมแพค) จำนวน 44.8% ของหุ้นทั้งหมดที่ขายให้แก่บริษัท South Asia Opportunities Fund Limited หรือ SPAในช่วง 5 ปีก่อนหน้านี้ ในวงเงิน 3,000 ล้านบาท เนื่องจากบริษัทดังกล่าวครบกำหนดขายคืนหุ้นให้แก่เจ้าของเดิม สำหรับหุ้นจำนวนดังกล่าวที่ บีแลนด์ ขายให้แก่กองทุนเมือ 5 ปีก่อนหน้าในราคา 7,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ SPA แจ้งต่อบีแลนด์ว่า ในการซื้อคืนหุ้นดังกล่าว หากบีแลนด์จ่ายเงินซื้อหุ้นทั้งหมดภายใน 90 วัน จะได้รับออปชันส่วนลดราคาขายหุ้นอีก 10% หรือจะทำให้บีแลนด์ต้องจ่ายเงินซื้อคืนหุ้นรวม 2,700 ล้านบาทเท่านั้น โดยล่าสุด บริษทได้จ่ายเงินงวดแรกให้แก่ SPA แล้ว จำนวน 600 ล้านบาท ส่วนเงินที่เหลืออีก 2,100 ล้านบาทนั้นคาดว่าจะใช้กระแสเงินสดของบริษัทบางส่วน ส่วนที่เหลือจะใช้เงินจากการตัดขายที่ดินในย่านศรีนครินทร์ 70-80 ไร่ จากจำนวนที่ดินสะสมที่มีในพื้นที่ดังกล่าวรวม 1,350 ไร่ โดยในเบื้องต้น ราคาประเมินของที่ดินแปลงดังกล่าวอยู่ที่ 12 ล้านบาทต่อไร่ ซึ่งหากตีมูลค่ารวมการขายที่ดินทั้งหมด 1,350 ไร่ จะมีมูลค่ารวม 16,000 ล้านบาท